วันเสาร์, ธันวาคม 17, 2559

R.I.P. นิติรัฐในราชการไทย สมุนรับใช้ของอำนาจเผด็จการ





วานนี้ (๑๖ ธ.ค.) สนช. ลิ่วล้อ คสช. ผ่านร่างกฎหมายคอมพิวเตอร์ ด้วยสไตล์ ‘ตรายาง’ คะแนนเสียง ๑๖๘ ต่อ ๐

บางคนสรุปผลลัพท์ไว้ด้วยประโยคอังกฤษสั้นๆ “Rest in peace Online freedom, Internet Thailand.”

หลายคนชี้ให้เห็นความงี่เง่าของการเมืองการปกครองแบบดึกดำบรรพ์ ยุคทหารครองเมืองในประเทศไทยศตวรรษที่ ๒๑ ที่เสียงโหวตของสมาชิกสภาแต่งตั้งแค่หยิบมือ ๑๖๘ คน ปัดตกเสียงเรียกร้องของประชาชนกว่า ๓ แสนคน ได้อย่างง่ายดาย

ผู้ที่อธิบายอุบัติการณ์ ‘trumped up’ หรือเอาชนะด้วยการสรรสร้างวาทกรรม ‘จงรักภักดี’ ไว้เหนือกว่าเสรีภาพในการสื่อสารทางอีเล็คโทรนิค ได้เหมาะเจาะกับบรรยากาศเผด็จการ เห็นจะเป็น Vanchai Tantivitayapitak ที่ว่า

“เมื่อคนแก่ในโลกยุคอนาล็อกมาตัดสิน พรบ.คอมพ์ที่ใช้กับเด็กรุ่นใหม่ในโลกดิจิทัล”

เขาเล่าว่า “ดูบรรยากาศถ่ายทอดสดการพิจารณาพรบ.คอมพ์ของสภาแล้ว บรรดาสนช.ที่มีอำนาจในการตัดสินใจพรบ.คอมพ์ ส่วนใหญ่น่าจะอายุหกสิบปีขึ้นไป

เรียกได้ว่าอยู่ในโลกการสื่อสารยุคเก่า แบบอนาล็อก ที่อาจจะไม่เข้าใจความสลับซับซ้อนของการสื่อสารยุคใหม่แบบดิจิทัล และเกินครึ่งของสนช.ก็เป็นบุคคลในเครื่องแบบ ที่ไม่เคยคิดอะไรนอกกรอบเลย นอกจากรับคำสั่งมาตลอดชีวิต

ขณะที่โลกออนไลน์ โลกดิจิทัล เป็นโลกของความคิดสร้างสรรค์ โลกของการคิดนอกกรอบ โลกของเสรีภาพ

ถามจริง ๆ สนช.จะมีสักกี่คนที่รู้จัก Startup Fintech อย่างถ่องแท้ หรืออยู่ในโลกออนไลน์ตลอดเวลา

สิ่งที่น่าเสียดายคือ เมื่อไม่ค่อยเข้าใจแล้ว ยังไม่สนใจต่อข้อเรียกร้องและเสียงคัดค้าน ๓ แสนกว่าเสียง ที่ส่วนใหญ่เป็นคนที่ใช้สื่อดิจิทัลแทบทั้งวัน แต่ใช้ทัศนคติส่วนตัว ใช้อำนาจของผู้ใหญ่ ใช้แนวคิดแบบ ‘คุณพ่อรู้ดี’ มาตัดสินกติกาที่ใช้กับคนรุ่นใหม่

ทราบดีว่า สนช.ผ่านพรบ.คอมพ์แน่นอน เพราะอำนาจอยู่ที่พวกเขา แต่อีกไม่นาน คลื่นของคนรุ่นใหม่ จะซัดกลับมาอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าที่พวกเขาคิด

ไม่มีใครฝืนกงล้อแห่งการเปลี่ยนแปลงได้หรอก”

นั่นละ เขาก็ฝืนมาแล้วเกือบสามปี และไม่มีทีท่าจะหยุดฝืน ต่อไปอีกอย่างน้อยๆ ๕ ถึง ๒๐ ปี

ดูได้จากการตั้งรัฐมนตรีชุดใหม่ ๑๒ คน ซึ่งหนึ่งในนั้นได้รับการชื่นชมจากนักการเมืองฝ่ายปฏิกิริยา ผู้เชิดชูอำนาจเผด็จการเป็นสรณะ





หมอวรงค์ อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เขียนเชิดชูรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์คนใหม่เลิศเลอ จากการที่ ก่อนจะเกษียณราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ไม่กี่วัน น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร เซ็นคำสั่งทางปกครองเพื่อเรียกค่าเสียหายคดีรัฐบาลจากการเลือกตั้งชุดที่แล้ว ดำเนินนโยบายระบายข้าวแบบจีทูจี อย่างทิ้งทวน

สิ่งที่ น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ชื่นชมอยู่ที่ “คนอย่างนี้ท่านประยุทธ์น่าจะเอามาช่วยงาน” ซึ่งก็เป็นดังเขาคาดหวัง “ผ่านเกษียณมาได้ ๒ เดือนเศษ ล่าสุดเห็นมีรายชื่อโปรดเกล้ามาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์”

(http://www.posttoday.com/politic/470700)





คงจำกันได้ว่าเรื่องการเซ็นคำสั่งทางปกครองนี้ยังเป็นที่กังขาอยู่ว่า เป็นการใช้อำนาจพิเศษเกินความเหมาะสมแห่งหลักกฎหมาย เมื่อใดที่บ้านเมืองกลับเข้าสู่ทำนองคลองธรรมอย่างประชาธิปไตย ผู้ที่สั่งการจะตกเป็นผู้ต้องหาละเมิดเสียเองได้

ขณะนั้นหัวหน้าใหญ่ คสช. ไม่ต้องการมือเปื้อน จึงสั่งให้รัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามคำสั่ง แต่รัฐมนตรีบังเอิญเดินทางไปต่างประเทศช่วงนั้นพอดี ปลัดกระทรวงจึงยอมเสียมารยาทเซ็นเอง เพื่อมารอรับตำแหน่งรัฐมนตรีในอีกสองเดือนต่อมา

นี่ก็ R.I.P. นิติรัฐในราชการไทย ที่ไม่เพียงสยบแก่อำนาจการเมืองเท่านั้น หากแต่ทำตัวเป็นสมุนรับใช้ของอำนาจเผด็จการทหารกันอย่างโจ่งแจ้งด้วย

นั่นคือตรายางของทหารในระบบราชการที่เพิ่งเกิดขึ้นหมาดๆ ยังมีตรายางแห่งอำนาจพิเศษเกือบเบ็ดเสร็จ สำหรับองค์กรอิสระ ที่กำลังจะเกิดในอนาคตอันใกล้ ด้วยไอเดียเลียบู๊ตของนายมีชัย ฤชุพันธุ์

“เติมเต็มความสมบูรณ์ให้กกต.ด้วยการกำหนดให้มีงบในลักษณะราชการลับ เพื่อให้กกต.นำไปใช้จ่ายให้หน่อยงานด้านการข่าวช่วยหาข้อมูล หรือ กกต.อาจตั้งหน่วยข่าวของตนเองก็ย่อมได้

เติมเต็มความสมบูรณ์ให้กกต.ด้วยการกำหนดให้มีงบในลักษณะราชการลับ เพื่อให้กกต.นำไปใช้จ่ายให้หน่อยงานด้านการข่าวช่วยหาข้อมูล หรือ กกต.อาจตั้งหน่วยข่าวของตนเองก็ย่อมได้”

(http://www.matichon.co.th/news/396457)

นี่ไง ยุคเนติบริกร คสช. ขึ้นวอ ช่วยกันอวย รวยกันใหญ่ อย่างนี้ไม่แค่ R.I.P. Freedom เท่านั้นนะ มันจะ ไปสู่สุคติหมดทั้งประเทศไตแลนเดีย นั่นเชียว