คุยกับทนายอู๊ด พ่อ ‘ไผ่ ดาวดิน’ ทนายสิทธิรุ่นบุกเบิกในภาคอีสาน
23/12/2016
by The Isaan Record
ชื่อของนายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา หรือ ทนายอู๊ด ปรากฏในหน้าสื่ออยู่บ่อยครั้งในฐานะพ่อของ ‘ไผ่ ดาวดิน’ นักกิจกรรมเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยชื่อดัง ซึ่งเมื่อต้นเดือนถูกจับกุมจากการแชร์บทความบีบีซีไทยบนเฟซบุ๊ก แต่น้อยคนที่จะรู้จักทนายอู๊ดในฐานะทนายความด้านสิทธิมนุษยชนรุ่นบุกเบิกของภาคอีสาน ซึ่งอาสาว่าความคดีให้กับชาวบ้านที่มีปัญหาข้อพิพาทกับรัฐมานานกว่า 30 ปี
ทนายอู๊ด ทนายความรุ่นใหญ่วัย 60 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จากเด็กช่างก่อสร้างชาวกรุงเทพฯ จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จนชะตาชีวิตทำให้ต้องมาเป็นทนายความชาวบ้านในภาคอีสาน
เดอะอีสานเรคคอร์ดจับเข่าคุยกับทนายอู๊ด ว่าด้วยการชีวิตการเป็นทนายสิทธิว่าความให้กับชาวบ้านในภาคอีสาน กิจกรรมและความคิดทางการเมือง รวมทั้งบทเรียนการต่อสู้จากการทำงานกับชาวบ้าน
เดอะอีสานเรคคอร์ด: เริ่มสนใจปัญหาสังคมตั้งแต่ตอนไหน
วิบูลย์: ก่อนที่จะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ไปร่วมกิจกรรม 14 ตุลา [2516] ก็ได้เห็นอะไรเยอะ ตอนนั้นเรียนอาชีวะช่างก่อสร้างที่กรุงเทพฯ ตั้งใจจะไปสอบ ปวส. ต่อแต่สอบไม่ได้ เลยไปเรียนนิติศาสตร์รามคำแหง ตั้งใจจะเรียนรอสอบ ปวส. เรียนไปเรียนมาก็เลยยาว
ตอนเรียนในรามฯ ก็เหมือนกับนักศึกษาทั่วไปที่มีหลากหลาย พวกหนึ่งก็เรียนอย่างเดียว อีกพวกหนึ่งก็ทำกิจกรรมไปด้วย กิจกรรมก็แบ่งเป็นกิจกรรมแบบง่ายๆ แบบชมรมพุทธหรือกิจกรรมสร้างค่าย ส่วนอีกพวกก็สนใจเรื่องสิทธิเรื่องการเมือง เราไม่ได้สังกัดกลุ่มกิจกรรมไหน ไปกับเขาได้หมด ตอนนั้นจะมีเวทีแลกเปลี่ยนตามสถาบันบ่อยครั้ง เราก็ชอบไปฟัง ชอบเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ตอนนั้นนักศึกษาตื่นตัวเยอะ ช่วงนั้นก็เผด็จการเหมือนกัน และก็ถูกบีบเยอะ ถ้าตั้งคำถามว่าทำไมทำอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ มันก็จะเห็นความไม่เป็นธรรม
เดอะอีสานเรคคอร์ด: เริ่มมาเป็นทนายสิทธิได้ยังไง
วิบูลย์: พอเป็นทนายได้สักพักหนึ่งพรรคพวกก็ชวนให้ไปสมัครงานเอ็นจีโอมาทำงานในอีสาน เราก็ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับอีสานเลย ตอนนั้นงานเอ็นจีโอมันเยอะ ไปสมัครกับเพื่อนอีกสามคน เราแค่ไปสมัครเล่นๆ แต่สุดท้ายเป็นเราที่ได้คนเดียว ได้ที่สมาคมพัฒนาประชากรชุมชน ไปอยู่ที่อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้จับงานเรื่องพัฒนาแหล่งน้ำ เราก็ได้เรียนรู้อะไรมากมาย ตอนนั้นเริ่มมันส์กับอีสานแล้ว ส่วนใหญ่ทำงานแนวเอ็นจีโอเป็นหลัก ตอนนั้นก็พักเรื่องเป็นทนายไป ทำอยู่พุทไธสงอยู่หลายปีเลยคิดว่าจะพอแล้วกับงานเอ็นจีโอ ตั้งใจจะกลับไปเอาดีทางทนายที่กรุงเทพ แต่ว่ากลับไปกรุงเทพได้ไม่นาน พรรคพวกที่เป็นเอ็นจีโอก็เรียกให้กลับไปช่วยทำงานที่อีสานอีก คราวนี้มาอยู่ Plan International ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ ที่มหาสารคาม ทำงานที่นั่นอยู่หลายปี รับรู้การต่อสู้ของชาวบ้านมากมาย ทีนี้เลยคิดว่าไม่กลับไปแล้วกรุงเทพฯ ตั้งใจจะเป็นทนายอยู่ต่างจังหวัดดีกว่า ยิ่งมาอยู่อีสานรู้สึกมันสบายๆ ไม่เหมือนกรุงเทพฯ
พออยู่ Plan International ได้ 5-6 ปีก็ออกมาทำงานทนายที่อำเภอภูเขียว ชัยภูมิ เห็นว่าภูเขียวมีศาลด้วยเลยมาอยู่ ตอนนั้นก็เปิดร้านซ่อมเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ด้วย แฟนก็ขายของชำ เราก็รู้จักคนมากขึ้น ได้คุยกับคนเยอะ พอคนเขารู้ว่าเป็นทนายเขาก็ค่อยๆ เข้ามาหา
มาเป็นทนายเต็มที่ตอนที่อาจารย์ทองใบ ทองเปาด์ (ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนรางวัลรามอน แมกไซไซ) มาชวน ให้ไปช่วยบรรยายกฎหมายให้ชาวบ้าน พอดีรู้จักกับอาจารย์มานานแล้ว แกเห็นว่าเราอยู่ชัยภูมิเลยอยากให้ไปช่วย มันก็เป็นเรื่องของอาสาสมัครจิตอาสามาช่วยกัน เช่น วันเสาร์ อาทิตย์ อาจารย์ทองใบชวนไปบรรยายกฎหมาย ใครว่างก็ไปอำเภอนี้จังหวัดนี้ ส่วนมากจะสองวัน ส่วนเรื่องคดีก็ว่าความของเราไป คดีของชาวบ้านเราก็ช่วยไม่ได้เงิน มีแต่เขาช่วยค่ารถ ค่ากินก็กินกับชาวบ้านนอนกับเขา
เดอะอีสานเรคคอร์ด: ได้ทำคดีอะไรเป็นหลักและการทำคดีสิทธิของชาวบ้านมีความยากง่ายแตกต่างจากคดีปกติยังไง
วิบูลย์: คดีเรื่องความเดือดร้อนชาวบ้าน อย่างเช่นแถวทับนาย หรือกรณีเขื่อนโป่งขุนเพชร ทั้งสองที่อยู่ชัยภูมิ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเขื่อน เป็นปัญหาที่เต็มไปหมดในแถบนี้ ต่อมาก็ได้ไปทำที่อื่นๆ อย่าง เขื่อนปากมูนที่อุบลราชธานี เขื่อนราษีไศลจังหวัดศรีสะเกษ ไม่ใช่เฉพาะชัยภูมิ ไปทั่วอีสานหมด หลังๆ มาก็เป็นเรื่องที่ดินป่าไม้
คดีแพ่ง คดีอาญาทั่วไปมันก็ไม่ได้ต่างกันมาก แต่ปัญหาของชาวบ้านไม่ใช่คดีทั่วไป มันเป็นคดีที่ต้องสู้กับรัฐ มันต้องใช้มากกว่ากฎหมาย อย่างเช่นปัญหาป่าไม้ที่ดิน ใช้กฎหมายอย่างเดียวก็แพ้ เพราะมันต้องรบกับอำนาจรัฐ รบกับเจ้าหน้าที่รัฐ และศาลพยายามช่วยรัฐมากกว่าช่วยชาวบ้าน อันนี้เป็นความยุ่งยาก ตัวกฎหมายเองก็มีปัญหาเพราะว่าถ้าเราไปเปิดดูคำพิพากษาของศาล อย่างเช่นเรื่องป่าไม้ เขาไปเอากฏหมายตั้งแต่ยุค 2475 มาใช้ พอรัฐบาลชุดนี้ขึ้นก็บอกว่าจะชำระ จะทบทวนกฎหมายที่มันล้าสมัย ปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย ให้มันสอดคล้องกับสังคม ทุกรัฐบาลก็พูดแบบนี้ แต่สุดท้ายตรงนี้ไม่ขยับ
กรณีพื้นที่ป่า ถ้าแยกกฎหมายกับกระบวนการยุติธรรมให้มันชัด กระบวนการยุติธรรมต้องบอกว่าไม่ผิด เขาอยู่มาก่อนที่จะเป็นป่าสงวน เขาไม่มีเจตนาบุกรุก รัฐก็ต้องคุยกับเขา หาที่ทำกินให้เขา หรือออกกฏหมายมาช่วยเขา แต่เจ้าหน้าที่รัฐเห็นว่าชาวบ้านไม่มีโฉนด พอรัฐไม่พอใจ บอกกูขี้เกียจแก้ปัญหา วันดีคืนดีกูก็จับล็อตนี้เข้าไป ศาลก็ไม่รู้ ถ้าจับมาต้องตัดสินตามกฎหมายมันก็ตายเลยสิ
ถ้ามองอย่างเป็นธรรม ศาลก็มีความเข้าใจเรื่องนี้ขึ้นบ้างแต่ยังมีสัดส่วนน้อยอยู่ ถ้าสมมุติว่าเราเป็นผู้พิพากษา ที่ชอบมากเลยเรื่องสิทธิ เรื่องสิ่งแวดล้อม เข้าใจกติกาสากล เรื่องกฎหมายที่ควรจะปรับปรุงให้สอดคล้องกับสังคม มีความคิดว่าต้องตัดสินคดีโดยเห็นใจประชาชน แต่ทีมงานตัดสินคดีมีสิบคน เก้าคนที่เหลือเขาไม่เข้าใจเหมือนเรา เขาจะมองยังไง หัวหน้าจะมองยังไง นี่คือระบบของศาลที่เรามองโดยทั่วไปว่ามันก็อิสระ เอาจริงๆไม่อิสระ
เดอะอีสานเรคคอร์ด: มองอย่างไรกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนในรอบสิบปีที่ผ่านมา เห็นว่าที่ผ่านมาได้เข้าไปร่วมเคลื่อนไหวด้วย
วิบูลย์: ตัวเองไม่ได้เป็นแกนเคลื่อนไหวอะไร เราดูเป็นรายประเด็น ถ้ามีการเคลื่อนไหวตรงไหนที่เราสนใจเราก็ไปร่วม เดินขบวนทุกรัฐบาล ถ้าเรื่องชาวบ้านเรื่องอะไรอย่างนี้ เอ้อ เอาด้วย ทั้งอภิสิทธิ์ ทักษิณ สมัคร ไปหมดหละ
กปปส. ก็ไม่เคยได้เห็นด้วยกับเขาทั้งหมด สนใจเป็นเรื่องๆ ไป เรื่องนิรโทษเหมาเข่งไม่เห็นด้วยก็ต้องแยกแยะ ประเด็นที่สนใจอย่างเรื่องพลังงาน มันถึงเวลาที่ต้องปฏิรูป ต้องดึงเข้ามาให้เป็นของประชาชน แต่ไอ้เรื่องล้มเลือกตั้งไม่ได้สนใจด้วย หรือว่าจะต้องยืนด่ายิ่งลักษณ์ด่าอะไรอันนี้ไม่เอา จะให้บอกว่าให้เอาประเด็นสุเทพเป็นตัวตั้ง มันก็จะมีเฉพาะคนของประชาธิปัตย์หรือคนที่ชอบแบบนั้น
ที่จริงการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร (ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) ก็จะมีหลายประเด็นที่เราสนใจ เราอยากผลักดันให้ประเด็นพวกนี้ขยับไปเป็นกระแสบ้าง ถ้าจะบอกว่าหวังให้มันชนะเด็ดขาดมันก็คงไม่ใช่
เดอะอีสานเรคคอร์ด: แล้วการเข้าไปร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองมีผลกับการทำงานทนายความบ้างไหม
วิบูลย์: ถูกเขาว่า แต่เราก็อธิบายอย่างนี้หละ ใครจะเชื่อไม่เชื่อก็ไม่รู้ ไม่รู้จะอธิบายยังไง เวลาไปคุยกับเสื้อเหลืองหรือ กปปส. เขาก็ว่าเราเป็นแดงนะ แล้วไปคุยกับเสื้อแดง เขาก็ว่าเราเป็นเหลืองกับเป็นกปปส. ไอ้ที่ว่าความให้นั้นชาวบ้านเสื้อแดงทั้งนั้น พี่น้องเสื้อแดงมีคดีทนายอู๊ดจะไม่ว่าความให้หรอ ก็ไม่ใช่ คนส่วนใหญ่ในแถบภูเขียวก็คนเสื้อแดงทั้งนั้น
เดอะอีสานเรคคอร์ด: ได้คุยกับไผ่บ้างไหมเรื่องการเมือง ดูเหมือนจะมีความคิดทางการเมืองที่ต่างกัน
วิบูลย์: ก็แลกเปลี่ยนกัน เขาเห็นว่าช่วงแรกๆ เห็นพ่อไปร่วมกับ กปปส. เขาก็มาคุยว่าคิดยังไง เราก็อธิบาย แต่เขามองในอีกมิติหนึ่ง ก็ถกเถียงกันไปตามปกติ เขาก็บอกว่าเขาก็ไม่ได้เป็นเสื้อแดง เราก็บอกว่า อย่าพยายามให้การเมืองมาแตะเรา แต่ที่ว่าการไม่แตะนี่ไม่ได้แปลว่าไม่ให้คุยกับใคร ไม่ให้ไปคุยกับเสื้อแดงเสื้อไหน ก็เตือนเขาถ้าจะเคลื่อนไหว เขาคิดอะไรได้ก็ทำแต่ต้องคิดดีๆ ก่อน
เราก็ไม่ได้ไปยุ่งด้วยมาก ตั้งแต่ตอนเลือกเรียนแล้วก็แนะนำว่าสาขาอะไรเป็นยังไงเขาก็เลือกเรียนกฎหมายเอง แต่เขาก็อยู่วงการกฎหมายมาตั้งแต่เด็กแล้ว เห็นเราไปกับชาวบ้านเขาก็ไปอยู่ด้วยเรื่อย ไผ่เขาจะรู้จักอาจารย์ทองใบ รู้จักทนายความคนอื่นหมด
พอหลังรัฐประหารปี 2557 ชีวิตก็ยุ่งยากขึ้น แม้ว่าจะมีเรื่องไผ่หรือไม่มีเรื่องไผ่มันก็ยุ่งยากอยู่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรมันก็ขึ้นบัญชีแล้วว่าชัยภูมิมีใครบ้างหัวรุนแรง หรือเคยต่อสู้ เขาก็จะมีบัญชีของเขาอยู่แล้ว ทีนี้พอมีเรื่องไผ่ กรณีนี้ก็ยากขึ้น เขาก็พุ่งเป้าชัดมาที่เรา
เดอะอีสานเรคคอร์ด: คิดว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาขบวนการณ์ต่อสู้ของชาวบ้านได้อะไรบ้าง
วิบูลย์: ชาวบ้านไม่ค่อยได้อะไร หมายถึงว่าไม่ได้อะไรในเชิงภาพใหญ่นะ แต่ที่จะได้คือ เขาได้เรียนรู้เยอะ ได้เห็นการต่อสู้ เห็นลีลาแต่ละรัฐบาล ลีลาของอำนาจ ลีลาของนักการเมือง ลีลาของเผด็จการ เขาเห็นอะไรเยอะไอ้ตรงนี้เป็นสิ่งที่ได้ เพราะชาวบ้านเขาก็ต่อสู้มาทุกรัฐบาลนะ ป่าไม้ที่ดินกี่ปีแล้ว เขื่อนนี่กี่ปีแล้ว มันไม่ได้หายไปไหน มันไม่ได้ถูกแก้ไขเลย
by The Isaan Record
ชื่อของนายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา หรือ ทนายอู๊ด ปรากฏในหน้าสื่ออยู่บ่อยครั้งในฐานะพ่อของ ‘ไผ่ ดาวดิน’ นักกิจกรรมเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยชื่อดัง ซึ่งเมื่อต้นเดือนถูกจับกุมจากการแชร์บทความบีบีซีไทยบนเฟซบุ๊ก แต่น้อยคนที่จะรู้จักทนายอู๊ดในฐานะทนายความด้านสิทธิมนุษยชนรุ่นบุกเบิกของภาคอีสาน ซึ่งอาสาว่าความคดีให้กับชาวบ้านที่มีปัญหาข้อพิพาทกับรัฐมานานกว่า 30 ปี
ทนายอู๊ด ทนายความรุ่นใหญ่วัย 60 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จากเด็กช่างก่อสร้างชาวกรุงเทพฯ จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จนชะตาชีวิตทำให้ต้องมาเป็นทนายความชาวบ้านในภาคอีสาน
เดอะอีสานเรคคอร์ดจับเข่าคุยกับทนายอู๊ด ว่าด้วยการชีวิตการเป็นทนายสิทธิว่าความให้กับชาวบ้านในภาคอีสาน กิจกรรมและความคิดทางการเมือง รวมทั้งบทเรียนการต่อสู้จากการทำงานกับชาวบ้าน
เดอะอีสานเรคคอร์ด: เริ่มสนใจปัญหาสังคมตั้งแต่ตอนไหน
วิบูลย์: ก่อนที่จะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ไปร่วมกิจกรรม 14 ตุลา [2516] ก็ได้เห็นอะไรเยอะ ตอนนั้นเรียนอาชีวะช่างก่อสร้างที่กรุงเทพฯ ตั้งใจจะไปสอบ ปวส. ต่อแต่สอบไม่ได้ เลยไปเรียนนิติศาสตร์รามคำแหง ตั้งใจจะเรียนรอสอบ ปวส. เรียนไปเรียนมาก็เลยยาว
ตอนเรียนในรามฯ ก็เหมือนกับนักศึกษาทั่วไปที่มีหลากหลาย พวกหนึ่งก็เรียนอย่างเดียว อีกพวกหนึ่งก็ทำกิจกรรมไปด้วย กิจกรรมก็แบ่งเป็นกิจกรรมแบบง่ายๆ แบบชมรมพุทธหรือกิจกรรมสร้างค่าย ส่วนอีกพวกก็สนใจเรื่องสิทธิเรื่องการเมือง เราไม่ได้สังกัดกลุ่มกิจกรรมไหน ไปกับเขาได้หมด ตอนนั้นจะมีเวทีแลกเปลี่ยนตามสถาบันบ่อยครั้ง เราก็ชอบไปฟัง ชอบเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ตอนนั้นนักศึกษาตื่นตัวเยอะ ช่วงนั้นก็เผด็จการเหมือนกัน และก็ถูกบีบเยอะ ถ้าตั้งคำถามว่าทำไมทำอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ มันก็จะเห็นความไม่เป็นธรรม
เดอะอีสานเรคคอร์ด: เริ่มมาเป็นทนายสิทธิได้ยังไง
วิบูลย์: พอเป็นทนายได้สักพักหนึ่งพรรคพวกก็ชวนให้ไปสมัครงานเอ็นจีโอมาทำงานในอีสาน เราก็ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับอีสานเลย ตอนนั้นงานเอ็นจีโอมันเยอะ ไปสมัครกับเพื่อนอีกสามคน เราแค่ไปสมัครเล่นๆ แต่สุดท้ายเป็นเราที่ได้คนเดียว ได้ที่สมาคมพัฒนาประชากรชุมชน ไปอยู่ที่อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้จับงานเรื่องพัฒนาแหล่งน้ำ เราก็ได้เรียนรู้อะไรมากมาย ตอนนั้นเริ่มมันส์กับอีสานแล้ว ส่วนใหญ่ทำงานแนวเอ็นจีโอเป็นหลัก ตอนนั้นก็พักเรื่องเป็นทนายไป ทำอยู่พุทไธสงอยู่หลายปีเลยคิดว่าจะพอแล้วกับงานเอ็นจีโอ ตั้งใจจะกลับไปเอาดีทางทนายที่กรุงเทพ แต่ว่ากลับไปกรุงเทพได้ไม่นาน พรรคพวกที่เป็นเอ็นจีโอก็เรียกให้กลับไปช่วยทำงานที่อีสานอีก คราวนี้มาอยู่ Plan International ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ ที่มหาสารคาม ทำงานที่นั่นอยู่หลายปี รับรู้การต่อสู้ของชาวบ้านมากมาย ทีนี้เลยคิดว่าไม่กลับไปแล้วกรุงเทพฯ ตั้งใจจะเป็นทนายอยู่ต่างจังหวัดดีกว่า ยิ่งมาอยู่อีสานรู้สึกมันสบายๆ ไม่เหมือนกรุงเทพฯ
พออยู่ Plan International ได้ 5-6 ปีก็ออกมาทำงานทนายที่อำเภอภูเขียว ชัยภูมิ เห็นว่าภูเขียวมีศาลด้วยเลยมาอยู่ ตอนนั้นก็เปิดร้านซ่อมเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ด้วย แฟนก็ขายของชำ เราก็รู้จักคนมากขึ้น ได้คุยกับคนเยอะ พอคนเขารู้ว่าเป็นทนายเขาก็ค่อยๆ เข้ามาหา
มาเป็นทนายเต็มที่ตอนที่อาจารย์ทองใบ ทองเปาด์ (ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนรางวัลรามอน แมกไซไซ) มาชวน ให้ไปช่วยบรรยายกฎหมายให้ชาวบ้าน พอดีรู้จักกับอาจารย์มานานแล้ว แกเห็นว่าเราอยู่ชัยภูมิเลยอยากให้ไปช่วย มันก็เป็นเรื่องของอาสาสมัครจิตอาสามาช่วยกัน เช่น วันเสาร์ อาทิตย์ อาจารย์ทองใบชวนไปบรรยายกฎหมาย ใครว่างก็ไปอำเภอนี้จังหวัดนี้ ส่วนมากจะสองวัน ส่วนเรื่องคดีก็ว่าความของเราไป คดีของชาวบ้านเราก็ช่วยไม่ได้เงิน มีแต่เขาช่วยค่ารถ ค่ากินก็กินกับชาวบ้านนอนกับเขา
เดอะอีสานเรคคอร์ด: ได้ทำคดีอะไรเป็นหลักและการทำคดีสิทธิของชาวบ้านมีความยากง่ายแตกต่างจากคดีปกติยังไง
วิบูลย์: คดีเรื่องความเดือดร้อนชาวบ้าน อย่างเช่นแถวทับนาย หรือกรณีเขื่อนโป่งขุนเพชร ทั้งสองที่อยู่ชัยภูมิ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเขื่อน เป็นปัญหาที่เต็มไปหมดในแถบนี้ ต่อมาก็ได้ไปทำที่อื่นๆ อย่าง เขื่อนปากมูนที่อุบลราชธานี เขื่อนราษีไศลจังหวัดศรีสะเกษ ไม่ใช่เฉพาะชัยภูมิ ไปทั่วอีสานหมด หลังๆ มาก็เป็นเรื่องที่ดินป่าไม้
คดีแพ่ง คดีอาญาทั่วไปมันก็ไม่ได้ต่างกันมาก แต่ปัญหาของชาวบ้านไม่ใช่คดีทั่วไป มันเป็นคดีที่ต้องสู้กับรัฐ มันต้องใช้มากกว่ากฎหมาย อย่างเช่นปัญหาป่าไม้ที่ดิน ใช้กฎหมายอย่างเดียวก็แพ้ เพราะมันต้องรบกับอำนาจรัฐ รบกับเจ้าหน้าที่รัฐ และศาลพยายามช่วยรัฐมากกว่าช่วยชาวบ้าน อันนี้เป็นความยุ่งยาก ตัวกฎหมายเองก็มีปัญหาเพราะว่าถ้าเราไปเปิดดูคำพิพากษาของศาล อย่างเช่นเรื่องป่าไม้ เขาไปเอากฏหมายตั้งแต่ยุค 2475 มาใช้ พอรัฐบาลชุดนี้ขึ้นก็บอกว่าจะชำระ จะทบทวนกฎหมายที่มันล้าสมัย ปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย ให้มันสอดคล้องกับสังคม ทุกรัฐบาลก็พูดแบบนี้ แต่สุดท้ายตรงนี้ไม่ขยับ
กรณีพื้นที่ป่า ถ้าแยกกฎหมายกับกระบวนการยุติธรรมให้มันชัด กระบวนการยุติธรรมต้องบอกว่าไม่ผิด เขาอยู่มาก่อนที่จะเป็นป่าสงวน เขาไม่มีเจตนาบุกรุก รัฐก็ต้องคุยกับเขา หาที่ทำกินให้เขา หรือออกกฏหมายมาช่วยเขา แต่เจ้าหน้าที่รัฐเห็นว่าชาวบ้านไม่มีโฉนด พอรัฐไม่พอใจ บอกกูขี้เกียจแก้ปัญหา วันดีคืนดีกูก็จับล็อตนี้เข้าไป ศาลก็ไม่รู้ ถ้าจับมาต้องตัดสินตามกฎหมายมันก็ตายเลยสิ
ถ้ามองอย่างเป็นธรรม ศาลก็มีความเข้าใจเรื่องนี้ขึ้นบ้างแต่ยังมีสัดส่วนน้อยอยู่ ถ้าสมมุติว่าเราเป็นผู้พิพากษา ที่ชอบมากเลยเรื่องสิทธิ เรื่องสิ่งแวดล้อม เข้าใจกติกาสากล เรื่องกฎหมายที่ควรจะปรับปรุงให้สอดคล้องกับสังคม มีความคิดว่าต้องตัดสินคดีโดยเห็นใจประชาชน แต่ทีมงานตัดสินคดีมีสิบคน เก้าคนที่เหลือเขาไม่เข้าใจเหมือนเรา เขาจะมองยังไง หัวหน้าจะมองยังไง นี่คือระบบของศาลที่เรามองโดยทั่วไปว่ามันก็อิสระ เอาจริงๆไม่อิสระ
เดอะอีสานเรคคอร์ด: มองอย่างไรกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนในรอบสิบปีที่ผ่านมา เห็นว่าที่ผ่านมาได้เข้าไปร่วมเคลื่อนไหวด้วย
วิบูลย์: ตัวเองไม่ได้เป็นแกนเคลื่อนไหวอะไร เราดูเป็นรายประเด็น ถ้ามีการเคลื่อนไหวตรงไหนที่เราสนใจเราก็ไปร่วม เดินขบวนทุกรัฐบาล ถ้าเรื่องชาวบ้านเรื่องอะไรอย่างนี้ เอ้อ เอาด้วย ทั้งอภิสิทธิ์ ทักษิณ สมัคร ไปหมดหละ
กปปส. ก็ไม่เคยได้เห็นด้วยกับเขาทั้งหมด สนใจเป็นเรื่องๆ ไป เรื่องนิรโทษเหมาเข่งไม่เห็นด้วยก็ต้องแยกแยะ ประเด็นที่สนใจอย่างเรื่องพลังงาน มันถึงเวลาที่ต้องปฏิรูป ต้องดึงเข้ามาให้เป็นของประชาชน แต่ไอ้เรื่องล้มเลือกตั้งไม่ได้สนใจด้วย หรือว่าจะต้องยืนด่ายิ่งลักษณ์ด่าอะไรอันนี้ไม่เอา จะให้บอกว่าให้เอาประเด็นสุเทพเป็นตัวตั้ง มันก็จะมีเฉพาะคนของประชาธิปัตย์หรือคนที่ชอบแบบนั้น
ที่จริงการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร (ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) ก็จะมีหลายประเด็นที่เราสนใจ เราอยากผลักดันให้ประเด็นพวกนี้ขยับไปเป็นกระแสบ้าง ถ้าจะบอกว่าหวังให้มันชนะเด็ดขาดมันก็คงไม่ใช่
เดอะอีสานเรคคอร์ด: แล้วการเข้าไปร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองมีผลกับการทำงานทนายความบ้างไหม
วิบูลย์: ถูกเขาว่า แต่เราก็อธิบายอย่างนี้หละ ใครจะเชื่อไม่เชื่อก็ไม่รู้ ไม่รู้จะอธิบายยังไง เวลาไปคุยกับเสื้อเหลืองหรือ กปปส. เขาก็ว่าเราเป็นแดงนะ แล้วไปคุยกับเสื้อแดง เขาก็ว่าเราเป็นเหลืองกับเป็นกปปส. ไอ้ที่ว่าความให้นั้นชาวบ้านเสื้อแดงทั้งนั้น พี่น้องเสื้อแดงมีคดีทนายอู๊ดจะไม่ว่าความให้หรอ ก็ไม่ใช่ คนส่วนใหญ่ในแถบภูเขียวก็คนเสื้อแดงทั้งนั้น
เดอะอีสานเรคคอร์ด: ได้คุยกับไผ่บ้างไหมเรื่องการเมือง ดูเหมือนจะมีความคิดทางการเมืองที่ต่างกัน
วิบูลย์: ก็แลกเปลี่ยนกัน เขาเห็นว่าช่วงแรกๆ เห็นพ่อไปร่วมกับ กปปส. เขาก็มาคุยว่าคิดยังไง เราก็อธิบาย แต่เขามองในอีกมิติหนึ่ง ก็ถกเถียงกันไปตามปกติ เขาก็บอกว่าเขาก็ไม่ได้เป็นเสื้อแดง เราก็บอกว่า อย่าพยายามให้การเมืองมาแตะเรา แต่ที่ว่าการไม่แตะนี่ไม่ได้แปลว่าไม่ให้คุยกับใคร ไม่ให้ไปคุยกับเสื้อแดงเสื้อไหน ก็เตือนเขาถ้าจะเคลื่อนไหว เขาคิดอะไรได้ก็ทำแต่ต้องคิดดีๆ ก่อน
เราก็ไม่ได้ไปยุ่งด้วยมาก ตั้งแต่ตอนเลือกเรียนแล้วก็แนะนำว่าสาขาอะไรเป็นยังไงเขาก็เลือกเรียนกฎหมายเอง แต่เขาก็อยู่วงการกฎหมายมาตั้งแต่เด็กแล้ว เห็นเราไปกับชาวบ้านเขาก็ไปอยู่ด้วยเรื่อย ไผ่เขาจะรู้จักอาจารย์ทองใบ รู้จักทนายความคนอื่นหมด
พอหลังรัฐประหารปี 2557 ชีวิตก็ยุ่งยากขึ้น แม้ว่าจะมีเรื่องไผ่หรือไม่มีเรื่องไผ่มันก็ยุ่งยากอยู่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรมันก็ขึ้นบัญชีแล้วว่าชัยภูมิมีใครบ้างหัวรุนแรง หรือเคยต่อสู้ เขาก็จะมีบัญชีของเขาอยู่แล้ว ทีนี้พอมีเรื่องไผ่ กรณีนี้ก็ยากขึ้น เขาก็พุ่งเป้าชัดมาที่เรา
เดอะอีสานเรคคอร์ด: คิดว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาขบวนการณ์ต่อสู้ของชาวบ้านได้อะไรบ้าง
วิบูลย์: ชาวบ้านไม่ค่อยได้อะไร หมายถึงว่าไม่ได้อะไรในเชิงภาพใหญ่นะ แต่ที่จะได้คือ เขาได้เรียนรู้เยอะ ได้เห็นการต่อสู้ เห็นลีลาแต่ละรัฐบาล ลีลาของอำนาจ ลีลาของนักการเมือง ลีลาของเผด็จการ เขาเห็นอะไรเยอะไอ้ตรงนี้เป็นสิ่งที่ได้ เพราะชาวบ้านเขาก็ต่อสู้มาทุกรัฐบาลนะ ป่าไม้ที่ดินกี่ปีแล้ว เขื่อนนี่กี่ปีแล้ว มันไม่ได้หายไปไหน มันไม่ได้ถูกแก้ไขเลย