วันศุกร์, มีนาคม 22, 2567

ก้าวไกลเปิดหลักฐาน “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” ถูกใช้เป็น “เครื่องมือของรัฐในการผูกขาดความจริง” ตรวจสอบแล้วเป็นข่าวจริง แต่ไม่เผยแพร่เพราะ “ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล”!?


พรรคก้าวไกล - Move Forward Party
11h·
“ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” = ตรวจสอบแล้วเป็นข่าวจริง แต่ไม่เผยแพร่เพราะ “ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล”!?
ชมคลิปที่
(https://www.facebook.com/watch/?v=353919960296072&t=0)
.....

พรรคก้าวไกล - Move Forward Party
14h ·

[ เนี่ยน่ะหรอ “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” : ใช้เงินภาษี 69 ล้านเพื่อต่อต้านข่าวที่เป็นโทษต่อรัฐบาล ]
.
“ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” (Anti-Fake News Center) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ในช่วงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อดูแล กลั่นกรอง ตรวจสอบ และกำจัด “ข่าวปลอม” ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง และนำมาแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบโดยเร็ว
.
แต่ตลอด 4 ปี 5 เดือนที่ดำเนินการมา เกิดคำถามจากสังคมมาโดยตลอดว่าศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งนี้มีประสิทธิภาพ มีความเป็นกลางและความเป็นอิสระมากน้อยเพียงใด เป็นที่พึ่งพาของประชาชนในการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ หรือเป็นเพียงเครื่องมือของรัฐบาลในการผูกขาดและปกปิดความจริง
.
ดังนั้น ในการประชุมสภาฯฯ วันนี้ (21 มี.ค. 67) ซึ่งมีการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 วาระ 2 ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล - Pakornwut Udompipatskul สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้อภิปรายขอสงวนคำแปรญัตติในมาตรา 16 (งบประมาณกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) ในส่วนของโครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม หรือที่เรียกกันว่า “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” โดยขอตัดงบประมาณทิ้งทั้งโครงการ 69.57 ล้านบาท
.
ปกรณ์วุฒิอภิปรายว่า จากผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในเดือนกันยายน 2566 ที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ของศูนย์ฯ ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ คนใหม่เข้ามาดำรงตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้รับข้อมูลสำหรับการตรวจสอบทั้งหมด 5.47 ล้านข้อความ โดยส่วนใหญ่ได้มาจากการใช้เครื่องมือกวาดข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และมีบางส่วนได้มาจากการรับเรื่องร้องเรียนของประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ฯ เช่น เฟซบุ๊ก และไลน์
.
จาก 5.47 ล้านข้อความ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้คัดกรองจนเหลือจำนวนเรื่องที่เข้าเกณฑ์การตรวจสอบทั้งสิ้น 539 เรื่อง จากนั้นจึงส่งเรื่องไปยังหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งสุดท้ายได้รับการตรวจสอบกลับมา 356 เรื่อง แต่สามารถ “เผยแพร่ได้” เพียง 235 เรื่องเท่านั้น โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแบ่งข้อมูลที่ตรวจสอบได้แต่ไม่ได้เผยแพร่ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) หน่วยงานไม่สามารถชี้แจงได้ 2) หน่วยงานปฏิเสธการตอบกลับ และ 3) หน่วยงานไม่ประสงค์เผยแพร่
.
.
[ หน่วยงานชี้แจงไม่ได้ แต่ไม่ตามเรื่องต่อ สะท้อนความไร้ประสิทธิภาพ ]
.
สำหรับเนื้อหาในกลุ่มที่ 1) และ 2) มีความคล้ายคลึงกัน ยกตัวอย่างเช่น ข่าวที่ปรากฏออกมาว่าบริษัทที่รับงานจาก กสทช.มีลักษณะเป็นบ้านทาวน์เฮาส์และไม่มีเว็บไซต์ของบริษัท ศูนย์ฯ ส่งข้อมูลไปตรวจสอบที่ กสทช. และ กสทช.ได้ตอบกลับมาว่า “ไม่สามารถชี้แจงได้” โดยไม่ระบุเหตุผล แล้วศูนย์ฯ ก็ไม่คิดที่จะติดตามถามซ้ำกลับไปอีกรอบ
.
ตัวอย่างที่สองคือ ข่าวที่ปรากฏออกมาว่าผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเดือนกันยายนนี้เตรียมรับเงินสูงสุด 1,900 บาท สามารถกดเป็นเงินสดได้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมส่งข้อมูลไปสอบถามกลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง แต่หน่วยงานปฏิเสธการตอบกลับ โดยแจ้งว่า “เพื่อความชัดเจนและถูกต้องรบกวนสอบถามกระทรวงการคลัง” กลายเป็นว่ากระทรวงการคลังบอกให้ไปถามกระทรวงการคลัง แล้วศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมก็ปิดเคสไปเลย สมชื่อโครงการ “ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม” คือแค่ประสานงาน แต่ไม่ติดตาม ไม่ทวงถาม ไม่ทำอะไรทั้งสิ้น
.
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ข่าวที่ว่า ครม.มีมติขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ชายแดนใต้อีกหนึ่งเดือน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบไปยังกรมประชาสัมพันธ์ และได้รับคำตอบว่าไม่สามารถชี้แจงได้เพราะไม่มีข้อมูล แต่ในกรณีนี้ข้อเท็จจริงคือเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ว่ามีการประกาศขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีกหนึ่งเดือนจริง เป็นข่าวที่หาได้ทั่วไป แต่ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมกลับไม่สามารถตรวจสอบได้
.
.
[ ตรวจสอบแล้วเป็นข่าวจริง แต่ไม่เผยแพร่เพราะ “ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล”!? ]
.
เป็นเรื่องน่าสงสัยมาตลอด 4 ปีว่าทำไมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมถึงเลือกที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหน่วยงานราชการเท่านั้น ทั้งที่บางเรื่องก็เป็นข้อมูลที่หาได้ทั่วไป แต่ก็สิ้นสงสัยหลังจากได้ดูเนื้อหากลุ่มที่ 3) คือข่าวที่หน่วยงานไม่ประสงค์เผยแพร่
.
ตามหลักสากล หลักการที่สำคัญที่สุดขององค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริงก็คือความเป็นกลางและความเป็นอิสระ ซึ่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมก็ย้ำมาตลอดว่าตัวเองตรวจสอบอย่างเป็นกลางและเป็นอิสระ แต่เมื่อลองมาดูตัวอย่างข่าวที่หน่วยงานไม่ประสงค์เผยแพร่สักสองตัวอย่าง ก็จะเห็นว่าศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมไม่ได้มีความเป็นอิสระจริง แต่เป็นเพียงเครื่องมือของรัฐบาลเท่านั้น
.
ตัวอย่างแรก จากข่าวที่ปรากฏออกมาว่า ครม.อนุมัติแผนบริหารหนี้สาธารณะปี 2567 ก่อหนี้ใหม่ 1.94 แสนล้านบาทจริงหรือไม่ เมื่อศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบไปที่กรมประชาสัมพันธ์กลับได้รับคำชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวเป็น “ข่าวจริง” แต่ไม่ประสงค์เผยแพร่เพราะ “ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล”
.
ตัวอย่างถัดไป จากข่าวที่ว่าทำเนียบรัฐบาลใช้งบประมาณในการจัดซื้อยางรถยนต์ 8 เส้น ราคา 3.4 ล้านบาท กรมประชาสัมพันธ์ก็บอกว่าข้อมูลดังกล่าวเป็น “ข่าวจริง” แต่ไม่ประสงค์เผยแพร่เพราะ “ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล” อีกเช่นกัน
.
สิ่งนี้ทำให้ปกรณ์วุฒิหายสงสัย ว่าทำไมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมถึงตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานราชการเท่านั้น เพราะตลอดเวลาตั้งแต่ตั้งศูนย์แห่งนี้ขึ้นมา การส่งเรื่องไปให้หน่วยงานราชการไม่ใช่การขอให้ตรวจสอบ แต่มันคือการขออนุญาตว่าหน่วยงานราชการจะยอมให้เผยแพร่หรือไม่ หน่วยงานว่าอย่างไรศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมก็มีหน้าที่แค่ทำไปตามนั้น
.
“นี่คือหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดว่าตลอด 4 ปี 5 เดือนตั้งแต่ก่อตั้งมา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมไม่เคยมีความเป็นกลาง ไม่เคยมีความเป็นอิสระ เป็นแค่เครื่องมือของรัฐในการผูกขาดความจริงแบบที่รัฐอยากให้ประชาชนรู้ และปกปิดความจริงที่รัฐไม่อยากให้ประชาชนเห็นเท่านั้น และผมยืนยันว่าโครงการแบบนี้ไม่ควรได้รับงบประมาณจากภาษีประชาชนแม้แต่บาทเดียว”
.
#ก้าวไกล #บทสรุปงบ67 #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
คลิปเต็ม (https://youtu.be/VfoaauYrYBM?feature=shared)
.....
ก้าวไกลเปิดหลักฐาน “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” ถูกใช้เป็น “เครื่องมือของรัฐในการผูกขาดความจริง” เสนอตัดงบทิ้งทั้งก้อน


ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล วิจารณ์ว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม “ไม่เคยมีความเป็นกลาง ไม่เคยมีความเป็นอิสระ”

หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
21 มีนาคม 2024

ในวันที่สองของการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วาระที่ 2-3 วงเงิน 3,480,000 ล้านบาท สส. ก้าวไกล เสนอให้ตัดงบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมของกระทรวงดีอีเอสทิ้งทั้งก้อน พร้อมเปิดเผยหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าถูกใช้ “เครื่องมือของรัฐในการผูกขาดความจริงแบบที่รัฐอยากให้ประชาชนรู้”

ในระหว่างการอภิปรายงบประมาณของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ภายใต้งบ 5,347 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2567 สภาผู้แทนราษฎร ได้ปรับลดงบลงจากเดิม 5,419.1 ล้านบาท สส.ก้าวไกล ได้หยิบยกการจัดสรรงบ 69.57 ล้านบาท ให้โครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม หรือ “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” ขึ้นมาอภิปราย

นี่ถือเป็นปีงบประมาณที่ 4 แล้วที่นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (กก.) อภิปรายงบของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตั้งแต่ยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาถึงรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน

จากการตรวจสอบข้อมูลผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในเดือน ก.ย. 2566 ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของศูนย์ ซึ่งเป็นช่วงที่นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เข้ารับตำแหน่ง รมว.ดีอีเอส แล้ว นายปกรณ์วุฒิพบว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้รับข้อมูลสำหรับการตรวจสอบทั้งหมด 5.47 ล้านข้อความ แต่ได้คัดกรองจนเหลือเรื่องที่เข้าเกณฑ์การตรวจสอบทั้งสิ้น 539 เรื่อง จากนั้นจึงส่งเรื่องไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง สุดท้ายมีเรื่องที่ได้รับการตรวจสอบกลับมา 356 เรื่อง แต่สามารถ “เผยแพร่ได้” เพียง 235 เรื่องเท่านั้น

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแบ่งข้อมูลที่ตรวจสอบได้ แต่ไม่ได้เผยแพร่ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) หน่วยงานไม่สามารถชี้แจงได้ 2) หน่วยงานปฏิเสธการตอบกลับ และ 3) หน่วยงานไม่ประสงค์เผยแพร่


หน้าแฟนเพจเฟซบุ๊กของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 1 แสนคน

นายปกรณ์วุฒิได้หยิบยกตัวอย่างข้อมูลในกลุ่มที่ 1 และ 2 ที่ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบ แต่ไม่ได้รับการเผยแพร่ อาทิ
  • ตัวอย่างแรก ข่าวบริษัทที่รับงานจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีลักษณะเป็นบ้านทาวน์เฮาส์และไม่มีเว็บไซต์ของบริษัท >> ศูนย์ส่งข้อมูลไปตรวจสอบที่ กสทช. >> กสทช. ตอบกลับมาว่า “ไม่สามารถชี้แจงได้” โดยไม่ระบุเหตุผล “แล้วศูนย์ก็ไม่คิดที่จะติดตามถามซ้ำกลับไปอีกรอบ”
  • ตัวอย่างที่สอง ข่าวผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเดือน ก.ย. เตรียมรับเงินสูงสุด 1,900 บาท สามารถกดเป็นเงินสดได้ >> ศูนย์ส่งข้อมูลไปสอบถามกลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง >> หน่วยงานปฏิเสธการตอบกลับ โดยแจ้งว่า “เพื่อความชัดเจนและถูกต้อง รบกวนสอบถามกระทรวงการคลัง” เนื่องจากดูแลเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐโดยตรง
“กลายเป็นว่ากระทรวงการคลังบอกให้ไปถามกระทรวงการคลัง แล้วศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมก็ปิดเคสไปเลย สมชื่อโครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม คือแค่ประสานงาน แต่ไม่ติดตาม ไม่ทวงถาม ไม่ทำอะไรทั้งสิ้น” นายปกรณ์วุฒิกล่าว
  • ตัวอย่างที่สาม ข่าวคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติขยายการบังคับใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ชายแดนใต้อีก 1 เดือน >> ศูนย์ตรวจสอบไปยังกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) สำนักนายกรัฐมนตรี >> กปส. ตอบว่า “ไม่สามารถชี้แจงได้เพราะไม่มีข้อมูล” แต่ข้อเท็จจริงกรณีนี้คือเมื่อ 18 ก.ย. 2566 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ว่ามีการประกาศขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือนจริง “เป็นข่าวที่หาได้ทั่วไป แต่ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมกลับไม่สามารถตรวจสอบได้”


ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา นายปกรณ์ “สงสัยมาตลอด” ว่าทำไมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมถึงเลือกจะตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหน่วยงานราชการเท่านั้น ทั้งที่บางเรื่องเป็นข้อมูลที่หาได้ทั่วไป แต่ก็สิ้นสงสัยหลังจากได้ดูเนื้อหากลุ่มที่ 3 คือข่าวที่หน่วยงานไม่ประสงค์เผยแพร่ ซึ่งเขายกตัวอย่างไว้บางส่วน ดังนี้
  • ตัวอย่างแรก ข่าว ครม.อนุมัติแผนบริหารหนี้สาธารณะปี 2567 ก่อหนี้ใหม่ 1.94 แสนล้านบาทจริงหรือไม่ >> ศูนย์ตรวจสอบไปที่กรมประชาสัมพันธ์ >> กปส. ชี้แจงว่า “ข้อมูลดังกล่าวเป็นข่าวจริง” แต่ไม่ประสงค์เผยแพร่เพราะ “ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล”
  • อีกตัวอย่าง ข่าวทำเนียบรัฐบาลใช้งบประมาณในการจัดซื้อยางรถยนต์ 8 เส้น ราคา 3.4 ล้านบาท >> ศูนย์ตรวจสอบไปที่กรมประชาสัมพันธ์ >> กปส. บอกว่าข้อมูลดังกล่าวเป็น “ข่าวจริง” แต่ไม่ประสงค์เผยแพร่เพราะ “ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล” อีกเช่นกัน
สส.ก้าวไกลกล่าวว่า สิ่งนี้ทำให้หายสงสัยว่าทำไมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมถึงตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานราชการเท่านั้น เพราะตลอดเวลาตั้งแต่ตั้งศูนย์แห่งนี้ขึ้นมา การส่งเรื่องไปให้หน่วยงานราชการ “ไม่ใช่การขอให้ตรวจสอบ แต่มันคือการขออนุญาตว่าหน่วยงานราชการจะยอมให้เผยแพร่หรือไม่” หน่วยงานว่าอย่างไร ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมก็มีหน้าที่แค่ทำไปตามนั้น

“นี่คือหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดว่าตลอด 4 ปี 5 เดือนตั้งแต่ก่อตั้งมา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมไม่เคยมีความเป็นกลาง ไม่เคยมีความเป็นอิสระ เป็นแค่เครื่องมือของรัฐในการผูกขาดความจริงแบบที่รัฐอยากให้ประชาชนรู้ และปกปิดความจริงที่รัฐไม่อยากให้ประชาชนเห็นเท่านั้น และผมยืนยันว่าโครงการแบบนี้ไม่ควรได้รับงบประมาณจากภาษีประชาชนแม้แต่บาทเดียว” นายปกรณ์วุฒิกล่าว

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำชี้แจงจาก กมธ. เกี่ยวกับประเด็นนี้แต่อย่างใด

นอกจากงบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ยังมี กมธ.เสียงข้างน้อย และ สส. คนอื่น ๆ อภิปรายปัญหาการจัดงบของกระทรวงดีอีเอสอีกหลากหลายประเด็น แต่สุดท้ายที่ประชุมสภามีมติเห็นด้วยตาม กมธ.เสียงข้างมาก 279 ต่อ 146 เสียง

https://www.bbc.com/thai/articles/c84j8w0jp3wo