วันพฤหัสบดี, มีนาคม 14, 2567

เกมเสี่ยงของการยัดข้อหาล้มเจ้าให้กับพรรคก้าวไกล ถ้าเกิดเลือกตั้งครั้งถัดไป กลุ่มการเมืองที่โดนข้อหาล้มเจ้า ได้มาเป็นอันดับ 1 หรือคะแนนความนิยมไม่น้อยไปกว่าเดิม แสดงว่า... ?!?


สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
1d·

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โพสต์ IG ภาพเมื่อครั้งปราศรัยใหญ่ หาเสียงพรรคก้าวไกลโค้งสุดท้าย หลัง กกต.มีมติส่งศาล รธน.สั่งยุบพรรคก้าวไกล ระบุ
“ไม่มีพวกคุณ ไม่มีพวกเรา ก้าวต่อไปครับ
.....
Thanapol Eawsakul
16h·

เกมเสี่ยงของการยัดข้อหาล้มเจ้าให้กับพรรคก้าวไกล
.........
หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ถึงแม้จะมีการยุบพรรคการเมืองโดยศาลรัฐธรรมนูญ
ไม่ว่าจะเป็นพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย หรือพรรคอนาคตใหม่
ล้วนแล้วแต่ใช้ปัญหาเรื่องเทคนิคไม่ได้เกี่ยวอะไรกับอุดมการณ์ทางการเมือง
(อาจจะเป็นแต่พรรคไทยรักษาชาติซึ่งเป็นกรณีเฉพาะอีกด้านหนึ่งคือการหักหลังกันเองของคนไปทำดีล)
กรณีพรรคอนาคตใหม่ถ้าจำกันได้คดีอิลลูมินาติ ซึ่งเป็นคดีทางอุดมการณ์ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องในเดือนมกราคม 2563 แต่มายุบพรรคในข้อหาเงินกู้เงิน ในเดือนถัดมา
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 และมติของกกต. ในการสั่งฟ้องเพื่อให้ยุบพรรคก้าวไกลในวันที่ 12 มีนาคม 2567 แถมด้วยการที่ปปช. จะลงดาบซ้ำด้วยข้อหาขัดจฉริยธรรมกรณีมี 44 สส. ลงนามแก้ไข 112
นั้นเป็นครั้งแรกที่จะเป็นการยื่นยุบพรรคด้วยข้อหาทางอุดมการณ์
และข้อหาอะไรที่คิดว่าใหญ่พอที่จะยื่นยุบพรรค
คำตอบก็คือข้อหา "ล้มเจ้า"นั่นแหละ
แต่เรียกในภาษาของศาลรัฐธรรมนูญว่า
ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
แต่ทั้งหมดก็ต้องมีรายจ่าย
การยื่นยุบพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ด้วยข้อหาล้มเจ้า
ถ้าเกิดเลือกตั้งครั้งถัดไป กลุ่มการเมืองที่โดนข้อหาล้มเจ้ามาเป็นอันดับ 1
หรือคะแนนความนิยมไม่น้อยไปกว่าเดิม
ถ้าคิดแบบมักง่ายก็คงมองว่า กลับมาอีกก็ยุบอีก
คนคิดแบบนี้ได้ก็ต้องเป็นพวกมักง่าย และประเมินผลทางการเมืองต่ำไป
.....
Thanapol Eawsakul
7h·
ยังยืนยันเหมือนเดิมนะครับ
สิ้นปี 2567 ยังมีพรรคก้าวไกล
ประวัติศาสตร์การยุบพรรคการเมืองที่ผ่านมา
ไม่มีครั้งไหนหรอกครับที่ เงื้อง่าราคาแพงเท่ากับครั้งนี้
และชนชั้นนำก็ยังไม่มีใครไว้วางใจทักษิณแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่จะปล่อยให้เป็นกลุ่มนำทางการเมืองกลุ่มเดียว
.....
Thanapol Eawsakul
6h ·

เดจา วู ศักดินา ปรีดี พิบูล กลางทศวรรษ 2480 ถึง 2500 vs ศักดินา ทักษิณ อนาคตใหม่ก้าวไกล ทศวรรษ 2560
แต่ใช่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเหมือนเดิม
.......
(1)
นับจากการปฏิวัติ 2475 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรีดีกับพิบูลร่วมมือกันในการจำกัดอำนาจศักดินาจวบจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปรีดีตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นและเสรีไทยในที่สุด ก็ได้จับมือกับฝ่ายศักดินาในการล้มรัฐบาลพิบูล
จนมาถึงการตั้งรัฐบาลปรีดีและพวก
ส่วนฝ่ายศักดินาเองถึงแม้จะร่วมมือกับปรีดีแต่ก็กลายเป็นหุ้นส่วนเสียงข้างน้อยจึงต้องไปจับมือกับฝ่าย พิบูลจนนำมาสู่การรัฐประหาร 2490 กวาดล้างรัฐบาลปรีดีและพวก
จวบจนปลายทศวรรษ 2490 เมื่อฝ่ายศักดินารุกหนักรัฐบาลพิบูล 2 เพลี่ยงพล้ำ จึงนำมาสู่การส่งสัญญาณจับมือกับปรีดี ในการสู้กับฝ่ายศักดินา
แต่ทุกอย่างก็สายไปแล้วเมื่อสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ทำการรัฐประหาร 2500
หรือเป็นยุคสิ้นสุดรัฐบาลคณะราษฎรโดยสมบูรณ์
(2)
รัฐบาลพรรคไทยรักไทยภายใต้การนำกองทักษิณ ชินวัตร อัศวินลูกที่ 3 ความหวังของชนชั้นนำทั้งหมดในการกอบกู้วิกฤตประเทศจากต้มยำกุ้ง 2540
ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยรักไทยจัดตั้งได้ในปี 2544 สามารถส่งมอบนโยบายที่หาเสียงไว้จนเกิดความนิยมอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ก็ยังมีวิบากกรรมเรื่องคดีซุกหุ้นที่ตามมาหลอกหลอนทักษิณ
จนกระทั่งคดีดังกล่าวได้รับการปัดเป่าจนสิ้นข้อหาโดยความยินยอมพร้อมใจของชนชั้นนำ
แต่เมื่อรัฐบาลทักษิณมีความนิยมมากขึ้นเกิดความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกับฝ่ายศักดินา
จนนำไปสู่ความตึงเครียดและจบลงที่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
เมื่อพันธมิตรกลายมาเป็นศัตรู
ตลอดระยะเวลา 17 ปีหลังรัฐประหารทักษิณกลายเป็นกรวดในรองเท้า ที่ไม่สามารถกำจัดได้แล้วจะใช้ความพยายามเพียงใดก็ตาม
จนวันหนึ่งเมื่อพรรคก้าวไกลสามารถชนะการเลือกตั้ง กลายเป็นว่าก้าวไกลขยับมาเป็นศัตรูอันดับ 1 แทนของทักษิณ
ดังนั้นการหวนมาจับมือกันระหว่าง ศักดินากับทักษิณในการต้านและบดขยี้พรรคก้าวไกลในปัจจุบัน
จึงไม่ต่างอะไรกับการฉายหนังซ้ำกับเหตุการณ์เมื่อ 70 กว่าปีที่แล้ว
(3)
คำถามส่งท้ายก็คือว่า นี่ยังเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ยังไม่สิ้นสุด
คำถามก็คือ
ถึงแม้สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นดังเดจาวูของสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อน
แต่ก็ใช่ว่าผลลัพธ์จะเหมือนเดิม