วันเสาร์, กรกฎาคม 08, 2566

นักสิทธิฯ-ส.ส. รุมค้านรัฐส่งเด็ก 126 ราย ไร้ทะเบียนในรร.อ่างทอง กลับเมียนมา


กัณวีร์ สืบแสง Kannavee Suebsang
17h
·
มีเด็ก 126 คน หลุดออกจากระบบการศึกษา และอาจถูกผลักดันกลับไปพื้นที่สงคราม
เข้าเยี่ยมน้องๆ 35 คน จาก 126 คน ณ บ้านพักฉุกเฉินแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ที่เป็นกรณีเด็กต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย เพื่อรับการศึกษาในโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ จ. อ่างทอง และเป็นเหตุที่ว่าผู้อำนวยการโรงเรียนพยายามขอขอทะเบียนนักเรียนที่ไม่มีสัญชาติ (G code) แต่เมื่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) อ่างทองตรวจสอบเพราะเห็นจำนวนที่มากผิดปกติ ทำให้พบว่ามีการนำเด็กจากเมียนมาเข้ามาเรียนจำนวนมาก และได้มีการแจ้งความดำเนินคดีกับผู้อำนวยการโรงเรียนดังกล่าวและเตรียมผลักดันเด็กกลุ่มนี้กลับประเทศต้นทางทำให้ต้องออกจากการศึกษากลางคัน
ฟังแล้วคงคิดตามไปตามตัวกฎหมายไทยที่มีอยู่ว่าก็คงถูกต้อง คือ อันแรก พรบ.ตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ใครเข้าเมืองผิดกฎหมาย ก็ต้องถูกดำเนินคดี จับ-ดำเนินคดี-รับโทษ-ผลักดันกลับ อันนี้ง่ายครับ หากทำเช่นนี้แล้วทุกอย่าง คือ จบ ง่าย และเร็ว หากแต่ลืมไปอย่างนึง น้องๆ เหล่านี้ คือ เด็ก อายุ 7 - 16 ปี (แถมมีเด็ก 5 ขวบที่ตามพี่มาด้วย 1 คน) !!
อันที่สอง คือ การลักลอบนำพา ก็ต้องใช้ พรบ.ตรงจคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ด้วย คือ ก็ต้องดำเนินคดีไปกับใครก็แล้วแต่ที่เกี่ยวข้องในขบวนการนำพาหรือลักลอบต่างๆ ตามที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีและว่าไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่ “เด็ก” เป็นเหยื่อ มิใช่อยู่ในขบวนการใดๆ
อันที่สาม MOU 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ตาม พรบ.ตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 หากพบเด็กกระทำผิด กม.ตรวจคนเข้าเมือง ไม่ต้องดำเนินคดีใดๆสามารถส่งกลับได้เลยตามกระบวนการที่วางไว้
ดูตามกฎหมายที่มีอยู่ด้านตรวจคนเข้าเมือง รวมถึงกระบวนการต่างๆ ก็น่าจะส่งกลับได้นะ ??
แต่เรายังมี พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ที่ครอบคลุม “เด็กทุกคนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี” เด็ก คือ เด็ก ไม่แยกแยะสัญชาติ และใน พรบ.นี้ โดยเฉพาะในหมวดและมาตราที่การคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก ดังนั้น ส่วนราชการต้องสังเคราะห์สถานการณ์เรื่องผลประโยชน์สูงสุดของเด็กให้ดีว่าเด็กมีความประสงค์ในการศึกษาเล่าเรียน ไม่ได้แสวงหาประโยชน์ด้านอื่น
อีกทั้งนโยบายการศึกษาแห่งชาติ เรื่อง “Education for All” การศึกษาสำหรับทุกคน โดยไม่แยกแยะชาติพันธุ์ และสัญชาติ
ดังนั้น ทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองเด็กและนโยบายการศึกษาแห่งชาติ น้องๆ 126 คนนี้ต้องได้รับความคุ้มครองโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กและเป็นไปตามนโยบายการศึกษาสำหรับทุกคน
ตอนนี้เหมือนเรามีกฎหมายหลายฉบับ และเรามองไปรอบๆ แล้วหยิบยกกฎหมายและระเบียบปฏิบัติบางอย่างมาปรับใช้ เพื่อให้เป็นการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็ว และจบง่ายที่สุด แต่การแก้ไขปัญหานี้มันส่งผลกระทบระยะยาว โดยเฉพาะต่อเด็กมากกว่า 126 คนที่ต้องใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต
ณ ปัจจุบัน น้องๆ ทั้ง 126 คน ได้ออกจากระบบการศึกษาสามัญเรียบร้อย และกำลังจะถูกดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย ที่แก้ไขง่ายที่สุด คือ ส่งกลับประเทศต้นกำเนิดเมื่อติดต่อผู้ปกครอง และได้รับการตรวจสอบได้ว่าเป็นผู้ปกครองที่แท้จริง
ง่ายนะ แต่ผมว่าไม่ถูก ไม่ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน ไม่ได้ดูว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรทางมนุษย์ที่มีคุณค่า การศึกษาเป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้คนมีคุณภาพและร่วมสร้างพัฒนาโลกแห่งนี้ได้ การที่ไทยให้การศึกษาต่อเด็กไม่ว่าสัญชาติใด ตามงบประมาณและแนวทางการปฏิบัติที่มีอยู่ได้ เราควรทำ ไม่งั้นเราจะมีการขอทำทะเบียน G Code สำหรับเด็กไม่มีสัญชาติไปทำไม ??
แยกให้ออกครับ ขบวนการลักลอบนำพา (หากมีจริง) เหยื่อผู้ถูกกระทำ อะไรคือผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก การศึกษาสำหรับทุกคน !!
นี่ยังไม่ได้พิจารณาถึงพื้นที่ที่เด็กๆ กำลังจะถูกผลักดันไปยังพื้นที่ ที่จะมีสงครามระหว่างกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมานะครับ หลักการไม่ส่งกลับ non-refoulement ที่เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ทุกประเทศในโลกต้องเคารพและปฏิบัติตามนะครับ
หากเป็นเรา ถามจริงเถอะ จะตัดใจให้ลูกๆ ไปยังอีกประเทศหนึ่งเพื่อไปเรียนหนังสือได้เหรอ หากมันไม่หมดหนทางจริงๆ ตัดใจได้มั้ยหากเป็นลูกๆ ของเรา ที่ต้องออกจากอ้อมอกของเราทุกคน
ผมจะตามต่อนะครับ
.....

Paskorn Jumlongrach
14h
·
ใครที่ใจร้าย
กับเด็กนักเรียน 126 คน
--------
อ่านที่หนูน้อยคนหนึ่งระบายความรู้สึก
ไว้ในเม้นต์ของโพสต์หนึ่ง(ในภาพ)
ทำให้รู้สึกว่า "เฮ่ย ทำไมผู้ใหญ่ที่ทำเรื่องนี้ถึงใจร้ายนักว่ะ"
นอกจากบอกว่าเด็กๆเหล่านี้เป็นเด็กต่างด้าวแล้ว
ยังให้ออกจากโรงเรียนกลางคัน
แถมเร่งรีบผลักดันเด็กๆเหล่านี้
ออกนอกประเทศช่องทางด่านแม่สายอีก

หนูน้อยคนนี้เป็น 1 ในนักเรียน 126 คน
ที่ถูกประโคมข่าวว่ามีการนำพา
เด็กต่างด้าวกลุ่มใหญ่ไปเรียนที่ รร.ไทยรัฐวิทยา 6 จ.อ่างทอง
การประโคมข่าวมุมเดียวเสมือนว่า
เป็นเรื่องราวของขบวนการค้ามนุษย์
ผลก็คือทั้งตำรวจ พม.และกระทรวงศึกษา
จับเด็ก 126 คนใส่รถบัสเดินทางจากอ่างทองไปเชียงราย
เพื่อผลักดันกลับประเทศพม่า

ผมรู้สึกแปลกใจตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินลงไปทำข่าว
ที่ สน.บ้านดู่ จ.เชียงราย เมื่อวานซืน(5 กค.66)
ซึ่งเขานำด็กๆ 126 คนมาแวะพักที่นี่
ก่อนกระจายไปตามบ้านพักเด็ก 5 แห่ง
ทุกอย่างดูลึกๆลับๆไปหมด
พอรู้ว่ามีนักข่าวมา (ผมกับโกวิทย์-ไทยพีบีเอส)
เขาพยายามกีดกันไม่ให้เข้าใกล้พื้นที่

ขณะที่เจ้าหน้าที่ พม.รีบมาเชิญ(ต้อน)ขึ้นไปที่ห้องประชุม
คำแรกที่นายตำรวจหัวโต๊ะพูดกับนักข่าวเสมือนข่มขู่
ห้ามถ่ายรูปเด็ก ไม่เช่นนั้นจะใช้กฏหมายเล่นงาน
งงซิครับเพราะยังจับต้นชนปลายไม่ถูกก็ถูกขู่เสียแล้ว

ผมพยายามอธิบายว่าสื่อก็มีจรรยาบรรณควบคุมอยู่
การจะถ่ายรูปเด็กไปลงสื่อเป็นพื้นฐานที่รู้อยู่แล้วว่าไม่ควร
ไม่รู้ว่าท่านไปมีประสบการณ์เลวร้ายที่ไหนมา
แต่เมื่อเริ่มต้นแบบนี้ทำให้ชักเอะใจ

เมื่อรถบัสนำเด็กๆมาถึงเราพยายามถ่ายภาพขบวนรถ
แต่ดูเหมือนเจ้าพน้าที่ พม. และตำรวจ จะระแวง
เขานำรู้ตู้มากั้นขวางไว้
สรุปแล้ววันนั้นเด็กๆต้องกินข้าวในรถ
ทั้งๆที่เดินทางมายาวไกล
แค่จะลงยืดเส้นยืดสายยังทำไม่ได้

เมื่อเริ่มสืบสาวข้อมูลในมุมอื่นๆ
ทำให้ทราบว่าเด็ก 126 คน
มีทั้งเด็กที่อยู่บนดอยแม่สลอง
และเด็กที่พ่อแม่ข้ามมาขายแรงงานฝั่งไทย
มิใช่เด็กต่าวด้าวหรือต่างดาวใดๆ
ทุกคนต่างมีที่มาที่ไป
บางคนตามพ่อแม่ไปๆกลับๆ
ระหว่างเมืองท่าขี้เหล็กและแม่สาย

การนำเด็กๆในจังหวัดเชียงรายและ
เด็กๆที่ไม่มีเอกสารทางทะเบียนราษฎร์
ไปเรียนที่ จ.อ่างทอง เป็นเรื่องที่เกิดมานับกว่า 20 ปีแล้ว
ครูตี๋-นิวัฒน์ ร้อยแก้ว แห่งโฮงเฮียนแม่น้ำของ เล่าว่า
สมัยที่แกเป็นครูใหญ่อยู่บนดอยก็มีเด็กๆไปเรียน
ที่ จ.อ่างทองแล้ว
ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็ก 126 คนจึงไม่ใช่เรื่องใหม่

การชักนำเด็กในพื้นที่ชายแดนและเด็กไม่มีเอกสารทางทะเบียนราษฏร์
ไปเรียนในพื้นที่ต่างๆเป็นเรื่องที่รับรู้กัน
เราจะเห็นได้ว่าพระสงฆ์จำนวนหนึ่งและมูลนิธิต่างๆ
นำเด็กจากเพื่อนบ้านไปเรียนในภูมิภาคต่างๆมากมาย
ซึ่งกระทรวงศึกษาก็ออกรหัสตัว G ให้
ถามว่าแล้วหน่วยงานรัฐจะจัดการอย่างไร

แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็ก 126 คนนี้
กลับมีความพยายามทำให้เป็นเรื่องชวนพิศวง
เสมือนว่าจู่ๆเด็กจากฝั่งพม่าเข้าไปเรียนถึงหัวเมืองชั้นใน
ราวกับว่าพม่าข้าศึกจะไปตีเมืองหลวง
จึงต้องรีบเอาออกมา

การที่ตำรวจ พม.และศธ.ร่วมกันผลักดันเด็ก 126 คน
กลับประเทศต้นทางโดยให้ออกจากโรงเรียนกลางคัน
ไม่มีการเตรียมสถานที่เรียนในจังหวัดเชียงรายไว้ให้
ขณะที่เด็กจากฝั่งพม่าถูกผลักดันกลับซึ่งพวกเขาไม่ได้
เข้าสู่ระบบการศึกษาในฝั่งพม่าแน่ๆ
เพราะยังรบกันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์ในบ้านพัก
ที่เด็กๆกลุ่มนี้ 35 คนถูกนำไปฝากไว้ก่อนผลักดัน
หนูน้อยหลายคนพูดถึงความฝันของเขา
บางคนอยากเป็นแพทย์
บางคนอยากเป็นนักร้อง
น่าเสียดายที่ความฝันของพวกเขาถูกดับในเวลาอันรวดเร็ว

ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาระดับนโยบาย
ทุกวันนี้สังคมไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ
เรามีคนมากมายจากประเทศเพื่อนบ้านย้ายมาอยู่
ทำไมถึงไม่กำหนดโจทย์และตั้งรับกันดีๆ
มองเรื่องความมั่นคงในมุมกว้างและลึก
ไม่ใช่สนับสนุนแต่ความเป็นชาตินิยม
เราก็จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นบวกมหาศาล 
·
สถานะบุคคลของเด็ก
ไม่ใช่ปัญหาของการศึกษามิใช่หรือ
-------
เย็นนี้(5 กค.66)เด็กๆ 126 คน
ที่เคยเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง
ถูกผลักดันกลับมาถิ่นฐานต้นทางที่จังหวัดเชียงราย
เด็กกลุ่มนี้บางสื่อใช้คำว่า “เด็กชนเผ่า”
บางสื่อใช้คำว่า “เด็กต่างด้าว”
บางสื่อใช้คำว่า “เด็กพม่า”
แต่ไม่ว่าสื่อไหนก็บอกว่าพวกเขาคือเด็ก
เป็นเด็กที่กำลังเรียนในสถาบันการศึกษา
ที่ผมรู้สึกงงๆอยู่คือเด็กทั้งหมดต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน
และถูกนำตัวกลับเชียงรายเพื่อส่งตัวต่อ
ด้วยปริมาณเด็กเยอะทำให้หลายหน่วยงานรัฐ
ไม่อยากรับเด็กไว้ในการดูแล
เพราะกล้วเป็นภาระ
ทำให้บทบาทหนักตกไปอยู่ที่เอ็นจีโอด้านเด็ก
มาตการเยี่ยงนี้ของกระทรวงศึกษาถูกต้องแล้วหรือไม่
บางทีความขัดแย้งของบุคลากรด้านการศึกษา
อาจทำให้ฝ่ายบริเาหารเลอะเลือน
เรื่องนี้ส่งผลสะเทือนลึกซึ้ง
ไปถึงโรงเรียนชายแดนมากมาย
เดี๋ยวเย็นนี้จะไปหาคำตอบ
-------
หมายเหตุ-ภาพเด็กๆกำลังนั่งรถบัสจากอ่างทองมายังเชียงราย