วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 15, 2566

“เครื่องแบบ ทรงผม หน้าเสาธง ไม้เรียว: ประวัติศาสตร์วินัยและการลงทัณฑ์ในโรงเรียนไทย”


Matichon Book - สำนักพิมพ์มติชน
May 11, 2022
·
ภายในรั้วโรงเรียน สิ่งที่ปกคลุมอยู่บนเรือนร่างของนักเรียนไทยถูกจับจ้องและสอดส่องโดยคุณครูเสมอมา ไม่ว่าจะเครื่องแต่งกาย ความยาวของเส้นผม สิ่งที่แต่งแต้มบนใบหน้า เนื่องด้วยเรือนร่างของนักเรียนเป็นรูปธรรมที่เด่นชัดที่สุดในการควบคุม ปัจจุบันนี้แทบทุกสิ่งที่อยู่บนเรือนร่างของนักเรียนเป็นสิ่งที่ถูกควบคุมโดยครู
.
สำนักพิมพ์มติชนชวนหันกลับมาเป็นฝ่ายสอดส่องอำนาจนิยมที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ว่ามันเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ และเป็นไปอย่างไร รวมถึงเผยประวัติศาสตร์ของไม้เรียว การลงทัณฑ์ในรั้วโรงเรียนด้วยความรุนแรงที่ฝังรากลึกลงจิตใจ
.
อำนาจนิยมบนร่างกาย
พ.ศ. 2482
“ระเบียบกระทรวงธรรมการ ออกความตาม พรบ. เครื่องแบบนักเรียน”
ระเบียบเครื่องแต่งกายแตกต่างกันตามประเภทโรงเรียน ได้แก่ รร. รัฐบาลชาย รร. รัฐบาลหญิง รร. ประชาบาลหรือเทศบาล และ รร.ราษฎร์
ไม่มีกฎบังคับเรื่องทรงผมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
เครื่องแบบ รร. รัฐบาลชาย มีลักษณะคล้ายเครื่องแบบทหาร
นักเรียนหญิงนุ่งผ้าถุง
.
ในช่วง พ.ศ. 2490 รัฐเริ่มพยายามควบคุมเรือนร่างของนักเรียน โดยอ้างว่า “เพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียนฟุ้งเฟ้อในการแต่งกายไปมากกว่าการศึกษา”
.
พ.ศ. 2492
“ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน”
ยกเลิกเครื่องแบบ รร.รัฐบาลชาย ที่คล้ายคลึงกับเครื่องแบบทหาร
เครื่องแบบนักเรียนชายทุกระดับใช้มาตรฐานเดียวกัน
นักเรียนหญิงแบ่งตามระดับชั้น
.
ยุคระหว่างนี้ คือช่วงที่เด็กถูกควบคุมมากขึ้นเพื่อไม่ให้ก่อเหตุและสร้างปัญหา เนื่องจากรัฐกังวลเกี่ยวกับการรับวัฒนธรรมป๊อปคัลเจอร์จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียทางศีลธรรม อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เด็กถูกตั้งความหวังว่าเป็นอนาคตของประเทศด้วย
.
พ.ศ. 2500
“ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการแต่งกายนักเรียน”
ให้อำนาจโรงเรียนกำหนดเกณฑ์ความเหมาะสมของเครื่องแต่งกายเพิ่มเติมตามดุลยพินิจ
กลายเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้การพยายามเปลี่ยนกฎเกณฑ์ภายหลังทำได้ยาก
.
ในช่วงนี้ยังเกิดวลีที่ว่า “นักเรียนต้องสวมเครื่องแบบ และย่อมรักษาชื่อเสียงของนักเรียนและของเครื่องแบบอยู่เสมอ” แสดงให้เห็นถึงการพยายามเชื่อมโยงเครื่องแบบให้สัมพันธ์กับชื่อเสียงของโรงเรียน
.
พ.ศ. 2515
“ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132”
ความตึงเครียดทางการเมืองในทศวรรษ 2510 ทำให้รัฐหมกมุ่นในการควบคุมเรือนร่างของนักเรียนมากยิ่งขึ้น
เกิดนิยาม “การแต่งกาย” หมายรวมถึง “การแต่งผมหรือส่วนอื่นของร่างกาย” เป็นครั้งแรก
มีการแต่งตั้ง “สารวัตรนักเรียนและนักศึกษา”
มีข้อบังคับเกี่ยวกับทรงผม ความยาวของเส้นผมและกระโปรง ห้ามแต่งหน้า และความประพฤติที่ไม่เหมาะสมในสายตารัฐไทย
.
พ.ศ. 2527
“ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนและนักศึกษา”
จำนวนนักเรียนในระบบการศึกษาขยายตัวขึ้น ทำให้ธุรกิจเครื่องแบบเฟื่องฟู
มีกฎเกณฑ์กำหนดเครื่องแบบครอบคลุมไปถึงระดับชั้นอนุบาล

พ.ศ. 2529
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เรื่อง กำหนดชนิดและแบบของเครื่องแบบนักเรียนอนุบาล ระดับประถมศึกษา และเครื่องหมายของสถานศึกษาฯ
กำหนดรายละเอียดเครื่องแบบถึงขนาดความยาวของปกเสื้อ เกล็ดความกว้างของกระโปรง ขนาดกระเป๋า ฯลฯ
มีการปรับปรุงชุดลูกเสือสำรอง โดยเพิ่มผ้าสามเหลี่ยม ติดเครื่องหมายจังหวัด และเครื่องหมายลูกเสือติดที่อกเสื้อข้างซ้าย
.
จากช่วงยุคสมัยที่การเรียกร้องและตั้งคำถามเกี่ยวกับเครื่องแบบและทรงผมแผ่วเบา ตั้งแต่ทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา กระแสเรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพก็เริ่มผลิบาน ประเด็นเรื่องการควบคุมเครื่องแต่งกายจึงถูกตั้งคำถามมากขึ้น

___________

ประวัติศาสตร์ไม้เรียวในไทย
.
พ.ศ. 2450
เกิดโรงเรียนดัดสันดาน โรงเรียนดัดดรุณี และโรงเรียนอื่นๆ ในลักษณะดัดเปลี่ยนนิสัย
การลงโทษด้วยการเฆี่ยนโดยครูไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องรับโทษทางอาญา
.
พ.ศ. 2515
ระบุเกณฑ์การลงโทษลงใน “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132”
ได้แก่
ว่ากล่าวตักเตือน > เฆี่ยน > ทำทัณฑ์บน สั่งพักการเรียน > ให้ออก > คัดชื่อออก
.
โดยวิธีเฆี่ยนคือ
.
ใช้ไม้เรียวเหลากลม ผิวเรียบ เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 0.7 cm. เฆี่ยนบริเวณขาอ่อนท่อนบนด้านหลัง
ครั้งละไม่เกิน 6 ที และเฆี่ยนในสถานที่ที่ไม่เปิดเผย
.
พ.ศ. 2543
ยกเลิกการทำโทษด้วยความรุนแรง โดยออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา เพื่อยกเลิกระเบียบเดิมที่ให้อำนาจและเฆี่ยนตี
.
พ.ศ. 2546
ออก พรบ. คุ้มครองเด็ก แทนที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132
.
พ.ศ. 2548
เพิ่มระบบตัดคะแนนความประพฤติขึ้นมาทดแทนการลงโทษทางร่างกายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
.
ทั้งนี้กฎการควบคุมบางอย่างมีการผ่อนปรนมากขึ้น แต่โรงเรียนหลายโรงเรียนยังคงพยายามกุมอำนาจนั้นไว้ โดยอ้างว่าเป็นสิทธ์ของโรงเรียน เป็นแนวคิดที่ถูกผลิตซ้ำอยู่ในโรงเรียนอย่างยาวนาน “เครื่องแบบ ทรงผม หน้าเสาธง ไม้เรียว: ประวัติศาสตร์วินัยและการลงทัณฑ์ในโรงเรียนไทย” โดย ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ จะบอกเล่าถึง “ระเบียบวินัยฉบับวัฒนธรรม” อันเป็นหลักการและแนวคิดสำคัญในการควบคุมเด็กและเยาวชน ความไม่สมเหตุสมผลของการควบคุมระเบียบวินัยที่เกิดขึ้นและการลงทัณฑ์อันล่วงละเมิดสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย รวมถึงเผยให้เห็นถึงผลกระทบและผลประโยชน์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงอยู่กับการควบคุมระเบียบวินัยนี้ ไม่ว่าจะในบริบททางเศรษฐกิจและการเมือง
.
หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนดังบัตรเชิญของ “ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์” ที่อยากให้ทุกท่านได้อ่านเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการหยุดยั้งประวัติศาสตร์ความบอบช้ำของนักเรียนไทย
.
“เครื่องแบบ ทรงผม หน้าเสาธง ไม้เรียว: ประวัติศาสตร์วินัยและการลงทัณฑ์ในโรงเรียนไทย”
โดย ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
ภาพปกและภาพประกอบ: Sa-ard สะอาด
.
ทดลองอ่านได้ที่: https://bit.ly/39oVVD7
.
และสั่งซื้อได้ที่
เว็บไซต์ >> https://bit.ly/3EYc7GR
Shopee >>https://bit.ly/3EWvoIO
Lazada >> https://bit.ly/3KtJ0wr
.
#สำนักพิมพ์มติชน #matichonbook