วันอาทิตย์, มิถุนายน 18, 2566

สังคมแบบไหนที่เด็กอายุน้อยๆ ต้องคำรามเพื่อความอยู่รอด


Thicha Nanakorn
8h
·

ป้าเคยคุยกับหยก 3 ครั้ง ….
เธอไม่ก้าวร้าวทุกลมหายใจและเธอไม่ได้ถูกล้างสมอง
เธอเป็นตัวของตัวเองและเป็นไปตามที่อ่าน รู้ เข้าใจ เชื่อ
เธออายุ 15 ปี และถูกจับตอนอายุ 14 ปี ด้วยข้อหา 112 กฎหมายที่ใครก็ได้ แจ้งความที่ไหนก็ได้ แต่ไม่รับแจ้งไม่ได้
หรือคนๆ นั้นจะอคติสุดโต่ง ล่าแม่มด คลั่ง ก็ใช้สิทธิ์นั้นได้
หลังจากรับข้อหามาตรา 112
ทุกคนที่ใกล้เธอ เห็นมาตรา 112 แต่ไม่เห็นเธอ
ทุกคนที่ใกล้เธอ กลัวรังสีมาตรา 112 มากกว่ากลัวเธอ
ทุกคนตัดสินเธอก่อนผู้พิพากษาและออกอาการเกินเจ้า
แม่เธอไม่ได้ทิ้งเธอ …
แม่เธอไม่ได้รังเกียจพี่ๆ ที่ดูแลลูกเธอ
แต่กลัวคนที่กลัวมาตรา 112 ทั้งที่ใกล้เธอและเธอต้องใกล้
หยกไม่ได้เกิดมาพร้อมความสุดโต่ง ความก้าวร้าว
หยกไม่ได้บ้า ไม่ได้เพี้ยน ไม่ได้เป็น อย่างเช่นสีที่ป้าย
แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า …
เด็กหญิงอายุ 15 คนนี้ แรงขึ้นตามสัดส่วนของกฎหมาย
ใช่ !
เธอต้องคำราม จำเป็นต้องคำราม เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องคำราม
กลไกปกป้องตนเองของเธอยังมีชีวิต ยังมีแรง ยังมีพลัง
การปกป้องสถาบันยังต้องมี …
แต่การแก้ไข มาตรา 112 ก็ต้องมี เพราะคนเกินเจ้ามีจริง
และคนเกินเจ้าเหล่านี้ได้ทำลายสถาบันอย่างลึกซึ้ง จริงจัง
อ๋อ ! ถ้าคุณยังเป็นพุทธะที่เมตตา
อย่าลืมช่วยคิด ช่วยหาคำตอบกันด้วยว่า
สังคมแบบไหนที่เด็กอายุน้อยๆ ต้องคำรามเพื่อความอยู่รอด

(https://www.facebook.com/nithiwat.wannasiri/posts/6212102328875418?ref=embed_post)