วันอังคาร, มิถุนายน 13, 2566

ระบบการเมืองที่เข้มแข็ง ต้องมีการรวมกลุ่มข้างนอกของประชาชนช่วยกดดันด้วย ขบวนการประชาชนยังมีความสำคัญอยู่


Lanner
18h
·
“สิ่งที่เขาต้องการทำก็คือ ตั้งแต่รัฐประหารยึดอำนาจในปี 2557 ถึงปัจจุบัน สิ่งที่เขาต้องการคือ พูดง่ายๆ ว่ากดประเทศไทย กดประชาชนไทย ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลง แช่แข็งให้ประเทศย้อนถอยหลังไปสู่วิธีคิดแบบเดิมๆ ในเรื่องจารีตประเพณี โดยที่พยายามทุกทางให้เป็นแบบนั้น แต่สิ่งที่เขาประสบความสำเร็จ เรียกว่าล้มเหลวมากกว่าคือเขาทำแบบนั้นไม่ได้ แต่กลับกลายเป็นว่าช่วง 9 ปีมานี้ เขาผลักให้คนคิดถึงปัญหาแบบที่ปัญญาชนหรือนักวิชาการชอบพูดว่า ‘โครงสร้าง’ แล้วเรามักจะบอกว่าชาวบ้านไม่เข้าใจปัญหาโครงสร้างหรอก แต่กลายเป็นว่าสิ่งที่ประยุทธ์ทำ มันทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างมันลงลึก ไปจนถึงในทุกชนชั้นทุกระดับการศึกษา อันส่วนหนึ่งคือความแพร่หลายทางเทคโนโลยี โซเชียลมีเดียด้วย”
.
Lanner พูดคุยกับภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปลอิสระผู้ซึ่งติดตามการเคลื่อนไหวของประชาชนมาอย่างเนื่อง ถึงช่วงก่อนการเลือกตั้ง หลังการเลือกตั้ง และขบวนการเคลื่อนไหวต่อจากนี้ว่าจะเป็นยังไงต่อ
.
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่: https://www.lannernews.com/12062566-01/
“ในขบวนการปี 2563 ที่เกิดขึ้น แล้วก็ข้อเสนอต่างๆ มันมีการเชื่อมโยงตรงนี้เยอะ แล้วก็มีการเผยแพร่ไปในออนไลน์เยอะ แล้วพอมันลงไปถึงเยาวชนที่เขาสนใจ เยาวชนก็มีส่วนในการนำแนวคิดนี้กลับบ้านไปคุยกับพ่อแม่ ไปคุยกับผู้ใหญ่ ในขณะที่ช่วงหนึ่งเราก็เข้าใจว่ามันเกิดปัญหาสังคมขึ้นมา ก็คือในช่วงปี 2553 มันคือความขัดแย้งเหลืองแดง คือเพื่อนกับเพื่อนก็แตกกันหมด แต่พอปี 62 - 63 ลากมาถึงก่อนหน้านี้ เป็นยุคของพ่อแม่กับลูก ที่มีความขัดแย้งระหว่างรุ่นรุนแรงมาก มีการไล่ออกจากบ้าน ตรงจุดนี้ในขณะเดียวกันก็เชื่อว่ามีผู้ใหญ่จำนวนมาก ที่คล้อยตามลูกเหมือนกัน พูดง่ายๆ ว่าแม้แต่ในหน่วยระดับครอบครัวมันมีการถกเถียงเรื่องการเมือง เชื่อว่าตรงจุดนี้มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการยกระดับจิตสำนึกทางการเมืองขึ้นมา”
.“ระบบการเมืองที่เข้มแข็ง มันต้องมีการรวมกลุ่มข้างนอกของประชาชนด้วย ปัญหาในสังคมไทยมันไม่ได้แก้ได้ด้วยรัฐบาลอย่างเดียว ลักษณะนี้มันต้องงัดข้อกันว่ามันจะก้าวหน้าแค่ไหน บางทีก็อาจจะมีกลุ่มคนที่ไม่ชอบแนวทางแบบที่รัฐบาลเสนอมา ซึ่งมันก็ต้องอาศัยขบวนการ ยิ่งถ้าหากว่าในสังคมที่อนุรักษ์นิยมยังเข้มแข็ง เรายังปฏิรูปกองทัพไม่สำเร็จทั้งหมด เรายังปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เรายังแก้ไขกฎหมายหลายตัวไม่ได้ เรายังทลายทุนผูกขาดไม่ได้ ขบวนการประชาชนมันสำคัญอยู่ กลุ่มประชาชนข้างนอกก็ยังสำคัญอยู่ เพราะมันคือสิ่งที่จะกดดัน แล้วมันเหมือนยันให้พรรคการเมืองยังทำงานได้มากขึ้น แล้วในขณะเดียวกันก็ต้องกดดันพรรคการเมืองให้ทำงานอย่างที่สัญญาด้วย”

เรื่อง: วัชรพล นาคเกษม
ภาพถ่าย: ปรัชญา ไชยแก้ว
.....
อานนท์ นำภา
1d
·
จุดเปลี่ยนการเมืองไทยจุดหนึ่งคือกระแสปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างเข้มข้นจากปี 2563 และการดำเนินคดี 112 อย่างหนักในปี 2564-2566
ก่อนเลือกตั้ง เวทีดีเบทจะมีเรื่อง 112 เกือบทุกเวทีทำให้ทุกพรรคการเมืองต้องแสดงจุดยืน
เลือกตั้งเสร็จ การตั้งรัฐบาลที่ยากเย็นตอนนี้เพราะการอ้างเรื่องสถาบันกษัตริย์ (ทั้งทางตรงและทางอ้อม)
แม้แต่หากตั้งรัฐบาลเสร็จ เรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ก็จะถูกพูดถึงในสภาอย่างแน่นอน และถ้าไม่ถูกพูดถึงเพราะถูกขัดขวาง ประชาชนก็จะลุกขึ้นทวงถามนอกสภาอย่างแน่ๆ
ทำไมเราไม่พูดคุยเรื่องนี้กันอย่างมีวุฒิภาวะ และแก้ปัญหาไปด้วยกัน
..
คนที่สนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตยมีมากกว่าที่ลงคะแนนเสียงตอนเลือกตั้ง น้องๆมัธยม เขาก็พร้อมจะเคลื่อนไหวสอดรับกับประชาชน
มัธยมเขารู้เรื่องการเมือง และตื่นตัวมากๆ
..
ที่ผมบอกว่าคนจะลงถนนถ้าชนชั้นนำไทยทำให้การเลือกตั้งไร้ความหมาย อันนี้ไม่ได้ขู่ ไม่ได้นัด และไม่ได้นำด้วย
มันจะเป็นไปเองโดยธรรมชาติ มันจะเกิดแกนนำโดยธรรมชาติ และมีความชอบธรรมสูง
หลายคนห่วงกังวล ผมก็ห่วง แต่โดยธรรมชาติของการแสดงออกทางการเมืองนั้น “เลี่ยงยาก” เพราะทางเลือกของการต่อสู้มันมีไม่มาก เลือกตั้งชนะแล้วแต่โดนล้มนี่จะอธิบายกับชาวบ้านชาวช่องยังไง
ช่วยกันครับ ถ้าไม่อยากเดินไปที่จุดที่ไม่รู้จะจบยังไง ปล่อยให้คะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนทำงานครับ
ยอมรับความพ่ายแพ้ แก้ไขจุดบกพร่อง แล้วมาให้ประชาชนลงมติอีกใน 4 ปีข้างหน้า
วันนี้ ให้ประชาธิปไตยทำงานเถอะครับ