Thanapol Eawsakul
4h
·
สถาบันกษัตริย์คือใจกลางปัญหาของการเมืองไทยในปัจจุบัน
......
ตั้งแต่ตีกลองการเมืองดังขึ้นนับตั้งแต่การยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 มาจนถึงการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ทุกเวทีดีเบตก็จะมีการถามบรรดาพรรคการเมืองต่างๆว่าด้วยนโยบายมาตรา 112
หรือนัยหนึ่งว่าด้วยการจัดวางบทบาท สถานะ และอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย
จนเมื่อถึงการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ถึงแม้ว่าชัยชนะจะตกเป็นของพรรคก้าวไกลและพรรคร่วมฝ่ายค้าน จะรวมคะแนนเสียงได้เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรคือ 309 จาก 500 ที่นั่ง
แต่นั่นก็ไม่เพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลและเลือกนายกรัฐมนตรีเองได้เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 ยังกำหนดไว้ว่าการเลือกนายกรัฐมนตรีภายใน 5 ปีหลังจากประกาศวุฒิสภา 250 ที่นั่ง ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2562 มาร่วมในการเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย
นั่นก็หมายความว่าพรรคร่วมรัฐบาลจำเป็นจะต้องได้ 376 เสียงเพื่อชนะโหวตในรัฐสภา
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งสมาชิกวุฒิสภา 250 คน จากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารมีสิทธิ์วีโต้นายกรัฐมนตรีที่ประชาชนเลือกตั้งมา
ซึ่งถ้านับโดยสมาชิกพรรคฝ่ายค้านเดิมก็ 24 ล้านเสียง
ข้ออ้างสำคัญของสมาชิกวุฒิสภาที่จะไม่โหวตให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ก็คือเรื่องมาตรา 112ที่เป็นนโยบายของพรรคก้าวไกลแต่เพียงพรรคเดียวในการแก้ไข อย่างมีร่างกฎหมาย
แม้กระทั่งการแถลงร่าง MOU ของ 8 พรรคร่วมรัฐบาลในวันนี้
แม้จะไม่ปรากฎเรื่อง 112
แค่คำถามสำคัญที่ถูกถามบ่อยก็คือท่าทีของพรรคก้าวไกลและพรรคร่วมรัฐบาลต่อมาตรา 112
เมื่อมีการถามมากขนาดนี้ ก็เป็นประจักษ์พยานชัดเจนอยู่ว่า
สถาบันกษัตริย์คือใจกลางปัญหาของการเมืองไทยในปัจจุบัน
สถาบันกษัตริย์คือใจกลางปัญหาของการเมืองไทยในปัจจุบัน
......
ตั้งแต่ตีกลองการเมืองดังขึ้นนับตั้งแต่การยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 มาจนถึงการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ทุกเวทีดีเบตก็จะมีการถามบรรดาพรรคการเมืองต่างๆว่าด้วยนโยบายมาตรา 112
หรือนัยหนึ่งว่าด้วยการจัดวางบทบาท สถานะ และอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย
จนเมื่อถึงการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ถึงแม้ว่าชัยชนะจะตกเป็นของพรรคก้าวไกลและพรรคร่วมฝ่ายค้าน จะรวมคะแนนเสียงได้เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรคือ 309 จาก 500 ที่นั่ง
แต่นั่นก็ไม่เพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลและเลือกนายกรัฐมนตรีเองได้เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 ยังกำหนดไว้ว่าการเลือกนายกรัฐมนตรีภายใน 5 ปีหลังจากประกาศวุฒิสภา 250 ที่นั่ง ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2562 มาร่วมในการเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย
นั่นก็หมายความว่าพรรคร่วมรัฐบาลจำเป็นจะต้องได้ 376 เสียงเพื่อชนะโหวตในรัฐสภา
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งสมาชิกวุฒิสภา 250 คน จากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารมีสิทธิ์วีโต้นายกรัฐมนตรีที่ประชาชนเลือกตั้งมา
ซึ่งถ้านับโดยสมาชิกพรรคฝ่ายค้านเดิมก็ 24 ล้านเสียง
ข้ออ้างสำคัญของสมาชิกวุฒิสภาที่จะไม่โหวตให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ก็คือเรื่องมาตรา 112ที่เป็นนโยบายของพรรคก้าวไกลแต่เพียงพรรคเดียวในการแก้ไข อย่างมีร่างกฎหมาย
แม้กระทั่งการแถลงร่าง MOU ของ 8 พรรคร่วมรัฐบาลในวันนี้
แม้จะไม่ปรากฎเรื่อง 112
แค่คำถามสำคัญที่ถูกถามบ่อยก็คือท่าทีของพรรคก้าวไกลและพรรคร่วมรัฐบาลต่อมาตรา 112
เมื่อมีการถามมากขนาดนี้ ก็เป็นประจักษ์พยานชัดเจนอยู่ว่า
สถาบันกษัตริย์คือใจกลางปัญหาของการเมืองไทยในปัจจุบัน