Thairath Plus - ไทยรัฐพลัส
10h
.
ใกล้เลือกตั้ง 2566 หลายพรรคการเมืองต้องตอบคำถามเรื่อง #มาตรา112 เกือบทุกเวทีดีเบต เนื่องจาก รัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการนำมาตรา 112 มาใช้กับการแสดงออกทางการเมืองอย่างกว้างขวาง
หลังการชุมนุมของกลุ่มราษฎร 2563 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ใช้มาตรา 112 มาใช้กลุ่มเยาวชนหลายครั้ง โดยมีเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีรวมแล้วอย่างน้อย 18 ราย
บุคคลอายุน้อยที่สุดที่ถูกดำเนินคดี 112 คือ ‘หยก’ เยาวชนอายุ 15 ปี ที่ยังอยู่ระหว่างการควบคุมตัวศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี มาแล้ว 34 วัน หลังถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 โดยตำรวจอ้างว่ามีหมายจับจากการแสดงออกทางการเมืองในกิจกรรม #13ตุลาหวังว่าสายฝนจะพาล่องลอยไป บริเวณลานเสาชิงช้า เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565
ความย้อนแย้งคือ การดำเนินคดี 112 กับเยาวชน ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล อาทิ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งกำหนดให้รัฐภาคีต้องสร้างหลักประกันให้เด็กมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นโดยเสรี
ทั้งนี้ แม้ว่าตามหลักสากลเสรีภาพในการแสดงออกจะถูกจำกัดได้ แต่ต้องจำกัดด้วยกฎหมายที่มีความชัดเจน เป็นไปตามหลักความจำเป็นและได้สัดส่วน รวมถึงเปิดโอกาสให้ยกเรื่องการพิสูจน์ความจริงและประโยชน์สาธารณะเป็นข้อต่อสู้ในคดี
อ่านความย้อนแย้งระหว่างมาตรา 112 กับหลักการว่าด้วยสิทธิของเด็กและเยาวชน โดย ณัชปกร นามเมือง ได้ที่: https://plus.thairath.co.th/topic/spark/103111
illustration: Illustration: Nuttal-Thanapohn Dejkunchorn
#ไทยรัฐพลัส #ThairathPlus #WeSPEAKtoSPARK #มาตรา112 #หยก
.....
Nithiwat Wannasiri
4h
.
ไทยรัฐพลัส ลงข่าว หยก ธนลภย์ Thanalop Phalanchai แต่"ลบลิ้งค์ข่าว"ไปแล้วไม่แน่ใจว่าเกิดปัญหาอะไร?
"อ่านความย้อนแย้งระหว่างมาตรา 112 กับหลักการว่าด้วยสิทธิของเด็กและเยาวชน โดยเยาวชนที่อายุน้อยที่สุดที่ถูกดำเนินคดี 112 คือ ‘หยก’ เยาวชนอายุ 15 ปี ที่ถูกควบคุมตัวมาแล้ว 34 วัน" plus.thairath.co.th/topic/spark/10…
illustration: Illustration : Nuttal-Thanapohn Dejkunchorn
ในช่วงใกล้เลือกตั้ง ปี 2566 พรรคการเมืองต่างต้องตอบคำถามเกี่ยวกับจุดยืนต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เนื่องจากภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สมัยที่สอง (ปี 2562-2566) มีการนำมาตรา 112 มาใช้กับการแสดงออกทางการเมืองอย่างกว้างขวาง หลังการชุมนุมของกลุ่มราษฎร 2563 และยังพบด้วยว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ มีการนำมาตรา 112 มาใช้กลุ่มเยาวชนหลายครั้ง โดยมีเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีรวมแล้วอย่างน้อย 18 ราย
เยาวชนที่อายุน้อยที่สุดที่ถูกดำเนินคดี 112 คือ ‘หยก’ เยาวชนอายุ 15 ปี ที่ยังอยู่ระหว่างการควบคุมตัวศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี มาแล้ว 34 วัน หลังถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 โดยตำรวจอ้างว่ามีหมายจับจากการแสดงออกทางการเมืองในกิจกรรม #13ตุลาหวังว่าสายฝนจะพาล่องลอยไป บริเวณลานเสาชิงช้า เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565
การดำเนินคดี 112 กับเยาวชน ถือเป็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนสากล อาทิ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งกำหนดให้รัฐภาคีต้องสร้างหลักประกันให้เด็กมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นโดยเสรี
ทั้งนี้ แม้ว่าตามหลักสากลเสรีภาพในการแสดงออกจะถูกจำกัดได้ แต่ต้องจำกัดด้วยกฎหมายที่มีความชัดเจน เป็นไปตามหลักความจำเป็นและได้สัดส่วน รวมถึงเปิดโอกาสให้ยกเรื่องการพิสูจน์ความจริงและประโยชน์สาธารณะเป็นข้อต่อสู้ในคดี
แต่มาตรา 112 กลับมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
หลักสิทธิมนุษยชนสากล เยาวชนมีเสรีภาพที่จะแสดงออก
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่วางหลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสากลที่กำหนดโดยสหประชาชาติเพื่อเป็นกติกาในการคุ้มครองเด็กหรือเยาวชนในเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นการเฉพาะ และเป็นหลักประกันต่อการเติบโตที่สมบูรณ์ของเด็ก
ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กำหนดให้รัฐภาคีมีหน้าที่ต้องสร้างหลักประกันให้แก่เด็กมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นโดยเสรีในทุกๆ เรื่อง ที่มีผลกระทบต่อเด็ก และความคิดเห็นดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาตามสมควรแก่อายุและวุฒิภาวะของเด็ก โดยเฉพาะสิทธิที่จะมีเสียงในกระบวนการพิจารณาทางตุลาการ และทางปกครองใดๆ ที่กระทบต่อเด็ก
ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อที่ 13 ระบุด้วยว่า
“เด็กมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก สิทธินี้จะรวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา ได้รับหรือส่งต่อข้อมูลและความคิดในทุกรูปแบบ โดยไม่จำกัดเขตแดน ไม่ว่าจะโดยวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือการตีพิมพ์ในรูปศิลปะหรือผ่านสื่อใดๆ ตามที่เด็กเลือก”
และในข้อที่ 14 ของอนุสัญญาฯ ระบุอีกไว้ว่า
“รัฐภาคีจะต้องเคารพต่อสิทธิเด็กที่จะมีเสรีภาพทางความคิด มโนธรรมและศาสนา”
นอกจากนี้ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ข้อที่ 19 ยังรับรองให้ “บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง” และ “บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน”
ดังนั้น เยาวชนในฐานะพลเมืองก็ต้องได้รับการคุ้มครองในเสรีภาพในการแสดงออกอีกเช่นเดียวกัน
การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก ต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนด
แม้ว่าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จะให้การรับรองเสรีภาพในการแสดงออก หรือสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น แต่กฎหมายระหว่างประเทศทั้งสองฉบับได้กำหนดให้เสรีภาพดังกล่าวถูกจำกัดได้ด้วยเงื่อนไขเรื่องการละเมิดต่อสิทธิและชื่อเสียงของบุคคลอื่น ความมั่นคงแห่งชาติ ความสงบเรียบร้อย สาธารณสุข หรือศีลธรรมอันดี
ในเอกสารความเห็นทั่วไป (General Comment) ลำดับที่ 37 ของ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Committee) แห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 42 ได้อธิบายถึง ‘ความมั่นคงแห่งชาติ’ ไว้ว่า หมายถึง การดำรงอยู่ของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดง หรืออำนาจอธิปไตย เช่นเดียวกับความสงบเรียบร้อยคือ การที่สังคมดำเนินไปอย่างปกติบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน ไม่มีเหตุอันตรายต่อชีวิต หรือความเสียหายร้ายแรงต่อทรัพย์สิน เป็นต้น
ตามเอกสารความเห็นทั่วไป ลำดับที่ 34 ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 25 และ 47 ยังระบุด้วยว่า การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกจะต้องกระทำด้วยกฎหมายที่เป็นไปตามหลักความจำเป็นและได้สัดส่วน
#ไทยรัฐพลัส #ThairathPlus #WeSPEAKtoSPARK #มาตรา112 #หยก