วันจันทร์, มกราคม 04, 2564

หนังสือ “Coup, King, Crisis: A Critical Interregnum in Thailand” คนที่สนใจการเมืองไทย ห้ามพลาด เพราะ รวบรวมงานเขียนของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก 13 คน




Pavin Chachavalpongpun
17h ·

ในหนังสือเล่มใหม่นี้ มีหนึ่งบทที่เขียนโดย Paul M Handley เป็นการมองย้อนกลับไปกว่าสิบปี หลังจากที่เค้าปล่อยหนังสือ The King Never Smiles บทนี้น่าอ่านอย่างมาก เพราะ Paul ได้บอกว่า อันไหนที่เค้าทำนายถูก และอันไหนที่คาดเคลื่อน พร้อมพูดถึงอนาคตของสถาบันกษัตริย์ด้วย
...ได้ทำงานกับ Paul มาแล้ว 2 โปรเจค บอกได้เลยว่า Paul เป็นนักข่าวที่เยี่ยมยอด การเขียนข่าว หรือแม้แต่บัดนี้ที่ก้าวข้ามมาสู่โลกวิชาการ ก็ทำได้ดีเยี่ยม แม้ไม่ได้ไปเมืองไทยตั้งแต่ TKNS ออก แต่ความจำเรื่องเกี่ยวกับไทยของ Paul ยังดีเยี่ยม ไม่นับว่าเค้าเป็นคนมีอัธยาศัยดี ต่างจากนักข่าวอื่นๆ ทั่วไป แนะนำให้อ่านบทนี้
...In this book, there is a chapter written by Paul M Handley. He revisited his famed book, The King Never Smiles, published in 2006 to see if his predictions about the monarchy were accurate. He also talked about the future of the monarchy in this book too. I have worked with Paul in a number of projects. He is very versatile in his capacity as a journalist and a scholar. His chapter is a must to read.


Pavin Chachavalpongpun
20h ·

ขอเขียนเรื่องหนังสือของดิชั้นที่เพิ่งออกเมื่อคืน เป็นหนังสือเล่มล่าสุด อยากให้อ่านให้จบ แต่อาจจะยาวหน่อย หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า “Coup, King, Crisis: A Critical Interregnum in Thailand” พิมพ์โดยศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหาวิทยาลัย Yale เล่มนี้เป็นการศึกษาเรื่องปัญหาการเมืองไทย ที่มีผลมาจากการเปลี่ยนผ่านรัชสมัย ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่การทำรัฐประหารในปี 2014 จนมาถึงการสวรรคตของรัชกาลที่ 9 และต่อเนื่องมาถึงยุคปัจจุบันภายใต้วชิราลงกรณ์​ และการประท้วงล่าสุด ดิชั้นรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการ เขียนบท Introduction และบทที่เกี่ยวข้องการนโยบายต่างประเทศของไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน เล่มนี้ใช้ทฤษฎีของ Gramsci เรื่อง interregnum ที่เสนอว่า ในการเปลี่ยนรัชสมัย ในบางครั้งอาจเกิดวิกฤตที่มาจากการที่ระบอบเก่าได้ตายไปแล้ว แต่ระบอบใหม่ยังไม่เกิดขึ้น ในสถานการณ์แบบนี้มันคือ interregnum ที่ทำให้เกิดปัญหาหลากหลาย ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม และนี่แหละคือสิ่งที่ไทยกำลังเผชิญนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนผ่านรัชสมัยในปี 2016
…เล่มนี้มีทั้งหมด 15 บท ได้แก่ 1) บทนำที่ดิชั้นเขียนเอง 2) Federico Ferrara เรื่องปัญหาการเมืองไทยที่มาจากการไม่ได้รับการยอมรับทางการเมืองของคนที่อยู่นอกชนชั้นอีลีท 2) Claudio Sopranzetti เรื่องคอนเซ็ปท์อำนาจและความชอบธรรม 3) Paul Handley มองกลับไปทศวรรษที่ผ่านมาของหนังสือ The King Never Smiles 4) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เรื่องกษัตริย์ภูมิพลกับแนวคิด neo-monarchy 5) Kevin Hewison เรื่องปัญหาการเปลี่ยนผ่านรัชสมัย 6) Edoardo Siani เรื่องราชานิยมกับความเชื่อทางพุทธศาสนา 7) Paul Chambers เรื่องบทบาททหารกับความสัมพันธ์กับกษัตริย์ 8] Sarah Bishop เรื่องตุลาการภิวัฒน์ 9) เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง เรื่องวิกฤตพุทธศาสนา 10) กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ เรื่องวิกฤตทางเศรษฐกิจ 11) ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์​ เรื่องนโยบายต่างประเทศไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน 12) Tyrell Haberkorn เรื่องการใข้กฎหมายของ คสช ในการกำจัดคนเห็นต่าง 13) David Streckfuss เรื่องการเซนเซอร์ในอินเตอร์เน็ท และ 14) สมชัย ภัทรธนานันท์ เรื่องประชาสังคมและ NGOs
….เล่มนี้ยังได้อาจารย์ Charles Keyes จาก University of Washington มาเขียน Foreword ให้ และได้อาจารย์อีก 3 ท่านมา endorse หนังสือเล่มนี้ ได้แก่ Michael Herzfeld (Harvard), Michael Connors (Xi’an Jiaotong-Liverpool) และ Patrick Jory (Queensland) ดิชั้นขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้
…ที่อยากจะเล่ามากกว่านี้ก็คือ กว่าเล่มนี้จะคลอดออกมาได้ เราได้ผ่านอุปสรรคมากมาย เราเริ่มจากการจัดทำ workshop ครั้งแรกที่เกียวโตประมาณกลางปี 2016 จากนั้นมี workshop สุดท้ายที่ Stanford ในเดือนมกราคม 2017 ในการจัดที่ Stanford นั้นก็เกิดเรื่องมากมาย คนหนึ่งที่ก่อเรื่องก็คือ Andrew MacGregor Marshall นักข่าวจากสก๊อตแลนด์ ที่อยากจะเข้ามามีส่วนร่วม แต่เราไม่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้า workshop เค้าจึงไม่พอใจ และเขียนด่าเราตั้งแต่วันแรก กล่าวหาว่าพวกเราเป็นนักวิชาการที่ไร้ความกล้าหาญ ไม่เคยผลิตผลงานอะไรที่สร้างผลกระทบต่อแวดวงวิชาการ จากนั้น ระหว่างที่เรามี workshop คนๆ นี้ก็โทรศัพท์มาป่วนที่ Stanford นั่นจึงเป็นที่มาที่ดิชั้นตัดความสัมพันธ์กับเค้าตั้งแต่บัดนั้น (เผื่อใครยังสงสัยว่าทำไม)
…หลังจาก Stanford ผู้เขียนทุกคนใช้เวลานานพอควรในการส่งต้นฉบับ จนเดือนตุลาคม 2018 เราได้ทำสัญญากับ NUS Press (National University of Singapore) ที่จะพิมพ์เรื่องนี้ ใข้เวลาประมาณ ปีครึ่งในการส่ง peer reviews แก้ไข วางรูปเล่ม ออกแบบปก จนต้นฉบับพร้อมจะเข้าโรงพิมพ์ในเดือนมีนาคม 2020 ทางสำนักพิมพ์โทรมาบอกนาทีสุดท้ายว่า ขอยกเลิกการพิมพ์ทั้งหมด โดยไม่บอกเหตุผล แต่ทางเรารู้มาว่า รัฐบาลไทยได้กดดันสิงคโปร์ไม่ให้เผยแพร่เล่มนี้ ดิชั้นทั้งเสียใจและโกรธ แต่ต้องรีบหาทางออกให้กับปัญหา เลยได้ปรึกษาผู้ใหญ่หลายคน ในจำนวนนั้นมี Jim Scott จาก Yale ที่ได้ช่วยติดต่อกับ Erik Harms จนในที่สุด Yale ตกลงใจพิมพ์เล่มนี้ แต่ก็ใช้เวลาอีกถึง 10 เดือนในการเตรียมต้นฉบับ จนมันออกมาได้ในที่สุดวันนี้ จึงขอขอบคุณ Erik มา ณ ที่นี้ด้วย
…เล่มนี้ขาย online ที่ Amazon ราคา 28 เหรียญสหรัฐเท่านั้น และเดือนหน้าจะมีออกเป็น e-book (Kindle) รายละเอียดตามนี้
https://www.amazon.com/Coup-King-Crisis.../dp/1732610207
https://cseas.yale.edu/coup-king-crisis
…สุดท้าย ขอขอบคุณผู้เขียนทุกท่านที่อดทนกับดิชั้น (ขอบคุณผู้ดีไซน์หน้าปกด้วย) ที่ร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรค หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะสร้างคุณูปการให้กับไทยศึกษาไม่มากก็น้อยค่ะ
...อ้อ จะมีแปลเป็นไทยค่ะ แต่รอนิดนึง สวัสดีปีใหม่ 2021