Thanapol Eawsakul
6h ·
ใครอยากจะเป็นทหารพระนเรศวร อ่านตรงนี้ก่อน
……………….
ในหนังสือ ประวัติศาสตร์อยุธยา: ห้าศตวรรษสู่โลกใหม่ (มติชน) คริส เบเกอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร บทที่ 3 “สมัยสงคราม” ได้พูดถึงพระนเรศวร อย่างน่าสนใจว่า
.......
ในพระราชพงศาวดารฉบับฟาน ฟลีตซึ่งเรียบเรียงจาก “พระภิกษุสงฆ์ที่ทรงความรู้” และจากขุนนางอยุธยา 35 ปีหลังจากพระนเรศวรสวรรคตได้ให้ภาพสะท้อนความรู้สึกในยุคนั้นว่า
นับว่าในรัชสมัยของพระองค์ปกครองอย่างทหารและเข้มงวดกวดขันที่สุด มีเรื่องเล่าและตัวประจักษ์พยานที่ยังมีชีวิตอยู่มากหลาย กล่าวว่าในรัชกาล 20 ปีของพระองค์นั้นทรงประหารและให้ประหารตามคำพิพากษาเสียมากกว่า 80,000 คน ทั้งนี้ไม่รวมถึงผู้เสียชีวิตในการสงครามตลอดเวลาไม่ว่าจะทรงช้าง ทรงม้า ประทับเรือพระที่นั่งส่งหรือแม้แต่ขณะประทับบนราชบัลลังก์ เสด็จออกขุนนางก็ทรงมีพระแสงไว้มักจะวางแล่งธนูไว้บนพระเพลาและถือพระแสงธนูไว้ในพระหัตถ์ เมื่อทอดพระเนตรเห็นบุคคลใดทำสิ่งที่ไม่ถูกพระทัยแม้แต่เล็กน้อยจะส่งยิงธนูไปยังผู้กระทำผิดและตรัสให้ผู้นั้นนำลูกธนูกลับมาถวาย พระองค์มักตรัสสั่งให้แล่เนื้อบุคคล (แม้แต่ขุนนาง) ที่ทำความผิดเล็กน้อยและให้ผู้นั้นกินเนื้อของตนเองต่อพระพักตร์ บางคนต้องบริโภคมูลอุจจาระของตนเอง
ดังนั้นคริส เบเกอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร จึงวิเคราะห์ว่า ไม่มีวรรณกรรมสรรเสริญเยินยอสมเด็จพระนเศวรที่เรียบเรียงขึ้นในสมัยนั้น ซึ่งต่างจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก่อนหน้านั้น ต่างจากสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์ ผู้ครองราชหลังพระองค์
นอกจากนั้นในเล่มยังมีเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยเกี่ยวกับพระนเศวร อีกเช่น
# กรณีชนช้างกับพระมหาอุปราชา
ขณะที่ตำนานฝ่ายไทย เรื่องชื่อว่าเป็นการชนช้างระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา โดยบอกว่า"พระเจ้า พี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว" หลังจากนั้นพระนเรศวร ก็เอาพระแสงง้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง
แต่ในพงศาวดารพม่าและบันทึกชาวตะวันตกให้ภาพที่แตกต่างกันคือพระมหาอุปราชาโดนกระสุนปืนที่สมเด็จพระนเรศวรทรงยิงหรือมาจากทหารนิรนามคนใดคนหนึ่งซึ่งอาจมาจากชาวโปรตุเกศ
# นโยบายสงครามของพระนเรศวรไม่มีใครเอาด้วย
หลังจากชนช้างเสร็จพระนเรศวรยกทัพไปปราบกบฏเจ้าเมืองต่าง ๆ เช่นเมืองตะนาวศรีในปี 2135 เสร็จแล้วให้ตัดหัวเจ้าเมืองเสียบประจาน ในปี 2138 กองทัพอยุธยาเข้าตีเมืองหลวงพม่า ขาไปฆ่าหมู่ชาวเมาะตะมะ ขากลับกวาดต้อนเชลยกลับมาเมาะตะมะแทน ในระหว่างนั้นได้เดินทัพทพศึกตลอดเวลา ทำให้ต้องเผชิญกับภาวะข้าวยากหมากแพงและโรคร้ายต่าง ๆ เพราะบรรดาเมืองต่าง ๆ ก็มีวิธีการที่ดีขึ้นในการรับมือที่เรียกว่ายุทธการแผดเผาแผ่นดินคือทำลายที่นาและอาหาร พร้อม ๆ กับอพยพออกจากพื้นที่ทำให้พระนรเศวรยึดได้แต่ที่ดินร้าง (เหมือนกับกองทัพนโปเลียน และกองทัพนาซีในการบุกรัสเซีย)
ความเลวร้ายเกิดขึ้นอีกเมื่อพระนเรศวรบุกเข้าพม่าและล้อมเมืองตองอูอยู่ 2142 แต่เสบียงไม่พอ ขาดอาหารพ้นกำลังไพร่พลทั้งปวงตายด้วยการอดอาหารเป็นอันมากเมื่อข้าวแพงและผลมากองทัพทหารหนีทัพหลบไปกับชาวบ้านเพื่อหาอาหาร เมื่อสมเด็จพระนเรศวรถอยทัพกลับมา “ทรงทำลายล้างบ้านเมืองเสียหายหลายแห่งปล้นสะดมใหญ่เอาบ้านเมืองไปทั่วได้สมบัติและเชลยกลับมามาก”
แต่ผลร้ายกลับตกมาอยู่คนสยามที่ถูกจับเป็นเชลยก่อนหน้าเมื่อครั้งกรุงแตกครั้งที่ 1 นิโคลัส ฟิเมนดา บอกว่าเมื่อพระนเรศวรปิดล้อมหงสาวดีพม่ากษัตริย์พม่าปลิดชีพเชลยชาวสยาม 7,000 คน ที่จับมาในสงครามครั้งก่อน
และเมื่อถึงวาระสุดท้ายในปี 2148 พม่ายกทัพบุกล้านนาและไทยใหญ่เพื่อข่มขู่ให้อยู่ในอำนาจสมเด็จพระนเรศวรยกทัพขึ้นเหนือแต่สวรรคตในระหว่าง ตามตำนานเล่าว่าทรงบัญชาให้พระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ ผู้สืบราชสมบัติให้เดินทัพต่อเพื่อเผด็จศึกโดยมัดพระศพของพระองค์ไว้กับหัวช้างให้แห่เข้าตีตองอู แต่แทนที่ทำเช่นนั้นสมเด็จพระอนุชาและกองทัพอยุธยา ได้เดินทัพกลับ และสิ้นสุดยุคสงคราม
# การแต่งกายของพระนเรศวร
พระราชพงศาวดารรายงานว่าพระองค์ขอบปรากฏกายให้เห็นรูปลักษณ์ทางกายภาพมาก เดอ คอเทอร์ เล่าไว้ว่า “ทรงเสด็จออก [เกือบ] เปลือยเปล่า ทรงนุ่งผ้าปิดของลับเท่านั้น ไม่มีเสื้อผ้าอื่นใดอีก”
...
Nithinand Yorsaengrat
6h ·
ใครว่าเด็กไทยไม่อ่านประวัติศาสตร์ อยากหัวเราะเป็นภาษาต่างดาว
อันที่จริงคือทุกวันนี้ เด็ก ๆ มีโอกาสอ่านและค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมรอบด้าน มีคลังความรู้ทั่วโลกให้ค้นหา ศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบ วิเคราะห์ ไม่ใช่อ่านแต่หนังสือไม่กี่เล่มที่ฝ่ายรัฐไทยเขียนให้อ่านเพื่อสร้าง "เด็กดีรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์" ในกรอบคิดเก่ายุคสงครามเย็นแบบเดิมแบบเดียว