วันจันทร์, มกราคม 18, 2564

'อุ้ม' ผู้ชุมนุมไทยยุคนี้ "เป็นเผด็จการขั้นเหี้ย_ม" เหมือน "อิตาลีในรัชสมัยที่กษัตริย์ ว.ทรงครองราชย์"


ลักพาตัว อุ้ม และจับกุมตามอำเภอใจ เป็นวิธีข่มเหงผู้ต่อต้าน รีจีม(กลุ่มคนที่ปกครอง) ตามแบบอย่างหน่วย ‘OVRA’ ยุค ฟาสซิสต์ปี ค.ศ.๑๙๒๗ ของ ราชอาณาจักรอิตาลี มีวิคเตอร์ เอ็มมานูเอล ที่ ๓ เป็นกษัตริย์ และเบนิโต้ มุสโสลินี เป็นเผด็จการขั้นเหี้ย_

หันมาที่ราชอาณาจักรไทย วานนี้โฆษกตำรวจกับรองผู้บัญชาการนครบาล ยืนเกาะโพเดี้ยมแถลงกรณี อุ้ม ผู้ชุมนุมสองราย ว่าตำรวจไม่เกี่ยว “เราตอบไม่ได้ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุใด แต่ไม่ใช่หน้าที่ ที่ตำรวจต้องไปดำเนินการ” ถ้าเป็นฝีมือของหน่วยงานอื่น

ก่อนหน้านี้มีมวลชนไปทวงถามกับ กอ.รมน. ก็ได้รับคำตอบจากโฆษกฯ ว่า “ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง” กับการที่มีการ์ดปลดแอกหายตัวไปตอนดึก หลังจากร่วมกิจกรรมเขียนป้ายผ้าเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ ป.อาญา มาตรา ๑๑๒

เป็นอันว่าถ้าหน่วยเปิดอย่าง สตช. และ กอ.รมน. ไม่ยอมรับรู้กับเหตุคุกคามประชาชน ซึ่งมีหลักฐานจะแจ้งการสื่อสารทางหน้าเฟชบุ๊คจากโทรศัพท์ของผู้ถูกอุ้ม ว่าทำตามที่ นายสั่งโดยบอกว่า “นี่แค่การขู่นะ อย่าให้มีม็อบ และมาด่าสถาบันอีกนะ ผมเอาจริงแน่”

นั่นจากเหตุการณ์ที่ เยล มงคล สันติเมธากุล ถูกกลุ่มชาย ๔-๕ คนเอาผ้าคลุมหัวลากขึ้นรถตู้ เมื่อตอนห้าทุ่มคืนวันที่ ๑๖ มกรา ขณะเดินกลับบ้านหลังเข้าไปซื้อของจากร้านในละแวกบ้าน แล้วยึดเอาโทรศัพท์ของเขาไปและบังคับใช้รหัสผ่าน

กลุ่มชายเหล่านั้นพยายามกดดันให้เขาเซ็นรับในเอกสารที่เขามองไม่เห็น ไม่ทราบว่าเรื่องอะไรจึงไม่ยอม หลังจากนั้นเขาถูกผลักลงจากรถทั้งที่ยังมีผ้าคลุมหัว เขาวิ่งไปด้วยความหวาดกลัวจนเกือบตกน้ำ พอเอาผ้าคลุมออกจึงทราบว่าอยู่ที่บางปูซอย ๔๙

ระหว่างที่มงคลถูกคลุมหัวควบคุมตัวบนรถนั้น กลุ่มผู้ลักพาได้ใช้บัญชีเฟชบุ๊คบนโทรศัพท์ของเขาโพสต์ข้อความ เพื่อแสดงว่าการทำเยี่ยงโจรนั้นเพื่อปกป้องสถาบันฯ โดยไม่ระบุว่าพวกตนเป็นใคร อยู่หน่วยไหน มีแต่ข่มขู่ว่าจะนำตัวไปทิ้งชายแดน


มันเป็น ตลกร้ายที่บางคนต้องใช้อารมณ์ขันสัพยอกท่ามกลางความปวดร้าว ในพฤติกรรมอย่างเผด็จการของรัฐไทย ว่า “โจรขึ้นบ้านให้ตะโกนว่า ยกเลิก ๑๑๒ ค่ะ” เท่านี้แหละตำรวจจะยกขบวนกันมาทันที “ไม่ได้มาจับโจรนะคะ (แต่) มาจับกรู”

อีกรายเป็นการหายตัวของสมาชิกกลุ่ม วีโว่ไปเป็นเวลาสองวัน ครั้นเมื่อ โตโต้สืบทราบและพาพวกไปทวงถามที่ สภ.บางแก้ว สมุทรปราการ ทางตำรวจกลับส่งกำลังหน่วย S.W.A.T. จำนวนมากไปตั้งรับ หลังการเจรจาตำรวจยอมปล่อยตัว

จึงทราบว่า อ๊าร์ต หรือทศเทพ ดวงเนตร (วัย ๒๔ ปี) ซึ่งถูกควบคุมตัว ยึดโทรศัพท์ โดยไม่มีการบอกกล่าวให้ญาติมิตรทราบตั้งแต่วันที่ ๑๕ มกรา จนกระทั่งวานนี้ (๑๗ มกรา) ตำรวจจึงแจ้งว่าข้อหาการจับกุมเป็น การกระทำผิด พรบ.ความสะอาดเท่านั้น

“การกระทำที่อุกอาจเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในยุคหลังการรัฐประหาร ๒๕๕๗” อิทธิพล โคตะมี เขียนไว้ในรายงานของนิตยสาร เวย์ว่า “มีการใช้วิธีบังคับบุคคลไปสอบปากคำโดยพลการ หลายกรณีมีการเปิดเผยสถานที่ในภายหลัง” ตลอด ๖ ปีที่ผ่านมา

เขายกตัวอย่าง “กรณีธเนตร อนันตวงษ์ และ ฐนกร จำเลยที่เพิ่งได้รับการยกฟ้องจากการถูกกล่าวหาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒” หรือที่เกิดกับ จ่านิว-สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ ถูกอุ้มไปจากบริเวณ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ต่อหน้าคนจำนวนมาก

เขาอ้างอิงงานวิชาการของ ดร.ไทเริล ฮาร์เบอร์คอร์น แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ที่ว่า “การบังคับให้สูญหายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในประวัติศาสตร์สังคมไทย และสืบต่อเนื่องจนมีลักษณะคล้ายแบบแผนปฏิบัติที่ผู้มีอำนาจคุ้นเคย”

ถึงขนาดว่า แม้จะมีพยานเห็นเหตุการณ์อุ้ม และ/หรือบังคับให้สูญหาย มากมาย ๕ คน ๗ คน หากคนร้าย “สวมเครื่องแบบสีน้ำตาลหรือสีเขียว...แต่ไม่มีใครรุดเข้าไปช่วยเหลือคนที่ถูกกระทำอยู่” ยากที่ผู้เคระห็ร้าย จะ “รอดพ้นจากการเป็นเหยื่อความรุนแรง”

มันเป็นลักษณะอย่างเดียวกับที่เกิดในราชอาณาจักรอิตาลียุคมุสโสลินีเรืองอำนาจไม่มีผิด พูดอีกทีได้ว่าประเทศไทยขณะนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบฟาสซิสต์ เช่นเดียวกับนั่นละ

(https://waymagazine.org/enforced-disappearance-in-thailand/, https://www.matichon.co.th/politics/news_2533998, https://twitter.com/KhaosodOnline/status/1350681410785271809 และ https://www.facebook.com/TheReportersTH/posts/2885844264999288)