วันอาทิตย์, กันยายน 06, 2563

หากยังไม่ได้อ่าน ''ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง" โดย ธงชัย วินิจกุล อ่านสรุปย่อที่นี่ แล้วค่อยไปซื้อ



รองขาโต๊ะ
Yesterday at 7:51 AM ·

เพราะเราคือเพจหนังสือปลดแอ๊ก หนังสือเล่มนี้จึงต้องมา

ผู้เขียน : ธงชัย วินิจจะกุล
สำนักพิมพ์ : ฟ้าเดียวกัน
ราคา : 350 บาท

''ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง' คือชื่อหนังสือของ อ.ธงชัย วินิจกุล ที่รวมบทความเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และการเมืองไทย ที่เขียนขึ้นในปี 2547-2555 แต่กลับทันสมัยอย่างไม่น่าเชื่อ และเหมาะกับช่วงเวลานี้มาก โดยหนังสือเล่มนี้จะแบ่งออกเป็น 4 part ตามนี้ครับ

part ที่ 1 ประชาธิปไตยแบบไทย

ซึ่งในตอนนี้จะชวนเรากลับไปย้อนดูถึงการพัฒนาประชาธิปไตยอันมีพระหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และคำว่า 'เหนือ' การเมือง ที่ความหมายแรกคือการออกไป 'พ้น' การเมือง (ในสมัยคณะราษฎร์) กลายมาเป็นความหมาย 'สูงสุด' ได้อย่างไร? ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ของระบอบประชาธิปไตยแบบไทยในปัจจุบันนี้

part ที่ 2 การรัฐประหาร

ซึ่งการยึดอำนาจนั้นกลายมาเป็นวัฒนธรรมของฝั่งทหาร ล้วนมักมีข้ออ้างเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในตอนนี้จะชี้ให้เราเห็นได้ชัดขึ้นว่าสถานะของสถาบันที่อยู่ 'เหนือ' (ที่ไม่ได้ไปพ้นการเมือง) นั้นถูกสถาปนาขึ้นมาให้เป็นสถาบันที่ทรงคุณธรรม ซึ่งต่างจากนักการเมืองที่โกงกินได้อย่างไร?

part ที่ 3 การสังหารหมู่

ในตอนนี้เป็นการพูดถึง 'คนเสื้อแดง' เป็นการเล่าอย่างคร่าวๆ ถึงชนชั้นกลางในเมือง และผู้นิยมเจ้าที่มองเสื้อแดงเป็นเชื้อโรคร้าย และอาการหวาดกลัวคนเสื้อแดงของคนในเมืองนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร

รวมถึงความเจ็บปวดของคนเสื้อแดงที่รัฐพยายามจะกลบฝุ่นแห่งความเจ็บปวดให้หายไปโดยใช้อำนาจ และวาทกรรมต่างๆ

part ที่ 4 เปลี่ยน (ไม่) ผ่าน
เป็นการพูดถึงมรดกที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชที่ทิ้งเอาไว้ ว่าการเมืองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นรับมรดกอะไรมาบ้าง

และปิดด้วยการเสนอทางออกให้กับสังคมไทยที่กำลังป่วยอยู่ในขณะนั้น (และขณะนี้)

ท้ายสุด อ.ธงชัย ตั้งคำถามว่าในอนาคตหากเรามองมายังปัจจุบันเราจะอธิบายปรากฎการณ์เหล่านี้อย่างไร? เหมือนกับที่ช่วงปี 2519 ที่มองว่า นศ.เป็นพวกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เช่นกันในสังคมช่วงนั้น ประชาชนมากมายต้องถูกจับในคดี ม.112 หรือแม้แต่การเป็นเสื้อแดง ก็เป็นผู้ร้ายในสายตาคนจำนวนหนึ่งเช่นกัน แต่ผมคิดว่าคำถามนี้ อ.ธงชัย คงจะได้คำตอบเร็วกว่าที่คิด ไม่ได้ต้องรอถึงสาม-สี่สิบปี อย่างที่ อ.เขียน

ความเห็นหลังอ่านจบ
นี่เป็นหนังสือที่คนไทย โดยเฉพาะฝั่ง 'คอนเซอร์เวทีฟ' ควรจะอ่าน นี่เป็นหนังสือประวัติศาสตร์อีกชุด อีกด้านหนึ่ง คุณควรอ่านเพื่อทำความเข้าใจ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะเข้าใจว่า สถาบันกษัตริย์ที่ผ่านมานั้นก็เคยล้มลุกคลุกคลานในเวทีการเมือง เช่นเดียวกับสถาบันทหาร สถาบันนักการเมือง

เพื่อให้เห็นว่าในอดีตนั้น เราเคยมีการพูดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ รวมถึงการพูดเรื่องพระราชอำนาจในสภาอย่างปกติ รวมถึงเรียนรู้เพื่อจะเข้าใจสังคมอันหลากหลาย เพื่อที่จะได้เข้าใจเด็กรุ่นหลังที่คิดไม่เหมือนคุณ เพื่อที่จะให้เราอยู่ร่วมกันได้ โดยปราศจากการนองเลือดอย่างที่ผ่านมา

สำหรับคนที่ไม่ใช่คอนเซอร์เวทีฟ การอ่านเล่มนี่ก็จะทำให้คุณได้รับรู้เกร็ดทาง ปวศ. ที่คุณอาจจะไม่เคยรู้ และจะช่วยเปิดมุมมองเกี่ยวกับสถาบันฯ และการเมืองให้กว้างขึ้นได้ครับ

เอาไปเลยนะดับความน่ารองขาโต๊ะ
-4/5

ควรอ่าน!
ฟ้าเดียวกัน
4h ·

ก่อนจะมาเป็น ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง

มิตรสหายหลายท่านส่งภาพนักเรียนชูหนังสือ ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ในการชุมนุมของกลุ่มนักเรียนเลว วันนี้ (5 กันยา) ที่หน้ากระทรวงศึกษา
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=132583515215809&set=a.116409973499830&type=3&theater
รวมทั้งเพจ รองขาโต๊ะ ได้แนะนำหนังสือเล่มนี้ว่าเป็น "หนังสือรวมบทความประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ควรอ่านในช่วงนี้"
https://www.facebook.com/102035664891735/photos/a.102076598220975/148896963538938/?type=3&theater
ในฐานะผู้จัดพิมพ์พอจะอนุมานได้ว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะได้รับการสนใจในวงกว้างพอสมควร
อย่างที่ทราบคือบทความในหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นในระหว่างปี 2547-2555 และบทความเปิดเล่มคือ "ชัยชนะของเสรีประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง" ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ ธรรมศาสตร์และการเมืองเรื่องพื้นที่ (2548) ที่มีชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็น บรรณาธิการ
เอกสารชิ้นแรกที่เห็นเป็นลายมือนั้นเป็นของธงชัย วินิจจะกูล ที่ส่งต้นฉบับลายมือเป็นแฟกซ์ ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2004 (2547)
ย้อนไปในเวลานั้น (16 ปีที่แล้ว) การรับส่งต้นฉบับจากธงชัย วินิจจะกูล ยังเป็นลายมือและเป็นแฟกซ์ ส่งตรงมาจากอเมริกา (หลังจากนั้นมีพัฒนาการไปอีกขั้นคือการสแกนลายมือแล้วส่งอีเมลมา)
กลับมาที่บทความ "ชัยชนะของเสรีประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง" ที่เริ่มต้นคล้ายจะเป็นบททดลองเสนอ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นงานชิ้นใหญ่ ๆ ต่อมา
บทความนี้ได้รับความสนใจจากบรรดานักเรียนประวัติศาสตร์การเมืองไทยเป็นอย่างมาก ณัฐพล ใจจริง ได้เล่าถึงความประทับใจบทความชิ้นนี้ (และชิ้นอื่น ๆ ในยุคนั้น) ว่า
"ช่วงทศวรรษ 2540 มีงานวิชาการออกมาหลายชิ้น เช่น งานของธงชัย วินิจจะกูล งานของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผมไม่ได้ฝึกมาทางประวัติศาสตร์ พอจะได้เรียนบางวิชากับชาญวิทย์ เกษตรศิริ ดังนั้น ประวัติศาสตร์ที่ได้เรียนมาส่วนใหญ่จึงเป็นประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวที่เน้นความสนุกแต่ก็เป็นแรงดลใจที่ดี
พอไม่ได้ถูกฝึกมาผมก็ต้องเรียนรู้จากคนที่มาก่อน ผมอ่าน ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นับ 10 รอบ แรกๆ ก็อ่านเอาเรื่องก่อน ต่อมาจึงอ่านเอาวิธีการวิพากษ์หลักฐาน ศึกษาดูว่าคนที่เรียนประวัติศาสตร์เขาวิพากษ์หลักฐานกันอย่างไรเพื่อจะนำไปใช้บ้าง ประกอบกับผมเริ่มเบื่อการศึกษารัฐศาสตร์ เพราะมีแต่กรอบ มีแต่ทฤษฎีแนวคิด พิสูจน์กันด้วยทฤษฎีแนวคิดโดยไม่มีเนื้อหา ไม่มีสาระที่อยู่ข้างในว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่
ต่อมาผมตื่นเต้นมากกับบทความ “ชัยชนะของเสรีประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง” ของธงชัย วินิจจะกูล ที่พยายามทำให้เราเข้าใจปัจจุบันโดยผ่านอดีต ผมอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่ามันเกี่ยวข้องกับปัจจุบันได้อย่างไร บทความนี้เอาเรื่องเก่าๆ มาพิสูจน์เพื่ออธิบายว่าปัจจุบันเป็นผลมาจากอดีตด้วย"
ศึกษาฝ่ายกษัตริย์นิยมจากสิ่งพิมพ์
ณัฐพล ใจจริง
https://sameskybooks.net/index.php/product/journal-011-02/
ไม่ต้องสงสัยเลยว่างานของณัฐพลที่ได้รับความกล่าวถึงอยู่ในขณะนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากบทความ “ชัยชนะของเสรีประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง” ของธงชัย วินิจจะกูล ไม่มากก็น้อย
แต่การสนใจงานของธงชัย ก็ยังอยู่ในแวดวงเล็ก ๆ ในทศวรรษ 2540 (หนังสือ ธรรมศาสตร์และการเมืองเรื่องพื้นที่ ก็มีคนอ่านแคบ ๆ )
ต่อมาได้มีการเอาบทความชิ้นนี้มาร่วมเล่มเป็นหนังสือ ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง : รวมบทความว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ (2556) ท่ามกลางความสนใจการเมืองโดยเฉพาะประวัติศาสตร์ 2475 และบทบาทของสถาบันกษัตริย์ที่มาหลังรัฐประหาร 2549
หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือขายดีของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันที่ควบคู่มากับ ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ ของณัฐพล ใจจริง
https://sameskybooks.net/index.php/product/9786167667188/
แต่ทว่าระดับความ "ขายดี" ก็ยังไม่มากเท่าในปัจจุบันที่มีกระแสตื่นรู้ของเยาวชนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และการตั้งคำถามกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ที่มีอย่างแหลมคมและเปิดเผยเช่นในปัจจุบัน
ถ้าอ้างจากคนอ่านคือเพจ รองขาโต๊ะ เหตุที่หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมและ "ตอบโจทย์" การเมืองไทยในปัจจุบันเพราะว่า แม้หนังสือเล่มนี้จะ "เขียนขึ้นในปี 2547-2555 แต่กลับทันสมัยอย่างไม่น่าเชื่อ และเหมาะกับช่วงเวลานี้มาก"
"นี่เป็นหนังสือที่คนไทย โดยเฉพาะฝั่ง 'คอนเซอร์เวทีฟ' ควรจะอ่าน นี่เป็นหนังสือประวัติศาสตร์อีกชุด อีกด้านหนึ่ง คุณควรอ่านเพื่อทำความเข้าใจ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะเข้าใจว่า สถาบันกษัตริย์ที่ผ่านมานั้นก็เคยล้มลุกคลุกคลานในเวทีการเมือง เช่นเดียวกับสถาบันทหาร สถาบันนักการเมือง
เพื่อให้เห็นว่าในอดีตนั้น เราเคยมีการพูดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ รวมถึงการพูดเรื่องพระราชอำนาจในสภาอย่างปกติ รวมถึงเรียนรู้เพื่อจะเข้าใจสังคมอันหลากหลาย เพื่อที่จะได้เข้าใจเด็กรุ่นหลังที่คิดไม่เหมือนคุณ เพื่อที่จะให้เราอยู่ร่วมกันได้ โดยปราศจากการนองเลือดอย่างที่ผ่านมา
สำหรับคนที่ไม่ใช่คอนเซอร์เวทีฟ การอ่านเล่มนี่ก็จะทำให้คุณได้รับรู้เกร็ดทางประวัติศาสตร์ที่คุณอาจจะไม่เคยรู้ และจะช่วยเปิดมุมมองเกี่ยวกับสถาบันฯ และการเมืองให้กว้างขึ้นได้ครับ"

นี่อาจจะเป็นหนังสือประวัติศาสตร์เล่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
...