วันพุธ, กันยายน 16, 2563

ช่วงชิง “สนามห(ล)วง เอกชัยจี้รัฐบาลเพิกถอน ‘สนามหลวง’ จากโบราณสถานเป็นพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนใช้ประโยชน์


THE STANDARD

12h ·
UPDATE: เอกชัยจี้รัฐบาลเพิกถอน ‘สนามหลวง’ จากโบราณสถานเป็นพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนใช้ประโยชน์
.
วันนี้ (15 กันยายน) ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล เอกชัย หงส์กังวาน ยื่นหนังสือถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมี สมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี มารับมอบหนังสือเพื่อขอให้เปลี่ยนสนามหลวงเป็นสวนสาธารณะ
.
เอกชัยกล่าวว่า ช่วงปี 2516-2519 นักศึกษาและประชาชนมีจัดการชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในสนามหลวงหลายครั้ง เนื่องจากพื้นที่นี้อยู่ใจกลางเมืองและเป็นพื้นที่กว้าง ส่งผลให้สนามหลวงกลายเป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง แต่ภายหลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 กรมศิลปากรใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ขึ้นทะเบียนสนามหลวงเป็น ‘โบราณสถาน’
.
ในเวลาต่อมา แม้ว่าสนามหลวงจะถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตั้งแต่ปี 2520 แต่รัฐบาลยังคงอนุญาตให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่สาธารณะ โดยประชาชนสามารถเข้าใช้ประโยชน์ เช่น การเล่นกีฬาว่าว การจัดตลาดนัดขายสินค้า และการพักผ่อนหย่อนใจ
.
เอกชัยกล่าวต่อว่าสนามหลวงยังคงถูกใช้เป็นพื้นที่ชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมืองในปี 2552-2553 กรุงเทพมหานครออกระเบียบการใช้สนามหลวงด้วยเงื่อนไขที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น ห้ามจัดกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองและห้ามจัดกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ระเบียบนี้ยังกำหนดเงื่อนไขในการใช้สนามหลวงที่เกินความจำเป็น เช่น การวางหลักประกันจำนวน 500,000-1,000,000 บาท ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถเข้าใช้พื้นที่ตามวัตถุประสงค์เดิมตั้งแต่ปี 2555
.
เอกชัยกล่าวต่อว่า ทั้งนี้พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานสถานแห่งชาติ มาตรา 4 นิยามให้ ‘โบราณสถาน’ หมายถึงอสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุ หรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ทั้งนี้ให้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย
.
เอกชัยกล่าวทิ้งท้ายว่าสนามหลวงเป็นพื้นที่โล่งกว้างที่ไม่มีศิลปวัตถุหรือโบราณวัตถุอันเข้านิยามของพระราชบัญญัตินี้ อีกทั้งพื้นที่นี้ยังเป็นที่สาธารณประโยชน์มาอย่างยาวนาน การสงวนสนามหลวงให้ใช้เฉพาะงานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานพิธีทางศาสนา หรือการให้เอกชนเช่า จึงเป็นการไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง จึงขอให้รัฐบาลเพิกถอนการขึ้นทะเบียนโบราณสถานและยกเลิกระเบียบที่ไม่จำเป็นในการดูแลสนามหลวง โดยเปลี่ยนพื้นที่นี้เป็นสวนสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชน
.
ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

https://www.facebook.com/thestandardth/posts/2544006242558919
.....

...
Chetawan Thuaprakhon
18h ·

ตรรกะมันก็จะวิบัติแบบพาสีข้างถลอกปอกเปิกและถียงไม่ออกอย่างที่ฝ่าย “อัลตร้า รอยัลลิสต์” เขาให้เหตุผลนั่นแหละครับ
.
คือช่วงหนึ่งในไลฟ์ “สนามห(ล)วง พื้นที่เสรีภาพทุกตารางนิ้ว(จริงๆ)” ศ.ดร. ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึงการอนุญาตให้ใช้พื้นที่สนามหลวงอยู่บ้าง แต่มีข้อจำกัด ทาง กทม. บอกว่า ยืน เดิน วิ่ง นั้นทำได้ แต่ต้องไม่ทำให้หญ้าพัง
.
นั่นคือ เหตุผลของ กทม. ช่วงปี 2554 หลังปิดปรับปรุงสนามหลวงมายาวนาน จนกระทั่งปรับโฉมใหม่เสร็จและคราวนี้ไม่อนุญาตให้มีประชาชนและกิจกรรมสาธารณะใด มีแต่ราชพิธีเท่านั้น
.
และสุดท้าย ผืนหญ้าที่ กทม. หวงนักหวงหนาก็มีอันต้องพังต้องตายไปอย่างที่เราได้เห็น ไม่ว่าจะจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือ สร้างพระเมรุ
.
หญ้าก็ยังคงเป็นแค่หญ้าครับ ไม่เห็นล้ำเลอค่าอย่างที่ กทม. บอกเลย
.
ภาพ : Tawan Pongphat

ไลฟ์ “สนามห(ล)วง พื้นที่เสรีภาพทุกตารางนิ้ว(จริงๆ)” ย้อนหลังได้ที่
https://www.facebook.com/watch/?v=262470964834010&extid=GWvcOkHLUOWNOc1Q
...

Atukkit Sawangsuk
3h ·

จากที่ไม่ค่อยเห็นด้วยในตอนแรก ยอมรับแล้วครับว่าการ "ค้างคืนสนามหลวง" คือการช่วงชิงพื้นที่สัญลักษณ์ของประชาชนกลับคืนมา
ช่วงชิงธรรมศาสตร์ ช่วงชิงสนามหลวง ช่วงชิงสิทธิการเดินขบวนไปทำเนียบ
เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามข้อกฎหมายที่ไร้เหตุผล ห้ามการใช้สิทธิของประชาชน ในพื้นที่ซึ่งใช้ชุมนุมการเมืองมาตลอดยุคประชาธิปไตย
:
ผมมา get แบบหัวร่องอหงาย เมื่อตำรวจบอกว่าจะใช้ พรบ.โบราณสถานเอาผิด ถ้ายึดสนามหลวง
จำคุก 10 ปี ปรับ 1 ล้าน!
ไอ้สาด มันเป็นกฎหมายที่มีไว้ลงโทษกรณีคนบุกรุกพระปรางค์อยุธยา เอาค้อนไปทุบให้เสียหาย
แต่เมริงจะใช้กับสนามหญ้า ซึ่งไม่มีสิ่งก่อสร้างเลย
มันคือการใช้กฎหมายอย่างไม่มีเหตุผล
ถ้าการที่สนามหลวงถือเป็นโบราณสถาน ก็แค่เป็นการขีดวงห้ามว่า ห้ามรื้อห้ามตัดถนนขยายถนน ให้คงพื้นที่สนามไว้เช่นนั้น
แต่ไม่ใช่ห้ามประชาชนเดินผ่าน กั้นรั้วกระทั่งชาวบ้านไม่มีทางเดิน ไม่มีที่รอรถเมล์
:
คือตอนแรกผมกลัวรัฐมันจะประกาศเป็นพื้นที่หวงห้ามแบบแตะต้องไม่ได้ (บลาๆๆ)
พออ้างเป็นโบราณสถาน ห้ามบุกรุก นี่กรูฮากลิ้งเลย
มันเป็นข้อห้ามที่งี่เง่ามาก มีความชอบธรรมที่จะฝ่าฝืน ทวงคืน สนามหลวงของประชาชน
ยึดสนามหลวง อย่างมากก็แค่เหยียบหญ้า กลับโทษหนักกว่ายึดทำเนียบ 193 วัน ขัดขวางการบริหารประเทศของรัฐบาล
ก็ให้เห็นกันว่า "กฎหมาย" ที่แท้แล้วคือเศษกระดาษสกปรก ที่เป็นเครื่องมือของเผด็จการ
:
เมื่อเรียงร้อยกัน
ช่วงชิงธรรมศาสตร์กลับมาเป็นพื้นที่เสรีภาพ
ช่วงชิงสนามหลวงกลับมาเป็นพื้นที่ของประชาชน
ช่วงสิทธิการเดินขบวนไปถึงทำเนียบ
(ที่มันอ้าง พรบ.ชุมนุม ห้ามเข้าใกล้ 50 เมตร)
คือการยกระดับอย่างสวยงาม
โดยที่ยังเป็นการชุมนุมโดยสงบตลอดทั้งสองวัน
:
ตำรวจมันจะอ้างอะไร
ไม่ยอมให้เข้าสนามหลวง ใช้แก๊สน้ำตา ใช้โล่กระบอง กระสุนยาง เข้าไป 5 หมื่นคนปรับ 5 หมื่นล้าน?
ไม่ยอมให้เข้าใกล้ทำเนียบ ตั้งรั้วลวดหนามกั้นสะพานมัฆวาน ใช้แก๊สน้ำตา ใช้กระสุนยาง?
(ทั้งที่ความผิดตาม พรบ.ชุมนุมมีแค่ปรับ)
นี่คือการชุมนุมโดยสงบ แต่ฉีกกฎหมายเผด็จการ