วันพฤหัสบดี, กันยายน 03, 2563

ลูกไม้ใต้ต้น ทอมัส เพน การตื่นรู้ทางสติปัญญาอันลุ่มลึกและกว้างไกล ของเยาวชนไทยอันน่าทึ่ง


Vishnu Cholitkul
10h ·

ลูกไม้ใต้ต้น
ได้ดูคลิปน้องอั้ว จุฑาทิพย์ ศิริขันท์ อ่านCommon Senseให้นายตำรวจฟัง
ต้องอึ้ง กิม กี่ เลย…เพราะนี้เป็นงานคลาสสิกที่ผมเองอ่านไม่จบอีกเรื่องหนึ่ง (แม้จะอ่านหนังสือมาจนหมดห้องสมุดไปหลายแห่ง (รวมทั้งบางส่วนของหอสมุดแห่งบาเบลของ ฮอร์เก้ หลุยส์ บอเกส…ไม่ได้โม้นะครับ))
ที่อ่านไม่จบนี่ เพราะงานของทอมัส เพนเรื่องนี้ มันอ่านโคตรยาก พอๆกับ งานคลาสสิกอีกชิ้นหนึ่งนั่นคือRights of Man (สิทธิของสามัญมนุษย์)
ไม่รู้ว่าน้องอั้วอ่านจากต้นฉบับที่แปลเป็นไทยแล้ว หรือจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ
แต่ไม่ว่าจากต้นฉบับไหนก็ถือว่าไม่ธรรมดา
ผมเชื่อว่าอ่านมาถึงระดับนี้แล้ว เธอคงต้องเคยอ่าน คำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาที่เขียนโดย ทอมัส เจฟเฟอร์สันและเบนจามิน แฟรงคลิน(ซึ่งโฮ จิ มินห์คัดลอกท่อ่นเกริ่นนำอันแสนเร้าใจ มาสอดใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญของเวียดนามฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน)ไม่มากก็น้อย
นี้คือการตื่นรู้ทางสติปัญญาอันลุ่มลึกและกว้างไกล ของเยาวชนไทยอันน่าทึ่ง แล้วอย่าได้ประหลาดใจที่ชนชั้นปกครองเผด็จการอนุรักษ์จะมองคนรุ่นเธอว่าเป็นมากกว่า สาย สีมา ในนวนิยาย “ปีศาจ”ของเสนีย์ เสาวพงศ์
ผมคงต้องรีบไปหาเวลาอ่าน ทอมัส เพนให้จบ สักครั้ง ไม่อย่างนั้นอายเด็กแย่
โดยเฉพาะเด็กสาววัยรุ่นที่มีบรรพชนเป็นอดีตหัวหน้าเสรีไทยภาคอีสาน ระดับตำนาน “ขุนพลภูพาน” เตียง ศิริขันท์ ผู้ถูกตำรวจยุคทมิฬมาร เผ่า ศรียานนท์สังหารที่ทุ่งบางเขน ในกรณี 4รัฐมนตรี แล้วนำศพไปทิ้งที่เมืองกาญจนบุรี ด้วยข้ออ้างเฮงซวย “โจรจีนมลายูบุกกรุงเทพฯ”(ตลกมุกแป้ก เพราะหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมโจรจีนจึงฆ่าหมู่ฝ่ายค้าน แทนที่จะเป็นฝ่ายรัฐบาล)
ต้องขอซูฮกเลย จากก้นบึ้งหัวใจของอดีตบัณฑิตเกียรตินิยมประวัติศาสตร์อันดับหนึ่งเมื่อปีพ.ศ. 2525 จาก มช.
ยอมรับเลยว่า “ขนคิงลุก” (ภาษาเหนือ หรือ กำเมือง) ทันทีครับ
ใครที่ยังไม่เคยดู รีบหาดูเลยนะครับ เป็นบุญหู บุญตา และบุญปัญญาพร้อมกันแบบ 3in1ทีเดียว
………
โดยย่อของสาระหลักใน Common Sense หรือ "สามัญสำนึก" โดย "ทอมัส เพน" (ซึ่งถือเป็นจุลสารการเมืองที่ทรงพลังที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกายุคเริ่มสร้างประเทศ) นำเสนอข้อถกเถียงที่กระแทกกลางใจของชาวอาณานิคมอเมริกัน อันนำไปสู่การตัดสินใจประกาศเอกราชจากจักรภพอังกฤษ ในปี ค.ศ.1776(ปีเดียวกันกับที่พนักงานคนหนึ่งของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษชื่อ อาดัม สมิธ เขียนหนังสือ Wealth of the Nations)
หัวใจหลัก คือการวิพากษ์ระบอบกษัตริย์ ที่สร้างกระบวนการปกครองจากการสืบทอดมรดกทางครอบครัว ในขณะเดียวกันก็เสนอภาพที่เหนือกว่าของระบอบมหาชนรัฐที่มาจากประชาชน แต่ที่สำคัญยิ่งคือจุดมุ่งหมายของการปกครองและรัฐบาล ว่าต้องเป็นการปกครองเพื่อความดีงามของส่วนรวม ไม่ใช่ของอภิสิทธิ์ชนเท่านั้น

https://www.facebook.com/vishnu.cholitkul.7/posts/3396247037099330
...

Common Sense was an instant best-seller. Published in January 1776 in Philadelphia, nearly 120,000 copies were in circulation by April. Paine's brilliant arguments were straightforward. He argued for two main points: (1) independence from England and (2) the creation of a democratic republic.