วันพุธ, กันยายน 16, 2563

คลิปสุชาติ ชู 3 นิ้วนำทีมศิลปิน นักเขียน ยื่น 1,964 ชื่อ จี้ มธ.ไฟเขียว 19 ก.ย.


 
https://www.facebook.com/TheReportersTH/videos/260243305056335
...

สุชาติ ชู 3 นิ้วนำทีมศิลปิน นักเขียน ยื่น 1,964 ชื่อ จี้ มธ.ไฟเขียว 19 ก.ย.

Sep 15, 2020

Matichon Online

เมื่อวันที่ 15 กันยายน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้จะมีการยื่นหนังสือต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของ 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มศิลปิน นักเขียน สนับสนุนให้เปิดพื้นที่ชุมนุม 19 ก.ย. นำโดยนายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และนางนิธินันท์ ยอแสงรัตน์ นักหนังสือพิมพ์อาวุโส นัดหมายอ่านแถลงการณ์ที่ลานปรีดี และยื่นหนังสือ เวลา 14.00 น. 2.กลุ่มศิษย์เก่า นำโดย นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งสนับสนุนมติผู้บริหารมหาวิทยาลัยในการไม่อนุญาตใช้พื้นที่ชุมนุม นัดหมายยื่นหนังสือเวลา 16.00 น.

https://www.youtube.com/watch?v=GtBoq3vPztw
...

แถลงการณ์ในนามนักเขียน บรรณาธิการ ศิลปิน สื่อมวลชน และประชาชนผู้เชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตย

จากปรากฏการณ์ที่กลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ได้ออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง กระทั่งเริ่มมีการส่งสัญญาณข่มขู่คุกคาม ทั้งจากรัฐและผู้คนเห็นต่างจำนวนหนึ่ง

ในฐานะที่เราต่างต้องเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขอยู่ในสังคมเดียวกัน เราขอยืนยันหลักการ และยื่นข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

หนึ่ง เราขอยืนยันว่า ข้อเรียกร้องทางการเมือง 3 ข้อ ได้แก่ หยุดคุกคามประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ยุบสภา และความฝันในการอยู่ร่วมกับสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงความเคลื่อนไหวให้ปฏิรูประบบการศึกษา ทั้งหมดนี้นอกจากจะไม่ได้มีเนื้อหาส่วนใดละเมิดกฎหมายแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงเจตจำนงของคนรุ่นใหม่ ความใฝ่ฝันที่จะเห็นสังคมดีขึ้นกว่าเดิม เราขอเรียกร้องให้รัฐและผู้เห็นต่าง โต้แย้งด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง และเหตุผล หยุดให้ร้ายบิดเบือน หยุดละเมิดเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ด้วยวิธีการและท่วงทำนองต่ำทราม

สอง ตามที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในการชุมนุมวันที่ 19 กันยายน 2563 โดยมิได้ระบุเหตุผลชัดเจน มากไปกว่าถ้อยคำกว้างๆ ว่า กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม มิได้ดำเนินการขออนุญาตตามเงื่อนไขมหาวิทยาลัย

ในฐานะที่เรามีความผูกพันกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทในการจำหลักเป็นหลังพิง ให้ที่อยู่ที่ยืนกับผู้คนในระบอบประชาธิปไตย เราขอเรียกร้องให้คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิจารณาทบทวน เปิดพื้นที่ให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชน ได้แสดงออกถึงจุดยืนทางการเมืองอันเป็นเรื่องพื้นฐาน สนับสนุนระบบดูแลความปลอดภัยในการชุมนุม แทนการปิดกั้นผลักไส ให้ออกไปรับความเสี่ยงนอกรั้วมหาวิทยาลัย

สาม เราขอเรียกร้องสื่อมวลชน และขอความร่วมมือจากผู้สนใจติดตามข่าวสาร ให้ออกแรงช่วยกันตรวจสอบข้อมูลหลักฐาน ร่วมกันยับยั้ง แก้ไข ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ จากกลุ่มคนที่ประสงค์ให้เกิดการเผชิญหน้า ปรารถนาจะให้สถานการณ์รุนแรง เพื่อนำไปสู่การใช้เครื่องมือทางอำนาจนอกระบบ ไม่ว่าจะในรูปแบบการทำรัฐประหาร หรือการจัดตั้งรัฐบาลพิเศษ ซึ่งล้วนแล้วแต่จะนำพาประเทศถอยหลังและตกต่ำยิ่งขึ้น

ด้วยความเชื่อมั่นในหลักสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และประชาธิปไตย

อ่านรายชื่อผู้ลงนามได้ที่

https://waymagazine.org/declaration/
...

Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
12h ·

[ ปิยบุตร เรียกร้อง มธ. อย่าปิดประตูใส่นักศึกษา - ฉันทามติรัฐธรรมนูญใหม่จะเกิดขึ้นได้ต้องประกันเสรีภาพในการแสดงออก ]
-ถามผู้บริหาร มธ. ไม่ให้ใช้พื้นที่ เพราะกังวลประเด็นปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่ไม่กล้าพูดใช่หรือไม่?-
ปิยบุตร แสงกนกกุล ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวถึงการชุมนุม 19 กันยายน ว่ามีความเห็นแบ่งเป็น 2 ข้อ หนึ่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นหน่วยงานของรัฐ ใช้งบประมาณของรัฐซึ่งเป็นภาษีของประชาชน ดังนั้นพอเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่ควรคิดว่าฉันเป็นเจ้าของมีอำนาจกำหนดให้ใช้หรือไม่ให้ใช้ งบประมาณก็มาจากภาษีของประชาชน ควรคิดว่าเปิดกว้างให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ เพื่อสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นมหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานทางวิชาการซึ่งควรจะเป็นพื้นที่ที่เปิดให้มีเสรีภาพในการแสดงออกมากที่สุด มากกว่าหน่วยราชการอื่นอยู่แล้ว
สอง ทาง มธ. ได้กำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมา ซึ่งจากการติดตามข่าวผู้ชุมนุมก็ยอมทำตามกฎเกณฑ์ มีอาจารย์ที่ปรึกษารับรองเรียบร้อย และทางนักศึกษาก็รออยู่ว่าเมื่อไหร่จะมาตกลงกัน ผมคิดว่าปฏิกิริยาของผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ไม่ให้ใช้พื้นที่ชุมนุม 19 กันยายน รวมทั้งอดีตศิษย์เก่าจำนวนมากที่ออกมาคัดค้าน พวกเขากล้าที่จะพูดตรงไปตรงมาหรือไม่ว่า ที่ไม่อยากให้แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมใช้สถานที่ชุมนุมนั้น เพราะไม่สบายใจที่นักศึกษาจะมาใช้พื้นที่ มธ. ในการปราศรัยเรื่องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์
“ผมเห็นว่าอันนี้ชัดเจนที่สุด เพียงแต่คุณไม่กล้าพูดออกมาตรงๆ ก็เลยมาบอกว่าไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ เพราะเห็นว่า 10 สิงหาคม นักศึกษาไปพูดเรื่องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์บนเวที ผมเอง ก็มีบางประเด็นที่ไม่เห็นด้วยกับท่าทีในการแสดงออกบางอย่างในการชุมนุม แต่เราต้องพยายามแยกเนื้อหากับท่าทีการแสดงออกออกจากกัน เนื้อหาเหล่านี้พูดได้ ทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ สามารถทำได้ เป็นเสรีภาพในการแสดงออก ข้อเสนอของนักศึกษาอยู่ภายใต้กรอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นการเสนอให้แก้ไขกฎหมายต่างๆ แต่ไม่ได้เกินกรอบระบอบการปกครองเลย
โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ทางการเมืองมายาวนาน แต่ถ้าคุณมาปิดกั้นเสียเอง นักศึกษามหาวิทยาลัยของคุณเองอยากจะแสดงออก หากไม่ให้เขาใช้พื้นที่จะให้เขาไปใช้พื้นที่ไหน จะไม่เหลือพื้นที่ปลอดภัยให้นักศึกษาแสดงออกได้เลย ผมคิดว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องเอาให้ชัดว่าคุณไม่สบายใจเรื่องนี้ใช่หรือไม่ คุณไม่สบายใจเพราะกังวลว่ากลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุมจะใช้เวทีนี้ในการพูดเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ใช่หรือไม่ แต่เท่าที่เป็นอยู่ไม่มีใครกล้าหาญมาพูดความจริงเลย” ปิยบุตร กล่าว
ปิยบุตร ชี้ว่าทางออกคือถ้าหากมีปัญหาเรื่องท่าทีก็ไปพูดคุยตกลงกันกับนักศึกษา ส่วนเนื้อหาก็ปล่อยให้พูดไป ดีกว่าใช้วิธีปิดประตูและให้ไปใช้ที่อื่น วิธีการแบบนี้เป็นการผลักนักศึกษาออกจากพื้นที่ปลอดภัย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงโอกาสที่ฝ่ายผู้มีอำนาจจะยอมปฏิรูปตนเองว่าเป็นไปได้หรือไม่ ปิยบุตร ตอบว่า “ผมเห็นว่าคนที่มีอำนาจอยู่ในปัจจุบันต้องประเมินตนเองและพยายามมองให้กว้าง หันมาใช้วิธีการปฏิรูปไปด้วยกัน ปฏิรูป คือ มา reform ยังอยู่ใน form เดิม แต่มา re ใหม่ด้วยกัน แต่ถ้าคุณไม่ทำอะไรเลย แล้วประชาชนไม่พอใจ บรรยากาศข้างนอกเดือดมากขึ้นไปเรื่อยๆ สุดท้ายจะไม่เหลือโอกาสที่จะ reform เลย จะกลายเป็นเปลี่ยนไปหมดเลย เมื่อมีอำนาจอยู่ในมือ จงใช้มันเพื่อการปฏิรูปให้ไปได้ดี อย่าใช้อำนาจที่ตัวเองมีรักษาอำนาจของตนเองไป จนสุดท้ายประชาชนทนไม่ไหวเลยเอาออกไปให้หมดเลย จะไปบอกให้ประชาชนนิสิตนักศึกษาหยุดเรียกร้องไม่ได้ เพราะนี่คือประเทศที่เขาอยู่อาศัย เขามีความชอบธรรมที่จะเรียกร้อง ส่วนกลุ่มชนชั้นนำที่ครองอำนาจ อาจเล็งเห็นว่าถ้าไปต่อไม่ได้ ยอมปฏิรูปจากภายในเองก็ได้ แต่ถ้าการปฏิรูปจากภายในไม่ยอมทำ ความไม่พอใจจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ”
-ยกเลิก ส.ว. ไม่มีทางทัน 30 กันยายน การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากฉันทามติของประชาชน ต้องล้มระบอบประยุทธ์ก่อน-
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปิยบุตร กล่าวว่า ญัตติเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จะเข้าสภาในวันที่ 23-24 กันยายนนี้ มีทั้งของรัฐบาลและของฝ่ายค้าน ของรัฐบาลเป็นเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญให้ง่ายขึ้นคือ 3 ใน 5 ของรัฐสภา พร้อมให้มี สสร. จากการเลือกตั้งและอีกส่วนให้ ส.ส. ส.ว. และที่ประชุมอธิการบดี เลือกกัน ส่วนของฝ่ายค้านมีแก้วิธีการแก้ ให้มี สสร. เลือกตั้ง 200 คน ยกเลิกอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ ยกเลิก ม. 279 และแก้ระบบเลือกตั้ง อีกร่างคือของ iLaw ซึ่งแก้หลายเรื่อง แต่กว่าจะล่ารายชื่อครบ กว่าจะตรวจสอบรายชื่อ น่าจะใช้เวลานาน แต่ปัญหาว่าอันไหนจะแก้ได้ไม่ได้ จนถึงตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะหา ส.ว. 84 คนครบถ้วนหรือไม่ และ ส.ว. 84 คนจะมาโหวตให้การแก้รัฐธรรมนูญผ่านหรือไม่ ปิยบุตรเห็นว่าต้องอาศัยพลังของพี่น้องประชาชนนิสิตนักศึกษาที่อยู่นอกสภา เพราะการแก้รัฐธรรมนูญกลับมาเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญจนรัฐบาลยอมเสนอให้แก้ ก็เริ่มต้นมาจากการชุมนุมเรียกร้องกดดัน
“ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าหากไม่มีการชุมนุมเรียกร้องกดดันอย่างที่ผ่านมา รัฐบาลไม่มีทางเสนอให้แก้รัฐธรรมนูญแน่นอน ดังนั้นหากเราต้องการแก้รัฐธรรมนูญให้สำเร็จ ให้ ส.ว. ยอมเปิดทางให้แก้ เหลือทางเดียวคือประชาชนนิสิตนักศึกษาต้องกดดันต่อ แบบการ์ดอย่าตก ถ้าการ์ดตกเมื่อไหร่เขาไม่ยอมแก้แน่นอน เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือกล่องดวงใจของการสืบทอดอำนาจ” ปิยบุตร กล่าว
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อเสนอของนักศึกษาที่ให้มีการยกเลิก ส.ว. นั้นจะเกิดขึ้นได้ในเร็วๆ นี้หรือไม่ ปิยบุตร ตอบว่าในทางปฏิบัติไม่มีทางเป็นไปได้อย่างแน่แท้แล้ว เพราะเส้นตายของคณะประชาชนปลดแอกที่เรียกร้องไว้คือ 30 กันยายน ในวันที่ 23-24 กันยายนนี้ ร่างที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาทั้งหมด ไม่มีร่างของใครยกเลิก ส.ว. เลย ไปได้ไกลที่สุดคือแค่การปิดอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีกับอำนาจวางแผนปฏิรูปประเทศเท่านั้น แต่ไม่มีฉบับใดเลยยกเลิก ส.ว. 250 คน ตอนนี้มีเพียงฉบับเดียวคือของ iLaw ซึ่งไม่มีทางเข้าทันในการประชุมสภาสมัยนี้ ดังนั้นเส้นตาย 30 กันยายนเป็นไปไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้เราสิ้นหวังหรือมองว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะสุดท้ายถ้าเรายอมรับว่าจุดด่างดำของรัฐธรรมนูญ 60 คือ ส.ว. 250 คน อย่างไรก็ต้องเรียกร้องต่อไป ผมเองเสนอมาตลอดว่าต้องยกเลิก ส.ว. 250 แล้วกลับสู่ภาวะปกติ ส.ว. ทั้ง 250 คนทุกคนรู้ดีว่ามาจากการแต่งตั้งของ คสช. เป็นกลไลในการสืบทอดอำนาจของ คสช. หากท่านอยากเป็นรัฐบาลอย่างสง่างาม ต้องเป็นจากเสียงข้างมากในสภา เป็นโดยไม่มีอำนาจ ส.ว. 250 คนค้ำจุนอยู่
ปัญหาของประเทศไทยวนอยู่ที่เดิม สุดท้ายอยู่ที่ว่าสถาบันการเมืองใช้อำนาจในการตอบสนองความต้องการของประชาชนหรือไม่ ถ้าเรายืนยันว่าประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ บรรดาสถาบันการเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแทนการใช้อำนาจของประชาชน หากไม่สนองตอบต่อความต้องการก็เป็นธรรมดาที่ประชาชนจะเรียกร้องมากขึ้น ถึงเวลาหรือยังที่ประเทศไทยพร้อมจะยอมรับว่าระบอบเผด็จการสืบทอดอำนาจที่ยึดอำนาจตั้งแต่ 2549 และ 2557 ไปต่อไม่ได้ ถึงเวลาที่ต้องหันหน้ามาพูดคุยกันโดยประกันเสรีภาพในการแสดงออกให้พูดได้ทุกเรื่องแล้วมาออกแบบร่วมกัน
“ความคิดริเริ่มในการยอมให้มีการแก้รัฐธรมนูญของรัฐบาลเป็นเพียงการซื้อเวลาและลดกระแสการชุมนุมเท่านั้น การทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับที่มาจากฉันทามติของพี่น้องประชาชนจำเป็นต้องเกิดจากพื้นที่ที่พร้อมให้ประชาชนทุกฝั่กทุกฝ่ายมาแสดงออกและหาฉันทามติร่วมกันว่าประเทศนี้จะเอาอย่างไรต่อไป คนที่จะทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้นได้ไม่ใช่รัฐบาลสืบทอดอำนาจแบบ คสช. แน่นอน ดังนั้นนอกจากคิดเรื่องการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว ยังต้องคิดเรื่องว่าการจะให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากฉันทามติของประชาชนได้นั้น ต้องเอาระบอบเผด็จการสืบทอดอำนาจออกไปก่อน ไม่อย่างนั้นไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้คนได้คุยกัน มีอย่างที่ไหนคนเรียกร้องเรื่องแก้รัฐธรรมนูญก็ไปตามจับเขา จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้คนพูดคุยกัน หากปัญหาต้นตอไม่ได้รับการแก้ไข จะแก้รัฐธรรมนูญอีกกี่ครั้งก็เพียงแต่ซื้อเวลาให้คุณอยู่ในอำนาจครบ 4 ปีเท่านั้นเอง รัฐธรรมนูญที่ดีไม่มีทางเกิดภายใต้ระบอบประยุทธ์ ดังนั้นหากต้องการทำรัฐธรรมนูญที่ดี จำเป็นต้องล้มระบอบประยุทธ์ก่อน” ปิยบุตร กล่าว

https://www.facebook.com/PiyabutrOfficial/posts/2812625479021317