จริงอยู่ ความรับผิดชอบทั้งสิ้นอยู่ที่ประธานฯ แต่การที่
กกต.ทำตัวเป็น ‘ไม้กวาด’ คอยเขี่ยเสี้ยนหนามให้อำนาจเผด็จการของ
คสช. ก็สมแล้วที่อดีตคณบดีนิติศาสตร์ มธ. เป็นห่วงว่าจะมี “เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่มีความเป็นไทและความเป็นอิสระ”
หลงเหลืออยู่ไหม
นั่นจากจดหมายเปิดผนึกสั้นๆ ที่ อจ.พนัส ทัศนียานนท์
เขียนถึงนายอิทธิพร บุญประคอง อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ
ที่ถูกทหารจับมาวางเป็นประธาน กกต.
ไว้คอยประสานและชี้แจงนานาชาติเรื่องการเลือกตั้งเดือนกุมภา ๖๒ ที่ต่างด้าวจ้องจับตา
ทว่าคนลงมือจับไม้กวาด
ออกหน้าแลบลิ้นแทนทั้งองค์กรตอนนี้เป็นรองเลขาฯ ซึ่งหลังๆ นี่นายณัฏฐ์
เล่าสีห์สวกุล บทบาทชักเด่นเหมือนจะเป็นเวอร์ชั่น ‘ผู้กำกับโจ๊ก’ ของหน่วยลิ่วล้อสายพกอาวุธ
“ที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า
การตัดชื่อและโลโก้พรรคออกจากบัตรเลือกตั้ง เป็นการที่ คสช.แทรกแซงการทำงานของ
กกต.นั้น ไม่เกี่ยวกันเลย เพราะเรื่องบัตรเลือกตั้งเป็นเรื่องที่
กกต.กังวลถึงปัญหาการขนส่ง ไม่ได้เกิดจากปัญหาอื่น”
ขนส่งที่ว่านั่นเขาอ้างถึงจาก ‘ต่างประเทศ’ อย่างอเมริกางี้ ที่เคยมีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งภายนอกราชอาณาจักรมากที่สุด
ท่ารองฯ เป็นกังวล “หากเกิดปัญหาผู้ที่ลงทะเบียนไม่ได้รับบัตรเลือกตั้ง
กกต.จะไม่สามารถจัดส่งบัตรเลือกตั้งสำรองให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งนอกราชอาณาจักรได้”
อูย อย่างนี้คนที่อยู่นอกประเทศน่าจะ ‘แต๊งกิ้วหลาย’
แต่พวกเขาแปลกใจไฉน กกต.เกิดจะมาเห็นหัวคราวนี้ ลงคะแนนคราวที่แล้ว ‘ประชามติรัฐธรรมนูญ’ ไม่เห็นให้ความสนใจ
ตัดออกไปแม่งเสียดื้อๆ จะอ้างตอนนั้นมันพวก คสช.ทำ ก็คงไม่ขึ้นนักละ
เพราะว่าตอนนี้ก็ คสช.สั่ง มิใช่หรือ
โอเค ทั่นรองฯ ณัฏฐ์บอกว่า “หลังจากมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ
แล้ว พบว่าการใส่ชื่อและโลโก้พรรคอาจจะทำให้เกิดปัญหา...พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เลยบอกในที่ประชุมว่า
พรรคการเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้”
ถ้าจะสงสัยว่า คสช.แอบสั่งไว้ก่อนหน้านั้นล่ะ
ก็เป็นไปได้ใช่ไหม แล้วการไม่ระบุตัวบุคคลที่ได้รับคะแนน มีเพียงเบอร์นั้น ถ้า
(ไม่) บังเอิญ (แต่) มีการมั่วบัตรของพรรคอื่นไปอยู่กับประชารัฐ ที่ ‘พลัง’ มหาศาลละก็ จัดว่าเป็นการ ‘ปล้น’ ใช่ไหม
ถึงจะมีความเห็น ‘ให้อภัย’ จาก Dhiravath
Suantan @ARMdhiravath ที่ชี้ “ความจริงบัตรเลือกตั้ง ส.ส.เขต ที่มีแต่เลขผู้สมัครไม่มีชื่อคนชื่อพรรคเราใช้กันมาแต่ไหนแต่ไรแล้วครับ
ยุคผมเห็นมาตั้งแต่ปี ๕๐, ๕๔, ๕๗
แต่ที่มีโลโก้มีชื่อพรรค
มันคือบัตรบัญชีรายชื่อ ซึ่งการเลือกตั้งตาม รธน.ใหม่ ไม่มีการเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ดังนั้นจึงเหลือบัตรลงคะแนนแบ่งเขตเพียงใบเดียว” กระนั้นเขายังเห็นว่ามันไม่ค่อยจะแฟร์
เนื่องจากยัง “มีหลายคนมองว่าไม่ยุติธรรม
เพราะระบบเลือกตั้งแม้ไม่มีการเลือก ส.ส.
บัญชีรายชื่อก็จริงแต่คะแนนที่ได้ ก็ส่งผลต่อ การคำนวณสัดส่วนที่นั่ง
ส.ส.บัญชีรายชื่อด้วย
ดังนั้นเมื่อมีการยุบบัตรเหลือเพียงใบเดียวก็ควรจะระบุให้เห็นถึงความเป็นพรรคการเมืองในบัตรเดียวกันด้วย”
โดยที่ใครต่อใครในฝ่าย ‘ประชาธิปไตย’ (ขออนุญาตอีกทีอ้างคำนี้ ในความหมายที่ตรงข้ามคณะรัฐประหารยึดอำนาจ)
ล้วนบอกว่ามัน ‘เอาเปรียบ’ อย่างเช่น คุณหญิงสุดารัตน์
เกยุราพันธุ์ ฟากเพื่อไทยบอก “คสช.ว่ากลัวอะไร ถึงจะไม่ยอมให้พิมพ์ชื่อพรรรคการเมือง
โลโก้พรรคการเมือง ลงในบัตรเลือกตั้ง”
ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยคนนี้ยกเหตุผลข้อกฎหมายที่พวก
คสช. (โดยเฉพาะหัวหน้าน่ะตัวดี) ชอบอ้างกันนัก “ข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญกำหนดให้
ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง
ซึ่งเป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยที่ต้องการให้พรรคการเมืองได้คัดสรรคนที่เหมาะสมมาลงสมัครรับเลือกตั้ง
หรือติดปากกันว่า ‘พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค’...” แต่ว่าขณะนี้ประยุทธ์ซึ่ง “มีสถานะเป็นผู้ลงแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย
ได้ใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. และหัวหน้ารัฐบาลที่ยกตนอ้างว่าเป็น ‘กรรมการกลาง’ สั่งการชี้นำ
กกต.เพื่อเอาเปรียบคู่แข่งทางการเมืองคนอื่นๆ”
อีกคนในฟาก ปชต.
เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่มองเห็นเจตนาแอบแฝงว่า “รัฐบาล รวมถึง คสช.
พยายามออกแบบกติกาการเลือกตั้งให้เอื้อประโยชน์กับการสืบทอดอำนาจทุกวิถีทาง” และ “ยิ่งสร้างอุปสรรคให้กับพรรคการเมืองและประชาชนในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
เพราะหากไม่มีชื่อพรรคการเมือง ไม่มีโลโก้พรรคการเมือง
ก็ยิ่งแต่จะทำให้ประชาชนสับสน” ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล
ให้ข้อคิดเห็นว่าการกำหนดให้ผู้สมัครแต่ละคนจับเบอร์
อันจะทำให้คนในพรรคเดียวกันได้ต่างเบอร์ ก็ยิ่งจะ ‘ยุ่งตายห่’
แล้วยังจะมี ‘วิชามาร’ “การที่มีแต่ชื่อผู้สมัคร
ก็จะทำให้ประชาชนคุ้นกับชื่อผู้สมัครเก่าๆ ที่ถูกดูดไป
อย่างนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อบางพรรคการเมืองหรือไม่”
เขาแค่ถามให้ประชาชนรับรู้ ตะเองน่ะไม่อยากตอบอยู่แล้ว
ก็เพราะว่าหัวหน้ารัฐประหารแผ่นเสียงตกร่องอีกแล้ว อ้าง “วาระแห่งชาติที่สอดคล้องความต้องการต่อความมุ่งมั่นในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี” ที่ ‘I-เฮีย’ เขียนเองแล้วมาบังคับ “หากไม่ทำตามแผนแม่บทที่รัฐบาล
(นี้) วางไว้ก็ต้องมีเหตุผลชี้แจง”
(https://www.matichon.co.th/politics/news_1261829
และ https://www.matichon.co.th/politics/news_1263593)
อย่างที่บอกแต่ต้น ‘คนมันจะโกง’ จะมาในรูปแบบ ‘ตระบัด’ หรือ ‘ฟัดเหวี่ยง’ ด้วยกำลังที่เหนือกว่า (โดยสรรพาวุธ) ถ้ายอมหยวนก็ยิ่งได้ที
ฉะนี้ ‘ผู้ด้อย’ ต้องเอาตัวให้รอดด้วยพลัง
‘Resistance’ เท่านั้น
การต้านทานไม่ต้องใช้กำลังที่แกร่งเสมอไป ใช้วิธีนุ่มๆ นิ่มๆ
ก็ได้ แบบที่ชาวบ้านหนองกี่ บุรีรัมย์ เขาทำกัน ดัง ‘phoom91 คิดนอกกะลา @phoom91’ เก็บเอามาเล่าตอน “พอดีแวะปั้มน้ำมัน
ปตท....เห็นชาวบ้านต่อแถวกดเงินตู้ ATM” กดเงินคนจน ๕๐๐ บาท
“ถามว่าได้เงินนี้จะเลือกพรรคพลังประชารัฐของประยุทธ์ไหม
ชาวบ้านตอบแบบไม่คิด ‘ไม่เลือก’ (ถ้างั้น) เลือกใคร (เขาบอก) ‘เพื่อไทย’
โอ้ว คนจน”