วันจันทร์, ธันวาคม 24, 2561

สถานการณ์ที่พรรคพลังประชารัฐจะได้พบเจอ ใน 2 เดือนข้างหน้า หนักหนามาก "สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี" เชื่อมั่น พรรคพลังประชารัฐ จะแพ้ยับ








...




ทำไมพรรคเพื่อแผ่นดินและพรรคมัชฌิมาธิปไตย
จึงพ่ายแพ้ยับเยินในการเลือกตั้งปี 2550
...................................................................
.
.
วันนี้เมื่อ 11 ปีที่แล้ว (วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550) มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
.
พรรคไทยรักไทยซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหญ่ที่สุด (มี ส.ส.ก่อนรัฐประหารถึง 377 ที่นั่งจาก 500 ที่นั่ง มากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย) ถูกยุบพรรคไปเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ก่อนวันเลือกตั้งเพียงไม่ถึง 7 เดือน และกรรมการบริหารพรรค 111 คนถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
.
เวลานั้น ทุกคนต่างทำนายว่า การเมืองแบบพรรคไทยรักไทยจบสิ้นแล้ว การเมืองที่พรรคการเมืองพรรคหนึ่ง "เปิดเกมใหม่" ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน
.
นั่นคือ เล่น "เกมนโยบาย" ที่พรรคการเมืองอื่นทำไม่เป็น โดยไม่ยอมเล่น "เกมโวหาร" ที่พรรคการเมืองอื่นถนัดกว่า
.
หลังพรรคไทยรักไทยถูกยุบ เกิดการแตกฉานซ่านเซ็นของอดีต ส.ส.ไปคนละทิศทาง แต่ส่วนใหญ่ยังคงอยู่รวมกลุ่ม แล้วช่วยกันรณรงค์ "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 และถึงแม้แพ้ประชามติ แต่อานิสงส์จากการรณรงค์ครั้งนั้น นำไปสู่การเกิดขึ้นของพรรคพลังประชาชนเพื่อสู้ศึกเลือกตั้งที่มาถึงในเดือนธันวาคม 2550
.
พรรคการเมืองเกิดใหม่ของอดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย ที่แตกทัพออกไปและดูน่าเกรงขามมีอยู่ 2 พรรค คือ พรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคมัชฌิมาธิปไตย
.
พรรคเพื่อแผ่นดิน มีคุณสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้าพรรค แกนนำสำคัญมาจากกลุ่มวังพญานาคของ คุณพินิจ จารุสมบัติ และคุณปรีชา เลาหพงศ์ชนะ, กลุ่มบ้านริมน้ำของ คุณสุชาติ ตันเจริญ และกลุ่มอัศวเหม
.
พรรคมัชฌิมาธิปไตย มีคุณประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นหัวหน้าพรรค แกนนำสำคัญมาจากกลุ่มวังน้ำยม ของคุณสมศักดิ์ เทพสุทิน และคุณอนุชา นาคาศัย
.
ทั้ง 2 พรรคเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ มีอดีตรัฐมนตรีและอดีต ส.ส.เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก มีการจัดทำยุทธศาสตร์และนโยบายพรรคอย่างเข้มข้น จากมันสมองของคนระดับ อดีตรัฐมนตรีและอดีตปลัดกระทรวง
.
พรรคเพื่อแผ่นดินตั้งเป้า ส.ส.ประมาณ 70-80 ที่นั่ง ส่วนพรรคมัชฌิมาธิปไตยตั้งเป้าประมาณ 20-30 ที่นั่ง
.
ผลการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550 ปรากฎว่า พรรคเพื่อแผ่นดินได้รับเลือกตั้งเพียง 24 ที่นั่ง และพรรคมัชฌิมาธิปไตยได้เพียง 7 ที่นั่ง น้อยกว่าที่ตั้งเป้าไว้ถึง 300%
.
ที่จริง แกนนำพรรคทั้งสองน่าจะรู้ล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้งแล้ว ผมพบแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดินคนหนึ่งก่อนการเลือกตั้ง 2 สัปดาห์ เขาบอกผมว่า
.
"เหนื่อยจริงๆ ชาวบ้านตัดสินใจไปแล้ว ไม่เคยเจอศึกเลือกตั้งที่หนักอย่างนี้มาก่อน"
.
อะไรคือสาเหตุของการพ่ายแพ้อย่างยับเยินของ 2 พรรคในครั้งนั้น
.
ผมคิดว่า เกิดจากปัจจัยอย่างน้อย 4 ประการคือ
.
1. ความสำเร็จจากนโยบายของพรรคไทยรักไทยยังเป็นความจริงที่ประชาชนสัมผัสได้ทุกๆวัน เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน OTOP ฯลฯ
.
2. การทำตามนโยบายหาเสียงของพรรคไทยรักไทยทันทีที่จัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้งในปี 2544 และปี 2548 ทำให้พรรคพลังประชาชนซึ่งต่อเนื่องมาจากพรรคไทยรักไทย ได้รับผลพวงความมั่นใจจากประชาชนติดมาด้วย ท่ามกลางการหาเสียงในปี 2550 ที่มีสารพัดนโยบายซึ่งทุกพรรคการเมืองสาดใส่ผู้เลือกตั้ง จนจำกันไม่ได้ว่า นโยบายนั้นๆเป็นของพรรคใด
.
พรรคพลังประชาชนเพียงหาเสียงด้วยคำขวัญว่า "นโยบายดีๆใครก็พูดได้ แต่คนที่พูดแล้วทำได้จริง อยู่ในพรรคพลังประชาชน" และ "เลือกผิด...เพิ่มหนี้ให้ครอบครัว เลือกถูก...เพิ่มเงินในกระเป๋า" ก็ชนะเลือกตั้งไป 233 ที่นั่ง
.
3. พรรคเพื่อแผ่นดินและพรรคมัชฌิมาธิปไตยเพิ่งจัดตั้งขึ้นเพียงไม่กี่เดือนก่อนการเลือกตั้ง การบริหารจัดการพรรคแบบที่พรรคไทยรักไทยเคยทำไว้ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในระยะเวลาสั้นๆ
.
4. แกนนำของทั้งสองพรรคเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเลือกตั้ง แต่ไม่เคยมีบทบาทในการวางยุทธศาสตร์เลือกตั้งในภาพรวมของพรรคไทยรักไทยเลย หัวใจของการรณรงค์เลือกตั้ง ไม่ใช่เพียงแต่ "รุก" ในเขตเลือกตั้ง แต่ต้อง "รุก" เข้าไปในหัวใจประชาชนด้วย ศาสตร์ของการรณรงค์เลือกตั้งยุคใหม่ไม่มีพรรคใดสู้พรรคไทยรักไทยที่สั่งสมมากว่า 10 ปี และส่งผ่านมาถึงพรรคพลังประชาชนได้
.
ยังมีปัจจัยอื่นๆอีก เช่น ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มทรุดลงตอนปลายปี 2550 ก่อนเกิดภาวะราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นถึง 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในกลางปี 2551 ตลอดจนความรู้สึกของประชาชนต่อการรัฐประหาร 2549
.
บทเรียนของพรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคมัชฌิมาธิปไตยน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ทิศทางการเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
.
ผมเชื่อมั่นว่า เป้าหมาย 150 ที่นั่ง ซึ่งพรรคพลังประชารัฐตั้งไว้จะไม่บรรลุผล และผลลัพธ์จะตำ่กว่าเป้า ไม่ใช่ 300% แต่อาจทะลุไปถึง 400-500% ถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้ เสรีและเป็นธรรม ไม่มีการโกงเลือกตั้ง
.
เพราะต้องเรียนตรงๆว่า สถานการณ์ที่พรรคพลังประชารัฐจะได้พบเจอ ใน 2 เดือนข้างหน้า หนักหนากว่าที่พรรคเพื่อแผ่นดินและพรรคมัชฌิมาธิปไตยเผชิญมากมายเหลือคณานับ


สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

ooo

555 นั่นละครับ 150 เสียงที่พลังประชารัฐเพ้อฝัน เอาเข้าจริงอาจหารสี่หารห้า

ที่หมอเลี้ยบพูดถึงคือ ปี 50 ประชาชนยังฝังใจกับนโยบายไทยรักไทย แล้วไอ้พวกที่แยกมาตั้งพรรคนี่ ทำยุทธศาสตร์ไม่เป็น ไม่มีจุดขาย ขายไม่ออก + ชาวบ้านเบื่อรัฐบาลขิงแก่ ไม่พอใจรัฐประหาร

บางคนอาจแย้งว่าเวลาผ่านไป 11 ปี มนต์ขลังไทยรักไทยอาจไม่เหมือนเดิม

แต่ประเด็นสำคัญที่ต่างกันคือ

ครั้งนี้มันไม่ใช่สู้กันว่าเอาทักษิณไม่เอาทักษิณ ครั้งนี้สู้กันเพื่อเอาตู่อยู่ต่อ แค่ฟังว่าพลังประชารัฐจะเอาตู่อยู่ต่อ ชาวบ้านก็ร้องบรื๋ออออออออออ ผีหลอกหัวโกร๋น

ครั้งนั้นมันรุมพรรคพลังประชาชน แต่ครั้งนี้พรรคพลังประชารัฐเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่ง แม้แต่ประชาธิปัตย์(ซึ่งไม่ปฏิเสธการร่วมรัฐบาลสืบทอดอำนาจ) ยังหาเสียงกับการถล่มพลังประชารัฐ+รัฐบาล

พอมาดูการบริหารจัดการ การวางยุทธศาสตร์ ก็คล้ายเดิม คล้ายเพื่อแผ่นดิน มัชฌิมา (สมศักดิ์มาเอง) นอกจากชูตู่ อย่างอื่นไม่มีหง่าอะไรเลย หัวโจกสามมิตรก็มีแต่นักการเมืองตกยุค สี่รัฐมนตรีก็พวกได้ดีเพราะใบบุญ ไม่รู้จักการเมือง ทหารหรือ ยิ่งโง่เรื่องหาเสียง เคยแต่สั่งเคยแต่บังคับคน

เจอพรรคการเมืองแบบนี้ ทั้งนักการเมืองและหัวคะแนน พากันลูบปาก มันแผล็บ

เวลาเห็นรายชื่อ อดีต ส.ส.ไทยรักไทย พลังประชาชน เพื่อไทย ฯลฯ ก็อย่าประหลาดใจ คือพวกนี้ย้ายพรรคแล้วสอบตกทั้งนั้น มีไม่กี่คนหรอก ที่มีฐานเสียงส่วนตัว (คือมันเป็นตลกร้าย ส.ส.ไทยรักไทย พลังประชาชน เพื่อไทย จำนวนมากไม่ได้มีคุณภาพ มวลชนเกลียดก็เยอะไป ได้มาเพราะพรรคซะส่วนใหญ่)

ไอ้ที่ดูดเข้าไป นอกจากอดีตไทยรักไทย พลังประชาชน เพื่อไทย ปชป. ส่วนหนึ่งก็เป็นอดีต ส.ส.สมัยไหนไม่รุ้ อีกส่วนหนึ่งก็นักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งมาลงสนามวอร์มอัพ เตรียมรับเลือกตั้งท้องถิ่น พร้อมกับตุนเสบียงตุนลูกกระสุน

ฉะนั้นรายชื่อพวกนี้นับเป็น 150 ไม่ได้ แม้บางคนอาจได้ แต่ไม่ใช่ส่วนใหญ่ เจาะเป็นรายๆ พวกที่ชนะได้ด้วยตัวเอง แบบสมศักดิ์ แบบชลบุรี แบบเมืองกาญจน์ อาจไม่ถึง 30 ด้วยซ้ำ ที่เหลือต้องไปหวังปาร์ตี้ลิสต์จากพวกได้ที่ 2 ที่ 3

แต่จะหวังได้แค่ไหน ยิ่งโค้งสุดท้าย ถ้ากระแสไม่ขึ้น รู้ว่าพรรคแย่แน่ รู้ตัวว่าตัวเองแพ้แหง ผู้สมัครก็จะเก็บกระเป๋า เรื่องอะไรจะเปลืองกระสุนหาคะแนนให้พรรค แต่ตัวกูไม่ได้เป็น ส.ส. เอากำไรกลับไปใส่ตุ่มใส่ไหที่บ้านดีกว่า

Atukkit Sawangsuk




Panat Kuawong ถ้าไม่เลือกพวกกู พวกกูจะก่อความวุ่นวายอีก ว่างั้นเถอะ