โอ้โห ‘ไอทู้บ’
เปิด FB –ฟุคเบช (fuckbase) IG -อีใจ (รัญ) TW -ท-เว่อ (ติ๊ด) ส่วนตัว ใช้หาเสียงออนไลน์แล้วซี อ้าว แล้วไอ้ที่ “ห้ามหาเสียงออนไลน์ทางโซเชียลมีเดีย
บังคับใช้เฉพาะนักการเมืองกับพรรคการเมืองเท่านั้น” ละหรือ
@shutup2557
เขาถึงได้ว่า #ยุติธรรมจัญไร
ส่วน Wassana Nanuam บอก “เปิดหน้าสู้”
แต่ Thanapol
Eawsakul ชี้ นี่ “จะเป็นการแสดงผลโพลที่น่าจะตรงที่สุด”
พร้อมทั้งท้า “แน่จริงอย่าปิดเพจหนีนะครับ”
เอ้า มาดูกัน ช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงวันนี้
(๑๕ ต.ค.) มีคนติดตามเพจ (เก็บยศ) ‘ประยุทธ์
จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha’ มากถึง ๑ หมื่น ๓ พันราย
มีทั้งต้อนรับ ให้กำลังใจ บ้างตั้งข้อสังเกตุอยู่มาตั้งนาน ไฉนเพิ่งจะสร้างเพจ “หรือว่าใกล้ช่วงเลือกตั้ง”
บางรายส่งลิ้งค์ใบสมัครพรรค ‘เกียน’ (ผู้นำความบันเทิงสู่การเมืองไทย) ไปให้ แนะว่า
“เป็นนักการเมืองเต็มตัวได้ ไม่อายใคร ไม่ต้องเสียเวลาดูดครับ” และอีกรายถามแรงเหมือนว่าจะเป็นเทร็นด์
“เมื่อไหร่จะออกไปตามสัญญา ที่บอกว่าขอเวลาอีกไม่นานอะ”
ทั่นรองเลขานายกฯ (พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ณ
กปปส.) ยืนยันงานนี้เจ้าตัวเล่นเอง ไม่มีสแตนด์อิน (สแตนดี้) แต่วาสนา นาน่วม
ไม่แน่ใจ “เปิดไว้เขียนเองบ้าง แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นทีมงานเขียน ๕๕๕...
เปิดตั้งแต่ ๑๓ ก.ย. ๒๕๖๑...เพื่อเตรียมใช้หาเสียง...เพราะหัวหน้าพรรคและนักการเมืองใช้โซเชี่ยลฯ สังคมออนไลน์กันแล้วทั้งนั้น
บิ๊กตู่ก็ต้องเป็นนายกฯ 4.0 หน่อย...
เอายศออก เพื่อลดภาพนายกฯ ทหาร แถมระบุบ้านเกิดนครราชสีมา
(เกิดในค่ายสุรนารี “กะเอาใจคนอิสาน” มั้ง) พร้อมลงประวัติและภาพ ตั้งแต่วัยเด็ก
วัยเรียน จนเป็นทหารเสือราชินี ผบทบ. และเป็นนายกฯ”
แถมด้วย “วิสัยทัศน์ แนวทางการบริหารประเทศ
ด้วยยุทธศาสตร์และแผนแม่บทที่ชัดเจนบนแกนหลัก ๓ แกน ได้แก่ มั่นคง มั่งคั่ง
และยังยืน” นั่นเชียว
สำหรับโพสต์แรกนี่ออกตัวเนิบๆ “เพื่อใช้เป็นอีกช่องทางในการสื่อสารแนวนโยบาย
การทำงานของผมและรัฐบาล รวมถึงเล่าสู่กันฟังถึงข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์
และเป็นช่องทางที่ผมและพี่น้องประชาชนจะเข้าถึงกันได้ดียิ่งขึ้น” วุ้ย ปากหวาน
“หากท่านมีข้อเสนอแนะ
ต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือต้องการให้ผมลงไปดูแลแก้ปัญหา
ก็สามารถเขียนเข้ามาเล่าสู่กันฟังได้
เพื่อที่ผมและทีมงานจะได้มีข้อมูลและดูแลช่วยเหลือได้โดยตรงครับ”
หา จริงเหรอ ถ้างั้นเอาอันนี้ไปตรองสักหน่อยเป็นไร
เพิ่งมีข่าวออกมาวานนี้เอง จากการที่คณะรัฐมนตรีของทั่นอนุมัติตามแผนของกระทรวงสาธารณสุข
ตั้งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ๔๕ คน เต็มไปด้วยข้าราชการ มีประชาชนเต็มขั้นแค่ ๓
คนเอง
“ที่เหลือเป็นข้าราชการ วิชาชีพทางการแพทย์
มีแม้กระทั่งสภาอุตสาหกรรม และสภาหอการค้า และกลาโหม...คนกลุ่มนี้พูดตลอดเวลาว่า ๓๐
บาทคือภาระประเทศ แต่สวัสดิการของข้าราชการไม่เคยเป็นภาระสำหรับพวกเขา”
น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
กรรมการหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน แจงให้เห็นว่าชัดแจ้งเลยว่า โดยเฉพาะกรรมการจากสภาหอการค้าที่กระทรวงสาธารณสุขเลือกเข้าไปนั้น
“มีตัวแทนจากสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์หรือพรีม่าอยู่ด้วย
สมาคมนี้เป็นตัวแทนของกลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ
และที่ผ่านมามีบทบาทในการคัดค้านนโยบายด้านสุขภาพต่างๆ
ที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนมาตลอด” ฉะนั้น “การมีกฎหมายฉบับนี้ประชาชนไม่มีประโยชน์ใดๆ
เพิ่มขึ้น มีแต่จะถูกลิดรอนสิทธิ ระบบหลักประกันสุขภาพจะได้รับผลกระทบมาก
...ระบบ ๓๐ บาทหรือหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายของประชาชนที่ได้มาจากรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย
จากที่เคยเป็นสิทธิจะถูกทำให้กลายเป็นระบบอนาถา ถูกบังคับให้ร่วมจ่ายเมื่อป่วย”
น.ส.กรรณิการ์ย้ำ “ประชาชนต้องช่วยกันหยุด ไม่เช่นนั้น...ซุปเปอร์บอร์ดสุขภาพของ
สธ.นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายระบบ ๓๐ บาทของประชาชน”