วันพุธ, มิถุนายน 13, 2561

เรียกใครไม่เรียก เสือกเรียกกองทัพมาปราบโกง แล้วที่ผ่านมา รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้เทงบประมาณลงไปส่วนนี้มาก-น้อยแค่ไหน? มีหรือไม่ ป้องทุจริตกลาโหม?



เรียกใครไม่เรียก เสือกเรียกกองทัพมาปราบโกง 

" แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า กรณี ‘แหวนมารดา-นาฬิกาเพื่อน’ ที่ย้อนเกล็ด ‘บิ๊กป้อม’ ความไม่ชอบมาพากลในการก่อสร้าง ‘อุทยานราชภักดิ์’ หรือหนักที่สุดคือกรณีบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ ‘น้องชาย’ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา และ ‘ลูก’ ตั้งบริษัทในค่ายทหาร เพื่อรับงานกองทัพภาคที่ 3 ต่างถูกสังคมจับตา และครหาถึง ‘2 มาตรฐาน’ ในการปราบทุจริต ?

คำถามสำคัญคือรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่พร่ำบอกถึงเรื่องการปราบปรามการทุจริต รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่คลอดในรัฐบาลชุดนี้ก็อ้างว่า ‘ปราบโกง’ หรือแม้แต่ใคร ๆ ในรัฐบาลก็บอกว่า ทำเพื่อการปราบปรามคอร์รัปชั่น ป้องกันนักการเมืองเข้ามาโกงกิน

แล้วที่ผ่านมา รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้เทงบประมาณลงไปส่วนนี้มาก-น้อยแค่ไหน ? "
https://www.isranews.org/isran…/66771-isranews111-66771.html
ooo


3 ปี 2.2 พันล.!เจาะงบปราบโกง‘รบ.บิ๊กตู่’ มีหรือไม่ ป้องทุจริตกลาโหม?


12 มิถุนายน 2561
โดย isranews


“…ข้อมูลที่น่าสนใจคือ งบประมาณกระทรวงกลาโหม ในห้วง คสช. ก้าวขึ้นสู่อำนาจนั้น งบประมาณพุ่งสูงเกือบทุกปี โดยแตะหลักแสนล้านบาทแล้ว แต่กลับไม่ระบุในแผนงานงบประมาณว่า มีแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแต่อย่างใด ทั้งที่กระทรวงกลาโหม กำกับดูแลหน่วยงานรัฐยักษ์ใหญ่ คือ กองทัพ และเป็นหน่วยงานที่ประชาชน-สื่อมวลชน ตรวจสอบยากมากที่สุด แทบทุกโครงการที่ออกมามักเป็นโครงการ ‘ลับ’ โดยอ้างเหตุผลเรื่องความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้ออาวุธ หรือยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ…”





ห้วงสัปดาห์ที่แล้ว ‘นายกฯตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมด้วย ‘บิ๊กป้อม’ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่ คสช. ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม และบรรดารัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ชี้แจงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2562 วงเงินรวม 3 ล้านล้านบาท

นับเป็นร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ที่เยอะมากที่สุดในห้วงเวลา 4 ปี ของการกุมบังเหียน ‘รัฐบาลท็อปบู้ต’ ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำงาน และการใช้จ่ายงบประมาณอาจไม่คุ้มค่าเท่าที่ควร

ประเด็นสำคัญที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ นอกเหนือจากเรื่องการเมือง และเศรษฐกิจแล้ว เรื่องเกี่ยวกับการทุจริต-ประพฤติมิชอบ เป็นอีกหนึ่ง ‘หอก’ สำคัญที่ ‘บิ๊กตู่’ ต้องถูกทิ่มแทงตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อ ‘คนใกล้ตัว’ งานไม่หาหาแต่เรื่องเสียเอง ?

แม้ที่ผ่านมาผลงานด้านการปราบปรามคอร์รัปชั่นของรัฐบาลชุดนี้ จะจับเรื่องที่ ‘ถูกใจ’ ประชาชนจำนวนไม่น้อย เช่น คดีฟอกเงินวัดพระธรรมกาย คดีทัวร์ศูนย์เหรียญ คดีค้ามนุษย์ คดีทุจริตค่าอาหารกลางวันเด็ก คดีทุจริตเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือแม้แต่คดีเงินทอนวัด ก็ตาม

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า กรณี ‘แหวนมารดา-นาฬิกาเพื่อน’ ที่ย้อนเกล็ด ‘บิ๊กป้อม’ ความไม่ชอบมาพากลในการก่อสร้าง ‘อุทยานราชภักดิ์’ หรือหนักที่สุดคือกรณีบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ ‘น้องชาย’ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา และ ‘ลูก’ ตั้งบริษัทในค่ายทหาร เพื่อรับงานกองทัพภาคที่ 3 ต่างถูกสังคมจับตา และครหาถึง ‘2 มาตรฐาน’ ในการปราบทุจริต ?

คำถามสำคัญคือรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่พร่ำบอกถึงเรื่องการปราบปรามการทุจริต รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่คลอดในรัฐบาลชุดนี้ก็อ้างว่า ‘ปราบโกง’ หรือแม้แต่ใคร ๆ ในรัฐบาลก็บอกว่า ทำเพื่อการปราบปรามคอร์รัปชั่น ป้องกันนักการเมืองเข้ามาโกงกิน

แล้วที่ผ่านมา รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้เทงบประมาณลงไปส่วนนี้มาก-น้อยแค่ไหน ?

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org มีคำตอบ ดังนี้

ร่าง พ.ร.บ.รายจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ.2562 ปัจจุบันผ่านวาระการเห็นชอบของ สนช. ขั้นที่ 1 เหลือวาระที่ 2-3 ที่จะพิจารณากันเร็ว ๆ นี้

ระบุถึง งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่น รวม 834,887,200 บาท

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำคัญอย่างการป้องกันและปราบปรามการทุจริต อย่างน้อย 4 แห่ง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้รับงบประมาณ 397,407,200 บาท สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้รับงบประมาณ 49,913,000 บาท สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้รับ 13,856,000 บาท สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 1 ล้านบาท เป็นต้น

หน่วยงานอื่นที่ได้รับงบประมาณสูง เช่น สำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานในกำกับ 42,463,700 บาท ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง ได้ 60,891,100 บาท เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) 9,978,100 บาท

ขณะที่แต่ละกระทรวงส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณแค่หลักล้านบาท มีแค่กระทรวงศึกษาธิการ 165,697,600 บาท กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รับ 19,696,200 บาท กระทรวงมหาดไทย 81,428,600 บาท กระทรวงวัฒนธรรม 11,298,000 บาท กระทรวงสาธารณสุข 15,198,900 บาท เป็นต้น

ย้อนกลับไปดู พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี อีก 4 ฉบับ ที่ผ่านการพิจารณาในช่วง ‘รัฐบาลทหาร’ กุมบังเหียน พบว่า

พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2561

ระบุถึง งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่น รวม 869,303,200 บาท

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำคัญอย่างการป้องกันและปราบปรามการทุจริต อย่างน้อย 4 แห่ง ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้งบ 415,975,500 บาท สตง. ได้งบ 13,441,900 บาท ปปง. ได้งบ 1 ล้านบาท ป.ป.ท. ได้งบ 41,264,600 บาท

หน่วยงานอื่นที่ได้รับงบประมาณสูง เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี 66,635,900 บาท ราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง ได้ 48,345,600 บาท เช่น สตช. 6,081,000 บาท

ขณะที่แต่ละกระทรวงส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณแค่หลักล้านบาท มีแค่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 21,901,300 บาท กระทรวงมหาดไทย 61,689,400 บาท กระทรวงวัฒนธรรม 12,399,500 บาท กระทรวงศึกษาธิการ 177,437,700 บาท กระทรวงสาธารณสุข 15,271,800 บาท เป็นต้น

พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2560

ระบุถึง งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่น รวม 533,517,300 บาท

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำคัญอย่างการป้องกันและปราบปรามการทุจริต อย่างน้อย 4 แห่ง ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. 189,022,200 บาท สตง. 3.2 แสนบาท ปปง. 1 ล้านบาท และ ป.ป.ท. 27,347,200 บาท

หน่วยงานอื่นที่ได้รับงบประมาณสูง เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี 58,440,800 บาท ราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง ได้ 33,535,600 บาท เช่น สตช. 5,186,400 บาท

ขณะที่แต่ละกระทรวงส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณแค่หลักแสนบาท ถึงหลักล้านบาท มีแค่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 16,532,800 บาท กระทรวงมหาดไทย 58,490,000 บาท กระทรวงศึกษาธิการ 119,909,100 บาท กระทรวงสาธารณสุข 36,398,500 บาท เป็นต้น

ส่วน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2559 และ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2558 ไม่ปรากฏแผนบูรณาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแต่อย่างใด

เบ็ดเสร็จ 3 ปีรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ใช้งบบูรณาการแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริต เป็นเงิน 2,264,707,700 บาท หรือราว 2.2 พันล้านบาท

อย่างไรก็ดีข้อมูลงบประมาณเฉพาะแผนบูรณาการป้องกันและปราบปรามทุจริตส่วนนี้ ไม่นับรวมกับงบประมาณที่เทลงไปยังหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต เช่น ป.ป.ช. ป.ป.ท. ปปง. และ สตง. ที่ได้ไปหลักพันล้านบาททุกปี เพราะเป็นการทำงานตามหน้าที่อยู่แล้ว

เพียงแต่ข้อเท็จจริงของแผนบูรณาการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความ ‘จริงจัง-จริงใจ’ ในการปราบคอร์รัปชั่นเท่านั้น!

ข้อมูลที่น่าสนใจคือ งบประมาณกระทรวงกลาโหม ในห้วง คสช. ก้าวขึ้นสู่อำนาจนั้น งบประมาณพุ่งสูงเกือบทุกปี โดยแตะหลักแสนล้านบาทแล้ว แต่กลับไม่ระบุในแผนงานงบประมาณว่า มีแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแต่อย่างใด ส่วนใหญ่มักใช้งบไปกับงานด้านการสร้างความปรองดอง-สมานฉันท์ และงบดับไฟใต้เป็นหลัก รวมวงเงินหลายพันล้านบาท 

ทั้งที่กระทรวงกลาโหม กำกับดูแลหน่วยงานรัฐยักษ์ใหญ่ คือ กองทัพ และเป็นหน่วยงานที่ประชาชน-สื่อมวลชน ตรวจสอบยาก แทบทุกโครงการที่ออกมามักเป็นโครงการ ‘ลับ’ โดยอ้างเหตุผลเรื่องความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้ออาวุธ หรือยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น

นับเป็นอีกข้อเท็จจริงหนึ่งที่สามารถประเมินได้ว่า รัฐนาวาใส่ใจปัญหาทุจริตจริงจัง-มากน้อยแค่ไหน ?

อ่านประกอบ :