วันจันทร์, มิถุนายน 18, 2561

หวังว่าเมื่อทุกท่านฯ อ่านแล้ว คงจะทราบว่าใครคือ ไอ้ตัวปัญหาที่ทำให้สับปะรดราคาเหลือกิโลละบาทเดียว





ต้องขอเรียนว่า เรื่องสับปะรด อ่านได้ แต่ห้ามเถียง เพราะผมคือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องธุรกิจสับปะรด ในช่วงวัยหนุ่ม ครอบครัวผมปลูกเองก็ เต็มพื้นที่ 300 ไร่เศษที่มีอยู่ ผมรับซื้อจากชาวไร่ และส่งขายโรงงานสับปะรดกระป๋อง เป็นผู้ค้าส่งรายใหญ่ของ บจก โดลไทยแลนด์ ปีหนึ่งๆ หลายหมื่นตัน

ปัญหาของสับปะรดที่ผ่านมาปัญหาไม่ใหญ่มากนัก มีอยู่ช่วงหนึ่งที่สับปะรดรับซื้อจากชาวไร่ราคาตก เพราะประเทศ ไอวอรี่โคสต์ อดีตเมืองขึ้นฝรั่งเศส ในแอฟริกาตะวันตก ซึ่งเขาได้รับสิทธิทางภาษี GSP เหมือนเรา แต่ประเทศเขาอยู่ใกล้ยุโรปมาก เขาเอาส่วนต่างค่าขนส่งทางเรือมาตัดราคาเรา และคุณภาพสับปะรดของเขาเหมือนเรา เพราะเขาอยู่ในเส้นละติจูตเดี่ยวกับเรา (ถ้าดูแผนที่โลก ไล่ตามเส้นละติจูตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของเราไปเลย อยู่ทางซ้ายมือของประเทศเราบนแผนที่โลก) แต่บุญของเกษตรกรของไทยดีกว่าเกษตรกรไอวอรี่โคสต์ เทวดาคุ้มครองเรา ไอวอรี่โคสต์ ทำตลาดยุโรปของเราพังไปแค่ปีกว่าๆ การเมืองภายในของไอวอรี่โคสต์ ก็มีการแย่งอำนาจการปกครองกัน เอารถถังออกมายึดอำนาจกันไป-มา ตลาดยุโรป ยกเลิกการนำเข้าสับปะรดกระป๋องจากไอวอรี่โคสต์ ที่ปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการในทันทีเพราะต้องจ่ายภาษีเต็มๆ และผู้นำเข้าสหภาพยุโรป ก็ถูกผู้ส่งออกของเราสั่งสอนจนเข็ดหลาบ ต่อมาเมื่อไอวอรี่โคสต์ มีรัฐบาลเลือกตั้ง แม้เสนอราคาต่ำเท่าใด ผู้นำเข้าของยุโรป ก็ไม่กล้าทุ่มส่งคำสั่งซื้อไปจนกระทบตลาดของเราอีกแล้ว และถึงวันนี้ไอวอรี่โคสต์ ก็ยังมีปฏิวัติบ่อยๆ ทำให้ผู้นำเข้าของยุโรป เกิดความหวาดกลัว กลัวผู้ส่งออกของไทย จะไม่ส่งสินค้าให้ขายอีก

ตลาดยุโรป เรามีส่วนแบ่งอยู่ 45% ตลาดสหรัฐเรามีส่วนแบ่งอยู่กว่า 50% (ข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ)

ปัญหาทางด้านการเมือง ที่ทหารปฏิวัติบ่อยๆ ก็ทำให้บริษัทผลิตสับปะรดกระป๋องในเมืองไทยที่เป็นบริษัท Multi-Nation เขาก็ป้องกันความเสี่ยง ด้วยการไปมีโรงงานในฟิลิปปินส์ ในอินโดนีเซียพร้อมกันไปด้วย ซึ่งทั้งสองประเทศนี้รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร คาดการณ์ว่าอีก 8-10 ปี จึงจะมีรายได้ต่อหัวประชากร ที่จะหมดสิทธิการใช้สิทธิพิเศษด้านศุลการกร GSP ซึ่งของเราหมดไปแล้ว แต่รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ฯ ได้เตรียมโปรแกรม FTA รองรับไว้ให้เรียบร้อยแล้ว แต่พอเรามีการปฏิวัติ เราก็ไปอยู่แถวเดียวกับไอวอรี่โคสต์ ต้องจ่ายภาษีเข้า 18 - 25% ตามชนิดของสับปะรดกระป๋อง แต่ถ้าเราอยู่ในโปรแกรม GSP ภาษีขาเข้าจะอยู่ที่ 0-3.5% นี่คือความพ่ายแพ้ของผู้ผลิตสับปะรดกระป๋อง ในประเทศไทย ต่อฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย 2 ประเทศนี้กวาดตลาดใหญ่ของสับประกระป๋องในสหภาพยุโรป ไปเรียบ ใครจะมาภักดีกับแบรนด์สินค้าของเรา ที่แพงกว่าสินค้าจาก 2 ประเทศนั้นตั้ง 20% รวมทั้งกุ้ง และอาหารทะเล ก็เจอปัญหานี้ด้วย

ทหารยุคโบราณของเรา ท่านฯ ฉลาดมาก ท่านฯ ปฏิวัติแย่งอำนาจกัน ท่านฯ จะทำอย่างรวดเร็ว แล้วจัดเลือกตั้งเลย ไม่รอให้เกิดความเสียหายด้านการส่งออกของประเทศ เราคนชาวบ้านทำมาหากิน เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับอำนาจอยู่แล้ว แต่การที่เราถูกปกครองโดยรัฐบาลทหารยาวนานมา 4 ปี ทำให้การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ไม่สามารถเจรจาได้ เพราะเป็นข้อห้ามสำคัญของประเทศพัฒนาแล้วเขา แต่เขาก็ไม่ได้ห้ามเราส่งสินค้าไปขาย ส่งไปได้ แต่ต้องจ่ายภาษีเต็มๆ แล้วสินค้าของเราราคาขายจะไปสู้สินค้าจากประเทศที่ได้ GSP เขาได้หรือเปล่าล่ะ ส่วนเราจะซื้อสินค้าจากเขา เขายินดีขายให้เราอยู่แล้ว

หวังว่าเมื่อทุกท่านฯ อ่านแล้ว คงจะทราบว่าใครคือ ไอ้ตัวปัญหาที่ทำให้สับปะรดราคาเหลือกิโลละบาทเดียว


Wudhichai Maitreesophone


...




เห็นแบบนี้ บอกตรงๆว่า #เศร้าใจ ครับ ไม่ว่าจะปลูกพืชอะไร ทำไมเกษตรกรไทยต้องเจอแบบนี้ตลอด การพัฒนาต้องพัฒนาคนส่วนมากใช่ไหม แล้วคนส่วนมากก็คือ #เกษตรกรราคาผลผลิตราคาเท่าเดิม 20 กว่าปีมาแล้ว แต่ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
#แล้วประเทศมันจะพัฒนาไปได้อย่างไร??????..เวรกรรม


Itipong Singsuto

ooo