หิ้วไปปรับทัศนคติในค่ายทหาร ต้องไปคุยอะไรกันบ้าง เขากิน นอนกันอย่างไร ติดตามอ่านได้ในซีรีส์ #ปรับทัศนคติ กันได้ วันนี้ชวนอ่านเรื่องแรกของแฮกเกอร์ ที่เขาบอกว่า 7 วันในค่ายทหารเหมือนจะทำให้เราบ้า!— iLawFX (@iLawFX) March 1, 2018
📖: https://t.co/7a1zWyoHS7 pic.twitter.com/10QCXdGV8w
Attitude adjusted?: "เหมือนจะทำให้เราบ้า” เจ็ดวันในค่ายทหาร ของวัยรุ่นที่ถูกกล่าวหาเป็น "แฮกเกอร์"
10 มกราคม 2018
ที่มา iLaw
16 ธันวาคม 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) ท่ามกลางเสียงคัดค้านอย่างกว้างขวางบนโลกออนไลน์ สร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก และเกิดเป็นกิจกรรมชักชวนกันโจมตีเว็บไซต์ราชการหลายแห่ง เพื่อแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยดังกล่าว กิจกรรมนี้นำโดยเพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า พลเมืองต่อต้านซิงเกิ้ลเกตเวย์
ในเวลาต่อมาเว็บไซต์สำคัญหลายแห่ง เช่น ฐานข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กองบังคับการตำรวจจราจร, กรมการเงินทหารบก, กองบัญชาการกองทัพไทย, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ ถูกโจมตีจนใช้การไม่ได้ เหตุการณ์นี้จึงถูกมองเป็นเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” และตำรวจต้องเร่งทำทุกวิถีทางที่จะจับตัวการมาให้ได้ เพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างไม่ให้ใครกล้าทำเช่นนี้อีก
ซึ่งตำรวจไทยก็ใช้เวลาไม่นานนัก เพราะในวันที่ 19 ธันวาคม 2559 ผู้ต้องสงสัยรายแรกก็ถูกจับได้ เป็นนักศึกษา ปวส. ด้านคอมพิวเตอร์ ขณะถูกจับอายุ 19 ปี เราจะเรียกเขาด้วยนามสมมติว่า “นัท”
บุกจับรายแรก ตำรวจปลอมเป็นคนส่งพิซซ่า
“นัท” เล่าว่า วันที่ถูกจับ เวลาประมาณ สี่โมงถึงห้าโมงเย็น มีคนขี่รถมอเตอร์ไซค์พร้อมกล่องพิซซ่าอยู่ด้านหลังมาถึงหน้าบ้าน และตะโกนเรียกว่ามีของมาส่ง เมื่อออกไปเปิดประตู 'คนส่งพิซซ่า'ก็ถามชื่อเขา แล้วก็เห็นคนอื่นที่อยู่ในรถที่จอดอยู่ข้างๆ เปิดประตูรถลงมา แล้วปีนข้ามรั้วเข้ามาในบ้านเลย
“นัท” บอกว่า ตอนนั้นตกใจมาก เลยวิ่งกลับเข้าไปในบ้านแล้วปิดประตู เห็นว่ามีคนวิ่งตามเข้ามาในบริเวณบ้านประมาณ 6-7 คน และมีทหารอีกจำนวนหนึ่งด้วย ตำรวจคนที่แต่งตัวเหมือนพนักงานพิซซ่าก็ทำท่าว่า จะพังประตูบ้าน เลยต้องเปิดประตูให้แต่โดยดี และเมื่อเปิดประตูแล้วก็มีคนกรูกันเข้ามาประมาณ 20 คน เข้ามาปิดม่าน ปิดประตูกระจก และเดินไปตรวจตราดูรอบๆ บ้าน
เจ้าหน้าที่คนหนึ่งตรงไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เปิดค้างไว้ แล้วเอาแฟลชไดรฟ์เสียบเข้าไป แล้วก็สั่งให้ “นัท” ไปหาแฟลชไดรฟ์ที่เคยใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ มาให้เขาให้หมด ส่วนทหารก็เดินเข้าไปค้นในห้องน้ำ และวาดรูปแผนผังบ้านของทั้งหลังเอาไว้ ภายในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง “นัท” ถูกจับใส่กุญแจมือ และเอาตัวขึ้นรถไปที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.)
“นัท” เล่าว่า ตั้งแต่เจ้าหน้าที่มาถึงเขาถามเพียงว่า รู้หรือไม่ว่าไปทำอะไรมา แล้วก็ไม่ได้แจ้งว่า มาตรวจค้นหรือมาจับกุมด้วยเหตุอะไร และไม่ได้แสดงเอกสารหมายค้น
ตำรวจสอบสวนซ้ำๆ ทั้งคืน จนไม่ได้นอน
เมื่อไปถึงที่ บก.ปอท. ในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เจ้าหน้าที่ให้ “นัท” นั่งรอในห้องแห่งหนึ่ง ซึ่งลักษณะคล้ายๆ ห้องประชุม เมื่อแม่ของ “นัท” เดินทางมาถึง เจ้าหน้าที่ก็เอากล้องวีดีโอมาตั้งและเริ่มสอบสวน คำถามหลักๆ ที่เจ้าหน้าที่ถาม คือ ทำอะไรไปบ้าง? ทำเมื่อวันที่เท่าไร? ทำกับใคร? ไปชวนใครมาทำอะไรอีกบ้าง? “นัท” บอกว่า เขาตอบคำถามตำรวจไปเท่าที่ตัวเองรู้ แต่เนื่องจากเขาไม่ได้ทำอะไรเป็นกลุ่มหรือขบวนการ คำถามที่ถูกถามถึงคนอื่นก็เลยไม่สามารถจะตอบได้
“นัท” เล่าด้วยว่า ขณะถูกสอบสวน มีจุดที่รู้สึกว่า น่ากลัวมาก คือ เจ้าหน้าที่เอาคอมพิวเตอร์เครื่องแม็คบุ๊กมาตั้งให้ดู ให้ “นัท” เปิดเข้าไปยังกลุ่มต่างๆ ด้วยเฟซบุ๊กของ “นัท” เอง ทั้งที่ “นัท” บอกว่า ไม่เคยให้รหัสผ่านเฟซบุ๊กของกับใครเลย
เท่าที่ “นัท” จำได้ ในคืนแรกที่ถูกจับ มีเจ้าหน้าที่เข้าห้องมาสอบสวนอีก ประมาณ 7-8 รอบ ด้วยคำถามเดิมๆ ตลอดทั้งคืน จนกระทั่งตัวเขาและแม่ของเขาไม่ได้นอนเลยจนถึงเช้า ในวันต่อมาเจ้าหน้าที่ก็ให้นัทนั่งอยู่กับแม่เฉยๆทั้งวันโดยไม่ได้ทำอะไรเลย ระหว่างนั้นก็ได้ยินตำรวจคุยกันว่า จับคนอื่นได้เพิ่มแล้ว ในคืนที่สอง"นัท"ถึงได้นอนบนโซฟาในห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ปอท.คนหนึ่ง "นัท" เล่าด้วยว่าในการสอบสวนตำรวจจะเป็นคนถามคำถามโดยมีทหารเป็นคนมาเฝ้า ทุกครั้งที่"นัท"ไปเข้าห้องน้ำจะต้องมีทหารเดินตามไปด้วย
คลุมหัว พาเข้าค่ายทหารสอบประวัติต่อ
ช่วงประมาณเที่ยงถึงบ่าย ของวันที่ 21 ธันวาคม “นัท” ถูกพาตัวออกจากปอท. ตำรวจพาตัวเขาออกไปขึ้นรถตู้โดยลิฟท์ที่อยู่ด้านหลังอาคาร บนรถตู้มีตำรวจ 3-4 คน นั่งไปด้วย ระหว่างเดินทาง พอถึงถนนที่มีป้ายเขียนเหมือนว่า เขตดุสิต ตำรวจก็เอาผ้ามาคลุมหัว แล้วก็เลี้ยวเข้าไปในสถานที่แห่งหนึ่ง เมื่อลงจากรถก็ได้ยินเสียงดัง “แก๊ก” เหมือนรองเท้าคอมแบต
ตอนเจ้าหน้าที่พาตัว “นัท” ลงจากรถเขายังถูกคลุมหน้าอยู่ เจ้าหน้าที่พาเขาไปในอาคารโดยการจับแขนให้เดินจนไปถึงห้องๆหนึ่ง แล้วจึงเปิดผ้าคลุมออกและให้เข้าไปข้างในห้อง เท่าที่ "นัท" สังเกตด้านในห้องเป็นกระจกสีดำทึบ มีตาข่ายสีเขียวลายพรางคลุมกระจกอีกชั้นหนึ่ง มีโต๊ะตั้งอยู่ตรงกลางห้องหนึ่งตัว มีคนนั่งเก้าอี้สามคนรออยู่แล้ว และมีเก้าอี้หนึ่งตัววางอยู่ฝั่งตรงข้ามรอให้ “นัท” เข้าไปนั่ง ด้านหน้าห้องตรงทางออกมีเก้าอี้อีกตัวหนึ่งที่มีทหารคอยนั่งเฝ้า
“ทันทีที่ตำรวจพาผมมาส่งเสร็จก็ลากลับไป คนที่นั่งอยู่ในห้องนั้นแต่งตัวนอกเครื่องแบบ คนหนึ่งใส่เสื้อกีฬาสีดำลายขาวแดง อีกคนหนึ่งใส่เสื้อยืดคอโปโลสีขาว เขาเอาของกลางที่ยึดจากบ้านผมมาวางกองกันไว้บนโต๊ะ ทหารในห้องก็ถามประวัติ เช่น ชื่อ โรคประจำตัว ทั้งหมดในชีวิตนี้เคยทำอะไรมาบ้าง และเคยไปที่ไหนมาบ้าง ผมอยู่ในห้องนั้นประมาณ 6-7 ชั่วโมง”
“นัท” เล่าต่อว่า เมื่อถึงช่วงค่ำแล้ว เจ้าหน้าที่ก็เอาถุงผ้าดิบมาคลุมหัวอีกครั้งและพาตัวเดินออกไปจนถึงห้องอีกแห่งหนึ่ง ที่ประตูติดลูกกรง มีเก้าอี้ตั้งอยู่ด้านหน้าและมีทหารเฝ้าประตูอยู่ตลอดเวลา ด้านในมีเตียงหนึ่งหลัง มีพัดลมอยู่กลางห้อง ไม่มีเครื่องปรับอากาศ บนโต๊ะในห้องมีขันและอุปกรณ์อาบน้ำ กับขนมนิดหน่อย ด้านในสุดเป็นห้องน้ำ ซึ่งเพดานห้องน้ำเป็นลักษณะลาดขึ้นไป จึงพอเดาได้ว่า เป็นห้องใต้บันได
“ผมได้อาบน้ำ และนอนอยู่ในห้องนี้จนถึงเช้า คืนนั้นไม่ได้กินอาหาร จนตอนเช้ามีทหารเดินเอาข้าวเข้ามาให้ ทหารเข้ามาพร้อมกับโทรศัพท์ ก่อนกินข้าวทหารจะบอกให้ถือจานข้าวไว้ และยิ้มเพื่อถ่ายรูปก่อนทุกครั้ง”
ห้องนอนรวมเหล่าผู้ต้องสงสัย แต่ไม่อนุญาตให้คุยกัน
วันต่อมา “นัท” ถูกพาย้ายห้องอีกครั้ง ไปยังห้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ลักษณะคล้ายห้องจัดเลี้ยง มีม่านสีฟ้ารอบห้อง ภายในห้องทหารเอาบอร์ดมาวางกั้น ซอยให้เป็นห้องย่อยๆ หกห้อง มีโต๊ะกลมตั้งอยู่ตรงกลางห้อง มีประตูเดินไปห้องด้านหลังเพื่อเข้าห้องน้ำได้ โดยห้องด้านหลังก็มีบอร์ดกั้นเป็นห้องย่อยอีกสามห้อง
“นัท” เล่าว่า เมื่อมาถึงห้องนี้ ก็ต้องนั่งอยู่ตรงโต๊ะกลมตรงกลางห้องและถูกสอบสวนอีกครั้ง โดยคนอีกสามคนที่ท่าทางเก่งคอมพิวเตอร์พอสมควร ใช้เวลาสอบถามรายละเอียดอยู่อีก 3-4 ชั่วโมง ด้วยคำถามเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา เช่น ทำอะไรมาบ้าง? รู้จักใครอีกบ้าง? คนนั้นคนนี้เป็นใคร? ก่อนที่จะพาเข้าไปยังห้องเล็กๆ ของตัวเอง
ห้องเล็กๆ ที่กั้นไว้ด้วยบอร์ดยาวสองฝั่งซ้ายขวา และบอร์ดสั้นตรงปลายเท้า เปิดช่องไว้พอให้คนเดินเข้าได้ ด้านในมีเตียงหนึ่งหลัง มีโต๊ะเล็กๆ กับเก้าอี้หนึ่งตัวให้นั่งกินข้าวได้ มีผ้าห่มผืนบางๆ มีชุดเสื้อผ้าเหมือนๆ กันให้ทุกคนใส่ บอร์ดสั้นตรงปลายเท้ามีป้ายติดไว้ว่า “ออกวันที่ 26” ซึ่งป้ายหน้าห้องของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป
“ผมมาถึงห้องนี้เป็นคนแรก เมื่อมาถึงสักพักก็มีคนทยอยมาเพิ่มทั้งหมดเก้าคน ทุกคนที่ถูกพามาก็จะถูกพามานั่งสอบสวนที่โต๊ะกลมตรงกลางก่อน แล้วค่อยเข้าห้องย่อยของตัวเอง”
“นัท” เล่าด้วยว่า ตลอดเวลาที่อยู่ในห้องนี้ ทุกคนไม่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยกันเลย ไม่ได้รับข่าวสารจากภายนอก และไม่รู้เวลา โดยมีทหารเฝ้าอยู่ตลอดเวลาไม่ให้ทุกคนคุยกัน และเมื่อจะไปเข้าห้องน้ำก็ต้องขอให้ทหารพาไปทุกครั้ง
ระหว่างที่ “นัท” นอนอยู่ที่ห้องนี้รวม 4 คืน มีตำรวจเข้ามาคุยกับเขาอีกสองครั้ง ซึ่งเข้ามาคุยในห้องเล็ก และตำรวจก็ยังเข้ามาคุยกับแต่ละคนในห้องของใครของมันอีกบ้าง แต่ละครั้งใช้เวลาคุยไม่นาน ส่วนเวลาอื่นนอกจากนั้นก็นอนอยู่เฉยๆ ท่ามกลางแอร์ที่เย็นจนและแสงสว่างของไฟที่เปิดทิ้งไว้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีอะไรให้ทำ ไม่มีโทรทัศน์ให้ดู “นัท” เคยขอสูบบุหรี่ แล้วทหารก็หาบุหรี่มาให้ แต่ไม่ให้ออกไปสูบข้างนอกห้อง
“ผมคิดว่า มันมีคำสั่งมาจากข้างบน ความจริงทหารทุกคนที่คุมผม เขาไม่โหดนะ รู้สึกว่า ทหารเป็นมิตรต่อเรา แต่คนที่อยากจะโหดและอยากจะบังคับผมน่าจะมาจากข้างบนมากกว่า”
“เขาไม่ได้ข้อมูลอะไรจากผมเพิ่มเติมเลย”
เมื่อถามถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างที่อยู่ภายใต้การควบคุมตัวแบบพิเศษนี้ “นัท” ตอบว่า ความรู้สึก คือ เขามาอยู่จุดนี้ได้ยังไง? แล้วเขามาทำอะไรที่นี่? มันเป็นความรู้สึกที่ถูกกดดัน เพราะโดนหลายๆ คนเข้ามายิงคำถามซ้ำๆๆ ถามแต่เรื่องเดิมๆๆ อยากจะพูดอะไรกลับไปแต่ก็ไม่กล้า
แต่เมื่อถามแต่เรื่องเดิมๆ สิ่งที่ตอบกลับไปก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ไปกว่าที่เคยตอบไปตั้งแต่วันแรกที่ บก.ปอท. เพราะไม่เหลือให้ตอบอะไรแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ยังบอกว่า ให้นึกมาให้ได้ ทั้งที่มันเป็นไปไม่ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นใครก็คงให้ข้อมูลอะไรมากขึ้นไม่ได้อีกแล้ว
“ตลอดเวลาที่ต้องนอนอยู่ในค่ายทหาร ผมคิดว่า เขาไม่ได้ข้อมูลอะไรจากผมเพิ่มเติมเลย นอกจากจับผมมาไว้เพื่อให้หยุดการเคลื่อนไหว แล้วก็รอดู แต่ปรากฏว่า ตอนที่เขาจับผมมาแล้วการโจมตีเว็บไซต์ต่างๆ ก็ยังมีต่อเนื่อง ก็เลยเป็นเหตุผลที่ยืนยันได้ว่า ผมไม่ใช่คนทำเรื่องเหล่านั้น”
อีกหนึ่งราย ที่เรื่องเล่าคล้ายกัน
วันที่ 24 ธันวาคม 2559 ตำรวจบุกเข้าจับกุมผู้ต้องสงสัยว่าเป็นแฮกเกอร์ที่โจมตีเว็บไซค์ราชการอีกหนึ่งรายคือ “จิ๋ว” เป็นนักเรียน กศน. ซึ่งถูกจับขณะอายุ 20 ปี
“จิ๋ว” เล่าวว่า เวลาประมาณหกโมงเช้า ขณะที่เขากำลังทำงานบ้านอยู่ ก็เห็นรถตู้ เขียนว่า ไซเบอร์โพลิซ มาจอด แล้วก็มีคนเข้ามาที่บ้านทั้งทหารและตำรวจในเครื่องแบบอย่างละสิบกว่าคน เจ้าหน้าที่แจ้งว่า “จิ๋ว” เป็นผู้ทำลายเว็บไซต์ราชการเป็นการทำลายความมั่นคง เจ้าหน้าที่อ้างว่าการจับกุมและตรวจค้นครั้งนี้ทำโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ถามหาคอมพิวเตอร์ และยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ในบ้านไป
“ตอนนั้นได้ข่าวว่า มีหลายคนถูกจับไปก่อนแล้วด้วย เขาพาตัวผมไปที่ บก.ปอท. ให้ผมเขียนว่า ผมได้ไปโจมตีเว็บไซต์อะไรบ้าง แล้วก็ให้สาวไปถึงคนอื่น ผมอยู่ที่บก.ปอท. จนถึงประมาณช่วงเที่ยง ก็ถูกพาไปที่ มทบ.11 แล้วอยู่ที่นั่น 7 วันเต็ม”
“เขาก็ไม่ได้ให้ทำอะไร เขาแค่ให้นอนอยู่อย่างนั้น กินข้าวแล้วก็นอน กินข้าวแล้วก็นอน เจอคนอื่นด้วย รู้ว่าใครนอนอยู่ตรงไหนบ้าง แต่เขาไม่ให้คุยกันเลย มีทหารนั่งเฝ้าประจำจุดเลย”
“จิ๋ว” เล่าด้วยไปว่า ระหว่างที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในค่ายทหารก็มีคนมาสอบสวนที่เตียงนอนหลายครั้ง ถ้าเป็นตำรวจจะถามเรื่องเกี่ยวกับตัวเขา แต่ถ้าเป็นทหารจะถามให้สาวไปถึงคนอื่น รวมถึงกลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway ซึ่งตัวเขาก็ได้ไม่รู้จักใครในนั้น ตลอด 7 วันการสอบสวนจะเป็นแบบวันเว้นวัน แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้น และคำถามในแต่ละวันก็จะเหมือนๆกัน
“ผมเคยมุดบอร์ดที่กั้นไปคุยกับเพื่อนที่นอนอยู่ข้างๆ แต่ผมไม่ได้โดนทำโทษอะไร ทหารที่เป็นคนเฝ้าจะโดนซ่อมให้เห็นๆ เลยตรงนั้น เห็นว่า ลุกนั่งๆ กันอยู่”
“จิ๋ว” บอกว่า ตลอดเวลาที่นอนอยู่ในค่ายทหาร ไม่ได้รู้เลยว่า กำลังจะโดนดำเนินคดีในความผิดฐานอะไรบ้าง เมื่ออยู่ตรงนั้นก็ไม่กล้าถาม ไม่อยากจะทำตัวยุ่งมาก มารู้ข้อกล่าวหาของตัวเองก็ตอนที่ถูกพาตัวไปที่ปอท.รอบที่สอง ที่ตำรวจบอกว่าถูกตั้งข้อหาอะไรบ้าง
“บรรยากาศที่ต้องไปอยู่ตรงนั้น เหมือนเขาใช้ความเงียบเข้าสยบเรา เพราะเราไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรเลย ก็ทำให้เราได้แต่นอนคิดอยู่ในสมองวนไปวนมาอยู่แบบนั้น ไม่มีใครเข้ามาคุยอะไรด้วย เหมือนเป็นโรคจิตอย่างหนึ่ง ตรงส่วนการอยู่ไม่มีปัญหา แต่บรรยากาศมันกดดันมากกว่า เหมือนจะทำให้เราบ้า”
หลังจากถูกคุมตัวอยู่จนครบเจ็ดวันแล้ว ทหารก็พา "จิ๋ว" กลับมาที่ บก.ปอท. อีกครั้ง เพื่อลงชื่อในเอกสารต่างๆ สำหรับ 'เพื่อนร่วมชะตากรรม' ในมทบ.11คนอื่นๆ "จิ๋ว" เล่าว่าแต่ละคนถูกพาตัวจากมทบ.11 ไปฝากขังที่ศาลอาญาไม่พร้อมกัน เมื่อตัว"จิ๋ว"ถูกพามาที่ห้องขังไต้ถุนศาลอาญาก็ได้พบเพื่อนในคดีเดียวกันอีกสองคนซึ่งมาถึงศาลก่อนเขา เพื่อนทั้งสองคนได้รับการประกันตัวในวันนั้นเลยแต่ญาติของ “จิ๋ว” มายื่นประกันไม่ทัน และหลังจากวันนั้นก็เป็นช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่พอดี ทำให้ “จิ๋ว” ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 7 วัน
เบื้องต้นอัยการยื่นฟ้อง “นัท” ในข้อหาโจมตีเว็บไซต์ราชการอย่างน้อย 22 แห่ง เปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์หลายแห่ง รวมทั้งข้อหาอั้งยี่, ปลอมเอกสารราชการ, ครอบครองยาเสพติด, ครอบครองอาวุธปืน ฯลฯ รวมทั้งหมดเป็นการกระทำความผิด 45 กรรม และยื่นฟ้อง “จิ๋ว” พร้อมกับพวกอีกสองคน เป็นอีกคดีหนึ่งในข้อหาเดียวกัน ต่อมาศาลสั่งให้รวมคดีของทั้งสี่คนเข้าพิจารณารวมเป็นคดีเดียวกัน ส่วนผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับไปไว้ในห้องนอนใน มทบ.11 พร้อมกันอีก 5 คน ได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหา ดูรายละเอียดคดีนี้ คลิกที่
ในชั้นศาล ทุกคนให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดี คดียังอยู่ระหว่างรอถึงวันนัดสืบพยาน ซึ่งอัยการขอสืบพยาน 40 ปาก
16 ธันวาคม 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) ท่ามกลางเสียงคัดค้านอย่างกว้างขวางบนโลกออนไลน์ สร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก และเกิดเป็นกิจกรรมชักชวนกันโจมตีเว็บไซต์ราชการหลายแห่ง เพื่อแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยดังกล่าว กิจกรรมนี้นำโดยเพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า พลเมืองต่อต้านซิงเกิ้ลเกตเวย์
ในเวลาต่อมาเว็บไซต์สำคัญหลายแห่ง เช่น ฐานข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กองบังคับการตำรวจจราจร, กรมการเงินทหารบก, กองบัญชาการกองทัพไทย, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ ถูกโจมตีจนใช้การไม่ได้ เหตุการณ์นี้จึงถูกมองเป็นเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” และตำรวจต้องเร่งทำทุกวิถีทางที่จะจับตัวการมาให้ได้ เพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างไม่ให้ใครกล้าทำเช่นนี้อีก
ซึ่งตำรวจไทยก็ใช้เวลาไม่นานนัก เพราะในวันที่ 19 ธันวาคม 2559 ผู้ต้องสงสัยรายแรกก็ถูกจับได้ เป็นนักศึกษา ปวส. ด้านคอมพิวเตอร์ ขณะถูกจับอายุ 19 ปี เราจะเรียกเขาด้วยนามสมมติว่า “นัท”
บุกจับรายแรก ตำรวจปลอมเป็นคนส่งพิซซ่า
“นัท” เล่าว่า วันที่ถูกจับ เวลาประมาณ สี่โมงถึงห้าโมงเย็น มีคนขี่รถมอเตอร์ไซค์พร้อมกล่องพิซซ่าอยู่ด้านหลังมาถึงหน้าบ้าน และตะโกนเรียกว่ามีของมาส่ง เมื่อออกไปเปิดประตู 'คนส่งพิซซ่า'ก็ถามชื่อเขา แล้วก็เห็นคนอื่นที่อยู่ในรถที่จอดอยู่ข้างๆ เปิดประตูรถลงมา แล้วปีนข้ามรั้วเข้ามาในบ้านเลย
“นัท” บอกว่า ตอนนั้นตกใจมาก เลยวิ่งกลับเข้าไปในบ้านแล้วปิดประตู เห็นว่ามีคนวิ่งตามเข้ามาในบริเวณบ้านประมาณ 6-7 คน และมีทหารอีกจำนวนหนึ่งด้วย ตำรวจคนที่แต่งตัวเหมือนพนักงานพิซซ่าก็ทำท่าว่า จะพังประตูบ้าน เลยต้องเปิดประตูให้แต่โดยดี และเมื่อเปิดประตูแล้วก็มีคนกรูกันเข้ามาประมาณ 20 คน เข้ามาปิดม่าน ปิดประตูกระจก และเดินไปตรวจตราดูรอบๆ บ้าน
เจ้าหน้าที่คนหนึ่งตรงไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เปิดค้างไว้ แล้วเอาแฟลชไดรฟ์เสียบเข้าไป แล้วก็สั่งให้ “นัท” ไปหาแฟลชไดรฟ์ที่เคยใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ มาให้เขาให้หมด ส่วนทหารก็เดินเข้าไปค้นในห้องน้ำ และวาดรูปแผนผังบ้านของทั้งหลังเอาไว้ ภายในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง “นัท” ถูกจับใส่กุญแจมือ และเอาตัวขึ้นรถไปที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.)
“นัท” เล่าว่า ตั้งแต่เจ้าหน้าที่มาถึงเขาถามเพียงว่า รู้หรือไม่ว่าไปทำอะไรมา แล้วก็ไม่ได้แจ้งว่า มาตรวจค้นหรือมาจับกุมด้วยเหตุอะไร และไม่ได้แสดงเอกสารหมายค้น
ตำรวจสอบสวนซ้ำๆ ทั้งคืน จนไม่ได้นอน
เมื่อไปถึงที่ บก.ปอท. ในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เจ้าหน้าที่ให้ “นัท” นั่งรอในห้องแห่งหนึ่ง ซึ่งลักษณะคล้ายๆ ห้องประชุม เมื่อแม่ของ “นัท” เดินทางมาถึง เจ้าหน้าที่ก็เอากล้องวีดีโอมาตั้งและเริ่มสอบสวน คำถามหลักๆ ที่เจ้าหน้าที่ถาม คือ ทำอะไรไปบ้าง? ทำเมื่อวันที่เท่าไร? ทำกับใคร? ไปชวนใครมาทำอะไรอีกบ้าง? “นัท” บอกว่า เขาตอบคำถามตำรวจไปเท่าที่ตัวเองรู้ แต่เนื่องจากเขาไม่ได้ทำอะไรเป็นกลุ่มหรือขบวนการ คำถามที่ถูกถามถึงคนอื่นก็เลยไม่สามารถจะตอบได้
“นัท” เล่าด้วยว่า ขณะถูกสอบสวน มีจุดที่รู้สึกว่า น่ากลัวมาก คือ เจ้าหน้าที่เอาคอมพิวเตอร์เครื่องแม็คบุ๊กมาตั้งให้ดู ให้ “นัท” เปิดเข้าไปยังกลุ่มต่างๆ ด้วยเฟซบุ๊กของ “นัท” เอง ทั้งที่ “นัท” บอกว่า ไม่เคยให้รหัสผ่านเฟซบุ๊กของกับใครเลย
เท่าที่ “นัท” จำได้ ในคืนแรกที่ถูกจับ มีเจ้าหน้าที่เข้าห้องมาสอบสวนอีก ประมาณ 7-8 รอบ ด้วยคำถามเดิมๆ ตลอดทั้งคืน จนกระทั่งตัวเขาและแม่ของเขาไม่ได้นอนเลยจนถึงเช้า ในวันต่อมาเจ้าหน้าที่ก็ให้นัทนั่งอยู่กับแม่เฉยๆทั้งวันโดยไม่ได้ทำอะไรเลย ระหว่างนั้นก็ได้ยินตำรวจคุยกันว่า จับคนอื่นได้เพิ่มแล้ว ในคืนที่สอง"นัท"ถึงได้นอนบนโซฟาในห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ปอท.คนหนึ่ง "นัท" เล่าด้วยว่าในการสอบสวนตำรวจจะเป็นคนถามคำถามโดยมีทหารเป็นคนมาเฝ้า ทุกครั้งที่"นัท"ไปเข้าห้องน้ำจะต้องมีทหารเดินตามไปด้วย
คลุมหัว พาเข้าค่ายทหารสอบประวัติต่อ
ช่วงประมาณเที่ยงถึงบ่าย ของวันที่ 21 ธันวาคม “นัท” ถูกพาตัวออกจากปอท. ตำรวจพาตัวเขาออกไปขึ้นรถตู้โดยลิฟท์ที่อยู่ด้านหลังอาคาร บนรถตู้มีตำรวจ 3-4 คน นั่งไปด้วย ระหว่างเดินทาง พอถึงถนนที่มีป้ายเขียนเหมือนว่า เขตดุสิต ตำรวจก็เอาผ้ามาคลุมหัว แล้วก็เลี้ยวเข้าไปในสถานที่แห่งหนึ่ง เมื่อลงจากรถก็ได้ยินเสียงดัง “แก๊ก” เหมือนรองเท้าคอมแบต
ตอนเจ้าหน้าที่พาตัว “นัท” ลงจากรถเขายังถูกคลุมหน้าอยู่ เจ้าหน้าที่พาเขาไปในอาคารโดยการจับแขนให้เดินจนไปถึงห้องๆหนึ่ง แล้วจึงเปิดผ้าคลุมออกและให้เข้าไปข้างในห้อง เท่าที่ "นัท" สังเกตด้านในห้องเป็นกระจกสีดำทึบ มีตาข่ายสีเขียวลายพรางคลุมกระจกอีกชั้นหนึ่ง มีโต๊ะตั้งอยู่ตรงกลางห้องหนึ่งตัว มีคนนั่งเก้าอี้สามคนรออยู่แล้ว และมีเก้าอี้หนึ่งตัววางอยู่ฝั่งตรงข้ามรอให้ “นัท” เข้าไปนั่ง ด้านหน้าห้องตรงทางออกมีเก้าอี้อีกตัวหนึ่งที่มีทหารคอยนั่งเฝ้า
“ทันทีที่ตำรวจพาผมมาส่งเสร็จก็ลากลับไป คนที่นั่งอยู่ในห้องนั้นแต่งตัวนอกเครื่องแบบ คนหนึ่งใส่เสื้อกีฬาสีดำลายขาวแดง อีกคนหนึ่งใส่เสื้อยืดคอโปโลสีขาว เขาเอาของกลางที่ยึดจากบ้านผมมาวางกองกันไว้บนโต๊ะ ทหารในห้องก็ถามประวัติ เช่น ชื่อ โรคประจำตัว ทั้งหมดในชีวิตนี้เคยทำอะไรมาบ้าง และเคยไปที่ไหนมาบ้าง ผมอยู่ในห้องนั้นประมาณ 6-7 ชั่วโมง”
“นัท” เล่าต่อว่า เมื่อถึงช่วงค่ำแล้ว เจ้าหน้าที่ก็เอาถุงผ้าดิบมาคลุมหัวอีกครั้งและพาตัวเดินออกไปจนถึงห้องอีกแห่งหนึ่ง ที่ประตูติดลูกกรง มีเก้าอี้ตั้งอยู่ด้านหน้าและมีทหารเฝ้าประตูอยู่ตลอดเวลา ด้านในมีเตียงหนึ่งหลัง มีพัดลมอยู่กลางห้อง ไม่มีเครื่องปรับอากาศ บนโต๊ะในห้องมีขันและอุปกรณ์อาบน้ำ กับขนมนิดหน่อย ด้านในสุดเป็นห้องน้ำ ซึ่งเพดานห้องน้ำเป็นลักษณะลาดขึ้นไป จึงพอเดาได้ว่า เป็นห้องใต้บันได
“ผมได้อาบน้ำ และนอนอยู่ในห้องนี้จนถึงเช้า คืนนั้นไม่ได้กินอาหาร จนตอนเช้ามีทหารเดินเอาข้าวเข้ามาให้ ทหารเข้ามาพร้อมกับโทรศัพท์ ก่อนกินข้าวทหารจะบอกให้ถือจานข้าวไว้ และยิ้มเพื่อถ่ายรูปก่อนทุกครั้ง”
ห้องนอนรวมเหล่าผู้ต้องสงสัย แต่ไม่อนุญาตให้คุยกัน
วันต่อมา “นัท” ถูกพาย้ายห้องอีกครั้ง ไปยังห้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ลักษณะคล้ายห้องจัดเลี้ยง มีม่านสีฟ้ารอบห้อง ภายในห้องทหารเอาบอร์ดมาวางกั้น ซอยให้เป็นห้องย่อยๆ หกห้อง มีโต๊ะกลมตั้งอยู่ตรงกลางห้อง มีประตูเดินไปห้องด้านหลังเพื่อเข้าห้องน้ำได้ โดยห้องด้านหลังก็มีบอร์ดกั้นเป็นห้องย่อยอีกสามห้อง
“นัท” เล่าว่า เมื่อมาถึงห้องนี้ ก็ต้องนั่งอยู่ตรงโต๊ะกลมตรงกลางห้องและถูกสอบสวนอีกครั้ง โดยคนอีกสามคนที่ท่าทางเก่งคอมพิวเตอร์พอสมควร ใช้เวลาสอบถามรายละเอียดอยู่อีก 3-4 ชั่วโมง ด้วยคำถามเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา เช่น ทำอะไรมาบ้าง? รู้จักใครอีกบ้าง? คนนั้นคนนี้เป็นใคร? ก่อนที่จะพาเข้าไปยังห้องเล็กๆ ของตัวเอง
ห้องเล็กๆ ที่กั้นไว้ด้วยบอร์ดยาวสองฝั่งซ้ายขวา และบอร์ดสั้นตรงปลายเท้า เปิดช่องไว้พอให้คนเดินเข้าได้ ด้านในมีเตียงหนึ่งหลัง มีโต๊ะเล็กๆ กับเก้าอี้หนึ่งตัวให้นั่งกินข้าวได้ มีผ้าห่มผืนบางๆ มีชุดเสื้อผ้าเหมือนๆ กันให้ทุกคนใส่ บอร์ดสั้นตรงปลายเท้ามีป้ายติดไว้ว่า “ออกวันที่ 26” ซึ่งป้ายหน้าห้องของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป
“ผมมาถึงห้องนี้เป็นคนแรก เมื่อมาถึงสักพักก็มีคนทยอยมาเพิ่มทั้งหมดเก้าคน ทุกคนที่ถูกพามาก็จะถูกพามานั่งสอบสวนที่โต๊ะกลมตรงกลางก่อน แล้วค่อยเข้าห้องย่อยของตัวเอง”
“นัท” เล่าด้วยว่า ตลอดเวลาที่อยู่ในห้องนี้ ทุกคนไม่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยกันเลย ไม่ได้รับข่าวสารจากภายนอก และไม่รู้เวลา โดยมีทหารเฝ้าอยู่ตลอดเวลาไม่ให้ทุกคนคุยกัน และเมื่อจะไปเข้าห้องน้ำก็ต้องขอให้ทหารพาไปทุกครั้ง
ระหว่างที่ “นัท” นอนอยู่ที่ห้องนี้รวม 4 คืน มีตำรวจเข้ามาคุยกับเขาอีกสองครั้ง ซึ่งเข้ามาคุยในห้องเล็ก และตำรวจก็ยังเข้ามาคุยกับแต่ละคนในห้องของใครของมันอีกบ้าง แต่ละครั้งใช้เวลาคุยไม่นาน ส่วนเวลาอื่นนอกจากนั้นก็นอนอยู่เฉยๆ ท่ามกลางแอร์ที่เย็นจนและแสงสว่างของไฟที่เปิดทิ้งไว้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีอะไรให้ทำ ไม่มีโทรทัศน์ให้ดู “นัท” เคยขอสูบบุหรี่ แล้วทหารก็หาบุหรี่มาให้ แต่ไม่ให้ออกไปสูบข้างนอกห้อง
“ผมคิดว่า มันมีคำสั่งมาจากข้างบน ความจริงทหารทุกคนที่คุมผม เขาไม่โหดนะ รู้สึกว่า ทหารเป็นมิตรต่อเรา แต่คนที่อยากจะโหดและอยากจะบังคับผมน่าจะมาจากข้างบนมากกว่า”
“เขาไม่ได้ข้อมูลอะไรจากผมเพิ่มเติมเลย”
เมื่อถามถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างที่อยู่ภายใต้การควบคุมตัวแบบพิเศษนี้ “นัท” ตอบว่า ความรู้สึก คือ เขามาอยู่จุดนี้ได้ยังไง? แล้วเขามาทำอะไรที่นี่? มันเป็นความรู้สึกที่ถูกกดดัน เพราะโดนหลายๆ คนเข้ามายิงคำถามซ้ำๆๆ ถามแต่เรื่องเดิมๆๆ อยากจะพูดอะไรกลับไปแต่ก็ไม่กล้า
แต่เมื่อถามแต่เรื่องเดิมๆ สิ่งที่ตอบกลับไปก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ไปกว่าที่เคยตอบไปตั้งแต่วันแรกที่ บก.ปอท. เพราะไม่เหลือให้ตอบอะไรแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ยังบอกว่า ให้นึกมาให้ได้ ทั้งที่มันเป็นไปไม่ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นใครก็คงให้ข้อมูลอะไรมากขึ้นไม่ได้อีกแล้ว
“ตลอดเวลาที่ต้องนอนอยู่ในค่ายทหาร ผมคิดว่า เขาไม่ได้ข้อมูลอะไรจากผมเพิ่มเติมเลย นอกจากจับผมมาไว้เพื่อให้หยุดการเคลื่อนไหว แล้วก็รอดู แต่ปรากฏว่า ตอนที่เขาจับผมมาแล้วการโจมตีเว็บไซต์ต่างๆ ก็ยังมีต่อเนื่อง ก็เลยเป็นเหตุผลที่ยืนยันได้ว่า ผมไม่ใช่คนทำเรื่องเหล่านั้น”
อีกหนึ่งราย ที่เรื่องเล่าคล้ายกัน
วันที่ 24 ธันวาคม 2559 ตำรวจบุกเข้าจับกุมผู้ต้องสงสัยว่าเป็นแฮกเกอร์ที่โจมตีเว็บไซค์ราชการอีกหนึ่งรายคือ “จิ๋ว” เป็นนักเรียน กศน. ซึ่งถูกจับขณะอายุ 20 ปี
“จิ๋ว” เล่าวว่า เวลาประมาณหกโมงเช้า ขณะที่เขากำลังทำงานบ้านอยู่ ก็เห็นรถตู้ เขียนว่า ไซเบอร์โพลิซ มาจอด แล้วก็มีคนเข้ามาที่บ้านทั้งทหารและตำรวจในเครื่องแบบอย่างละสิบกว่าคน เจ้าหน้าที่แจ้งว่า “จิ๋ว” เป็นผู้ทำลายเว็บไซต์ราชการเป็นการทำลายความมั่นคง เจ้าหน้าที่อ้างว่าการจับกุมและตรวจค้นครั้งนี้ทำโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ถามหาคอมพิวเตอร์ และยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ในบ้านไป
“ตอนนั้นได้ข่าวว่า มีหลายคนถูกจับไปก่อนแล้วด้วย เขาพาตัวผมไปที่ บก.ปอท. ให้ผมเขียนว่า ผมได้ไปโจมตีเว็บไซต์อะไรบ้าง แล้วก็ให้สาวไปถึงคนอื่น ผมอยู่ที่บก.ปอท. จนถึงประมาณช่วงเที่ยง ก็ถูกพาไปที่ มทบ.11 แล้วอยู่ที่นั่น 7 วันเต็ม”
“เขาก็ไม่ได้ให้ทำอะไร เขาแค่ให้นอนอยู่อย่างนั้น กินข้าวแล้วก็นอน กินข้าวแล้วก็นอน เจอคนอื่นด้วย รู้ว่าใครนอนอยู่ตรงไหนบ้าง แต่เขาไม่ให้คุยกันเลย มีทหารนั่งเฝ้าประจำจุดเลย”
“จิ๋ว” เล่าด้วยไปว่า ระหว่างที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในค่ายทหารก็มีคนมาสอบสวนที่เตียงนอนหลายครั้ง ถ้าเป็นตำรวจจะถามเรื่องเกี่ยวกับตัวเขา แต่ถ้าเป็นทหารจะถามให้สาวไปถึงคนอื่น รวมถึงกลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway ซึ่งตัวเขาก็ได้ไม่รู้จักใครในนั้น ตลอด 7 วันการสอบสวนจะเป็นแบบวันเว้นวัน แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้น และคำถามในแต่ละวันก็จะเหมือนๆกัน
“ผมเคยมุดบอร์ดที่กั้นไปคุยกับเพื่อนที่นอนอยู่ข้างๆ แต่ผมไม่ได้โดนทำโทษอะไร ทหารที่เป็นคนเฝ้าจะโดนซ่อมให้เห็นๆ เลยตรงนั้น เห็นว่า ลุกนั่งๆ กันอยู่”
“จิ๋ว” บอกว่า ตลอดเวลาที่นอนอยู่ในค่ายทหาร ไม่ได้รู้เลยว่า กำลังจะโดนดำเนินคดีในความผิดฐานอะไรบ้าง เมื่ออยู่ตรงนั้นก็ไม่กล้าถาม ไม่อยากจะทำตัวยุ่งมาก มารู้ข้อกล่าวหาของตัวเองก็ตอนที่ถูกพาตัวไปที่ปอท.รอบที่สอง ที่ตำรวจบอกว่าถูกตั้งข้อหาอะไรบ้าง
“บรรยากาศที่ต้องไปอยู่ตรงนั้น เหมือนเขาใช้ความเงียบเข้าสยบเรา เพราะเราไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรเลย ก็ทำให้เราได้แต่นอนคิดอยู่ในสมองวนไปวนมาอยู่แบบนั้น ไม่มีใครเข้ามาคุยอะไรด้วย เหมือนเป็นโรคจิตอย่างหนึ่ง ตรงส่วนการอยู่ไม่มีปัญหา แต่บรรยากาศมันกดดันมากกว่า เหมือนจะทำให้เราบ้า”
หลังจากถูกคุมตัวอยู่จนครบเจ็ดวันแล้ว ทหารก็พา "จิ๋ว" กลับมาที่ บก.ปอท. อีกครั้ง เพื่อลงชื่อในเอกสารต่างๆ สำหรับ 'เพื่อนร่วมชะตากรรม' ในมทบ.11คนอื่นๆ "จิ๋ว" เล่าว่าแต่ละคนถูกพาตัวจากมทบ.11 ไปฝากขังที่ศาลอาญาไม่พร้อมกัน เมื่อตัว"จิ๋ว"ถูกพามาที่ห้องขังไต้ถุนศาลอาญาก็ได้พบเพื่อนในคดีเดียวกันอีกสองคนซึ่งมาถึงศาลก่อนเขา เพื่อนทั้งสองคนได้รับการประกันตัวในวันนั้นเลยแต่ญาติของ “จิ๋ว” มายื่นประกันไม่ทัน และหลังจากวันนั้นก็เป็นช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่พอดี ทำให้ “จิ๋ว” ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 7 วัน
เบื้องต้นอัยการยื่นฟ้อง “นัท” ในข้อหาโจมตีเว็บไซต์ราชการอย่างน้อย 22 แห่ง เปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์หลายแห่ง รวมทั้งข้อหาอั้งยี่, ปลอมเอกสารราชการ, ครอบครองยาเสพติด, ครอบครองอาวุธปืน ฯลฯ รวมทั้งหมดเป็นการกระทำความผิด 45 กรรม และยื่นฟ้อง “จิ๋ว” พร้อมกับพวกอีกสองคน เป็นอีกคดีหนึ่งในข้อหาเดียวกัน ต่อมาศาลสั่งให้รวมคดีของทั้งสี่คนเข้าพิจารณารวมเป็นคดีเดียวกัน ส่วนผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับไปไว้ในห้องนอนใน มทบ.11 พร้อมกันอีก 5 คน ได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหา ดูรายละเอียดคดีนี้ คลิกที่
ในชั้นศาล ทุกคนให้การปฏิเสธและขอต่อสู้คดี คดียังอยู่ระหว่างรอถึงวันนัดสืบพยาน ซึ่งอัยการขอสืบพยาน 40 ปาก