วันจันทร์, มีนาคม 19, 2561

วรเจตน์ย้ำ 'นิติราษฏร์' ไม่เกี่ยว 'อนาคตใหม่' 'ปิยบุตร แสงกนกกุล' ยุติบทบาททางวิชาการไปตั้งพรรค ดีกว่าอ้างสถานะนักวิชาการเล่นการเมือง...


...

งานแนะนำหนังสือและบรรยาย "ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา"
โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ดำเนินรายการโดย กริช ภูญียามา



ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ศาสตราจารย์ประจำศูนย์กฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ผู้ร่วมก่อตั้งคณะนิติราษฎร์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ร่วมฟังการบรรยายเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา' ซึ่งจัดขึ้นที่คณะนิติศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์ วันนี้ (18 มี.ค.)
.

"ผมไม่ได้ห้ามว่านักวิชาการต้องไม่พูดเรื่องการเมือง แต่การใช้สถานะนักวิชาการเล่นการเมืองเป็นเรื่องไม่ควร... เพราะในสังคมไทยยังมีคนที่เชื่อถือและคาดหวังว่านักวิชาการจะพูดถึงสิ่งต่างๆ โดยยึด 'ความรู้' เป็นหลัก กรณีของอาจารย์ปิยบุตรก็กล้าที่จะออกจากการเป็นนักวิชาการไปเป็นนักการเมือง ไม่ใช่ไปเล่นการเมืองระดับสูงโดยใช้เสื้อคลุมนักวิชาการ"
.

ศ.ดร.วรเจตน์ระบุว่า สังคมไทยอยู่ใน Part ที่ 3 ของสถานการณ์หลังรัฐประหาร ซึ่งเป็นช่วงที่มีการบรรจุอำนาจตามมาตรา 44 ลงในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และต้องรอไปถึง Part ที่ 4 ที่จะมีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่ หากจะถามว่าโรดแมปที่วางไว้จะเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับศาล ทำให้มีข้อถกเถียงในกลุ่มประชาชนและนักกฎหมายบางกลุ่มว่า คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และอำนาจตามมาตรา 44 ถือเป็นกฎหมายที่ชอบธรรมหรือไม่
.

ศ.ดร.วรเจตน์ย้ำว่า ผู้ที่เป็น 'เนติบริกร' มีความพยายามพัฒนาขีดความสามารถของกฎหมายอยู่เรื่อยๆ และมีอำนาจคอยสนับสนุน ศาลก็ต้องพัฒนาความสามารถและเสนอแนวทางตามหลักนิติศาสตร์ เช่น ศาลพึงชี้ให้เห็นชัดเจนว่ามีความจำเป็นอย่างไรจึงต้องจำหน่ายคดีที่เกี่ยวพันกับการใช้คำสั่ง คสช.หรือมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญ เพราะการที่ศาลบอกอะไรบางอย่างในคำพิพากษา จะทำให้คนอ่านได้รู้ว่า คำสั่งนั้นชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะเป็นผลดีในวันข้างหน้า ในกรณีที่มีการรื้อฟื้นขึ้นมาเพื่อเยียวยาคนที่ฟ้องคดี
.

สิ่งสำคัญที่สุดของสังคมไทยในทัศนะของ ศ.ดร.วรเจตน์ คือการที่คนในสังคมต้องร่วมกันหามาตรฐานขั้นต่ำให้ได้ เช่น มาตรฐานขั้นต่ำว่าคนที่คิดเห็นแตกต่างกันจะต้องไม่ตกเป็นเป้าถูกทำร้ายหรือถูกละเมิดสิทธิ

ที่มา Voice TV
https://www.voicetv.co.th/read/Bykpk6oFM

ooo

 
คลิปเต็ม การบรรยาย

ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา




https://www.youtube.com/watch?v=E-EouJmIhk0

PITVFANPAGE
Streamed live 13 hours ago

การบรรยายเริ่มที่นาทีที่ 5.50