วันศุกร์, มีนาคม 23, 2561

ซวยแล้วมึง ประยุทธ์ไปลงพื้นที่หนองบัวลำภูแต่เจอโพลล์อีสานทำเซ็งชีวิต เพราะคนอีสานโหวตให้ประยุทธ์เป็นนายกในฝันอันดับ ๔ รองจาก สุดารัตน์, จาตุรนต์ และสมชาย




ชมคลิปรายการ Overview ได้ที่นี่

นายกในฝันคนอีสานต้องสุดารัตน์-จาตุรนต์-สมชาย

คุณประยุทธ์ไปลงพื้นที่หนองบัวลำภูแต่เจอโพลล์อีสานทำเซ็งชีวิต เพราะคนอีสานโหวตให้ประยุทธ์เป็นนายกในฝันอันดับ ๔ ส่วนอภิสิทธิ์อันดับ ๕ ขณะที่อันดับ ๑ ถึง ๓ เพื่อไทยกวาดเรียบจากสุดารัตน์, จาตุรนต์ และสมชาย แสบกว่านั้นคือโพลล์บอกอยากให้เลือกตั้งช่วงปลายปีนี้มากที่สุด ส่วนกำหนดการเลือกตั้งแบบประยุทธ์มีคนเห็นด้วยนิดเดียว

ooo

เรื่องเกี่ยวข้อง...





โพลคนอีสานชอบ“เพื่อไทย”นำโด่ง
หนุน“สุดารัตน์-จาตุรนต์-สมชาย”เป็นนายกฯ

อีสานโพล สำรวจพบ คนอีสานนิยมพรรคเพื่อไทยอันดับหนึ่ง ต้องการให้ สุดารัตน์-จาตุรนต์-สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกฯ ทิ้ง“ประยุทธ์-อภิสิทธิ์” ห่าง เผย 80% ขอให้เลือกตั้งปี 61

เมื่อ 22 มี.ค.2561 อีสานโพล ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง “พรรคการเมืองในฝันของคนอีสาน” พบกลุ่มตัวอย่างคนอีสานมากกว่าร้อยละ 80 เห็นว่าเลือกตั้ง สส. ภายในปี 2561 เหมาะสมที่สุด โดยคนอีสานยังนิยมพรรคเพื่อไทยมาเป็นอันดับหนึ่ง รวมทั้งต้องการให้หัวหน้าพรรคเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย

ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล เปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นคนอีสานในประเด็นจุดเด่นของพรรคการเมืองที่คนอีสานต้องการ เพื่อเป็นแนวทางให้พรรคการเมืองต่างๆ นำไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงจุดเด่นและจุดด้อยของพรรคการเมืองให้ตรงกับความต้องการของคนอีสานต่อไป โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-19 มีนาคม 2561 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,190 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด

เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า การจัดเลือกตั้ง สส. ช่วงใดเหมาะสมที่สุด พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.5 เห็นว่า ควรจัดเลือกตั้ง ส.ส. ในช่วง พ.ค.-ส.ค. 61 รองลงมาร้อยละ 31.8 ควรจัดช่วง ก.ย.-ธ.ค. 61 ตามมาด้วย ร้อยละ 12.9 ควรจัดช่วง ม.ค.-เม.ย. 62 ร้อยละ 3.5 ควรจัดช่วง พ.ค.-ส.ค. 62 และร้อยละ 1.3ควรจัดช่วงปลายปี 62 หรือนานกว่านั้น โดยสรุปกลุ่มตัวอย่างคนอีสาน ร้อยละ 82.3 คิดว่าการจัดเลือกตั้ง สส. ภายในปี 2561 เหมาะสมที่สุด

เมื่อสำรวจความต้องการจุดเด่นของพรรคการเมืองในฝันที่กลุ่มตัวอย่าง ต้องการให้พรรคการเมืองมี โดยมีตัวเลือกจุดเด่นต่างๆ 19 รายการ และระดับความต้องการ 5 ระดับ ตั้งแต่น้อยที่สุดไปจนถึงมากที่สุด (โดยเลือกระดับมากที่สุดได้ไม่เกิน 5 รายการ เพื่อสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มตัวอย่างออกมาให้ได้มากที่สุด) จากการประมวลผล โดยให้คะแนนเต็ม 100 หมายถึง ทุกคนต้องการจุดเด่นดังกล่าวมากที่สุด และศูนย์คะแนน หมายถึง ทุกคนต้องการจุดเด่นดังกล่าวน้อยที่สุด เป็นดังนี้

สำหรับ จุดเด่นของพรรคการเมืองที่ต้องการ 1) มีหัวหน้าพรรคที่บริหารประเทศเก่ง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ 90.8% 2) มีหัวหน้าพรรคที่มีจริยธรรมสูง/เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม 81.7% 3) มีนโยบายและความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย 81.2% 4) มีนโยบายและความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาทุจริตของชาติอย่างจริงจัง 80.0% 5) มีทีมงานและผู้สมัคร สส. ที่มีจริยธรรมสูง/เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม 79.4% เป็นต้น

ส่วน ผู้ที่เหมาะสมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป พบว่า 1) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 35.2% 2) นายจาตุรนต์ ฉายแสง 34.9% 3) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 34.3% 4) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 24.1% 5) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 22.0%

ผศ.ดร.สุทิน กล่าวว่า เมื่อสำรวจถึงแนวโน้มที่กลุ่มตัวอย่างจะสนับสนุนพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า อันดับหนึ่งร้อยละ 42.9 จะสนับสนุนพรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ 38.3 เป็นกลุ่มสนับสนุนพรรคทางเลือกอื่นๆ หรือยังไม่ตัดสินใจเลือกพรรคใด ตามมาด้วย ร้อยละ 7.2 สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 6.4 สนับสนุนพรรคที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ ร้อยละ2.4 สนับสนุนพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 2.0 สนับสนุนพรรคชาติพัฒนา และ ร้อยละ 0.7 สนับสนุนพรรคชาติไทยพัฒนา

PEACE NEWS


Peace News

ooo

อีสานโพลชี้ เรตติ้งเพื่อไทยยังนำมาเป็นที่ 1 เสียงหนุนพรรคทหารยังไม่กระเตื้อง






9 กุมภาพันธ์ 2561
ที่มา ข่าวสดออนไลน์


อีสานโพลศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ขอนแก่น เผยผลสำรวจหัวข้อ “คนอีสานกับการ (จะได้) เลือกตั้ง” ซึ่งสำรวจระหว่างวันที่ 2-4 ก.พ. 2561 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,161 รายในภาคอีสาน 20 จังหวัด

ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล เผยว่า สอบถามกลุ่มตัวอย่างจัดเลือกตั้งส.ส.ช่วงใดเหมาะสมที่สุด พบว่าเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.4 เห็นว่าควรจัดเลือกตั้งส.ส. ช่วง พ.ค.-ส.ค.61 รองลงมาร้อยละ 26.0 ช่วง ก.ย.-ธ.ค. 61 ร้อยละ 15.6 จัดช่วง ม.ค.-เม.ย. 62 ร้อยละ 2.8 ควรจัดช่วง พ.ค.-ส.ค. 62 และร้อยละ 3.2 ควรจัดช่วงปลายปี 62 หรือนานกว่านั้น

แนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัครส.ส.แบบใด อันดับหนึ่ง ร้อยละ 42.7 เลือกนักการเมืองประสบการณ์สูง ร้อยละ 26.3 เลือกนักธุรกิจประสบการณ์สูง ร้อยละ 17.1 เลือกนักการเมืองรุ่นใหม่ ร้อยละ 6.2 เลือกนักวิชาการ/ที่ปรึกษา ร้อยละ 3.3 เลือกอดีตข้าราชการพลเรือน ร้อยละ 3.1 เลือกผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคม และร้อยละ 1.3 เลือกอดีตทหาร/ตำรวจ

ถามถึงการตั้งรัฐบาลแห่งชาติโดยการจับมือของพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ และคสช. อันดับหนึ่งร้อยละ 43.0 เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 38.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 19.0 ยังไงก็ได้ ตามลำดับ
ถามถึงการตั้งรัฐบาลผสมโดยการจับมือของพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหลีกเลี่ยงการมาของนายกฯ คนนอก อันดับหนึ่งร้อยละ 46.3 เห็นด้วย ร้อยละ 31.2 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 22.5 อย่างไรก็ได้

ถามว่าจะสนับสนุนพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่าอันดับหนึ่ง ร้อยละ 39.7 สนับสนุนพรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ 26.9 เป็นกลุ่มรอพรรคทางเลือกอื่นๆ หรือยังไม่ตัดสินใจ เลือกพรรคใด ตามมาด้วย ร้อยละ 10.4 สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 6.6 สนับสนุนพรรคที่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 3.4 สนับสนุนพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 0.9 สนับสนุนพรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.7 สนับสนุนพรรคชาติพัฒนา และร้อยละ 0.7 สนับสนุนพรรคพลังพลเมือง ขณะที่ ร้อยละ 10.7 จะไม่ไปเลือกตั้งหรือไม่เลือกพรรคใด
ooo


ติงต๊องโพล