วันพฤหัสบดี, มีนาคม 01, 2561

ฟันธง... พรรคมวลมหาประชาชนของสุเทพเทือกสุบรรณ ได้มากที่สุด ก็ 15 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ ต่ำ 100




ooo




ฟันธงเลยว่า พรรคมวลมหาประชาชนของสุเทพเทือกสุบรรณ ได้มากที่สุด ก็ 15 เสียง คือ 3% ของที่นั่งในสภา

ส่วน ส.ส.เขต ที่จะได้คือจังหวัดเดียวนั่นคือสุราษฎร์ธานี

แต่ก็ไม่แน่ถ้านายหัวชวน หลีกภัย ลงพื้นที่ขอคะแนนเอง ตระกูลเทือกสุบรรณ จะถูกลบออกไปจากสารบบการเมืองในสุราษฎร์ธานี

ส่วนในกรุงเทพนั้น ไม่มีทางที่จะได้ส.ส. เขตแน่นอน

ดีไม่ดีคุณตั๊น จิตภัสร์ กฤษดากร อาจจะไม่กล้าลง สสเขตเสียด้วยซ้ำในพรรคมวลมหาประชาชน ลงไปข้อสอบตก และอาจจะทิ้ง กปปส.อยู่ประชาธิปัตย์ตามเดิม
.......
"ธานี” ยัน กปปส.ตั้งพรรค “มวลมหาประชาชนฯ” - “สุเทพ” เป็นเพียงสมาชิกพรรคไม่รับตำแหน่งใดทั้งสิ้น
https://mgronline.com/politics/detail/9610000020280

...

ประชาธิปัตย์ ต่ำ 100
(แล้วพรรคไทยจะได้ที่นั่งที่หายไปของประชาธิปัตย์)




ในฐานะแฟนพรรคประชาธิปัตย์ ผมมีข้อสังเกตว่า พรรคประชาธิปัตย์มีธรรมชาติอย่างหนึ่งคือเมื่อมีความขัดแย้งในพรรคแล้ว การเลือกตั้งครั้งต่อไป ก็จะได้คะแนนเสียงลดลงอย่างมาก

พิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เรียกว่าเป็นการลงโทษจากประชาชนด้านหนึ่งก็สะท้อนว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นสถาบันการเมืองมากกว่าพรรคการเมืองอื่น

ลองมาดูการเลือกตั้งย้อนหลัง 42 ปี

การเลือกตั้ง 12 มกราคม 2519 จากส.ส.ทั้งหมด 279 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ได้มาถึง 114 เสียง หรือคิดเป็น 40.86 % ซึ่งถือว่าสูงมาก
https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2519

อย่างที่ทราบกันดีกว่าหลังจากนั้นได้เกิดความแตกแยกกับระหว่างปีกขวาที่นำโดยสมัคร สุนทรเวช สมบุญ ศศิธร กับปีกซ้ายที่นำโดย ดำรง ลัทธิพิพัฒน์ สุรินทร์ มาศดิตถ์ ชวน หลีกภัย โดยหัวหน้าพรรคคือเสนีย์ ปราโมช ทำได้แต่เพียงเป็น ฤาษีเลี้ยงลิง และจบด้วยรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519

และความตำต่ำของพรรคประชาธิปัตย์

เมื่อถึงการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2522 พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.เพียง 39 ที่นั่ง จาก 301 ที่นั่งหรือคิดเป็น 12.95 % เท่านั้น หรือลดลงถึง 27.91 %
https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2522

นี่อาจจะเป็นการตกต่ำครั้งแรก

ต่อมาการเลือกตั้ง 2526 ตะแนนเสียงพรรคประชาธิปัตย์กระเตื้องขึ้นมาเป็น 56 จาก 324 ที่นั่งหรือคิดเป็น 17.28 %
https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2526

เมื่อวัฎจักรการเมืองย้อนมา พรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมอย่างสูงอีกครั้งในการเลือกตั้ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 คือได้ 99 ที่นั่ง จาก ส.ส. 347 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 28.53 %

https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2529

ซึ่งแม้จะห่างจากปี 2519 ที่ได้ 40.86 % แต่ก็เป็นครั้งแรกที่เกิน 25 %

แต่อย่างที่ทราบหลังจากนั้นแม้พรรคประชาธิปัตย์จะร่วมจัดตั้งรัฐบาล แต่นายกรัฐมนตรีคือคนนอกชื่อเปรม ติณสุลานนท์ และตามมาด้วยการเกิดกลุ่ม 10 มกรา ซึงถือเป็นความขัดแย้งครั้งสำคัญ เฉลิมพันธุ์ ศรีวิกรณ์ และวีระ มุสิกพงษ์ คู่้หูที่แพ้เลือกตั้งในพรรคออกไปตั้งพรรคประชาชน

ดังนั้นในการเลือกตั้ง 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ทั้งหมด 357 ที่นั่งในรัฐสภาไทยพรรคประชาธิปัตย์จึงได้เพียง 48 หรือคิดเป็น 13.44 % เท่านั้น หายไป 27.42 %
https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2531

นี่อาจจะเป็นการตกต่ำครั้งที่สอง ต่อจากปี 2522

ส่วนพรรคประชาชนมี ส.ส.เพียง 19 คน หรือ 5.32 % เท่านั้น

เมื่อถึงการเลือกตั้ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 จากทั้งหมด 360 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังไม่ฟื้นได้มาเพียง 44 ที่นั่ง 12.22 % โดยมาเป็นลำดับที่ 4 ตามหลังพรรคสามัคคีดธรรม ชาติไทย และความหวังใหม่

และมากกว่าพพรรคพลังธรรมที่ลงเลือกตั้งครั้งแรก ที่ได้ 41 ที่นั่งเพียง 3ีที่นั่ง เท่านั้น
https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_มีนาคม_พ.ศ._2535

แต่เมื่อการเลือกตั้ง 13 กันยายน พ.ศ. 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภา 2535 พรรคสามัคคีธรรมล่มสลาย พรรชาติไทยบางส่วน แตกออกมาเป็นพรรคชาติพัฒนา

พรรคประชาธิปัตย์อาศัยวาทกรรม "ผมเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา" เพื่อดิสเครดิตคู่แข่งอย่างพรรคพลังธรรม ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1 คือ 79 ที่นั่งจาก 360 หรือคิดเป็น 13.44 %

https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_กันยายน_พ.ศ._2535

แต่คะแนนนั้นมากกว่าพรรคชาติไทยที่มีพลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสารเป็นหัวหน้าที่เป็นอันดับ 2 เพียงแค่ 2 ที่นั่งคือพรรคชาติไทยได้ 76 ที่นั่ง

ขณะที่พรรคชาติพัฒนา ของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ 60 ที่นั่ง

น่าคิดว่าถ้าทั้ง 2 พรรคยังรวมกันอาจจะได้ส.ส. ถึง 136 ที่นั่งก็ได้

แต่รัฐนาวาชวน หลีกภัยก็ล่าด้วยปัญหา ส.ป.ก. 4-01

และเมื่อมาถึงการเลือกตั้ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
พรรคชาติไทย ของบรรหาร ศิลปอาชา ชนะด้วย 92 ที่นั่ง จาก 391 หรือคิดเป็น 23.27 % โดยที่ พรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายชวน หลีกภัย ได้ 86 ที่นั่ง หรือ 21.99 %
https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2538

ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้แค่เป็นพรรคฝ่ายค้าน
และที่น่าสนใจคือนับตั้งแต่การเลือกตั้ง 2538 จนถึงปัจจุบัน 23 ปี พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังไม่เคยชนะเลือกตั้งเลย

การเลือกตั้ง 17 พฤศจิกายน 2539 แม้พรรคประชาธปัตจย์จะก้าวกระโดยคือ ได้ ส.ส. 123 จาก 393 ที่นั่ง 31.29 % แต่ก็แพ้ให้กับ พรรคความหวังใหม่ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธที่ได้ 125 เสียง 31.80 % ไปเพียง 2 ที่นั่ง
หรือคิดเป็น 0.51 %

https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2539

ต่อมามีการ "ปฏิรูปการเมือง" ในปี 2540 และตามมาด้วยการเลือกตั้ง 6 มกราคม 2544 ปรากฎว่าพรรคไทยรักไทย ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ 224 ที่นั่ง หรือ 44.8 % ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ได้ 121 ที่นั่ง หรือ 24.2 % หรือคะแนนห่างกัน เกือบ 20 %
https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2544

หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนหัวหน้าพรรคจากนายชวน หลีกภัยที่ครองตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2534 หรือร่วม 10 กว่าปี พรรคประชาธิปัตยฺได้พบกับความแตกแยกอีกครั้ง เมือ่มีการแข่งขันชิงหัวหน้าพรรคระหว่าง นายบัญญัติ หัวหน้ากลุ่มทศวรรษใหม่ โดยมี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ สนับสนุนกับกลุ่มผลัดใบ ที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ กับสุเทพ

ผลปรากฎว่า กลุ่มทษวรรษใหม่ ที่นำโดยนายบัญญัติ ชนะได้เป็นหัวหนาพรรค แต่ก่อให้เกิดรบแยกในพรรค

ในการเลือตกั้ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ขณะที่พรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียง 375 ที่นั่ง หรือ 75 % พรรคประชาธิัปัตย์กลับได้เพียง 96 ที่นั่งหรือ 19.2 % เท่านั้น

https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2548
เป็นการชนะกันที่ห่างที่สุดในปรวัติศาสตร์การเมืองไทย

แน่อนนอนว่าคะแนนเลือกตั้ง คงจะมาจากคะแนนความนิยมอย่างสูงของพรรคไทยรักไทย แต่ขณะเดียวกันความสามัคคีในพรรคประชาธิปัตย์ก็มีผลไม่้น้อยที่ทำให้แพ้ขนาดนี้

(และเป็นเหตุให้พรรคประาธิปัตยเริ่มไม่เชื่อมั่นในระบอบรัฐสภา หันไปร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตร มีการบอยคอตเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 เพื่อปูทางให้เกิดรัฐประหาร 19 กันยา 2549)

การเลือตตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และรัฐธรรมนุญ 2550 ที่ออกแบบมาเอื้อให้พรรคประชาธิปัตย์ และการยุบพรรคไทนรักไทยไปก่อนหน้า

แต่ปรากฎว่าพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังแพ้พรรคพลังประชาชนที่แปลงร่างมาจากพรรคไทยรักไทยนั่นเอง

จาก ส.ส. 480 คนในสภา พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส. 162 ที่นั่ง คิดเป็น 33 %็ แพ้พรรคพลังประชาชนที่ได้ 233 ที่นั่งคิดเป็น 48.54 %

https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2550

จำนวนนี่นั่งห่างกัน 13.54 % นี่คือระยะห่างที่แคบที่สุดนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา

แต่การอาศัยการทรยศหักหลัง เพื่อตั้งรัฐบาลขึ้นในค่ายทหารในปี 2551 และการล้อมปราบเมษา พฤษภา 2553 ก็ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการปฏิเสธจากคนจำนวนหนึ่ง

ในการเลือตกั้ง 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทย ได้ 265 เก้าอี้หรือ 53%ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ 159 เก้าอี้หรือ 31.8%
https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2554

ระยะห่างกลับมาเป็น 21.2 %

นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมกับบกปปส.ในปี 2556 แฃละบอยคอตเลือกตั้ง 2557 จนนำไปสู่รั,ประหาร 2557

แต่รัฐธรรมนูญ 2560 กลับเป็นโทษกับพรรคประชาธิปัตย์มากกว่า เพราะแม้จะลงโทษพรรคใหญ่ แต่การที่พรรคประชาธิปัตย์มีความแตกแยกอีกครั้งคือการที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ออกมาตั้งพรรคมวลมหาประชาชน

"ธานี” ยัน กปปส.ตั้งพรรค “มวลมหาประชาชนฯ” - “สุเทพ” เป็นเพียงสมาชิกพรรคไม่รับตำแหน่งใดทั้งสิ้น
https://mgronline.com/politics/detail/9610000020280

แน่นอนว่าจะทำให้คะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
เมื่อผนวกกับการออกแบบรัฐธรรมนุญ 2560 แล้วอาจจะมีผลอย่างมากที่จะทำให้พรรคประาธิปัตย์ได้คะแนนต่ำกว่า 100 เสียง หรือต่ำกว่า 20 %

คำถามคือถ้าพรรคประชาธิปัตย์ต่ำ 100 แล้วจำนวนที่นั่งเดิมที่เคยได้จะไปอยู่ที่พรรคไหน

คงจะไม่ใช่พรรคเพื่อไทย แต่อาจจะเป็นพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่ลงแข่งขัน


Thanapol Eawsakul