“คุณกำลังสนับสนุนให้ซีพีขายเมล็ดพันธุ์
คุณกำลังสนับสนุนให้ซีพีขายปุ๋ย ขายยา ได้มากขึ้น”
เป็นคำพูดของผู้ประกอบการรายหนึ่งในการชี้แจงแก่ภาครัฐที่เพชรบูรณ์
ในคลิปเก่าเมื่อปลายปีที่แล้ว (พฤศจิกา ๕๙) เอามาแชร์กันใหม่ ตอนนี้ยอดผู้เข้าชมเกือบ
๖ แสนวิวแล้ว เพราะเนื้อหาเข้าได้เป๊ะกับสถานการณ์ยุคไล่ปู
แต่รีดเลือดประชากรเพื่อ ‘ประชารัฐ’
“เกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์กิโลละร้อยกว่าบาท
บางที่แหล่งห่างไกลกิโลละสองร้อย แม่มาขายได้สองสามบาทสี่บาท
ท่านคิดหรือเปล่าผลประโยชน์ตกอยู่ที่ใคร ตกอยู่ที่ใคร...”
สตรีเสื้อลายผู้นั้นกล่าวฉะฉาน ขณะคนฟังได้แต่นั่งอมยิ้มกัน
“แล้วพอผลผลิตออกมาเยอะ ไม่มีคนซื้อ ถามซิ ซีพี
(ซีพีเอฟ)...อาหารสัตว์นี่จะรับซื้อทุกเม็ดไหม ไปแก้ไขนโยบายนะคะ
แล้วพอเกษตรกรเรียกร้อง เอาเงินมาช่วยไร่ละพัน
นาข้าวไร่ละพัน ขอโทษ ภาษีของพวกหนู
พอไม่ได้ไม่มีก็มาขูดรีดกับผู้ประกอบการทั้งประเทศ
เอาภาษีของหนูไปชดเชยให้เกษตรกรเพื่อตัวเองเอาหน้า...
ลุงตู่รู้หรือเปล่าเนี่ย ทีมงานทำงานกันแบบนี้”
ถ้าเป็นตอนนี้ลุงตู่บอกแล้ว “ไปไล่เอาจากหน่วยที่รับผิดชอบ
ไม่ใช่ให้ตนไปนั่งสั่งทุกเรื่อง” ไม่งั้นก็โบ้ยบ้ายว่าเป็นเรื่องการเมือง เบื่อ
ไม่อยากพูด
แต่ความจริงมันก็ยังอยู่ตรงนั้นละ สนช. กำลังดี๊ด๊าสร้างผลงานให้เข้าตาเจ้านาย
เผื่อปี ๖๒ ได้เป็น สว. ตู่ตั้ง กำลังเข็นกฎหมายใหม่ “ห้ามเกษตรกรเก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อ”
ขั้นตอนอยู่ระหว่างฟังความคิดเห็น จนถึง ๒๐ ตุลา
ไม่รู้ว่าที่เขียนที่โพสต์กันผ่านสื่อจะไปถึงหูคนฟังหรือเปล่า
ประเด็นก็คือ พรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ เดิมนั้น
คสช. สั่งยกเลิกไปทั้งดุ้น แล้วให้ สนช.ร่างใหม่ นัยว่าให้สอดคล้องกับสากล
(อนุสัญญา UPOV 1991) เพื่อรองรับแนวโน้มการเจรจาการค้าเสรี หรือ FTA
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ออกมาแจงว่ากฎหมายเดิม “มีข้อติดขัดทั้งในด้านกระบวนการปฏิบัติงานและการบังคับใช้กฎหมาย
นอกจากนี้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังขาดสาระสำคัญบางประการ ทำให้ไม่สามารถให้ความคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืชได้อย่างเพียงพอ”
(อันนี้คงต่างกับ ‘พอเพียง’ เนอะ)
“และไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
ส่งผลให้ไม่ส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันการลงทุนและการวิจัยและพัฒนาของประเทศเท่าที่ควร”
ตรงนี้ละ น่าจะคือประเด็นหัวใจ
นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ยังแจ้งรายละเอียดรายล้อมอื่นๆ
อีกเยอะ รวมถึงช่วย “อาชีพเกษตรกรผู้รับจ้างผลิตเมล็ดพันธุ์...มีแรงจูงใจในการลงทุนวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ๆ
อย่างต่อเนื่อง”
และ “อุตสาหกรรมแปรรูป มีทางเลือกที่หลากหลาย...นักลงทุนมีความเชื่อมั่น
ดึงดูดให้เข้ามาลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาในประเทศมากขึ้น”
ครั้นเมื่อนักวิชาการด้านเกษตรอ่านเอาเรื่องในทางลึกของความหมายระหว่างบรรทัด
กลับได้ความว่า “เอื้ออำนวยประโยชน์ให้บรรษัทเมล็ดพันธุ์เพิ่มการผูกขาดพันธุ์พืช
และเปิดช่องให้ลงโทษเกษตรกรที่เก็บรักษาพันธุ์พืชไปปลูกต่อ”
ทั้งนี้เพราะกฎหมายใหม่ตัดเนื้อหามาตรา
๓๓ (๔) ของกฎหมายเดิมออกไปทั้งหมด ก่อผลให้ “เกษตรกรที่เก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่ออาจได้รับโทษถึงจำคุก”
ก็มีคนเขานึกถึง ‘เจียไต๋’ ขึ้นมาได้ว่า
“คอยเก็บเมล็ดพันธุ์ให้อยู่แล้ว เกษตรกรจะเก็บเองทำไม”
สำนักข่าวอิศราเผยแพร่ความเห็นของนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) เอาไว้ด้วยว่า “เป็นการทำลายวัฒนธรรมที่สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และจะกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ”
เพราะว่าร่าง
พรบ.ฯ ใหม่ “เปิดทางสะดวกให้โจรสลัดชีวภาพ โดยตัดการแสดงที่มาของสารพันธุกรรมออกเมื่อบริษัทประสงค์จะขอรับการคุ้มครองพันธ์พืชใหม่
และแก้คำนิยามของพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทไม่จำเป็นต้องแบ่งปันผลประโยชน์เมื่อนำเอาพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปไปใช้ประโยชน์ โดยเพียงแต่บริษัทนำเอาพันธุ์พืชพื้นเมืองที่ต้องการมา ‘ผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์’ เสียก่อนเท่านั้น”
อีกข้อคิดจาก
นิติการุณย์
มิ่งรุจิราลัย ตีพิมพ์ที่ไทยรัฐเมื่อวาน (๙ ตุลา)
ชี้ว่ามีการเขียนซ่อนไว้ในร่างกฎหมายฉบับใหม่ว่า
“รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช มีอำนาจออกประกาศกำหนดพันธุ์พืชใหม่ชนิดใด เป็นพันธุ์พืชที่สามารถจำกัดปริมาณการเพาะปลูกหรือการขยายพันธุ์ทั้งหมด
หรือบางส่วนของเกษตรกรได้”
เดิมนั้นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยว่าเกษตรกรสามารถเก็บรักษาพันธุ์พืชใดเพื่อไว้ปลูกต่อ
เป้นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๒ คน
ซึ่งต้องมาจากเกษตรกรที่ทำการเสนอชื่อและคัดเลือกกันเองอย่างน้อย ๖ คน
“ทว่า
ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช (ฉบับที่...) พ.ศ.
...ให้ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นและกรรมการที่เป็นตัวแทนเกษตรกรมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด”
เห็นหรือยังการบริหารบ้านเมืองแบบเบ็ดเสร็จของผู้ที่ยึดอำนาจมาครอบครอง
ไม่ต้องรับผิดชอบต่อเสียง (และบัตรคะแนนเลือกตั้ง) ของประชาชน ก่อนหน้านี้มีเรื่องเก็บภาษีน้ำ
ที่แม้แก้ตัวอย่างไรก็ยังไม่จบเพราะไม่มีการแก้ไข จะเอาให้ได้อย่างใจทุกอย่าง
เสร็จแล้วพอโดนจี้มากเข้า ทั่นผู้นัมพ์ทำเป็นของขึ้น ให้ไปไล่เอากับหน่วยงานที่รับผิดชอบสิ
นี่เห็น วาสนา นาน่วม เพิ่งประโคม “รถถังมังกร...ถึงไทยแล้วจ้าาาาา!!
รถถัง VT-4 ล็อตแรกจากจีน เดินทางด้วยเรือถึงท่าเรือทุ่งโปร่ง
สัตหีบ และได้ลำเลียงขึ้นรถบรรทุกเพื่อมุ่งหน้าสู่ศูนย์การทหารมัา สระบุรี ปลายทาง
กองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) ค่ายเปรมติณสูลานนท์
น้ำพองขอนแก่น
โดย ทบ.ซื้อ ล็อตแรก 28 คัน เมื่อกลางปี 2559 งบ 4.9 พันล้านบาท” จำเริญเขาละสิ อมิตาภะ