วันเสาร์, กันยายน 02, 2560

อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา เปิดข้อโต้แย้งทาง กม. ชี้ช่องทางการต่อสู้คดี สลายชุมนุมแดง 53




ที่มาภาพ iLaw TH


อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาชี้ช่องทางการต่อสู้คดี สลายชุมนุมแดง 53


2017-09-01
ที่มา ประชาไท


สมลักษณ์ จัดกระบวนพล ชี้ช่องทางการต่อสู้คดีสั่งสลายชุมนุมเสื้อแดง ปี 53 ระบุยังสามารถกระทำได้ แนะผู้เสียหาย-ครอบครัว ต่อสู้โดยอาศัยข้อกฎหมาย ม. 275 ประกอบ 276 ของรัฐธรรมนูญ 50 ตามที่ศาลฎีกาแนะแนวทาง

1 ก.ย. 2560 จากกรณีที่ที่วันนี้ (31 ส.ค.60) ศาลฎีกา พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องสำนวนคดีที่ อัยการ ฟ้อง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ กับสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ฐานร่วมกันก่อให้ฆ่าผู้อื่นเหตุสลายการชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตั้งแต่เดือน เม.ย. ถึง 19 พ.ค. 2553 โดยที่ศาลเห็นว่า แม้อัยการโจทก์ จะกล่าวหาว่า อภิสิทธิ์ และสุเทพ ได้ออกคำสั่ง ศอฉ. กระชับพื้นที่ หรือสลายการชุมนุม แต่เป็นการใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่ราชการในฐานะนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี รวมทั้ง ผู้อำนายการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ผอ.ศอฉ.) ตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ด้วย ไม่ใช่การกระทำทางอาญาที่กระทำโดยส่วนตัวดังนั้นจึงเป็นการกระทำที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งราชการ ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เป็นผู้มีอำนาจไต่สวน และหาก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ก็ต้องยื่นฟ้องคดีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มีอำนาจไต่สวนชี้มูลความผิดเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลนี้

ล่าสุด Voice TV รายงานบทสัมภาษณ์ สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และกรรมการ ป.ป.ช. ให้ความเห็นโต้แย้งทางข้อกฎหมาย ว่า คดีดังกล่าว เข้าลักษณะการกระทำกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เพราะนอกเหนือจากข้อกล่าวหา ฐานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามมาตรา 157 แล้ว ยังมีฐานความผิดร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่า และพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59, 80, 83, 84 และ 288 จากกรณี ศอฉ.คำสั่งขอคืนพื้นที่ชุมนุม ระหว่างเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม ส่งผลมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย

สมลักษณ์ เห็นว่า ผู้เสียหาย หรือ ครอบครัวผู้เสียหาย ยังสามารถต่อสู้ในทางคดีได้ โดยอาศัยข้อกฎหมาย มาตรา 275 ประกอบ 276 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ตามที่ศาลฎีกาแนะแนวทาง และเป็นรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้ขณะฟ้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ยังไม่จบ! ทนายคดีสลายชุมนุมแดง 53 จ่อยื่นเรื่อง ป.ป.ช.ต่อ - ดีเอสไอยังสอบมือลั่นกระสุน


ooo

Voice TV
1 กันยายน 2560


อาจารย์สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และกรรมการ ป.ป.ช.ให้ความเห็นโต้แย้งทางข้อกฎหมาย หลังศาลยกฟ้องคดีสั่งสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง เมื่อปี 2553 พร้อมชี้ช่องทางการต่อสู้คดี ยังสามารถกระทำได้

อาจารย์ สมลักษณ์ ให้ความเห็นทางข้อกฎหมายว่า คดีดังกล่าว เข้าลักษณะการกระทำกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เพราะนอกเหนือจากข้อกล่าวหา ฐานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามมาตรา 157 แล้ว ยังมีฐานความผิดร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่า และพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59, 80, 83, 84 และ 288 จากกรณี ศอฉ.คำสั่งขอคืนพื้นที่ชุมนุม ระหว่างเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม ส่งผลมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย

นอกจากนี้ อาจารย์สมลักษณ์ เห็นว่า ผู้เสียหาย หรือ ครอบครัวผู้เสียหาย ยังสามารถต่อสู้ในทางคดีได้ โดยอาศัยข้อกฎหมาย มาตรา 275 ประกอบ 276 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ตามที่ศาลฎีกาแนะแนวทาง และเป็นรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้ขณะฟ้อง

คดีนี้ ศาลฎีกายกฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา เนื่องจากเป็นคำสั่งระหว่างอยู่ในตำแหน่งทางการเมือง จึงเป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.ชี้มูล และส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง