https://www.youtube.com/watch?v=5AjQNCeiBZw&sns=fb
เปิดตัวเว็บไซต์ "บันทึก 6 ตุลา" [doct6.com]
prachatai
Published on Sep 25, 2017
เปิดตัวเว็บไซต์ “บันทึก 6 ตุลา” นฤมล กระจ่างดารารัตน์ และ ภัทรภร ภู่ทอง Producer ภาพยนตร์ "สองพี่น้อง" (The Two Brothers) เสวนาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสัมมนา "เผชิญความอยุติธรรมด้วยการบันทึกประวัติศาสตร์" จัดโดยสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ โครงการบันทึก 6 ตุลา วันที่ 24 กันยายน 2560 ตึกเกษม อุทยานนิน ชั้น 7 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ooo
เปิดตัวเว็บไซต์ “บันทึก 6 ตุลา” โดย คุณนฤมล เปิดตัวเว็บไซต์ “บันทึก 6 ตุลา” นฤมล กระจ่างดารารัตน์ และ ภัทรภร ภู่ทอง Producer ภาพยนตร์ "สองพี่น้อง" (The Two Brothers) เสวนาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสัมมนา "เผชิญความอยุติธรรมด้วยการบันทึกประวัติศาสตร์" จัดโดยสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ โครงการบันทึก 6 ตุลา วันที่ 24 กันยายน 2560 ตึกเกษม อุทยานนิน ชั้น 7 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ooo
กระจ่างดารารัตน์
ภาพยนตร์ “สองพี่น้อง”
เปิดตัวเว็บไซต์ “บันทึก 6 ตุลา” โดย คุณนฤมล
กระจ่างดารารัตน์
13.30-14.30 ชมภาพยนตร์ “สองพี่น้อง” (The Two Brothers)
และสนทนากับคุณธีระวัฒน์ รุจินธรรม (director) และภัทรภร
ภู่ทอง (producer) และญาติผู้เสียชีวิต
14.30-16.30 เสวนา “บันทึกข้อมูลเพื่อทวงความยุติธรรม”
- ศาตราจารย์กิตติคุณ ธงชัย วินิจจะกูล IDE-Jetro, Japan
- รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬา
- คุณรอมฎอน ปันจอร์ จากองค์กร Deep South Watch
- ดำเนินการเสวนาโดย รศ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ooo
ลูกคนโต ลูกชายคนเดียว เด็กคนแรกของหมู่บ้าน ..... พวกเขาคือความหวัง
ในสังคมแบบเอเชีย เด็ก ๆ มักถูกสอนให้ต้องรู้จักกตัญญูทดแทนบุญคุณพ่อแม่ ดูแลพวกเขาในยามแก่เฒ่า โดยเฉพาะลูกคนโตของบ้านมักต้องรับภาระหน้าที่ทางศีลธรรมนี้มากกว่าใคร เพราะไม่เพียงต้องดูแลพ่อแม่เท่านั้น บางครั้งยังต้องดูแลน้อง ๆ ด้วย และหากเป็นลูกชายคนโตในครอบครัวจีนด้วยแล้ว เขามักกลายเป็นความหวังของคนทั้งครอบครัวเลยทีเดียว
หากเป็นลูกที่เอาถ่าน เรียนหนังสือเก่ง ได้เข้ามหาวิทยาลัย ก็ยิ่งเป็นทั้งความหวังและความภาคภูมิใจของคนทั้งครอบครัว โดยเฉพาะในทศวรรษ 2510 ในยุคที่ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศน้อยกว่าจำนวนนิ้วมือนิ้วเท้ารวมกัน ลูกบ้านไหนเข้ามหาวิทยาลัยได้ย่อมเป็นเกียรติเป็นศรีและความหวังอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว
คนเป็นลูกเองก็รับรู้ถึงความคาดหวังนี้ พวกเขาจึงมักมีความหวังว่าเมื่อเรียนจบ พวกเขาก็จะช่วยแบกรับภาระของพ่อแม่ จะเลี้ยงดูพ่อแม่ให้มีความสุขสบายมากยิ่งขึ้น นี่ดูจะเป็นความฝันพื้น ๆ อันยิ่งใหญ่ของคนในยุคหนึ่ง
จากการสืบค้นประวัติและติดตามหาครอบครัวของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ฆาตกรรมหมู่ 6 ตุลา โครงการ [DOct6] พบว่าผู้เสียชีวิตหลายคนเป็นลูกคนโต หรือลูกชายคนแรกของครอบครัวที่ได้มีโอกาสได้เข้ามหาวิทยาลัย อาทิ เช่น
วิมลวรรณ รุ่งทองใบสุรีย์ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหิดล เป็นลูกสาวคนโตของครอบครัว เสียชีวิตจากการถูกยิงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ภูมิศักดิ์ ศิระศุภฤกษ์ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ รามคำแหง เป็นลูกชายคนโตและคนเดียวของครอบครัว เสียชีวิตจากการถูกยิงในธรรมศาสตร์
พงษ์พันธ์ เพรามธุรส เป็นลูกคนที่สาม แต่เป็นลูกชายคนแรกของครอบครัว ฐานะที่บ้านยากจนมาก เขาจึงหารายได้ด้วยการขายอาหารเพื่อส่งเสียตัวเองเรียน พงษ์พันธ์เรียนอยู่ชั้นปี 2 คณะนิติศาสตร์ รามคำแหง เสียชีวิตเพราะสะเก็ดระเบิดขณะทำหน้าที่การ์ดบริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์
อภิสิทธิ์ ไทยนิยม เสียชีวิตขณะอายุ 21 ปี และกำลังเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์ รามคำแหง เขาเป็นลูกชายคนเดียว แต่เป็นเป็นลูกคนที่สองของครอบรัวที่มีพี่น้องสี่คน จากอ. แหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เขาเสียชีวิตจาก “บาดแผลสะเก็ดระเบิดทำลายสมอง”
จารุพงษ์ ทองสินธุ์ ปี 2 คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เสียชีวิตจากการถูกยิงในธรรมศาสตร์ เป็นคนสุราษฎร์ธานี พ่อจินดาและแม่ลิ้ม ทองสินธุ์ เฝ้ารอคอยถึง 20 ปีจึงได้รับรู้ความจริงว่าลูกชายคนโตของครอบครัวจะไม่มีวันกลับมาอีกแล้ว
อับดุลรอเฮง สาตา นักศึกษาคณะสาธารณสุข มหิดล เสียชีวิตจากการถูกยิงเพียง 6 เดือนก่อนที่เขาจะเรียนจบ และตั้งใจจะกลับไปทำงานที่บ้านเกิดที่นราธิวาส เขามาจากครอบครัวยากจน มีพี่น้อง 4 คน คนอื่น ๆ เรียนในโรงเรียนศาสนากันหมด ยกเว้นอับดุลรอเฮงคนเดียวที่เรียนทางสายสามัญ เขาต้องเป็นคนเรียนเก่งมาก จึงเป็นคนเดียวของตำบลที่ได้เข้ามหาวิทยาลัย อับดุลรอเฮงยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม “สลาตัน” ซึ่งเป็นกลุ่มปัญญาชนที่มีบทบาทสำคัญในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ในช่วงทศวรรษ 1970-1990 หากเขายังมีชีวิตอยู่ เขาคงมีบทบาททางสังคมและการเมืองในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ เช่นเดียวกับมิตรสหายในกลุ่มสลาตันหลายคนที่มีชื่อเสียงทางการเมืองระดับประเทศ
พ่อแม่ที่ต้องสูญเสียลูกล้วนเจ็บปวดรวดร้าวด้วยกันทั้งนั้น แต่การสูญเสีย “ความรักและความหวัง” อย่างคาดไม่ถึง จากการฆาตกรรมอย่างจงใจและโหดเหี้ยม จากการถูกป้ายร้ายว่าเป็นคนชั่วช้าทรยศต่อชาติ และไม่สามารถเรียกร้องหาความยุติธรรมจากใครได้ในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้ทำให้โลกที่เต็มไปด้วยความหวังของพวกเขาต้องดับมืดลงอย่างฉับพลัน .... และอย่างเลือดเย็นเกินไป
ooo
ที่มา FB
บันทึก 6 ตุลา - Documentation of Oct 6