วันพุธ, กันยายน 27, 2560

คลิปเสวนาจาก Harvard Law School - Populist Plutocrats: Lessons From Around the World อภิสิทธิ์ ไขรหัสโค่นผู้นำประชานิยม แต่นักวิชาการชื่อดังชี้ต้องไม่ใช่วิธีที่ทำอยู่




อภิสิทธิ์ ไขรหัสโค่นผู้นำประชานิยม แต่นักวิชาการชื่อดังชี้ต้องไม่ใช่วิธีที่ทำอยู่


By กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
26 กันยายน 2560

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ทบทวนประสบการณ์จากเมืองไทยให้บทเรียนไปถึงสหรัฐฯ ชี้ผู้นำอย่างทรัมป์-ทักษิณมีทุกที่ ยอมรับวิธีการรับมือที่ผ่านมาไม่ได้ผลรวมไปถึงการรัฐประหาร ชี้สิ่งที่ต้องทำคือเข้าให้ถึงประชาชนและตอบโจทย์พวกเขา ขณะที่ “ดันแคน แมคคาร์โก” นักวิชาการอังกฤษชี้ การเข้าถึงประชาชนต้องไม่ใช่วิธีการปฏิเสธทุกอย่างอย่างที่ทำกันอยู่

Harvard Law School ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และศูนย์จอร์จ เจสติกเลอร์ เซ็นเตอร์ (Stigler Center) ได้จัดเวทีเสวนาเรื่องปัญหาการรับมือกับผู้นำแนวประชานิยมที่สหรัฐเมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมาโดยตั้งประเด็นการดูดซับบทเรียนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยกับการเมืองที่มีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรอยู่ในอำนาจเพื่อดูหนทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในที่อื่นๆเช่นในสหรัฐฯที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ถูกมองว่าเป็นประชานิยมและถูกต่อต้านมากขึ้นทุกขณะ ในเวทีนี้มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และนายดันแคน แมคคาร์โก นักวิชาการที่เขียนหนังสือเรื่องการเมืองไทยจากมหาวิทยาลัยลีดส์เป็นผู้ร่วมเสวนา

นายอภิสิทธิ์ได้เล่าถึงการขึ้นสู่อำนาจของอดีตนายกรัฐมตรีทักษิณ ชินวัตรว่ามีปัจจัยสามประการกล่าวคือเงื่อนไขสภาพสังคมที่ไทยกำลังผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจที่ต้องรัดเข็มขัดภายใต้การกำกับของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ความเบื่อหน่ายของประชาชนทำให้รู้สึกติดลบกับนักการเมืองรวมทั้งผู้บริหารประเทศที่เห็นว่าช่วยพวกเขาไม่ได้ แม้ว่ารัฐบาลจะทำในสิ่งที่ถูกแต่สวนทางความรู้สึกคน บรรยากาศเช่นนั้นเปิดให้ทักษิณที่กำลังก้าวเข้ามาและแสดงตัวว่าเป็นพลังใหม่ มีวิธีการนำเสนอหาเสียงแบบใหม่ ขณะที่มีกฎหมายใหม่ที่เอื้อต่อพรรคการเมือง ขณะที่ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่สนใจรายละเอียดของนโยบายและแม้จะมีไม่กี่อย่างที่ได้ผลแต่ในสายตาคนทั่วไปมันตอบโจทย์พวกเขาได้มากกว่าพรรคการเมืองที่ผ่านมา

แต่แมคคาร์โกจากมหาวิทยาลัยลีดส์มองว่า สิ่งที่ส่งให้ทักษิณขึ้นสู่อำนาจไม่ได้มีแค่ตัวทักษิณเท่านั้น เขาชนะเลือกตั้งทั้งในส่วนของพรรคเพื่อไทยเองและพรรคที่ตั้งใหม่แต่ละครั้งที่ถูกยุบ รวมถึงภายใต้การนำของบุคคลอื่นที่พรรคส่งลงเลือกตั้ง ตัวทักษิณเองก็ไม่ได้กลับประเทศหลายปีแล้ว แต่ถ้ามีเลือกตั้งอีกก็ยังมีโอกาสอีกมากในอันที่จะชนะเลือกตั้ง

ดังนั้นสิ่งที่ทำให้ได้ผู้นำอย่างทักษิณจึงน่าจะเป็นสภาพสังคมและการเมือง เขาบอกว่าบริบทการเมืองของไทยที่การเมืองผันผวนตลอดเวลานับแต่มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองปี 2475 ที่เป็นการต่อสู้ของระบบเก่าและประชาธิปไตยตลอดเวลาทำให้ไทยมีรัฐประหารมากกว่าใครในโลกในรอบร้อยปีนี้ มีรัฐธรรมนูญมากกว่าประเทศใดๆ มีการประท้วงในเมืองหลวงที่ทำให้เมืองเป็นอัมพาตมากกว่าใคร เห็นได้ชัดว่า ไทยต้องการทางออกจากระบบการเมืองที่ระหกระเหินมานานก่อนยุคทักษิณกล่าวคือย้อนหลังกลับไปร่วมแปดสิบปี

ผลอันหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความพยายามจัดการกับปัญหาความผกผันทางการเมืองก็คือการปะทะกันของสองพลังในช่วงพฤษภา 2535 ไทยได้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่ถือว่าก้าวหน้ามากที่สุดเพราะหยิบยืมหลายอย่างมาจากหลายประเทศ เป็นกฎหมายที่จะวางพื้นฐานให้กับระบบการเมืองที่พรรคการเมืองเข้มแข็งและรัฐบาลที่โค่นล้มยาก เป็นการหาทางออกด้วยการพยายามสร้างเสถียรภาพให้กับกระบวนได้มาซึ่งระบบตัวแทน ทักษิณก้าวเข้ามาในจังหวะนี้และมีเงื่อนไขหลายอย่างที่สอดรับกับเงื่อนไขที่ รัฐธรรมนูญ ฉบับนั้นวางฐานไว้ให้

ส่วนหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงสิ่งที่ทักษิณทำหลายเรื่องที่เขาเห็นว่าเป็นการสร้างปัญหาเช่นการก้าวก่ายองค์กรอิสระทำให้ระบบตรวจสอบไม่เป็นผล เสรีภาพในการแสดงออกถูกริดรอน มีการดำเนินงานที่ทำให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและภายใต้รัฐบาลของเขามีการทุจริต แต่ผู้สนับสนุนของทักษิณไม่ใส่ใจในเรื่องวิธีการ โดยเห็นว่านักการเมืองล้วนทุจริตทั้งสิ้น หากมีนักการเมืองที่ทุจริตแต่มีสิ่งที่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ก็น่าพอใจแล้ว

ขณะที่อภิสิทธิ์อภิปรายเรื่องตัวบุคคล แมคคาร์โกกลับชี้ว่า สิ่งที่น่าสนใจก็คือเรื่องระบบที่ออกแบบไว้ในรัฐธรรมนูญไม่ตอบโจทย์ เห็นได้ชัดจากการฟ้องร้องทักษิณในเรื่องการไม่แจ้งรายได้ตามจริงซึ่งในที่สุดไม่ได้ทำให้อดีตนายกรัฐมนตรีหลุดจากอำนาจเนื่องจากบรรดานักกฎหมายและผู้มีส่วนร่วมในการยกร่างกฎหมายในเวลานั้นต่างตระหนักว่า การทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหาใหม่ยิ่งกว่าแก้ปัญหาเดิม เท่ากับว่าระบบที่วางไว้เข้มงวดเกินจะทำได้ และการหาทางออกต่อปัญหาการเมืองด้วยการวางกฎเกณฑ์ไว้แน่นไม่ใช่วิธีการที่จะใช้ได้ ดังนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นเรื่องของทักษิณเท่านั้น

เมื่ออภิสิทธิ์กล่าวถึงหนทางในการจัดการกับนักการเมืองที่ถือเป็นผู้นำแบบประชานิยมหรือ populist เขายอมรับว่าได้มีความพยายามหลายวิธีในอันที่จะจัดการกับทักษิณ แต่ผลที่สุดไม่มีอะไรที่ได้ผลแม้แต่วิธีรัฐประหาร เขาชี้ว่าวิธีการของอดีตนายกรัฐมนตรีคือสร้างวาทกรรมว่ามีคนที่อยู่เหนือกว่าพยายามจะทำลายเขา ซึ่งผู้สนับสนุนเชื่อเช่นนั้นด้วย ความพยายามในอันที่จะจัดการกับทักษิณหรือรัฐบาลที่เป็นตัวแทนยิ่งทำให้พวกเขาได้คะแนนสงสารมากยิ่งขึ้น และอภิสิทธิ์ระบุว่าในที่สุดเขายอมรับว่า หนทางที่จะจัดการกับนักการเมืองในระบบนี้คือการเชื่อมโยงกับประชาชนให้ได้ และแสดงให้เห็นว่านักการเมืองอื่นสนใจปัญหาประชาชนด้วย

“แต่พรรคเดโมแครตทั่วโลกไม่สามารถเชื่อมโยงกับประชาชนได้ง่ายๆ แม้เราจะพูดในสิ่งที่ถูกต้องแต่ไม่สามารถเข้าถึงจิตใจประชาชน พวกเขารู้สึกว่าเราเข้าไม่ถึงเขา พวกเขารู้สึกเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเขา”

อีกด้านแมคคารโก้ชี้ว่า วิธีการของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่วิธีที่จะทำให้เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น การปฏิเสธไม่ยอมเข้าร่วมการเลือกตั้งที่รู้ว่าตัวเองจะไม่ชนะ หรือสนับสนุนให้ศาลประกาศให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ฯลฯ รวมทั้งปฏิเสธตลอดเวลาว่าสิ่งที่ประชาชนเห็นว่าได้ประโยชน์นั้นไม่ถูกต้อง สวนทางกับความคิดเห็นของประชาชนอีกเป็นจำนวนมาก เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ไม่ใช่วิธีที่จะทำให้พรรคเชื่อมโยงกับประชาชนได้ดีขึ้นดังที่ต้องการ และแม้ว่าจะมองว่าสิ่งที่ทักษิณและกลุ่มผู้สนับสนุนนำเสนอเป็นเพียงวาทกรรมที่สร้างขึ้น แต่สำหรับประชาชนที่สนับสนุนทักษิณ พวกเขาเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่ากับทักษิณและพรรคการเมืองของเขาจนมองว่านั่นคือหลักฐานที่ชัดเจน การเปลี่ยนความรู้สึกของประชาชนจึงเป็นเรื่องยาก สิ่งที่คนในเมืองพูดก็ไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่คนในชนบทคิด จึงกลายเป็นช่องว่างที่ใหญ่มาก

อภิสิทธิ์กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของพรรคการเมืองอย่างประชาธิปัตย์ก็คือผู้คนไม่สนใจพรรคการเมืองที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือกระบวนการและวิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งต่างๆ ขอเพียงพรรคการเมืองมอบสิ่งที่สัญญาไว้ได้ แม้วิธีการผิดพลาดพวกเขาก็ยอมรับ ส่วนแมคคาร์โกมองว่าการต่อสู้กับประชานิยมต้องทำด้วยการนำเสนออะไรที่ก้าวหน้ากว่า แต่นักการเมืองต้องเข้าถึงผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้ได้

อภิสิทธิ์ยืนยันว่า แม้รัฐประหารไม่อาจแก้ปัญหาการได้มาซึ่งผู้นำทางการเมืองในระบบประชานิยมได้ แต่ก็หยุดยั้งทำให้ไทยไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของทักษิณที่จะสร้างความเสียหายต่อประชาธิปไตยอย่างมาก แต่ในช่วงหนึ่งของการตอบคำถาม เมื่อมีผู้ถามว่าในเมืองไทยสถานการณ์จะเลวร้ายไปกว่านี้ไหมหากไม่มีรัฐประหาร แมคคาร์โกตอบว่า เขามองไม่ออกว่าสถานการณ์จะเลวร้ายไปกว่าที่เป็นอยู่เวลานี้ได้อย่างไร


ooo







Start of the conference is at 34.40 min

https://www.youtube.com/watch?v=bT4-08tfT0A&feature=youtu.be&app=desktop

Populist Plutocrats: Lessons From Around the World

Stigler Center

Streamed live on Sep 23, 2017

This one-day conference, co-sponsored by Harvard Law School and the Stigler Center, will focus on an important and dangerous political phenomenon: the “populist plutocrat.” 

The populist plutocrat is a leader who exploits the cultural and economic grievances of poorer, less-educated voters against traditional elites in order to achieve and retain power, but who, once in office, seem substantially or primarily interested in enriching him- or herself, along with a relatively small circle of family members, cronies, and allies. 

Many Americans worry that this description accurately captures President Trump, and are working to both understand and respond to the distinctive challenges posed by the Trump Administration. 

Yet while populist plutocracy may be a new experience for Americans, it is a sadly familiar style of leadership elsewhere in the world. Populist plutocrats have taken power in many democracies, often with devastating results. Although every country is different, Americans have much to learn about populist plutocracy—both about how it functions, and how to fight it—from those who have confronted this phenomenon elsewhere. 

This conference will contribute to that more general understanding by bringing together a group of distinguished experts—academics, journalists, politicians, and civil society activists—to analyze populist plutocrats (or leaders who exhibit some similar characteristics, even if they don’t perfectly correspond to the archetype) from several different countries, including Italy, Thailand, Russia, the Philippines, Peru, Argentina, and South Africa. 

These participants will address four key questions: 

First, how can we understand the political and social conditions that contribute to the electoral success of populist plutocrats? 

Second, once in power, how do populist plutocrats govern, and how does their governance style differ from other types of leaders? 

Third, what strategies and approaches are most effective in resisting and combating populist plutocracy? 

Fourth, what are the long term economic and political consequences of a period of populist plutocracy?

.....

Speaker List:

Sheila Coronel, Toni Stabile Professor of Professional Practice in Investigative Journalism, Director of the Toni Stabile Center for Investigative Journalism, and Dean of Academic Affairs, Columbia Journalism School
Founder of the Philippine Center for Investigative Journalism

Paul Holden, Director of Investigations at Corruption Watch UK
Co-author of Who Rules South Africa (Jonathan Ball, 2012)

Duncan McCargo, Professor of Political Science, School of Politics and International Studies, University of Leeds
Author of The Thaksinization of Thailand (NIAS, 2004)

Giovanni Orsina, Professor of History, Deputy Director of the School of Government, Director of the Master in European Studies, Luiss-Guido Carli University
Author of Berlusconism and Italy (Palgrave, 2014)

David E. Sanger, National Security Correspondent, New York Times

Beppe Severgnini, Journalist and Columnist, Corriere della Sera

Matthew Stephenson, Professor of Law, Harvard Law School

Jose Ugaz, Chair of the Board, Transparency International
Former Ad Hoc State Attorney of Peru, prosecuted Alberto Fujimori and Vladimiro Montesinos

Abhisit Vejjajiva, Leader of the Democrat Party, Former Prime Minister of Thailand

Alan Wirzbicki, Senior editorial writer, Boston Globe

Luigi Zingales, Robert C. McCormack Distinguished Service Professor of Entrepreneurship and Finance, University of Chicago Booth School of Business

The conference is free and open to the public.