วันจันทร์, ธันวาคม 19, 2559

คสช. สนช. เห็นยัง...จม. จาก UN - UN Regional Office has sent a letter to the NLA expressing concern about the Computer Crime Act Amendments





We are concerned by amendments to Thai legislation that could threaten online freedoms, and call on the Government to ensure the country's cyber laws comply to international human rights standards.

The National National Legislative Assembly last week passed amendments to the 2007 Computer Crime Act that could severely restrict freedom of expression, opinion, assembly and privacy. The amendments enable the Government to obtain user information and traffic data from Internet service providers (ISPs) without court approval. Service providers now face the same criminal liability as users of third party online content.

The amended law imposes a maximum penalty of five years in prison and fines for entering "distorted" information into computer systems that could damage national security, public safety, economic security, public services and infrastructure, or cause panic among the public. As a result, authorities have more discretionary powers.

Our Regional Office has sent a letter to the NLA expressing its concern about the amendments.

Source:



ooo


ข้าหลวงใหญ่สิทธิยูเอ็นทำหนังสือถึง สนช. ห่วงพ.ร.บ.คอมฯ คุกคามเสรีภาพออนไลน์

Mon, 2016-12-19 19:15
ที่มา ประชาไท

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำหนังสือถึง สนช. แสดงความกังวลกรณีแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ห่วงคุกคามเสรีภาพทางออนไลน์

19 ธ.ค. 2559 สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยแพร่แถลงการณ์ผ่านเฟซบุ๊ก รวมถึงทำหนังสือถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แสดงความกังวลต่อการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยระบุว่ากฎหมายดังกล่าวอาจคุกคามเสรีภาพทางออนไลน์ พร้อมเรียกร้องต่อรัฐบาลให้หลักประกันว่ากฎหมายคอมพิวเตอร์ของไทยจะสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

แถลงการณ์ระบุว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สนช.ได้เห็นชอบการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งอาจจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก การแสดงความเห็น การชุมนุม และความเป็นส่วนตัวอย่างร้ายแรง โดยกฎหมายฉบับแก้ไขนี้ จะทำให้รัฐบาลสามารถขอข้อมูลของผู้ใช้และข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล ขณะที่ผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์จะต้องรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกับผู้ใช้

นอกจากนี้ ยังกำหนดโทษจำคุกสูงสุดห้าปีและโทษปรับ สำหรับการนำเข้าข้อมูลเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ การบริการสาธารณะ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน การกำหนดเช่นนี้จะทำให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการใช้ดุลพินิจมากขึ้น