ที่มา FB
Teeraparb Lohitkun
# ชีวิตวัยเด็กของ “อัมเบดการ์” (ภีมเรา รามจิ)
ถูกเพื่อนนักเรียนด้วยกันรังเกียจที่เขาเป็นจัณฑาล
ขนาดไม่ยอมให้ดื่มน้ำร่วมแก้วเดียวกัน
ยามใดที่หิวน้ำ ต้องขอร้องให้เพื่อนรักบางคน
ช่วยเทน้ำใส่ปาก พอประทังกระหาย
...
แล้วไย เขาจึงสามารถเป็นจัณฑาลหนึ่งเดียว
ที่จบดอกเตอร์ทางเศรษฐศาสตร์จากอเมริกา
เนติบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยลอนดอน
เป็น รมว.ยุติธรรมคนแรก และมีบทบาทสำคัญ
ในการร่างรัฐธรรมนูญ
ที่ชาวอินเดียทุกชนชั้นวรรณะต้องเคารพ
…
หาคำตอบในบทความ..
อัมเบดการ์: จัณฑาลกบฏ ผู้พลิกแผ่นดินอินเดีย
*************
สักการะรูปปั้น ดร.อัมเบดการ์ ณ ที่ทำการมูลนิธิอัมเบดการ์ มุมไบ
1.
วันที่ 6 ธันวาคม 2555 บนถนนสายหนึ่งที่นครมุมไบ ผมแปลกใจที่เห็นคนอินเดียยืนต่อแถวกันอย่างสงบนิ่ง เป็นระยะทางยาวนับเป็นกิโลเมตร โดยไม่มีเหตุวุ่นวาย หรือการประท้วงใดๆ เพราะพวกเขายืนรอคิวเพื่อจะได้เข้าไปเคารพรูปปั้นบุคคลที่รักและนับถือเทียบเท่า “บิดรมารดา” นั่นคือ ดร.บาบาสาเหบ ภีมเรา รามจิ อัมเบดการ์ ในวาระ 56 ปีแห่งการจากไป ณ ที่ทำการมูลนิธิอัมเบดการ์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสำนักงานกฎหมายเพื่อผู้ยากไร้ มาก่อน
2.
พวกเขาส่วนใหญ่เป็นลูกหลานชาววรรณะศูทร และจัณฑาล ที่เปลี่ยนศาสนาและโชคชะตา มาถือพุทธตามรอยดร.อัมเบดการ์ ในมือของพวกเขาคือเครื่องสักการะที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ แต่เปี่ยมล้นด้วยจิตศรัทธา แม้ว่าจะต้องยืนเข้าแถวรอเป็นวันๆ เพียงจะได้เข้าไปวางดอกไม้แล้วกราบสักการะเพียง 3-5 วินาที ก่อนที่หลายคนจะหลบไปนั่งสวดมนต์ต่อ อันทำให้ผมทราบว่า บทสวดไตรสรณคมน์ของพวกเขา มิได้มีเพียง...พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธรรมัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” หากยังมีท่อนที่สี่เพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษว่า “ภีมัง สรณัง คัจฉามิ”
3.
ห้วงยามนั้น หยดน้ำตาผมไหลพรากออกมาไม่รู้เนื้อรู้ตัว มั่นใจเพียงว่า ไม่ใช่เพราะดร.อัมเบดการ์เปลี่ยนศาสนามาเป็นชาวพุทธ เพราะเป็นน้ำตาเดียวกับที่เคยซึมออกมา ยามได้รับรู้เรื่องราวของมหาตมะ คานธี, โฮจิมินห์ เนลสัน แมนเดลา อองซานซูจี และมวลหมู่ผู้ทุ่มเทชีวิตเพื่อฉุดดึงคนทุกข์ ให้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนโชคชะตาของตนเองใหม่ เฉกเช่นเดียวกับดร.อัมเบดการ์
4.
ดร.อัมเบดการ์ บุคคลที่เกิดในกลุ่มชนชั้นต่ำสุดเสียจนสังคมอินเดียไม่จัดเข้าระบบวรรณะ เรียกกันว่า “จัณฑาล” หรือคนนอกวรรณะ และถือเป็น “บุคคลต้องห้าม” (Untouchable) ที่คนในระบบวรรณะจะไปยุ่งเกี่ยวหรือ “สัมผัส” ไม่ได้ ทั้งกายและใจของพวกเขา
5.
ทว่า ดร.อัมเบดการ์ (พ.ศ.2434-2499) เป็นจัณฑาลหนึ่งเดียวในอินเดียและในโลก ที่เรียนจบดอกเตอร์ทางเศรษฐศาสตร์จากอเมริกาและอังกฤษ เนติบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยลอนดอน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมคนแรก หลังอินเดียได้รับเอกราช ที่มีบทบาทสำคัญสุด ในการร่างกฎหมายสูงสุดที่ชาวอินเดียทุกชนชั้นวรรณะต้องเคารพ นั่นคือ “รัฐธรรมนูญ” ฉบับที่ทำให้อินเดียเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดของโลก หากนับจากจำนวนประชากรกว่า 1,200 ล้านคน เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้สิทธิกับบุคคลทุกชนชั้นวรรณะ รวมถึงพวกนอกวรรณะ ที่เมื่อเข้าไปในคูหาเลือกตั้งแล้ว ทุกคนมี 1 เสียงเท่ากันหมด
6.
แต่ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับดร.อัมเบดการ์ จะระบุว่าการแบ่งชั้นวรรณะเป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น คนในวรรณะสูงจะบังคับคนในวรรณะต่ำ หรือคนนอกวรรณะ มาทำงานที่พวกวรรณะสูงไม่แตะ อาทิ ล้างส้วม ขนอุจจาระ ฯลฯ ไม่ได้เหมือนในอดีต ยกเว้นแต่เป็นการว่าจ้าง หรือทำให้ด้วยความเต็มใจ แต่ในความเป็นจริง เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบวรรณะยังดำรงอยู่ในสังคมอินเดียวันนี้อย่างเหนียวแน่น
7.
ครั้งหนึ่ง ผมสัญจรสู่อินเดีย ช่วงเทศกาลสงกรานต์ของไทยเช้าวันที่ 14 เมษายน 2556 ผมประจักษ์ตาเป็นครั้งแรก ว่าหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับที่มีให้อ่านในห้องอาหารของโรงแรมที่นิวเดลี จะมีพื้นที่ให้หน่วยงานราชการและเอกชน ลงโฆษณาแสดงมุทิตาจิต ในวาระครบรอบ 122 ปีแห่งชาตกาลของดร.อัมเบดการ์ ผู้มีนามเดิมว่า “บาบาสาเหบ ภีมเรา รามจิ อัมเบดการ์” (Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar)
8.
เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2434 ในตระกูลจัณฑาล แต่ด้วยความที่เป็นเด็กเฉลียวฉลาด เรียนหนังสือเก่ง มีมานะอดทน แม้จะถูกเพื่อนนักเรียนด้วยกันรังเกียจที่เขาเป็นจัณฑาล ขนาดไม่ยอมให้ดื่มน้ำร่วมแก้วเดียวกัน ด.ช.ภีมเรา รามจิก็อดทน ยามใดที่หิวน้ำ ก็หาทางออกด้วยการขอร้องให้เพื่อนรักบางคน ช่วยเทน้ำใส่ปากเขาพอประทังกระหาย
9.
ความวิริยะอุตสาหะในการเรียนของภีมเรา ทำให้ครูวรรณะพราหมณ์ท่านหนึ่งเห็นใจ ถึงกับยอมให้ภีมเราใช้นามสกุล “อัมเบดการ์” เพื่อปิดบังสถานะทางชนชั้นที่แท้จริงของเขา และหลบเลี่ยงการถูกรังเกียจเดียดฉันท์ จนสามารถเรียนจบมหาวิทยาลัย ก่อนได้ทุนการศึกษาจากมหาราชาแห่งรัฐราชสถาน ไปร่ำเรียนต่อในอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา จนคว้าปริญญาเอกกลับมาถึง 2 ใบ
10.
แต่ใช่ว่าสกุลพราหมณ์ “อัมเบดการ์” จะเป็นเกราะกำบังอันวิเศษให้จัณฑาลอย่างภีมเรา รามจิ ได้เสมอไป ตลอดเวลาที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยในมุมไบ และลอนดอน มีเพื่อนนักศึกษาจำนวนไม่น้อย ที่รู้ชาติกำเนิดของเขา แล้วออกอาการรังเกียจเขา แต่ความเฉลียวฉลาดและมานะบากบั่นอ่านหนังสือวันละ 18 ชั่วโมง ก็ทำให้ไม่มีอุปสรรคใดมาขวางกั้นความก้าวหน้าของเขาได้
11.
จนถึงวันที่ชื่อ บาบาสาเหบ ภีมเรา รามจิ อัมเบดการ์ มีคำว่านำหน้าว่า ดร. เขาจึงกลับมาทำงานด้านกฎหมายที่มุมไบ เมืองเอกของแคว้นรัฐมหาราษฎร์ แต่ระบบวรรณะก็ยังตามมาหลอกหลอน เมื่อดร.อัมเบดการ์ ไปเช่าห้องพัก แล้วต่อมาเจ้าของห้องพักรู้ว่าแท้ที่จริงเขาเป็นจัณฑาล ก็ถึงกับให้บริวารใช้อาวุธปืนบีบบังคับให้เขาย้ายออกภายใน 48 ชั่วโมง นั่นเป็นเหตุการณ์เดียวในชีวิต ที่ทำให้เขาต้องหลั่งน้ำตาให้กับโชคชะตาของตนเอง แต่ไม่นาน ก็กลับกลายเป็นพลัง ผลักดันให้เขามุ่งมั่นเป็นนักกฎหมายที่ว่าความให้กับคนชั้นต่ำ และคนนอกวรรณะที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยฟันฝ่าอุปสรรคจนสามารถตั้งสำนักงานที่มุมไบเป็นผลสำเร็จ
12.
และด้วยความรู้ความสามารถขั้นเอกอุ ไม่นานนัก ชื่อดร.อัมเบดการ์ ก็เป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำกลุ่มคนนอกวรรณะของอินเดีย ที่มีบทบาทในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ พร้อมๆกับการต่อสู้เพื่อล้มล้างระบบวรรณะออกจากสังคมอินเดีย ในขณะที่มหาตมะ คานธี กำลังมีบทบาทนำในการใช้สันติวิธี หรือ “อสิงหา” ต่อสู้กับอังกฤษ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกระบบวรรณะ ด้วยเหตุผลว่าวรรณะเป็นการจัดสรรภาระหน้าที่ของคนในสังคม การล้มวรรณะจะทำให้สังคมอินเดียวุ่นวาย พร้อมทั้งพยายามปลุกเร้าพวกจัณฑาล ด้วยการเปลี่ยนวิธีเรียกใหม่ว่า “หริชน” หมายถึงบุตรของพระเจ้า และอธิบายให้สังคมยอมรับว่า “ขอทาน” เป็นอาชีพสุจริตของหริชน โดยคานธีอบรมพวกเขาว่า ...ถ้าหิว ถ้าเหนื่อย ถ้าป่วยไข้ พวกเจ้าจงขอ....แต่อย่าขโมย!
13.
เหตุนี้เอง เมื่ออังกฤษอนุญาตให้กลุ่มคนนอกวรรณะสามารถส่งตัวแทนไปร่วมหารือเรื่องเอกราชอินเดีย ร่วมกับผู้แทนกลุ่มอื่นๆ ท่านคานธีจึงไม่พอใจจนถึงกับอดอาหารประท้วง จนดร.อัมเบดการ์ยอมถอนตัวจากการเป็นผู้แทนกลุ่มคนนอกวรรณะ พร้อมกับยอมรับโดยปริยาย ว่าไม่สามารถล้มล้างระบบวรรณะออกจากสังคมอินเดียได้แน่นอนแล้ว
14.
จวบจนเมื่ออินเดียได้เอกราช และมหาตมะ คานธี ถูกสังหารด้วยน้ำมือของชาวฮินดูหัวรุนแรง ผู้ไม่พอใจที่อินเดียถูกแบ่งแยกไปตั้งเป็นประเทศใหม่ของชาวมุสลิม ในนาม “ปากีสถาน” ดร.อัมเบดการ์ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรมในรัฐบาลท่านเยาวหราล เนรูห์ และมีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญที่พลิกโฉมหน้าอินเดีย ทั้งยังเป็นผู้ออกแบบธงชาติอินเดีย ซึ่งมี "ธรรมจักร" สัญลักษณ์ของพุทธศาสนาอยู่ตรงกลาง รวมถึงตราแผ่นดินอินเดียที่มี "สิงห์สี่หน้า"บนเสาหินแห่งพระเจ้าอโศกมหาราช
15.
วันที่ 14 ตุลาคม 2499 ที่เมืองนาคปูร์ ดร.อัมเบดการ์ นำชาวอินเดียวรรณะศูทร และคนนอกวรรณะ หรือจัณฑาล กว่า 5 แสนคน ประกาศลาออกจากการเป็นศาสนิกในศาสนาฮินดู แล้วปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะอย่างเป็นทางการ ด้วยคำปฏิญาณตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ มีศักดิ์ศรีและฐานะเสมอกัน” และ “ข้าพเจ้าจะต่อสู้เพื่อความมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน”
16.
แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือน ท่านถึงแก่อสัญกรรมอย่างกะทันหัน เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2499 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของผู้คนมากมาย ท่านเยาวหราล เนรูห์ ได้กล่าวคำไว้อาลัยตอนหนึ่งว่า...
“ชื่อ “อัมเบดการ์”จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน ในฐานะเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อลบล้างความอยุติธรรมในสังคมฮินดู... อัมเบดการ์ปลุกสังคมฮินดูให้ตื่นจากหลับใหล”*
******************
*บทความ อัมเบดการ์: จัณฑาลกบฏ ผู้พลิกแผ่นดินอินเดีย
คอลัมน์: ความยอกย้อนของกาลเวลา
หนังสือพิมพ์: กรุงเทพธุรกิจ ส่วน “เสาร์สวัสดี”
4 พฤษภาคม 2556
เรื่องและภาพ: ธีรภาพ โลหิตกุล
....
Teeraparb Lohitkun
# ชีวิตวัยเด็กของ “อัมเบดการ์” (ภีมเรา รามจิ)
ถูกเพื่อนนักเรียนด้วยกันรังเกียจที่เขาเป็นจัณฑาล
ขนาดไม่ยอมให้ดื่มน้ำร่วมแก้วเดียวกัน
ยามใดที่หิวน้ำ ต้องขอร้องให้เพื่อนรักบางคน
ช่วยเทน้ำใส่ปาก พอประทังกระหาย
...
แล้วไย เขาจึงสามารถเป็นจัณฑาลหนึ่งเดียว
ที่จบดอกเตอร์ทางเศรษฐศาสตร์จากอเมริกา
เนติบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยลอนดอน
เป็น รมว.ยุติธรรมคนแรก และมีบทบาทสำคัญ
ในการร่างรัฐธรรมนูญ
ที่ชาวอินเดียทุกชนชั้นวรรณะต้องเคารพ
…
หาคำตอบในบทความ..
อัมเบดการ์: จัณฑาลกบฏ ผู้พลิกแผ่นดินอินเดีย
*************
สักการะรูปปั้น ดร.อัมเบดการ์ ณ ที่ทำการมูลนิธิอัมเบดการ์ มุมไบ
1.
วันที่ 6 ธันวาคม 2555 บนถนนสายหนึ่งที่นครมุมไบ ผมแปลกใจที่เห็นคนอินเดียยืนต่อแถวกันอย่างสงบนิ่ง เป็นระยะทางยาวนับเป็นกิโลเมตร โดยไม่มีเหตุวุ่นวาย หรือการประท้วงใดๆ เพราะพวกเขายืนรอคิวเพื่อจะได้เข้าไปเคารพรูปปั้นบุคคลที่รักและนับถือเทียบเท่า “บิดรมารดา” นั่นคือ ดร.บาบาสาเหบ ภีมเรา รามจิ อัมเบดการ์ ในวาระ 56 ปีแห่งการจากไป ณ ที่ทำการมูลนิธิอัมเบดการ์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสำนักงานกฎหมายเพื่อผู้ยากไร้ มาก่อน
2.
พวกเขาส่วนใหญ่เป็นลูกหลานชาววรรณะศูทร และจัณฑาล ที่เปลี่ยนศาสนาและโชคชะตา มาถือพุทธตามรอยดร.อัมเบดการ์ ในมือของพวกเขาคือเครื่องสักการะที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ แต่เปี่ยมล้นด้วยจิตศรัทธา แม้ว่าจะต้องยืนเข้าแถวรอเป็นวันๆ เพียงจะได้เข้าไปวางดอกไม้แล้วกราบสักการะเพียง 3-5 วินาที ก่อนที่หลายคนจะหลบไปนั่งสวดมนต์ต่อ อันทำให้ผมทราบว่า บทสวดไตรสรณคมน์ของพวกเขา มิได้มีเพียง...พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธรรมัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” หากยังมีท่อนที่สี่เพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษว่า “ภีมัง สรณัง คัจฉามิ”
3.
ห้วงยามนั้น หยดน้ำตาผมไหลพรากออกมาไม่รู้เนื้อรู้ตัว มั่นใจเพียงว่า ไม่ใช่เพราะดร.อัมเบดการ์เปลี่ยนศาสนามาเป็นชาวพุทธ เพราะเป็นน้ำตาเดียวกับที่เคยซึมออกมา ยามได้รับรู้เรื่องราวของมหาตมะ คานธี, โฮจิมินห์ เนลสัน แมนเดลา อองซานซูจี และมวลหมู่ผู้ทุ่มเทชีวิตเพื่อฉุดดึงคนทุกข์ ให้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนโชคชะตาของตนเองใหม่ เฉกเช่นเดียวกับดร.อัมเบดการ์
4.
ดร.อัมเบดการ์ บุคคลที่เกิดในกลุ่มชนชั้นต่ำสุดเสียจนสังคมอินเดียไม่จัดเข้าระบบวรรณะ เรียกกันว่า “จัณฑาล” หรือคนนอกวรรณะ และถือเป็น “บุคคลต้องห้าม” (Untouchable) ที่คนในระบบวรรณะจะไปยุ่งเกี่ยวหรือ “สัมผัส” ไม่ได้ ทั้งกายและใจของพวกเขา
5.
ทว่า ดร.อัมเบดการ์ (พ.ศ.2434-2499) เป็นจัณฑาลหนึ่งเดียวในอินเดียและในโลก ที่เรียนจบดอกเตอร์ทางเศรษฐศาสตร์จากอเมริกาและอังกฤษ เนติบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยลอนดอน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมคนแรก หลังอินเดียได้รับเอกราช ที่มีบทบาทสำคัญสุด ในการร่างกฎหมายสูงสุดที่ชาวอินเดียทุกชนชั้นวรรณะต้องเคารพ นั่นคือ “รัฐธรรมนูญ” ฉบับที่ทำให้อินเดียเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดของโลก หากนับจากจำนวนประชากรกว่า 1,200 ล้านคน เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้สิทธิกับบุคคลทุกชนชั้นวรรณะ รวมถึงพวกนอกวรรณะ ที่เมื่อเข้าไปในคูหาเลือกตั้งแล้ว ทุกคนมี 1 เสียงเท่ากันหมด
6.
แต่ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับดร.อัมเบดการ์ จะระบุว่าการแบ่งชั้นวรรณะเป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น คนในวรรณะสูงจะบังคับคนในวรรณะต่ำ หรือคนนอกวรรณะ มาทำงานที่พวกวรรณะสูงไม่แตะ อาทิ ล้างส้วม ขนอุจจาระ ฯลฯ ไม่ได้เหมือนในอดีต ยกเว้นแต่เป็นการว่าจ้าง หรือทำให้ด้วยความเต็มใจ แต่ในความเป็นจริง เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบวรรณะยังดำรงอยู่ในสังคมอินเดียวันนี้อย่างเหนียวแน่น
7.
ครั้งหนึ่ง ผมสัญจรสู่อินเดีย ช่วงเทศกาลสงกรานต์ของไทยเช้าวันที่ 14 เมษายน 2556 ผมประจักษ์ตาเป็นครั้งแรก ว่าหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับที่มีให้อ่านในห้องอาหารของโรงแรมที่นิวเดลี จะมีพื้นที่ให้หน่วยงานราชการและเอกชน ลงโฆษณาแสดงมุทิตาจิต ในวาระครบรอบ 122 ปีแห่งชาตกาลของดร.อัมเบดการ์ ผู้มีนามเดิมว่า “บาบาสาเหบ ภีมเรา รามจิ อัมเบดการ์” (Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar)
8.
เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2434 ในตระกูลจัณฑาล แต่ด้วยความที่เป็นเด็กเฉลียวฉลาด เรียนหนังสือเก่ง มีมานะอดทน แม้จะถูกเพื่อนนักเรียนด้วยกันรังเกียจที่เขาเป็นจัณฑาล ขนาดไม่ยอมให้ดื่มน้ำร่วมแก้วเดียวกัน ด.ช.ภีมเรา รามจิก็อดทน ยามใดที่หิวน้ำ ก็หาทางออกด้วยการขอร้องให้เพื่อนรักบางคน ช่วยเทน้ำใส่ปากเขาพอประทังกระหาย
9.
ความวิริยะอุตสาหะในการเรียนของภีมเรา ทำให้ครูวรรณะพราหมณ์ท่านหนึ่งเห็นใจ ถึงกับยอมให้ภีมเราใช้นามสกุล “อัมเบดการ์” เพื่อปิดบังสถานะทางชนชั้นที่แท้จริงของเขา และหลบเลี่ยงการถูกรังเกียจเดียดฉันท์ จนสามารถเรียนจบมหาวิทยาลัย ก่อนได้ทุนการศึกษาจากมหาราชาแห่งรัฐราชสถาน ไปร่ำเรียนต่อในอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา จนคว้าปริญญาเอกกลับมาถึง 2 ใบ
10.
แต่ใช่ว่าสกุลพราหมณ์ “อัมเบดการ์” จะเป็นเกราะกำบังอันวิเศษให้จัณฑาลอย่างภีมเรา รามจิ ได้เสมอไป ตลอดเวลาที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยในมุมไบ และลอนดอน มีเพื่อนนักศึกษาจำนวนไม่น้อย ที่รู้ชาติกำเนิดของเขา แล้วออกอาการรังเกียจเขา แต่ความเฉลียวฉลาดและมานะบากบั่นอ่านหนังสือวันละ 18 ชั่วโมง ก็ทำให้ไม่มีอุปสรรคใดมาขวางกั้นความก้าวหน้าของเขาได้
11.
จนถึงวันที่ชื่อ บาบาสาเหบ ภีมเรา รามจิ อัมเบดการ์ มีคำว่านำหน้าว่า ดร. เขาจึงกลับมาทำงานด้านกฎหมายที่มุมไบ เมืองเอกของแคว้นรัฐมหาราษฎร์ แต่ระบบวรรณะก็ยังตามมาหลอกหลอน เมื่อดร.อัมเบดการ์ ไปเช่าห้องพัก แล้วต่อมาเจ้าของห้องพักรู้ว่าแท้ที่จริงเขาเป็นจัณฑาล ก็ถึงกับให้บริวารใช้อาวุธปืนบีบบังคับให้เขาย้ายออกภายใน 48 ชั่วโมง นั่นเป็นเหตุการณ์เดียวในชีวิต ที่ทำให้เขาต้องหลั่งน้ำตาให้กับโชคชะตาของตนเอง แต่ไม่นาน ก็กลับกลายเป็นพลัง ผลักดันให้เขามุ่งมั่นเป็นนักกฎหมายที่ว่าความให้กับคนชั้นต่ำ และคนนอกวรรณะที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยฟันฝ่าอุปสรรคจนสามารถตั้งสำนักงานที่มุมไบเป็นผลสำเร็จ
12.
และด้วยความรู้ความสามารถขั้นเอกอุ ไม่นานนัก ชื่อดร.อัมเบดการ์ ก็เป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำกลุ่มคนนอกวรรณะของอินเดีย ที่มีบทบาทในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ พร้อมๆกับการต่อสู้เพื่อล้มล้างระบบวรรณะออกจากสังคมอินเดีย ในขณะที่มหาตมะ คานธี กำลังมีบทบาทนำในการใช้สันติวิธี หรือ “อสิงหา” ต่อสู้กับอังกฤษ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกระบบวรรณะ ด้วยเหตุผลว่าวรรณะเป็นการจัดสรรภาระหน้าที่ของคนในสังคม การล้มวรรณะจะทำให้สังคมอินเดียวุ่นวาย พร้อมทั้งพยายามปลุกเร้าพวกจัณฑาล ด้วยการเปลี่ยนวิธีเรียกใหม่ว่า “หริชน” หมายถึงบุตรของพระเจ้า และอธิบายให้สังคมยอมรับว่า “ขอทาน” เป็นอาชีพสุจริตของหริชน โดยคานธีอบรมพวกเขาว่า ...ถ้าหิว ถ้าเหนื่อย ถ้าป่วยไข้ พวกเจ้าจงขอ....แต่อย่าขโมย!
13.
เหตุนี้เอง เมื่ออังกฤษอนุญาตให้กลุ่มคนนอกวรรณะสามารถส่งตัวแทนไปร่วมหารือเรื่องเอกราชอินเดีย ร่วมกับผู้แทนกลุ่มอื่นๆ ท่านคานธีจึงไม่พอใจจนถึงกับอดอาหารประท้วง จนดร.อัมเบดการ์ยอมถอนตัวจากการเป็นผู้แทนกลุ่มคนนอกวรรณะ พร้อมกับยอมรับโดยปริยาย ว่าไม่สามารถล้มล้างระบบวรรณะออกจากสังคมอินเดียได้แน่นอนแล้ว
14.
จวบจนเมื่ออินเดียได้เอกราช และมหาตมะ คานธี ถูกสังหารด้วยน้ำมือของชาวฮินดูหัวรุนแรง ผู้ไม่พอใจที่อินเดียถูกแบ่งแยกไปตั้งเป็นประเทศใหม่ของชาวมุสลิม ในนาม “ปากีสถาน” ดร.อัมเบดการ์ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรมในรัฐบาลท่านเยาวหราล เนรูห์ และมีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญที่พลิกโฉมหน้าอินเดีย ทั้งยังเป็นผู้ออกแบบธงชาติอินเดีย ซึ่งมี "ธรรมจักร" สัญลักษณ์ของพุทธศาสนาอยู่ตรงกลาง รวมถึงตราแผ่นดินอินเดียที่มี "สิงห์สี่หน้า"บนเสาหินแห่งพระเจ้าอโศกมหาราช
15.
วันที่ 14 ตุลาคม 2499 ที่เมืองนาคปูร์ ดร.อัมเบดการ์ นำชาวอินเดียวรรณะศูทร และคนนอกวรรณะ หรือจัณฑาล กว่า 5 แสนคน ประกาศลาออกจากการเป็นศาสนิกในศาสนาฮินดู แล้วปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะอย่างเป็นทางการ ด้วยคำปฏิญาณตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ มีศักดิ์ศรีและฐานะเสมอกัน” และ “ข้าพเจ้าจะต่อสู้เพื่อความมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน”
16.
แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือน ท่านถึงแก่อสัญกรรมอย่างกะทันหัน เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2499 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของผู้คนมากมาย ท่านเยาวหราล เนรูห์ ได้กล่าวคำไว้อาลัยตอนหนึ่งว่า...
“ชื่อ “อัมเบดการ์”จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน ในฐานะเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อลบล้างความอยุติธรรมในสังคมฮินดู... อัมเบดการ์ปลุกสังคมฮินดูให้ตื่นจากหลับใหล”*
******************
*บทความ อัมเบดการ์: จัณฑาลกบฏ ผู้พลิกแผ่นดินอินเดีย
คอลัมน์: ความยอกย้อนของกาลเวลา
หนังสือพิมพ์: กรุงเทพธุรกิจ ส่วน “เสาร์สวัสดี”
4 พฤษภาคม 2556
เรื่องและภาพ: ธีรภาพ โลหิตกุล
....