Environman
March 15
·
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี เรามักจะพบเห็นเหตุการณ์ 'ไฟป่า' เกิดขึ้นเยอะเป็นพิเศษ ด้วยสาเหตุตามธรรมชาติและจากมนุษย์ก็ตามแต่ ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งและมีเศษใบไม้ เชื้อเพลิงธรรมชาติต่างๆ ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ไฟป่าลุกลามง่ายขึ้น จนนำมาซึ่งการสูญเสียพื้นที่ธรรมชาติ สัตว์ป่าล้มตาย รวมถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ตามมา
.
เสียงสะท้อนหนึ่งที่เรามักจะได้ยินในทุก ๆ ปีเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันปัญหาไฟป่าคือกำลังคนและอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอ ด้วยความรุนแรงของไฟป่าที่กระจายตัวในพื้นที่หลายจังหวัดและอาจเกิดได้ตลอดเวลา ทำให้อาสาสมัครแนวหน้ายิ่งต้องใช้เวลากับการเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงด้วย
.
ดังนั้น หนึ่งหนทางที่จะช่วยป้องกันปัญหาได้คือการเตรียมพร้อมชาวบ้านให้เข้าใจและมีความพร้อมเฝ้าระวังพื้นที่ตนเองได้ก่อนจะเกิดเหตุ ซึ่งจะเป็นเหมือนการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ในระดับหนึ่ง
.
เรามีโอกาสได้ไปลงพื้นที่กับสิงห์อาสาที่ร่วมกับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 จังหวัดเชียงใหม่
จัดกิจกรรมอบรมประชาชนในพื้นที่เสี่ยงไฟป่าและมอบอุปกรณ์สำหรับอาสาสมัครดับไฟป่า
ในโครงการ "สิงห์อาสาสู้ไฟป่า” ซึ่งปีนี้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 6
.
โดยสิงห์อาสาตั้งเป้าจัดอบรมชาวบ้านกว่า 200 ชุมชน 10,000 คน ซึ่งเป็นเหมือนอีกหนึ่งแรงสนับสนุนที่เข้ามาช่วยป้องกันและสกัดไฟป่าไม่ให้ลุกลามเป็นวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
.
ทั้งนี้ สิงห์อาสาถือเป็นหนึ่งในภาคเอกชนที่เข้ามาสนับสนุนชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรง
ของไฟป่าและฝุ่น PM 2.5 มาอย่างต่อเนื่อง
.
อ่านเรื่องราวของ ‘อาสาสมัครดับไฟป่า’ และแรงซัพพอร์ตจากสิงห์อาสาสู้ไฟป่า ได้ที่แคปชั่นภาพถัดไป
เจ้าหน้าที่ 700 กว่านาย ดูแลพื้นที่อนุลักษณ์ 16 ป่า 7.8 ล้านไร่ ขาดทั้งแรงงาน-อาหาร-อุปกรณ์
เมื่อพูดถึงภาพรวมสถานการณ์ไฟป่าในปี 2566 นายกริชสยาม คงสตรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 จังหวัดเชียงใหม่ ให้ข้อมูลกับเราว่า สถานการณ์ในปีนี้จะดีขึ้นกว่าปี 2566 ช่วงเดียวกันอย่างมาก โดยปีที่แล้วมีจุดความร้อนกว่า 2,500 จุด แต่ในปีนี้ตรวจจับได้เพียง 200 กว่าจุด ซึ่งลดลงเป็นอย่างมาก
.
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาไฟป่ายังต้องอาศัยเครือข่ายและภาคส่วนอื่น ๆ ร่วมด้วย เสียงสะท้อนหนึ่ง
จากคนในพื้นที่พบว่า ยังมีปัญหาขาดแคลนบุคลากร อุปกรณ์และการสนับสนุนน้ำและอาหารอยู่มาก
.
“ในพื้นที่มีเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ไม่เพียงพอ มีเจ้าหน้าที่แค่ 700 กว่านาย ในการดูแลพื้นที่ 16 มีเนื้อที่ป่าทั้งหมด 7.8 ล้านไร่” หรืออย่างการดูแลพื้นที่ล้านกว่าไร่ในอุทยานแห่งชาติศรีลานนา จ.เชียงใหม่ ก็มีเจ้าหน้าที่ของอุทยานเพียง 100 คน เฉลี่ยแล้วเจ้าหน้าที่ต้องดูแลคนละ 10,000 ไร่ ซึ่งไม่เพียงพออย่างแน่นอน ในส่วนนี้จึงต้องพึ่งพาอาสาสมัครชุมชนหรือการสนับสนุนจากภาคเอกชนทั้งด้านงบประมาณ อุปกรณ์ และบุคลากร”
.
ชาวบ้านส่วนหนึ่งจากพื้นที่บ้านแม่โจ้ หมู่ที่ 1 อำเภอแม่แตง ที่เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในโครงการสิงห์อาสาสู้ไฟป่าเล่าให้เราฟังว่า ในพื้นที่ชุมชนตนเองมีอาสาสมัครเพียง 12 คน ซึ่งก็มีทั้งผู้นำชุมชนและชาวบ้านที่อาสามาร่วมอบรม รวมถึงนักศึกษาและเครือข่ายอื่นที่มาเข้าร่วมด้วย
.....
สำหรับอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ทุกคนไม่ว่าจะตำแหน่งไหนก็คือ ‘การสนับสนุนอุปกรณ์และเติมท้องให้อิ่ม’ (ซึ่งในพื้นที่ยังขาดแคลนอยู่มาก) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ที่ผ่านมาเอง สิงห์อาสาก็ได้มีการมอบอุปกรณ์ดับไฟป่า น้ำดื่ม อาหารพร้อมทาน (ข้าวรีทอร์ท) และจัดตั้ง "ศูนย์สนับสนุนเจ้าหน้าที่ดับไฟป่า"โดยให้ บริษัท เชียงใหม่เบเวอเรช จำกัด บริษัทในเครือบุญรอดฯ เป็นศูนย์กลางส่งมอบความช่วยเหลือครบวงจรทั้งในรูปแบบน้ำดื่มเสบียงอาหาร พร้อมมอบรองเท้าโรงงานสู่แนวหน้าอาสาสมัครดับไฟป่า และอุปกรณ์ดับไฟป่า เช่น ถังฉีดน้ำ ไม้ตบไฟ ครอบ คราดสปริง เครื่องพ่นลม ให้กับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครดับไฟป่าที่ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือที่เกิดไฟป่ามากที่สุด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ และพะเยา
.
ซึ่งสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนทั้งองค์ความรู้และอุปกรณ์จากสิงห์อาสา คือ ความเข้มแข็งที่เกิดขึ้นในชุมชน อาสาสมัครทุกคนมีความตั้งใจตรงกันในการปกป้องทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ด้วยความที่ชาวบ้าน
และป่าไม้ก็ยังคงต้องพึ่งพากันและกันอยู่ การดูแลรักษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการอบรมที่นำไปใช้ได้จริงก็ทำให้ชาวบ้านหลายคนสามารถมีส่วนช่วยแก้ปัญหาได้
.
รวมถึงการประชาสัมพันธ์โทษของไฟป่าจากส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่าของอุทยานแห่งชาติ
ศรีลานนา สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่และสิงห์อาสา จนชาวบ้านเข้าใจและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมากขึ้น สิ่งที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งคือ ชุมชนได้รับพื้นที่ใช้ประโยชน์ในป่าเพิ่มมากขึ้นจากปกติที่จะสูญเสียพื้นที่ป่าให้กับการเกิดไฟป่าเป็นประจำ
.
ชาวบ้านระบุว่า การอบรมหลักไม่ว่าจะเป็น การอบรมการใช้อุปกรณ์ดับไฟป่าและวิธีการทำแนวกันไฟ, การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการให้ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้และอุทยานแห่งชาติเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์และได้นำไปใช้อย่างแท้จริง เพราะไฟป่าในพื้นที่เกิดบ่อยเกินจะนับครั้งได้และหลายครั้งอาสาสมัครก็ต้องเป็นแนวหน้าดับไฟป่าเสียเอง ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น การเตรียมตัวและอุปกรณ์ให้พร้อมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
.....
นายรวินทร์ ชมพูนุชธานินทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มประชาสัมพันธ์ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวว่า “การให้ความรู้กับชาวบ้านเพื่อให้พวกเขาตระหนักถึงปัญหา และช่วยสนับสนุนสิ่งของที่จำเป็นให้เจ้าหน้าที่และเหล่าอาสาสมัครเพื่อเป็นกำลังหลักในการป้องกันไฟป่านั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก ซึ่งทุกโครงการที่ดำเนินการนั้นได้รับความร่วมมือจากหลายเครือข่าย เช่น คณะอาจารย์และเครือข่ายนักศึกษาสิงห์อาสา 10 สถาบันในภาคเหนือ เครือข่ายอาสาสมัครและหน่วยกู้ภัย หน่วยงานรัฐ และชาวบ้านในพื้นที่ มาร่วมกันในหลายส่วนจนเกิดเป็นการสนับสนุนทั้งด้านองค์ความรู้และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการต่อยอด นำไปใช้ได้จริงอย่างยั่งยืนที่สุด”
ในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 นี้ถือเป็นพื้นที่ที่เกิดไฟป่ามากที่สุดในประเทศ และความรุนแรงนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผู้คนในพื้นที่แล้ว ยังทำให้เกิดปัญหาใหญ่อื่น ๆ ตามมา อย่างปัญหาพื้นที่ป่าที่ถูกทำลาย และปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนเป็นวงกว้าง ดังนั้น กุญแจสำคัญคือการลดการเกิดไฟป่าที่ต้นตอ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชนเป็นสำคัญ
.
นอกเหนือจากการลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาไฟป่าแล้ว สิ่งหนึ่งที่สิงห์อาสาได้ให้ความสำคัญคือการป้องกันผลกระทบปัญหาสุขภาพจากฝุ่นควัน จึงทำโครงการร่วมกับคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำห้องเรียนปลอดฝุ่น ซึ่งทำต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 และมุ้งสู้ฝุ่น มอบให้แก่กลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง เด็กเล็ก ทั้งนี้ ยังร่วมกับคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่สิงห์อาสา ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพประชาชนในภาคเหนือที่อยู่ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูง เช่น จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย เพื่อบรรเทาปัญหาสุขภาพ
.
เพราะสุดท้ายแล้ว ปัญหาไฟป่าย่อมนำไปสู่การเกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5ไปสู่กลุ่มคนในพื้นที่อื่นเป็นวงกว้าง และส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพระยะยาว แก่ประชาชนทั้งเรื่องระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง และปัญหาพัฒนาการในเด็กนั่นเอง
.
นอกเหนือจากการลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาไฟป่าแล้ว สิ่งหนึ่งที่สิงห์อาสาได้ให้ความสำคัญคือการป้องกันผลกระทบปัญหาสุขภาพจากฝุ่นควัน จึงทำโครงการร่วมกับคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำห้องเรียนปลอดฝุ่น ซึ่งทำต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 และมุ้งสู้ฝุ่น มอบให้แก่กลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง เด็กเล็ก ทั้งนี้ ยังร่วมกับคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่สิงห์อาสา ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพประชาชนในภาคเหนือที่อยู่ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูง เช่น จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย เพื่อบรรเทาปัญหาสุขภาพ
.
เพราะสุดท้ายแล้ว ปัญหาไฟป่าย่อมนำไปสู่การเกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5ไปสู่กลุ่มคนในพื้นที่อื่นเป็นวงกว้าง และส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพระยะยาว แก่ประชาชนทั้งเรื่องระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง และปัญหาพัฒนาการในเด็กนั่นเอง
https://www.facebook.com/environman.th/posts/713675920974705?ref=embed_post
.....
Puangthong Pawakapan
17h·
คุณหนูหริ่งพูดมาอย่างน้อย 2-3 ปีแล้วว่าคนไม่พอ อยากได้ทหารช่วยแบกน้ำและอุปกรณ์ดับไฟ แต่ทหารไม่รับคำสั่งพลเรือนแต่ไม่มีความรู้เรื่องดับไฟป่า ปีนี้นายกฯ จึงควรสั่งรมต.กลาโหมให้สั่งทหารออกมาช่วยพลเรือนดับไฟนะคะ
อ้อ แล้วปี 66 กอ.รมน.มีงบป้องกัน-บรรเทาสาธารณภัยกับงบพิทักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมดรวมกันเกือบ 50 ล้าน
ปี 67 ทบ.มีงบภัยพิบัติ 3.6 ล.
#ทหารมีไว้ทำไม
#ฝุ่นpm25
Puangthong Pawakapan
17h·
คุณหนูหริ่งพูดมาอย่างน้อย 2-3 ปีแล้วว่าคนไม่พอ อยากได้ทหารช่วยแบกน้ำและอุปกรณ์ดับไฟ แต่ทหารไม่รับคำสั่งพลเรือนแต่ไม่มีความรู้เรื่องดับไฟป่า ปีนี้นายกฯ จึงควรสั่งรมต.กลาโหมให้สั่งทหารออกมาช่วยพลเรือนดับไฟนะคะ
อ้อ แล้วปี 66 กอ.รมน.มีงบป้องกัน-บรรเทาสาธารณภัยกับงบพิทักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมดรวมกันเกือบ 50 ล้าน
ปี 67 ทบ.มีงบภัยพิบัติ 3.6 ล.
#ทหารมีไว้ทำไม
#ฝุ่นpm25