วันอังคาร, ตุลาคม 17, 2566

Saiseema Phutikarn เปิดข้อมูล ทำไมค่าโดยสาร "รถไฟฟ้าสายสีแดง/ม่วง" จึง 20 บาทตลอดสายได้

‘สุริยะ’ รมว.คมนาคม ไปใช้บริการ #รถไฟฟ้าสายสีแดง หลัง ครม. อนุมัติค่าโดยสารไม่เกิน 20 ตลอดสายเมื่อเช้านี้(16 ต.ค.) นำร่อง 2 เส้นทาง คือ สายสีแดง และสายสีม่วง


Saiseema Phutikarn
5h ·

<รถไฟฟ้าสายสีแดง/ม่วง 20 บาทตลอดสาย:ทำไมทำได้ทันที?>

สาเหตุที่รัฐบาลสามารถปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง/สีม่วง เป็น 20 บาทตลอดสายได้ทันทีก็เนื่องจาก 2 โครงการใหม่นี้มีสัญญาการดำเนินการที่ต่างจากโครงการเดิม

- รถไฟฟ้าสายสีแดงอยู่ในความรับผิดชอบของ รถไฟไทย "รฟท") ปัจจุบันใช้วิธีทำจ้าง บ.ลูกของรฟท.(SRTET) เป็นผู้เดินรถ
 
- รถไฟฟ้าสีม่วงอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนฯ "รฟม" โดยเอกชนที่ได้สัมปทานคือ บ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) โดยเป็นสัมปทานแบบ Gross Cost คือ รฟม.รับรายได้ค่าโดยสารทั้งหมด แล้วจ่ายค่าจ้างเดินรถให้เอกชน

ดังนั้นการกำหนดให้เก็บค่าโดยสาร 20บาท ตลอดสาย ใน 2 สายนี้ จึงทำได้ทันที ไม่ต้องมีการเจรจาเงินชดเชยให้เอกชนเพราะไม่กระทบอะไรกับเอกชน ที่ยังไงก็ได้รับค่าจ้างเดินรถเท่าเดิมมีเพียงภาครัฐ (รฟท และ รฟม) ที่จะได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ลด แต่เนื่องจาก 2 สายนี้ผู้โดยสารยังน้อยมาก (วันทำงานรวมแล้วเฉลี่ยวันละ 1 แสนคน) เทียบกับผู้โดยสารทั้งระบบ (1.6ล้านคน) ผลกระทบกับรายได้ของ รฟท กับ รฟม จึงไม่ได้มากเท่าไหร่
- สายสีแดง รฟท ประเมินว่าจะทำให้รายได้ลดลง 80 ล้าน เป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับ รายได้ทั้งปีของ รฟท. ที่ 2 หมื่นล้าน ขาดทุนจากการดำเนินการ 7 พันล้านแล้ว ผลกระทบ 80 ล้านนี้แทบจะถูกฝังจนมองไม่เห็นในงบการเงิน รฟท.
 
- สายสีม่วง รฟม ประเมินว่าจะมีรายได้ลดลง 190 ล้าน ก็คงแทบจะมองไม่เห็นเหมือนกันในงบการเงินของ รฟม ที่มีรายได้ทั้งปี 1.5 หมื่นล้าน กำไรจากการดำเนินงาน 4 พันล้าน
 
และถ้าค่าโดยสารที่ลดลงทำให้จำนวนผู้โดยสารมากขึ้น ผลกระทบจากรายได้ที่ลดลงก็ยิ่งน้อยลง แถมยังจะเกิด "ส้มหล่น" กับเอกชนผู้เดินรถสายอื่นที่อยู่กลางเมืองที่จะมีผู้โดยสารมากขึ้นโดยไม่ต้องลดค่าโดยสาร

การสั่งการให้เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายใน 2 สายนี้จึงเป็นอะไรทำได้ง่ายแบบ Low-Hanging Fruit (หรือตามคำของรัฐบาลคือ Quick Win ) แต่สำหรับรถไฟฟ้ากลางเมืองอีก 2 สายอย่าง BTS และ สายสีน้ำเงิน จะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายแล้ว เพราะเป็นสัญญาสัมปทานแบบ Net Cost เอกชนเป็นผู้รับรายได้ แล้วจ่ายส่วนแบ่งให้รัฐ อีกทั้งมีจำนวนผู้โดยสารมหาศาล (The Standard เคยประเมินว่าแค่ BTS สายเดียวอาจต้องชดเชยมากกว่า 5 พันล้านต่อปี) การเจรจาชดเชยรายได้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นการพิสูจน์ฝีมือการทำงานของรัฐบาลอย่างแท้จริง