วันพุธ, ตุลาคม 25, 2566

What The Hell ! พรรคคอมมิวนิสต์จีน !!


The Momentum
11h·
เมื่อวานนี้ (23 ตุลาคม 2023) สำนักข่าวเรดิโอฟรีเอเชีย (Radio Free Asia) รายงานถึงความคิดเห็นในหมู่สาธารณชนจีน หลังภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อ ‘When Marx Met Confucius’ หรือการพบกันระหว่าง คาร์ล มาร์กซ์ (Carl Marx) กับขงจื๊อ ถูกฉายออกมาในหน้าสื่อ
.
When Marx Met Confucius ออกอากาศในสถานีโทรทัศน์หูหนาน โดย กัว โมเรา (Guo Moruo) นักกวีผู้ยึดมั่นในลัทธิคอมมิวนิสม์ (Communism) เป็นผู้ประพันธ์
.
ทั้งนี้ บทละครดังกล่าวมีเนื้อหาว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทางความคิดระหว่าง คาร์ล มาร์กซ์ บิดาแห่งโลกสังคมนิยม กับขงจื๊อ นักปราชญ์ความคิดของจีน ในรูปแบบการตั้งคำถามแบบโสเครติส (Socrates) ขณะที่ก็ทิ้ง ‘ลูกเล่น’ ให้เรื่องราวไม่น่าเบื่อ ผ่านการนำเสนอด้วยการ์ตูน การแรป และดนตรีดั้งเดิม
.
ตามรายงานของเรดิโอฟรีเอเชีย ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับตรารับรองจากประธานาธิบดี อีกทั้งผ่านการคัดกรองเนื้อหาในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Party: CCP) ครั้งล่าสุด ซึ่งมี สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ผู้นำคนสำคัญของจีน เป็นประธาน
.
อย่างไรก็ตาม การพบกันระหว่างมาร์กซ์กับขงจื๊อในครั้งนี้กลับสร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ประชาชนจีน เมื่อปรากฏเนื้อหาบิดเบือนข้อเท็จจริงว่า สองนักปรัชญาสนับสนุนความคิดของอีกฝ่าย และเสนอให้รวมความคิดของพวกเขาเข้าด้วยกัน แม้ว่าในความเป็นจริง ความคิดของทั้งสองฝ่ายต่างกันอย่างสิ้นเชิง
.
“มาร์กซ์: ผมอยู่จีนมานานกว่า 100 ปี ผมอยู่จีนมานานแล้วด้วยซ้ำ ปรัชญาของพวกเราทั้งสองคนควรรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างเสถียรภาพ
ขงจื๊อ: ผมเห็นด้วย ผมหวังว่าเราจะบรรลุความสุขอันสูงส่งเพื่อมวลมนุษยชาติ”
.
บทละครส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเห็นพ้องของมาร์กซ์และขงจื๊อในภาพยนตร์ โดยมีการเปรียบเปรยว่า แนวคิดสังคมนิยมคือจิตวิญญาณ ขณะที่ลัทธิขงจื๊อคือรากฐานของสังคม และทั้งสองความเชื่อต่างมีศัตรูร่วมกันคือ ‘คุณค่าสากล’ หรือแนวคิดจากโลกตะวันตก
.
• ความคิดเห็นของสาธารณชนในโซเชียลมีเดียจีน
.
“มันน่าเบื่อมาก” แอ็กเคานต์ @Your_Ah_Q_Spiritual_Victory_Method แสดงความคิดเห็น ก่อนที่คอมเมนต์หนึ่งจะตอบกลับว่า “ฉันเห็นแต่การกดขี่ในเนื้อเรื่อง”
.
“ฉันไปดูรายการ In the Night Garden ดีกว่า อย่างน้อยก็ไม่ถูกบั่นทอนสติปัญญา” แอ็กเคานต์ @Captive_snail_003 เปรียบเทียบรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กสัญชาติอังกฤษกับภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อ
.
“เมื่อประวัติศาสตร์เกิดขึ้นครั้งแรก ส่วนใหญ่มักเป็นโศกนาฏกรรม แต่หากซ้ำรอยครั้งที่สอง นั่นเป็นเรื่องตลก ฉันหวังว่าเรื่องตลกเช่นนี้ควรยุติลงได้แล้ว” แอ็กเคานต์ @absolute_zero_9 แสดงความคิดเห็น
.
#WhenMarxMeetConfucius ทำให้ฉันเห็นว่า วรรณกรรมและงานศิลปะร่วมสมัยมันเห่ยขนาดไหน” @10_hours_of_charging ตัดพ้อ
.
“ถ้าฉันจำไม่ผิด คนที่เชื่อในมาร์กซ์เมื่อหลายทศวรรษก่อน เป็นฝ่ายทำลายทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับขงจื๊อไม่ใช่หรือ” ยูสเซอร์เนม Phuket New Forest อธิบาย โดยกล่าวถึงเหตุการณ์ ‘ปฏิวัติวัฒนธรรม’ (Cultural Revolution) ในปี 1966-1976 เมื่อชนชั้นนำที่สมาทานแนวคิดมาร์กซิสม์ในเวลาดังกล่าว กวาดล้างความเชื่อเก่าแก่ภายใต้แนวคิดขงจื๊อ เพราะเชื่อว่าเป็น ‘กับดัก’ ที่ทำให้สังคมจีนไม่พัฒนาเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่
.
“แต่ฉันก็จะดูต่อไปนะ หมายถึง ‘การพบระหว่างพระเยซูกับหง ซิ่วเฉวียน’ (When Jesus met Hong Xiuquan)” คอมเมนต์หนึ่งทิ้งท้ายอย่างติดตลก โดยยกตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นจริงในหน้าประวัติศาสตร์จีน เมื่อ หง ซิ่วเฉวียน หัวหน้ากบฏไท่ผิง (Taiping Rebellion) ผู้พยายามโค่นล้มราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) อ้างตนว่า เขาเป็นน้องชายของพระเยซู
.
นอกจากการตำหนิคุณภาพงานของภาพยนตร์เรื่องนี้ สาธารณชนยังมีข้อวิพากษ์วิจารณ์อื่นๆ ในทางทฤษฏีว่า ขงจื๊อเป็นสัญลักษณ์แห่งการกดขี่และชนชั้น ขณะที่มาร์กซ์พูดถึงเรื่องความเท่าเทียมและการปลดแอก บางคนถึงกับเปรียบเทียบว่า ในความเป็นจริง ขงจื๊อคงไม่ยอมกินข้าวกับภรรยาและลูกของมาร์กซ์อย่างเท่าเทียมแน่นอน
.
• จาก ‘การพบกันระหว่างมาร์กซ์กับขงจื๊อ’ สู่แนวคิดทางวัฒนธรรมของ สี จิ้นผิง
.
“ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ถ้าขงจื๊อตัวปลอมเห็นด้วยกับมาร์กซ์ หรือแม้แต่ทั้งมาร์กซ์และขงจื๊อ เห็นด้วยกับสี จิ้นผิง” โจว เคซิน (Zhou Kexin) นักวิจารณ์แสดงความคิดเห็นในบิตเทอร์วินเทอร์แม็กกาซีน (Bitter Winter Magazine)
.
เขาเผยว่า นี่คือหนึ่งในความพยายามของรัฐบาลจีนที่ ‘คลุมถุงชน’ แนวคิดมาร์กซิสม์และลัทธิขงจื๊อเข้าด้วยกันตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ขณะที่ สี จิ้นผิงก็ต้องการสร้างแนวคิดที่ต่างจากโลกตะวันตก ผ่านการปลุกปั้น ‘แนวคิดสังคมนิยมที่เป็นลักษณะเฉพาะของจีน’ (Socialism with Chinese Characteristics) ด้วยการผสมกลมกลืนแนวคิดสังคมนิยมและความเชื่อดั้งเดิมของจีน
.
ทั้งหมดนี้สะท้อนได้จากเนื้อเรื่องที่มีคำว่า ‘การทำลายล้างประวัติศาสตร์’ (Historical Nihilism) ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์นิยมใช้คำศัพท์ดังกล่าวในการโจมตีกลุ่มอื่นๆ (ชาติตะวันตก) ที่ตีความประวัติศาสตร์และตัดสินเรื่องราวของจีน แตกต่างจากวาทกรรมหลักของชาติด้วยการมองผ่านระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก หรือกรอบสิทธิมนุษยชน
.
นอกจากนี้ หลายฝ่ายยังตั้งข้อสังเกตว่า ภาพยนตร์ดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายใหม่ของสี จิ้นผิง นั่นคือ ‘ภารกิจทางวัฒนธรรม’ หลังผู้นำจีนได้เสนอแนวคิดดังกล่าวในการประชุมแห่งชาติครั้งล่าสุดในวันที่ 7-8 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาว่าด้วยการส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนในชาติ ขณะที่เชิดชูอุดมการณ์สังคมนิยมยุคใหม่ เพื่อทำให้จีนกลับไปสู่ยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง
.
ตามรายงานของเซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ (South China Morning Post) มีการเปิดเผยว่า รัฐบาลจีนจะใช้ ‘การทูตสื่อ’ (Media Diplomacy) เพื่อเอาชนะใจผู้คนในประเทศ และนานาชาติ แต่ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดที่ชัดเจนเพิ่มเติม
.
“สี จิ้นผิงต้องการผูกลัทธิมาร์กซิสม์เข้ากับค่านิยมดั้งเดิมกับจีนเพื่อให้ได้รับการยอมรับในหมู่ประชาชนมากขึ้น ขณะที่พยายามกำจัดความคิดของตะวันตกจากประชาชน (...)” เติ้ง อู่เวิน (Deng Yuwen) แสดงความคิดเห็นกับเซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ โดยเสริมว่า สี จิ้นผิงมีท่าทีก้าวร้าวขึ้นกว่าครั้งก่อนๆ อย่างชัดเจน
.
อ้างอิง
- https://www.scmp.com/.../china-officials-hasten-implement...
- https://www.rfa.org/.../china-marx-confucius...
- https://bitterwinter.org/Vocabulary/xi-jinping/
- http://english.scio.gov.cn/.../11/content_116737031.htm
.
ภาพ: Bitter Winter
.
#TheMomentum #StayCuriousBeOpen #GlobalAffairs #จีน #ขงจื๊อ #คาร์ลมาร์กซ์ .....
.....
Atukkit Sawangsuk
6h ·
ความพยายามจะยังเป็นมาร์กซิสม์ แต่จับคลุมถุงชนกับขงจื้อ เพื่อให้เป็นชาตินิยม ไม่ใช่ตะวันตก
ตลกตรงที่คนจีนเองยังรู้ดีกว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีน ว่ามาร์กซ์กับขงจื้อไปด้วยกันไม่ได้