วันพุธ, มิถุนายน 07, 2566

สารพัดความจริงครึ่งเดียวจาก"เรืองไกร" เรื่องหุ้นไอทีวี เรืองไกลจงใจใช้คำว่า "ขาย" เพื่อจะบอกว่าหุ้นเป็นของพิธาไปแล้ว


Saiseema Phutikarn
May 25
·
<สารพัดความจริงครึ่งเดียวจาก"เรืองไกร" เรื่องหุ้นไอทีวี>
- ผู้บริหาร ITV (ไม่ได้) ตอบว่ายังทำธุรกิจสื่อ
ประเด็นคำตอบของผู้บริหารในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ITV ในวันที่ 26 เม.ย. 2566 อันนี้ถือว่าเป็นประเด็นหลักที่สื่อหลายสำนักแม้แต่ สรยุทธ ต่างนำเสนอย่างคลาดเคลื่อน จนเสมือนเผยแพร่ความจริงครึ่งเดียว จริงอยู่ที่มีผู้ถือหุ้นถามว่า ITV มีการดำเนินงานเกี่ยวกับสื่อหรือไม่ แต่อ่านคำตอบให้ดี ผู้บริหารไม่ได้ตอบว่ายังดำเนินงานเกี่ยวกับสื่อ ผู้บริหารเพียงตอบว่า “ยังดำเนินกิจการอยู่ ตามวัตถุประสงค์ของบริษัท…” ซึ่งตามเอกสาร บริษัท ITV มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจทั้งหมด 45 ข้อ เรืองไกรพยายามจะสนใจแค่ส่วนที่เกี่ยวกับสื่อ 4–5 ข้อ โดยไม่พูดถึงวัตถุประสงค์ส่วนที่เหลือทั้งหมดที่ไม่ได้เกี่ยวกับสื่อสารมวลชนเลย เช่น การให้กู้ยืม หรือ การหาดอกผลจากทรัพย์สิน
ทั้งที่เมื่อดูงบการเงิน ITV ย้อนหลัง10 ปี จะพบว่า ITV ไม่มีรายได้จากการทำธุรกิจสื่อเลย ยกตัวอย่างงบการเงินปี 2565 จะพบว่า รายได้ทั้งหมดมาจาก ดอกเบี้ย และ ผลตอบแทนจากเงินลงทุน ซึ่งก็ไม่ได้ขัดแย้งกับกับคำตอบของผู้บริหารที่ว่า “บริษัท ยังดำเนินการอยู่ตามวัตถุประสงค์ของบริษัท…” เพราะการให้กู้ยืม,หาดอกผลจากทรัพย์สิน ต่างก็เป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของ ITV ที่ได้จดแจ้งไว้
การอนุมานว่าการที่ผู้บริหารตอบว่ายังดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ แล้วเชื่อมโยงว่าในวัตถุประสงค์ ITV จาก 45 ข้อ มีอยู่ 4–5 ข้อที่เกี่ยวข้องกับสื่อ ดังนั้นจึงสรุปว่า ITV ยังดำเนินกิจการสื่อ ย่อมขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ งบการเงินก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีรายได้จากดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากเงินลงทุน ซึ่งการให้กู้ยืม การหาดอกผลจากทรัพย์สิน ก็เป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของบริษัท อีกทั้งในงบดุลของ ITV ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าไม่มีทรัพย์สิน อุปกรณ์ ใบอนุญาต ที่จะใช้เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับสื่อเลย โดยในงบดุลปี 2565 ทรัพย์สินเกือบทั้งหมดคือ เงินลงทุนในตราสารหนี้
- ผู้ถือหุ้นใหญ่ ITV (ไม่ใช่) คือ “ไอ้โม่ง” เบื้องหลังการร้องเรียนเรื่องนี้
ประเด็นนี้จริงๆแล้วไม่ได้มาจากเรืองไกร แต่มาจาก ทฤษฎีสมคบคิดของ “ตู่” จตุพร ที่พยายามใบ้ว่าคนอยู่เบื้องหลังคือผู้ถือหุ้นใหญ่ ITV ซึ่งทำให้คนคิดไปว่าผู้มีอำนาจควบคุม ITV ในปัจจุบันคือบริษัท GULF ซึ่งกำลังมีคดีฟ้องร้องกับสส.อนาคตใหม่ หรือบางคนก็คิดไปว่าในอดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ ITV ก็คือเครือชินของ TONY
แต่ทีมข่าว PPTVHD36 ไปสืบเสาะเบาะแสมาพบว่าคนที่ “น่าจะ”อยู่เบื้องหลังการร้องเรียนหุ้น ITV คือ นิกม์ แสงศิรินาวิน ซึ่งอดีตเป็น สส.สอบตก พรรคอนาคตใหม่ ที่ปัจจุบันย้ายพรรคไปพรรคภูมิใจไทย
เพราะ PPTV พบเบาะแสว่า 2 วันก่อนที่จะมีการประชุมผู้ถือหุ้น นิกม์โพสท์ FB ว่า นักการเมืองที่ถือหุ้น ITV ให้เตรียมตัวประชุมผู้ถือหุ้น และ มอบตัวกับ กกต ด้วย แถมยังบอกว่ามีหัวหน้าพรรคหนึ่งถือหุ้น ITV 42,000หุ้น ซึ่งตอนนั้นคนยังไม่ทราบว่าหมายถึงใคร แต่ถึงตอนนี้ย่อมชัดเจนว่าหมายถึง พิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกล
ผ่านไป 2 วันหลังจากที่นิกม์โพสท์ ในการประชุมผู้ถือหุ้น ITV “ภานุวัฒน์” อยู่ดีๆก็ถามผู้บริหารว่า “ITV มีการดำเนินงานเกี่ยวกับสื่อหรือไม่” ซึ่งถูกเรืองไกรใช้อ้างอิง(อย่างไม่ตรงไปตรงมา)ว่าคำตอบของผู้บริหารแสดงว่ายังทำธุรกิจสื่อ ซึ่งเมื่อนำชื่อ ภานุวัฒน์ ขวัญยืน ไปค้นดูจะพบข่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์นี้เองที่ระบุว่า “ภาณุวัฒน์” คือผู้จัดการคลีนิคนวลจันทร์ ที่มี นิกม์ แสงศิรินาวิน เป็นเจ้าของคลีนิค หรือพูดง่ายๆก็คือตามข่าวนั้น “ภาณุวัฒน์” เป็นลูกจ้าง/ลูกน้อง ของ “นิกม์” นั่นเอง
ดังนั้นกรณีหุ้นสื่อ ITV นี้ "ไอ้โม่ง" ไม่น่าจะเกี่ยวอะไรกับผู้ถือหุ้นใหญ่ตัวจริงของ ITV ทั้งในปัจจุบันคือ GULF หรือในอดีตคือ"พี่โทนี่" อย่างที่ทฤษฎีสมคบคิดของ "ตู่" จตุพร พยายามจะบอก
-ITV ถ้าชนะในศาลปกครองสูงสุด ก็(ไม่)ได้สัญญาอนุญาตคืน จะกลับมาทำทีวี(ไม่)ได้อีก
“เรืองไกร” ไปออกรายการเข้มข่าวเด่น ช่อง PPTV ถกเรื่องนี้กับ Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์) ในวันที่ 23 พ.ค. 2566 ซึ่งเป็นการพูดความจริงครึ่งเดียวของเรืองไกร ที่พูดราวกับว่าถ้า ITV ชนะคดีในชั้นศาลปกครองสูงสุด ถ้าศาลปกครองสูงสุดยืนตามคำตัดสินของอนุญาโตฯแล้ว ITV จะได้สัญญาดำเนินกิจการทีวีคืน ทั้งๆที่ในความเป็นจริงคำตัดสินอนุญาโตฯ แม้จะระบุว่าการยกเลิกสัญญานั้นมิชอบจริง แต่ไม่มีเรื่องการคืนสัญญาอนุญาตให้ ITV แต่อย่างใด
โดย อนุญาโตตัดสินแค่ให้ สปน.ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 2.89 พันล้าน แต่เนื่องจากไอทีวีค้างจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาเดิอยู่ 2.89 พันล้าน จึงหักลบกลบหนี้กันพอดี ทั้งสองฝ่ายไม่มีภาระหนี้ต่อกันอีกต่อไปเท่านั้น ไม่มีเรื่องการคืนสัญญาให้กับ ITV แต่ถือว่า ITV เป็นฝ่ายชนะคดี เพราะจากคำตัดสินของอนุญาโตทำให้ ITV ไม่ต้องจ่ายค่าปรับเกือบแสนล้านตามที่ สปน.เคยเรียกร้องไว้ นั่นจึงเป็นเหตุให้ สปน.ยื่นศาลปกครองให้เพิกถอนคำตัดสินของอนุญาโต ซึ่งศาลปกครองกลางยกคำร้อง ยังอยู่ระหว่างอุทธรณ์ในศาลปกครองสูงสุด
เรื่องที่แม้จะชนะคดีก็ไม่ได้สัญญาคืนนั้นเป็นเรื่องที่ ITV ทราบดีมาตลอด ตั้งแต่ปี 2550 ที่รัฐบาลเผด็จการ คมช. จะมีการออก พรบ.องค์การกระจายเสียงฯ (TPBS) แล้ว โดย ITV คาดไว้แล้วว่าถ้า พรบ.องค์การกระจายเสียงฯ (TPBS) มีผลบังคับใช้ ITV จะไม่สามารถเรียกร้องให้กลับไปทำธุรกิจทีวีตามสัญญาเดิมได้ เพราะ ทรัพย์สิน คลื่นความถี่ ของไอทีวีเดิมทั้งหมดถูกโอนไปเป็นของรัฐเพื่อให้ TPBS ดำเนินกิจการแทน ในปี 2550 ก่อนที่ พรบ.นี้จะมีผลบังคับใช้ ITV จึงพยายามยื่นศาลปกครองให้ทำการคุ้มครองชั่วคราวระงับการบังคับใช้ แต่ศาลปกครองยกฟ้อง เพราะเห็นว่าการออกกฎหมายเป็นอำนาจนิติบัญญัตินอกเหนืออำนาจของศาลปกครอง ทำให้ พรบ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 ม.ค. 2551 ทรัพย์สิน คลื่นความถี่ ทั้งหมดที่ใช้ในการทำธุรกิจของ ITV ก็ถูกโอนไปเป็นของช่อง TPBS
ดังนั้นที่เรืองไกรพยายามจะพูดในทำนองที่ว่า แม้ปัจจุบัน ITV จะไม่ได้ทำธุรกิจสื่อ แต่ก็เพียงแค่หยุด ไม่ได้เลิกถาวร ในอนาคตถ้าศาลปกครองสูงสุดยืนตามศาลปกครองชั้นต้น ITV ก็จะได้ใบอนุญาตคืนและกลับไปทำทีวีได้อีกครั้ง จึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
-การถือหุ้นในฐานะผู้จัดการมรดก ต้องมีวงเล็บต่อท้ายว่า (ในฐานะผู้จัดการมรดกฯ)
ประเด็นนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิด เช่น @Nongnapat_PPTV ซึ่งเชื่อว่าเว็บกรมพัฒนาธุรกิจการค้า(DBD) “ระบุชัดเจน” ว่าถ้าจะถือหุ้นในฐานะผู้จัดการมรดกต้องมีการเขียนวงเล็บ “(ในฐานะ ผจก มรดกฯ)” ต่อท้าย เพราะหลงคิดไปว่าเอกสารที่เรืองไกรพิมพ์มาอ้างอิงนั้นเป็นความเห็นของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า(DBD)
ทั้งที่จริงแล้วมันเป็นเพียงคำถามในกระดานถามตอบในเว็บ DBD ซึ่งมีฝ่ายกฎหมายของบริษัทหนึ่งเข้าไปถามว่าถ้าต้องการจะใส่วงเล็บ (ในฐานะผู้จัดการมรดกฯ) ต่อท้ายชื่อผู้ถือหุ้นในเอกสารบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เพื่อป้องกันไม่ได้เกิดปัญหาหากทายามมาเรียกร้องกับบริษัท จะทำได้หรือไม่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในทางปฏิบัติโดยทั่วไปแล้วการถือหุ้นในฐานะผู้จัดการมรดก ก็ระบุในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเพียงแค่ ชื่อ นามสกุล เหมือนกรณีผู้ถือหุ้นทั่วไป ไม่ได้มีการใส่วงเล็บระบุว่าเป็นผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด
(ลิงค์อ้างอิงดูในคอนเม้นท์)
...
Saiseema Phutikarn ·
เรืองไกลจงใจใช้คำว่า "ขาย" เพื่อจะบอกว่าหุ้นเป็นของพิธาไปแล้ว ทั้งที่จริงๆเป็นการถือในนามผู้จัดการมรดกซึ่งก็แล้วแต่จะตกลงกันว่าจะโอนหุ้นให้ใคร เพราะจริงๆหุ้น ITV มันแทบจะมีมูลค่าเป็น 0 อยู่แล้ว













Thanapol Eawsakul
20h
·
ทำไมสื่อไทยยังปล่อยให้คนอย่างเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ พูดความจิรงเพียงครึ่งเดียวอยู่ได้
....................
ผมคิดว่าตอนนี้ สื่อมวลชนทำการบ้านน้อยไป
ปล่อยให้คนอย่างเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ที่แพ้การเลือกตั้ง มาเป็นคนชี้นำ กรณีหุ้นไอทีวี ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
ล่าสุดมีเรื่องการ "ขายหุ้น" ไอทีวีมาอีก
คำถามคือที่บอกว่า “พิธา” ขายหุ้นไอทีวี 42,000 หุ้นแล้ว
"ขายหุ้น" ให้ใคร?
มีหลักฐานไหม?
แล้วขายในราคาเท่าไหร่?
“เรืองไกร” ปูด “พิธา” ขายหุ้นไอทีวี 42,000 หุ้นแล้ว เมื่อปลาย พ.ค.งัดคำพิพากษาศาลปกครอง คดี สปน.ยื่น กกต.มัดเพิ่ม
https://mgronline.com/politics/detail/9660000051535
ในฐานะข่าวเจาะ ผมคิด่ว่าผลง่านของคุณพูติกาล ศายษีมา กรณีหุ้นไอทีวี ของพิธา เรื่องที่ไม่ได้มีอะไรเลย แต่คนอย่างเรืองไกร เอามาปั่นหัวคนในปัจจุบันน่าจะได้รางวัลข่าวเจาะยอดเยี่ยมด้วยซ้ำ
<สารพัดความจริงครึ่งเดียวจาก"เรืองไกร" เรื่องหุ้นไอทีวี>
https://www.facebook.com/saiseema.p/posts/pfbid0TgtXSKgswKf2kYwnQFJgw4jxLeVamFPHHQCA6sUpCoXspaeAyGdedqpKt24XE75Wl
เพิ่มเติม คุณ "พูติกาล ศายษีมา" ยังมาเสริมอีกว่า
"วันนี้เรืองไกรก็ยังพูดความจริงครึ่งเดียวอยู่อีก ไม่ยอมบอกว่าคำตัดสินอนุญาโต ที่ศาลปกครองกลางเห็นว่าชอบแล้วนั้น มันแค่ส่งผลให้ ITV ไม่ต้องจ่ายค่าปรับตามที่ สปน เรียกมา 1 แสนล้าน แต่ไม่มีเรื่องการคืนสัญญาอะไรให้ ITV อะไรอย่างที่เรืองไกรพยายามจะชี้นำเลย"
“เรืองไกร” แฉขายหุ้น พ.ค.66 “พิธา” ชิ่งโยน เลขาฯ ก.ก. “ชัยธวัช” เสียงแข็งไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
https://www.thairath.co.th/news/politic/2699556