วันเสาร์, มิถุนายน 10, 2566

"เอกสารปรีดี พนมยงค์ เกี่ยวกับกรณีสวรรคต"

https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/pfbid0CKQiDMdChCVJ7tvD4H1g3kiE7kxyYjnmUbaAYA2eMR8HLkz4NHNY9q4SWapudMKXl
.....

Somsak Jeamteerasakul
June 9, 2022
·
๑. กรณีสวรรคตเปนเรื่องที่ฝ่ายปฏิกิริยาถือเอาเปนสาเหตุใส่ความโจมตีฝ่ายก ป. ซึ่ง
เปนผู้ใหญ่ของฝ่ายก้าวหน้า ฉนั้นเพื่อที่จะเข้าใจปัญหานี้ก็จะต้องกล่าวถึง
ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายปฏิกิริยากับ ป ซึ่งเปนผู้ใหญ่ของฝ่ายก้าวหน้านับตั้งแต่
การอภิวัฒน์ พ.ศ. ๒๔๗๕ (ค.ศ. ๑๙๓๒) เปนต้นมาและสภาพที่เปนอยู่
ในขณะที่กษัตริย์ ร. ๘ ชื่ออนันทมหิดล ตาย (ซึ่งตามราชาศัพท์เรียกว่าสวรรคต)

๒. การอภิวัฒน์หรือเปลี่ยนการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ (ค.ศ. ๑๙๓๒) ได้
เปลี่ยนระบบที่กษัตริย์กับเจ้ามีสิทธิพิเศษ เพียงเปลี่ยนจากเหนือกฎหมายมาอยู่
ใต้กฎหมายหาได้ปรามหรือจำกัดข้อขัดแย้งให้หมดไปไม่ พวกเจ้ารู้
ว่าในพวกก่อการมีหลายฝ่าย ที่เกรงกลัวที่สุดที่สุดคือฝ่าย ป. ซึ่งเขาหาว่า
เปนคอม. และเห็นว่าเปนศัตรูกันซึ่งจักพยายามทำลาย เพราะ
ถ้าไม่ทำลายก็จะเปนเสี้ยนหนามที่ทำให้ระบบเขาสลาย ส่วนอื่นๆ
ไม่กระไรนัก


ภาค ๑
เหตุการณ์เกี่ยวกับกรณีสวรรคต

๑. กรณีสวรรคต คืออะไร ?
- สวรรคต แปลว่าไปสู่สวรรค์ ใช้เรียกการตายของกษัตริย์และราชินีไทยโดยทั่วไป
- ในปัจจุ ปัจจุบันนี้คำว่าที่ถ้ากล่าวถึงว่า เพราะในภาษาไทยนั้น “กรณีสวรรคต” (มีกรณีเติมข้างหน้า)แล้วก็หมายถึงกรณีที่ทำให้การตายของเรื่องราวเกี่ยวกับ
การตายของกษัตริย์รัชกาลที่ ๘ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖)
กษัตริย์ที่รัชกาลที่ ๘ ชื่อ อนันทมหิดล เปนพี่ชายรัชกาลที่ ๙
ชื่อภูมิพลอดุลยเดช

๒. รัชชกาลที่ ๘ ตายโดยถูกกระสุนปืนพก U.S. ARMY .45 ณ
พระที่นั่งบรมพิมานชั้น ๒ คือเปนตึกที่รัชชกาลที่ ๘, รัชชกาลที่ ๙,
แม่ของรัชชกาลที่ ๘ ที่ ๙ พำนักอยู่โดยมีมหาดเล็กคือผู้รับใช้อยู่
ใน ๒ ของตึกนั้นด้วยอีก ๒ คน คือ นายชิต กับ นายบุศย์
เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) เวลา
ประมาณ ๙. ๓๐ น.

๓. สถานที่ตายคือห้องนอนที่อยู่ชั้น ๒ ของตึก ที่เรี ชื่อพระที่นั่ง
บรมพิมาน ซึ่งเปนตึกหนึ่งในพระบรมมหาราชวังหรือวังหลวง
ชั้น ๒ ของตึกนั้นมีห้องนอนของแม่กษัตริย์และของน้องชาย
กษัตริย์ที่เป็นกษัตริย์รัชชกาลที่ ๙ ด้วย


๓. ทันที่ที่เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังมาแจ้งข่าว ผมได้เข้าไปในพระที่นั่งหรือ
ตึกบรมพิมาน และได้เรียกรัฐหลวงชเวง ร.ม.ต. มหาดไทย
พระรามอิทรา ฯ อธิบดีตำรวจ และขุนประสงค์ผู้บังคับการสันติบาลเข้าไปในวังนั้น และได้เชิญเจ้าผู้ใหญ่เช่นชัยนาท, ภาณุ ให้เข้าไปประชุมพิจารณาด้วย
ที่ประชุมซึ่งมีเจ้าเห็นชอบด้วยได้ตกลงให้ออกแถลงการณ์ว่า
กษัตริย์เล่นปืนแล้วปืนลั่นเปนอุปัทวเหตุ ไม่ใช่ฆ่าตัวตาย
หรือถูกใครฆ่า

๔. ในขณะที่กษัตริย์รัชชกาลที่ ๘ ตายนั้นในชั้น ๒ ของตึกนั้น
มีบุคคลเหล่านี้อยู่คือ
๑. แม่กษัตริย์
๒. น้องชายกษัตริย์
๓. หญิงพี่เลี้ยงกษัตริย์
๔. หญิงรับใช้
๕. นายชิต มหาดเล็กรับใช้
๖. นายบุศย์ มหาดเล็กรับใช้

ส่วนชั้นล่างมีมหาดเล็กรับใช้ มีเจ้าหน้าที่วัง องครักษ์


๕. เหตุที่ เวลาประมาณ ๙. ๒๐ น. ของวันนั้น นายชิต มหาดเล็ก
ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นในห้องนอนของกษัตริย์ จึงรีบเดินมาบอกแม่กษัตริย์
ว่า “ในหลวงยิงตัวตาย”

๖. พระยาเทวฯ สมุหพิธีสำนักราชวังได้รีบนำความมาบอก
ป. ซึ่งขณะนั้นเปนนายกรัฐมนตรี ป. จึงได้เข้าไป ณ ตึก
บรมพิมานและได้เรียกให้ ร.ม.ต. หมาดไทย, อธิบดีตำรวจ, ผู้บังคับการสันติบาล,
และเจ้าผู้ใหญ่คือกรมขุนชัยนาท, พระองค์เจ้าภาณุ, และอื่นๆ ให้
ไปประชุม ณ ตึกบรมพิมาน

ตำรวจได้ไปชันสูตรศพพบว่า ร. ๘ ถูกกระสุนยิงจากหน้าผากทลุหลัง
และพบปืน U.S. Army. 45 วางอยู่ที่มือห่างจากมือซ้ายของผู้ตาย ๑-๒ นิ้ว
ที่ประชุมได้ตกลงทำคำแถลงการณ์ซึ่งกรมขุนชัยนาทเองเปนผู้
ตรวจแก้ไขว่า กษัตริย์เล่นปืนแล้วทำปืนลั่นถูกตัวเองเปนการตาย
โดยอุปัทวเหตุ


๗. ตอนค่ำของวันที่ ๙ นั้นเองได้มีการประชุมรัฐสภาให้ความเห็นชอบ
อนุมัติใหภูมิพลเปนกษัตริย์สืบต่อจากพี่ชายตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการ
สืบราชสันตติวงษ์ (คือกฎหมายที่กำหนดไว้ว่าเมื่อกษัตริย์ตายแล้วใคร
จะมีสิทธิ์เป็นกษัตริย์ต่อไป)
ขอให้สังเกตว่าการที่ให้ภูมิพลเปนกษัตริย์รัชชกาลที่ ๙ นั้น ก็โดยที่ขณะนั้น
ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายรัฐสภามิได้มีความสงสัยว่าภูมิพลจะเปนผู้ฆ่าพี่
ขอให้สังเกตว่า ถ้า ป. ใช้ให้คนฆ่า ร. ๘ เพื่อแล้ว เพื่อเชิญ ร. ๙ ให้เป็นกษัตริย์โดยหวังประโยชน์อะไร เพราะถ้า เพราะถ้าฆ่าจริงและถ้าใช้ให้ไปฆ่าจริงก็เชิญเจ้าคนอื่นหรือล้ม
ระบบกษัตริย์ในทันทีก็เสร็จเรื่องไป
๗. การตายของ ร. ๘ ซึ่งเปนเด็กมีอายุเพียง ๒๐ ปีเศษ ยังไม่ได้ทำประโยชน์ดีเด่นอันใดให้แก่ประเทศชาตินั้น ตามปกติแล้วราษฎรไทยไม่มีเหตุอั โดยทั่วไปต้องอาลัยอาลัย แต่มีบุคคลบางจำพวกที่ หญิงสาวบางจำพวกที่นิยมรูปโฉมของผู้ชายทำนองหญิงที่นิยมพระเอกนั้นมีความเสียดาย ร. ๘ มาก เพราะ ร.


ในการต่อสู้ทางการเมืองขณะนั้น ขอให้สังเกตว่า อำนาจทางการเมืองขณะนั้น
อยู่ในมือของฝ่ายประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าอย่างเต็มที่ คือ รัฐบาลภายใต้ ป.
ส่วนรัฐสภานั้นฝ่าย ป. กับพวกก้าวหน้ามีเสียงทั้งมากท่วมท้นฝ่ายค้าน
ซึ่งเปนพวกปฏิกิริยา ฉะนั้น จึงขอให้สังเกตว่า ถ้าฝ่ายก้าวหน้าในขณะนั้น
พร้อมที่จะล้มระบบกษัตริย์แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้ให้คนฆ่า ร. ๘ แล้ว
ตั้งน้องชายเปนกษัตริย์แทน
อนึ่งการที่ตั้งน้องชายเปนกษัตริย์แทนนั้นก็เพราะขณะนั้น
รัฐบาลและรัฐสภาเชื่อในคำแถลงการณ์ที่พวกเจ้าผู้ใหญ่เห็นชอบด้วยแล้ว
ว่า ร. ๘ ตายเพราะอุปัทวเหตุ ขณะนั้นเรายังมิได้สงสัยว่าภูมิพล
จะเปนผู้ฆ่าพี่

๗.ตามที่กล่าวแล้วว่าอำนาจรัฐบาลและนอกจากเสียงข้างมากในรัฐสภาที่เลือกตั้งแล้วอยู่ในมือของฝั่งประชาธิปไตยก้าวหน้าเด็ดขาด ฝ่ายปฏิกิริยาไม่มีทางชนะโดยวิถีทางรัฐธรรมนูญอันสุจริต


๘. ในขณะนั้นในประเทศไทยกำลังมีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
ผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่งจากที่ได้เลือกตั้งไว้ก่อนแล้ว
ความปรากฏชัดแล้วว่าภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น
ราษฎรไทยได้นิยมพรรคการเมืองที่ก้าวหน้าซึ่งอยู่ภายใต้การอุปการะของ ป.
คือ พรรคสหชีพ, แนวรัฐธรรมนูญ, และกลุ่มอิศร
ซึ่งสมาชิกรัฐสภาที่มีอยู่แล้วนั้นเปนฝ่ายประชาธิปไตยก้าวหน้า
ท่วมท้นฝ่ายประชาธิปัตย์ที่เปนปฏิกิริยาซึ่ง พวกปฏิกิริยาเห็นว่าตนไม่มีทางชนะได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญอย่างบริสุทธิ์ ฉะนั้นพวกเขา
จึงต้องหาวิธีอย่างอื่นโดยไม่บริสุทธิ์ เช่น วิธีแกล้งใส่ความในหนังสือพิมพ์
ของพวกเขา วิธีนินทาซุบซิบที่เรียกว่าหนังสือพิมพ์ปาก ใส่ร้ายรัฐบาล
และสมาชิกฝ่ายข้างมากในรัฐสภา
ความตายของ ร. ๘ จึงเปนเหตุที่ทำให้พวกปฏิกิริยา
ถือโอกาศโจมตีเพื่อทำลาย ป. ซึ่งเขาถือว่าเปนคนสำคัญของฝ่ายประชาธิปไตย
เริ่มทีเดียวเมื่อข่าวการตายของ ร. ๘ ปรากฏขึ้น ก็มีบุคคลบางคน
โทรศัพท์ไปยังกองทหาร, สถานทูตต่างประเทศ ว่าพวกของ ป. เปนคนฆ่า
ร. ๘ ต่อมาพวกเขาบางคนใช้ให้คนตะโกนในโรงภาพยนตร์ว่า
“ปรีดีฆ่าในหลวง” หนังสือพิมพ์ของพวกเขา และหนังสือพิมพ์
ที่ชอบหากินด้วยทำข่าวตื่นเต้นก็ได้พากันลงข่าวพูดเฉียดไปมาเปนทำนอง
ว่า ป. หรือคนสนิท ฆ่า ร. ๘
การที่หนังสือพิมพ์บางฉบบของพวกปฏิกิริยา และหนังสือพิมพ์ชนิดทำข่าวตื่นเต้นเพื่อการจำหน่ายขายดีสามารถทำข่าวที่ไม่จริงได้ก็เพรา


เหตุใดเชื่อหรือไม่เชื่อ ?

ก. ก้าวหน้าอาศัยวิทยาศาสตร์
ข. ปฏิกิริยา ๑. ไม่เชื่อในทางวิทยา. และมีใจเปนธรรม
๒. “ แต่มีอคติ
ค. กลาง ๑.) วิทยา. ไม่เชื่อ (๒.) เชื่อข่าวลือ, ไม่ยินดียินร้าย
ข่าวลือยังเปนอยู่เช่นหาว่าคอมฯ ร้าย, ลือว่ามีผีสิ่งศักดิ์สิทธิ์

รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๐ และรัฐบาลสมัย ป. ได้ให้สิทธิ์ประชาธิปไตย
แก่ราษฎรในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ พวกศัตรูจึงได้
ฉวยโอกาสนั้นทำการใส่ร้าย ซึ่งเท่ากับ ฉนั้นรัฐบาล ป. สมัยนั้น
จึงจำต้องออกคำสั่งให้บรรดาหนังสือพิมพ์ส่งร่างมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจ (เซนเซอร์)
เสียก่อนที่จะพิมพ์ การเซนเซอร์หรือตรวจร่างนั้นได้ผลบ้าง
แต่ก็มีทางเล็ดลอดได้เพราะ เจ้าหน้าที่ต้องตรวจข่าวเร็ว และการเขียนข่าว
บางอย่างมีข้อความแฝงไว้ได้.....ที่เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวไม่อาจคาดคิด
ไปถึงเพราะต้องตรวจข่าวเร็ว สิ่งที่เราควรสรุปบทเรียน
อันที่จริงการตรวจข่าวเปนการกรุณาของรัฐบาลที่ไม่ปิดหนังสือพิมพ์โดยเห็น
แก่คณะของที่หนังสือพิมพ์ ซึ่งต่างกับวิธีของรัฐบาลเผด็จการที่
ปิดหนังสือพิมพ์ฝ่ายตรงข้ามหรือขู่ว่าจะปิด
๙. ผลแห่งการโฆษณาชวนเชื่อของศัตรูโดยทาง...และโดย...หนังสือพิมพ์
ของฝ่ายศัตรูได้ผลและได้ผลต่อไปที่
ก. ฝ่ายก้าวหน้าไม่มีได้หลงเชื่อ
ข. ฝ่ายเจ้าและพวกนิยมเจ้านั้น....คือ

(๑) เจ้ามีทั้งส่วนที่หลงเชื่อและไม่หลงเชื่อ ผู้ที่ไม่หลงเชื่อแบ่งออกได้อีกเปน ๒ พวก คือ (๑) ทั้งๆ รู้ความจริงว่า ป. บริสุทธิ์ แต่ใช้โอกาส...เสีย... (๒) เจ้าที่มีใจเปนธรรม
บางคนยังได้โต้เถียงผู้หลงเชื่อและให้ความเป็นธรรมแก่ ป. เช่น ม.จ. ศุกสวัสดิ์
(ชิ้น) พี่ราชินีรัชชกาลที่ ๘ (ผู้เรียบเรียง - ที่ถูกต้องเป็นรัชกาลที่ ๗), ม.จ. หญิงพูนพิศมัย เปนต้น
(๒) พวกพนักงานของพระราชวังซึ่งรับใช้ใกล้ชิดกับกษัตริย์ไม่หลงเชื่อ
และได้ให้ความเปนธรรมแก่ ป. พวกเหล่านี้ ต่อมาภายหลัง ร.ป. ที่ทำ
โดยพิบูลได้สั่งปลดออกจากตำแหน่ง


(๓) พวกนิยมกษัตริย์ ซึ่งเปนผู้อยู่นอกวังนี้ร้ายกาจมากคือ
มิเพียงแค่ตนหลงเชื่อเท่านั้น คือยังทำการป่าวและกระซิบกันไป พวกเหล่านี้
มีหญิงสาวที่นิยมในรูปโฉมของ ร.๘ ทำนองหญิงสาวนิยมพระเอกหนัง
และลคร พวกเห่อเจ้าซึ่งเป็นคนสมัยใหม่ ซึ่งเปนคนไทยบางจำพวกและ พวกหนุ่มโพ้นทเลบางคนที่ร่ำรวยขึ้นทำการเปนโฆษกของฝ่ายปฏิกิริยาโจมตี ป. บางคนทำตัวเป็นไทยยิ่งกว่าไทย

สรุปว่า…ชนชั้นมากกว่าชนชั้น

๔. ราษฎรทั่วไปมี ไม่หลงเชื่อหรือไม่ยินดียินร้ายในการตาย
ของกษัตริย์ แค่อีกส่วนหนึ่งหลงเชื่อภาพหลอกลวงของศัตรู

๑๐. เพื่อที่จะแสดงความบริสุทธิ์ให้ เพื่อให้ความ
ชัดแจ้งประจักษ์แก่มวลราษฎร รัฐบาลของ ป. จึงได้ตั้งคณะกรรมการ
ขั้นคณะหนึ่งประกอบทั้งเจ้า อดีตผู้พิพากษา ทหาร และผู้ซึ่ง….ว่า
ทรงไว้ซึ่งความเปนธรรม…ให้ทำการสบสวนกรณีสวรรคตโดยเปิดเผย
โดยให้ พึงพิจารณาเปิดเผย พยานให้การอย่างเปิดเผยซึ่งมหาชนฟังได้
และต่อเครื่องกระจายเสียงได้ยินไปไกล

และเพื่อถ้ามวลราษฎรเห็นว่าคณะกรรมการนั้นทำงาน
โดยอิศรไม่อยู่ใต้อิทธิพลของ ป. ป.จึงได้ลาออกจาก
การเปนนายกรัฐมนตรี คงดำรงตำแหน่งรัฐบุรุษอาวุโสซึ่งมีหน้าที่


เปนที่ปรึกษาสูงสุดของรัฐ และ ส่วนรัฐบาลนั้นรัฐสภาให้ความ
เห็นชอบแก่ พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือหลวงธำรง
เปนนายกรัฐมนตรี และจัตตั้งรัฐบาลของฝ่ายประชาธิปไตยกาวหน้า
สืบแทนต่อมา

๑๑. คณะกรรมการสอบสวนกรณีสวรรคตจึง..เปนการสอบสวนต่อมาและมีความเห็นซึ่งเสนอรัฐบาลความว่า
ร. ๘ มิใช่ตายโดยอุปัทวเหตุ และยังไม่เชื่อว่าฆ่าตัวตาย
แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าถูกฆ่าตาย แต่ยังไงมีหลักฐานว่าถูกฆ่าตาย แต่ยังไม่มีหลักฐานพอที่จะชี้
ว่าฆ่าตัวตายเอง หรือถูกฆ่าตาย จึงให้ตำรวจสืบสวน
หาหลักฐานต่อไป

คณะรัฐบาลธำรงจึงส่งเรื่องให้ตำรวจทำการสืบสวน ซึ่งเปนรัฐบาลในขณะที่คณกรรมการกรรมการ
ลงวามเห็นนั้น ต่อไป

๑๒. กรมตำรวจได้ได้ตั้งคณะกรรมการภายในกรมตำรวจ
อีกคณะหนึ่งซึ่งทำการสืบสวนต่อจากคณะกรรมการสืบสวน
ดังได้กล่าวมาแล้ว กรณีสวรรคต ในระหว่างที่รัฐบาลธำรง
รอคอยผลสรุปการสอบสวนของกรมตำรวจนั้น ได้มีรัฐมนตรี
ในรัฐบาลธำรงหลายคนเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่จะเชื่อว่าภูมิพล
เป็นผู้ฆ่า ร. ๘ เพราะ ปืน ผู้ตายนอนหงายเปนปกติ ปืนที่ใช้
ยิงก็วางอยู่อย่างเรียบร้อย และ ร. ๘ ถนัดขวา เหตุใดปืนอยู่ข้างซ้าย โดยเฉพาะห้องนอนบนตึกชั้น ๒ บรมพิมานนั้น


ภูมิพลเข้าออกได้ตามชอบใจเหมือนดั่ง...
เข้าห้องพี่ และภูมิพลก็อยู่ในที่เกิดเหตุ ฉนั้นจึง
มีผู้ให้ความเห็นว่า ภูมิพลขณะนั้นอายุ ๑๙ ปี คงจะไป ปลุกพี่ให้
หยอกพี่ด้วยปืนที่เล่นมาด้วยกันแล้วกระสุนลั่นถูกพี่ชาย
แล้วเอาปื โดยตกใจจึงรีบเอาปืนวางข้างมือซ้ายของพี่ แต่
พี่เปนผู้ถนัดขวา
พวกเจ้า
กรมขุนชัยนาทที่เปนผู้สำเร็จราชการรู้เรื่องว่า
รัฐบาลจะดำเนินคดีกับภูมิพล จึงได้เรียกตัวธำรงไปบอกว่า
“ถ้ารัฐบาลเอาเรื่องว่าน้องฆ่าพี่แล้วจะเกิดเหตุใหญ่” ซึ่ง
เปนคำขู่

๑๓. ต่อจากนั้นอีกไม่กี่วันก็เกิดรัฐประหาร 8 พ.ย.
ค.ศ. ๑๙๔๗ โดยพิบูลกับพวกปฏิกิริยาพร้อมกัน
ทำการยึดอำนาจรัฐ ล้มรัฐบาลและรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย

พวกคณะรัฐประหารได้มอบตั้งให้นายควง หัวหน้า
พรรคประชาธิปัตย์เปนผู้จัดตั้งรัฐบาลประกอบด้วยพวกขุนนางศักดินา
และรัฐสภาประกอบด้วยผู้มีบรรดาศักดิ์มากมาย ต่อมา

...ของพวกปฏิกิริยา ต่อมา
พิบูลได้บังคับให้รัฐบาลควงออกแล้วพิบูลเปนจัดตั้งรัฐบาล
ของตนขึ้นสืบต่อมา


๑๔. เมื่อพวกปฏิกิริยาได้อำนาจรัฐแล้ว ใน ตำรวจปฏิกิริยา (พินิจ, แผ้ว) ก็ได้จับตัว
นายเฉลียว อดีตเลขาธิการพระราชวัง, นายชิต, นายบุศย์ ในข้อหา
ว่าสมคบกันฆ่า ร. ๘ ต่อมา และทำการสอบสวนโดย
ทำพยานเท็จ ครั้นแล้วก็ได้ออกหมายสั่งจับ ป. กับเรือเอก
วัชรชัย ซึ่ง น.ล. อยู่ในต่างประเทศ
๑๕. อัยยการคือผู้ฟ้องคดีแทนรัฐบาลจึงฟ้องนายเฉลียว
นายชิต นายบุศย์ ๓ คนที่จับตัวได้ต่อศาลอาญาฯ ใช้
เวลาพิจารณาประมาณ ๔ ปี แล้วตัดสินปล่อยนายเฉลียวกับนายบุศย์
คงลงโทษประหารชีวิตนายชิตผู้เดียว
๑๖. อัยยการอุทธรณ์ให้ ต่อศาลอุทธรณ์ให้ลงโทษ
นายฌลียวกับนายบุศย์ด้วย ส่วนนายชิตอุทธรณ์ให้ศาลปล่อยตัว
ศาลอุทธรณ์ใช้เวลาพิจารณาประมาณ ๒ ปี ตัดสินปล่อยนายเฉลียว
ลงโทษประหารชีวิตนายชิตกับนายบุศย์
แต่มีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คนหนึ่งชื่อหลวงปริพนธ์ (ประวัติ
สวรรณแสวง) มีความเห็น คัดค้าน ให้ปล่อยจำเลยทั้ง ๓ คน
๑๗. อัยยการฎีกาต่อศาลฎีกาให้ลงโทษนายเฉลียวอีก
ด้วย ส่วนนายชิตกับนายบุศย์ฏีกาขอให้ปล่อยตัว
ตาม....ศาลฎีกาควรต้องใช้เวลานานเพื่อตรวจสำนวนที่ยืดยาวให้ถี่ถ้วน แต่กรณีนี้ศาลฎีกาได้
รวบรัดตัดสินเร็วได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน ทั้งนี้ก็เพราะศาลอยู่ใตอิทธิพลของ
รัฐบาลปฏิกิริยาที่เกิดความกลัวว่า ป. กับพวกจะทำการล้มรัฐบาลจึงจำต้องรีบจัดการทำให้ ป. เสื่อม

เหตุการณ์ของการเมืองในประเทศในขณนั้นมี
ขบวนการสันติภาพ ก้าวหน้าที่ต่อต้านรัฐบาลหลายขบวนการซึ่ง
รัฐบาลปฏิกิริยาเข้าใจว่า ป. มีส่วนอยู่ในขบวนการเหล่านี้ คือ ป. ได้เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ปักกิ่งรายวัน คือมาป. ให้... วิทยุปักกิ่งได้นำบทความของ ป. ในหนังสือปักกิ่งรายวัน


ไปแปลเปนไทยกระจายเสียง บทความนั้น ป. แสดงความยินดี
ในความสงบศึกสัญญอินโดจีน โดยสัญญาเยนีวา ค.ศ. ๑๙๕๔
และ ป. ได้เรียกร้องให้ราษฎรโค่นล้มจักรวรรดินิยมอเมริกันกับ
ลูกสมุนปฏิกิริยาไทย
ซึ่งสหายจีนได้แจ้งว่าท่าทีรัฐบาลปฏิกิริยาตกใจมาก
ถึงกับสั่งเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ว่า
ป. จะทำรัฐประหารหรือยกกองทัพไป
ต่อจากนั้นอีกไม่กี่เดือน
ศาลฎีกาได้ตัดสินประหารชีวิตนายเฉลียว นายชิต นายบุศย์

๑๗. เหตุที่ศาลปฏิกิริยาอ้างลงโทษจำเลยนั้นเปนไปตามหลักฐานเท็จ
ที่ตำรวจปฏิกิริยาทำขึ้น แม้กระนั้นก็ดี ไม่มีพยานคนใดเห็นด้วยตาตนเอง
ว่าใครเปนผู้ยิง ร. ๘ ศาลอาศัยแต่คำสันนิษฐานว่า ร. ๘ ถูกยิงตาย

ก.) ศาลสันนิษฐานว่า นายชิต นายบุศย์ มหาดเล็กข้าอยู่รับใช้
ร. ๘ คงรู้เห็นด้วย แต่นายชิต นายบุศย์ เปนมหาดเล็กเก่าแก่ที่รับใช้
กษัตริย์มาตั้งแต่ ร. ๗ นายชิตนั้นเปนตระกูลสิงหเสนีสืบมาจากเจ้าพระยาบดินทร์
(สิงห์) และเปนขุนนางที่ภักดีต่อกษัตริย์มาหลายชั่วคน นายบุศย์นั้นเล่าก็
มีบิดาเปนคนรับใช้อยู่ในวังกษัตริย์มาก่อน ไม่มีเหตุผลอันใดที่คนทั้งสอง
คนจะมาเปนใจรับใช้ ป. ซึ่งมิใช่เปนพวกเจ้าให้ทำการฆ่าเจ้าของตน

ข.) ศาลแสร้งทำเปนเชื่อนายตี๋ พยานเท็จว่า ป. กับเฉลียว
ไปพูดกับพระยาศรยุทธว่า ร. ๘ ฉลาดนักต้องทำลายเสีย อันที่จริง
ป. เคยไปบ้านศรยุทธก่อน ร. ๘ ตาย เขา ...โดยไปรับเชิญไปรดน้ำงานแต่งงาน


ลูกศรยุทธ ต่อจากนั้นไม่เคยไปอีกตามวันเวลาที่นายตี๋อ้าง
สมมตว่า ป. ที่บ้านศรยุทธตามวันเวลาที่นายเตี้ยว่า แต่...ฆ่า
ร. ๘ จริงแล้วทำไมต้องไปปรึกษานายศรยุทธถึงที่บ้านศรยุทธ พราะ
ถ้าจะฆ่าก็สั่งให้คนฆ่าลับๆ และเรียกคนที่จะใช้ไปฆ่ามาที่บ้าน ป.
มิดีกว่าหรือ

ศาลปฏิกิริยาอยู่ใต้อิทธิพลของรัฐบาลปฏิกิริยาและ
ได้รับรางวัลจากรัฐบาลปฏิกิริยาภายหลังที่ตัดสินแล้วไปตามๆ กัน
เช่น หัวหน้าศาลอาญา ได้ตำแหน่ง ร.ม.ต. ยุติธรรม แก่....
ผู้เปน...อื่นๆ ได้เงินไปสร้างบ้าน ได้เงินไปให้เมียน้อย ได้ตำแหน่งสูงๆ
ขึ้น

๑๘. ต่อมา ในวันประหารชีวิตร์ เฉลียว ชิต บุศย์
นายเผ่าได้ไปพบคนทั้งสาม มีเรื่องเล่ากันว่านายชิต นายบุศย์
ได้บอกนายเผ่าว่าพวกเขาทั้งสามคนบริสุทธิ์ ร. ๘ ตายเพราะถูกน้องฆ่า
มีผู้เล่าว่าคำให้การก่อนตายนี้นายเผ่าเก็บไว้ที่กรมประมวลฯ แต่บัดนี้
อาจถูกทำลายก็ได้ ตามกฎหมายปฏิกิริยาถือว่าคำให้การของ
คนใกล้อสัญ ตายนั้นเปนหลักฐานสำคัญ


๑๙. ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ (ค.ศ. ๑๙๕๗) พิบูลกับเผ่า
ซึ่งเปนคนสำคัญที่มีส่วนในการให้ศาลสั่งประหารเฉลียว ชิต บุศย์ ผู้บริสุทธิ์
ได้เกิดขัดแย้งกับพวกเจ้ายิ่งขึ้นได้พยายามที่จะ ช่วยความบริสุทธิ์ของคนทั้ง ๓
และ ป. แสดงให้มวลราษฎรเห็นว่า ร. ๙ ฆ่า ร. ๘ ก) หนังสือพิมพ์
ไทยเสรีของตำรวจได้เริ่มเปิดโปง ร. ๙ ในเรื่องนี้

ข ) น.ส.พ. สารเสรี ของสฤษดิ์ได้นำภาพจดหมาย
ของศรยุทธ์ที่เขียนถึง น้องชายป. หลวงอรรถกิติ น้องชาย ป. ว่าศรยุทธ
ได้ถูกตำรวจขู่เข็ญให้การเท็จ

ค) ที่ท้องสนามหลวงมีนายสง่า เนื่องนิยม ฉายาว่า “ช้างงาแดง”
ได้เปิดโปงว่า ร. ๙ ฆ่า ร. ๘ โดยตำรวจไม่จับ แต่เมื่อ
ถูกพวกเจ้าเร่งเร้าจึงจับนายสง่า

๒๐. ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ นั้นเอง พวกปฏิกิริยา โดยเหตุว่า
ก็ได้สนับสนุนสฤดิษ์ให้ทำการรัฐประหารล้มพิบูล ถนอมเปน
นายกฯ ต่อมา สมุน อีกไม่กี่เดือนสฤษดิ์ทำสิ่งที่เรียกว่า
“ปฏิวัติ” สนับสนุนกษัตริย์เหมือนดั่งเทพสมมมต
เรื่อง ร. ๙ ฆ่า ร. ๘ จึงซบเซาไป
จาง ไม่มีผู้ บุคคลกล้าเปิดโผงว่า ร. ๙ ฆ่า ร. ๘
ในเมืองไทย ตามสภาพที่อยู่ภายใต้ระบบเผด็จการปฏิกิริยา


ที่เชิดชูกษัตริย์ถึงทำให้ราษฎรมิอาจเปิดโปง ร. ๙ ได้อย่าง
เปิดเผย แต่มีการพูดกันเปนการลับๆ อยู่ตลอดมา
และยังมีจำพวกคนอีกไม่น้อยที่เชื่อในความบริสุทธิ์ของ ป.
กับผู้ถูกล่าวหาพร้อมกับ ป. และความบริสุทธิ์ของเฉลียว,
ชิต, บุศย์

๒๑. ในต่างประเทศนั้น ไม่ปรากฏว่าเอกสารเปนเล่มหรือมี น.ส.พ. ใดลงข่าวว่า
ป. ใช้ให้คนฆ่า ร. ๘

เมื่อ ค.ศ. 1964 นาย Rayne Kruger
ได้พิมพ์หนังสือพิมพ์เล่มหนึ่งชื่อว่า “The Devil’s Discus” (กงจักรปีศาจ - ผู้เรียบเรียง)
ที่วิจารณ์ เขาได้ให้มา สอบส สืบส ค้นคว้าหาความจริง
เกี่ยวกับกรณีสวรรคต คนผู้นี้ได้พิสูจน์ความ
บริสุทธิ์ของ ป. เฉลียว ชิต บุศย์ วัชรชัย
ไว้อย่างสมบู เขามีความเห็นว่า ได้กล่าวถึง
ร. ๙ ไว้ ..แม้เขาจะกล่าวว่า ร. ๘ จะฆ่าตัวตาย
เอง แต่ก็มีคำพูดหลายตอนซึ่งถ้าจะอ่านใต้บรรทัด
ก็ได้ความว่า ร. ๙ มีพฤติกรรมที่ไม่บริสุทธิ์ เช่น
เขากล่าวว่าศาลลงโทษชิตกับบุศย์เพราะเข้าไปในห้อง
ร. ๘ ในเวลากระชั้นชิดที่ได้ยินเสียงปืนนั้น ตาม


เหตุนั้นก็ต้องไม่ยกเว้น ร. ๙ ที่เข้าไปในห้องเวลากระชั้นชิด
ด้วย

เมื่อหนังสือ R. K. ส่งไปจำหน่ายในไทย
แล้วมคนซื้ออ่านกันมาก ร. ๙ ถึงกับสั่งคน
ไปกว้างซื้อในตลาดเพื่อทำลายหนังสือนั้น ครั้นแล้ว
ตำรวจออกคำสั่งห้ามขาย น.ส.พ. ปฏิกิริยา
เช่น สารเสรี สยามรัฐ Post Bangkok World
Standard พากันโจมตีหนังสือ R. K. เวลานี้
มีผู้อ่านกันลับๆ และผ่านต่อกันไปหลายมือ บางคน
ก็ได้แปลเปนไทยผ่านมือกันไปอย่างลับๆ


ภาค ๒
คำสรุป


๑. … ไม่มีผู้ใดพยานคนใดเห็นว่า ร. ๘ ยิงตัวเอง หรือใครเปนผู้ยิง ร. ๘
ศาลลงโทษเฉลียว ชิต บุศย์ ก็เพราะสันนิษฐานจากพยานและหลักฐานที่ตำรวจ
ปฏิกิริยาทำขึ้น แม้กระนั้นพยานเท็จก็ยังไม่บอกว่าตนเห็นว่ามีผู้ยิง ร. ๘

ก. ป., เฉลียว, ชิต, บุศย์, วัชรชัย, บริสุท์ตามใน…
(ดูข้อ ๑๖)

ข. ร. ๙ มีการพิรุธหลายอย่างว่าฆ่าพี่ชาย

๒. การที่พวกปฏิกิริยยกเอากรณีสวรรคตขึ้นมาโจมตี ป. นั้น เปนการต่อสู้ที่
พวกปฏิกิริยาทำเพราะตัว ป. กับผู้ต้องหา หรือเปนการต่อสู้ในทางการเมืองระหว่าง
ฝ่ายปฏิกิริยากับฝ่ายก้าวหน้า ?

ก. ฝ่ายก้าวหน้าส่วนหนึ่งเห็นว่าไม่ใช่ต่อสู้ส่วนตัว แต่เปนต่อสู้เพื่อระบบ
การเมือง...ระหว่างระบบของฝ่ายปฏิกิริยากับฝ่ายก้าวหน้าทีเดียว ...ฝ่ายปฏิกิริยาเลือกเอา ป.
เปนเป้าหมายสำคัญก็เพราะเขาเห็นว่า ป. เปนตัวสำคัญที่ปรากฎของฝ่ายก้าวหน้า ถ้าทำลาย ป. ลงไปได้
ระบบปฏิกิริยทั้งใหม่และเก่า ก็จะฟื้นคืนชีพพร้อมทั้งปฏิกิริยาใหม่ก็จะร่วมกันครองอำนาจรัฐได้
สดวก รูปการก็ประจักษ์นี้แล้วว่าเมื่อ ป. ล้มไปแล้ว สิทธิประชาธิปไตยที่ราษฎรเคยได้นั้น
ได้ถูกกัดกันอย่างไรบ้าง ฉะนั้นฝ่ายก้าวหน้านี้จึงพยายามช่วยเหลือ ป.
ในการต่อสู้ฝ่ายปฏิกิริยาในกรณีสวรรคตเท่าที่จะทำได้

4. แม้ว่ากษัตริย์ยังมีผู้นับถือ แต่กษัตริย์เปนตัวแทน
สำคัญของปฏิกิริยาและจักร. เม เราต้องสู้เพื่อจุดหมายปลางทาง
คือล้มระบบกษัตริย์ แต่วิธีสู้นั้นต้องใช้ให้เหมาะสม
แก่สภาพท้องที่

ก. กษัตริย์มีผู้นิยมในท้องที่ซึ่งมีศักดินาเยอะอยู่มาก
เช่นใน ก.ท. ในหัวเมืองใหญ่ แต่ในชนบทไม่ค่อยมาก
...ไกลไปในทางที่ซึ่งเดิมเคยเปนอิศระ ...นิยมนัก
ข. วิธีสู้ต้องเริ่มจากจิตวิทยา เตรียมทำลาย
ทำให้เสื่อม เมื่อเห็นว่าเสื่อมแล้วก็ล้มได้

...จุดยืนหยัด ...โดย
ไม่ใช้วิธีให้เหมาะสมแก่สภาพท้องที่ก็เปนการเอียงซ้ายมากไป

ข. ฝ่ายก้าวหน้าอีกบางส่วนซึ่งแม้จะเห็นว่า ป. บริสุทธิ์ แต่เห็นว่า
การต่อสู้นั้นเปนเรื่องเฉพาะตัวบุคคลที่ถูกกล่าวหา จึงไม่จำต้องช่วยเหลือร่วมมือ
ในการต่อสู้เช่นนั้นของฝ่าย ป. เพราะถ้าขืนต่อสู้เปิดโปงกษัตริย์ก็จะเท่ากับตนเอง
ต้องถูกเกลียดชังจากราษฎรยิ่งขึ้น เพราะตนเข้าใจว่าราษฎรเทิดทูนกษัตริย์ ความเห็น
ผลแห่งการเลือกเอาแนวนี้...ก้าวหน้า... ก็บังเกิดขึ้น ในทางรูปธรรมก็คือ
(๑) พวกปฏิกิริยาไม่...หรือไว้...ว่าพวกก้าวหน้า...กษัตริย์...นั้นเปนคนที่เขาควรคบ
(๒) พวกก้าวหน้าส่วนนี้หาแนวร่วมยาก ปากว่า...ขูดรีด นี่...
ยิ่งกว่าขูดรีด คนมองไม่เห็นว่าเปนคนมีธรรม...

ค. ฝ่ายกลางๆ ที่มีใจเป็นธรรมก็....ความบริสุทธิ์และ...สิทธิ์
ผู้ถูกแกล้ง
๓. ต้องยอมรับว่าการต่อสู้ด้วยขณะนี้ฝ่ายปฏิกิริยากำลังมีชัยได้เปรียบ ฝ่ายก้าวหน้า
ถูกตีถอย แต่การต่อสู้ไม่หมดจบ ...ฝ่ายปฏิกิริยายังไม่...ถ้า...
...ทำให้ดีกว่า...ได้ ฉะนั้นอย่าลางเลือนเห็นแก่ตัวหรือ..
ให้ถือว่ากรณีสวรรคตเปนการต่อสู้ระหว่างฝ่ายปฏิกิริยาและก้าวหน้า
ที่สามารถทำให้..ประจักษ์ว่า ร. ๙ ฆ่าพี่ ...มีผลเลว...ทำลายระบบปฏิกิริยาได้ เรื่องนี้ก้าวหน้า...
ไม่กลัว...กษัตริย์ประ..ให้คนไทย พวกก้าวหน้า..จริงต้องต่อสู้ต่อไป
พวกปฏิกิริยา
ใช้ทุกวิถีทางที่จะสู่จุดหมายของพวกเขาโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมหรือ...จริง
เป้าหมายอันแรกคือทำการต่อสู้ทางจิตวิทยาเพื่อหลอกลวงให้ราษฎร...เชื่อ
แล้วต่อไปก็ทำ เพื่อทำให้คนในฝ่ายปฏิกิริยาเข็มแข็ง และดึงฝ่ายกลาง...ให้
เปนพวก และทำให้พวกก้าวหน้าบางส่วนครั่นคร้ามหรือกลัวว่าถ้าถ้าแตะต้อง
กษัตริย์แล้วกลัวว่า...จะพลอยเสื่อมความนิยมราษฎรด้วย
เมื่อเขาได้ชัยชนะทางสังคมจิตวิทยาแล้วก็เปน...ที่จะอาศัยราษฎรที่เหลือ
เปนเครื่องมือ...และสนับสนุน...ปฏิกิริยา


ฉ. ขอให้ปฏิกิริยาฝ่ายเดียวเถิดใช้วิธีไม่สัจจะ
ฝ่ายก้าวหน้าไม่ควรใช้เรื่องเท็จ

อันที่จริงฝ่ายก้าวหน้านั้นตามสภาพของตน
โดยแท้เปนผู้ต้องการการสัจจะ ฉนั้นตนไม่...ที่จะ..
ที่จะใช้วิธีไม่สัจจะเช่นฝ่ายปฏิกิริยา ...อุตริ
เท็จก็ทำไม่สนิท คนจับได้ง่ายๆ ไม่ได้ประโยชน์
อะไร คนฝ่ายปฏิกิริยาที่...มันทำได้
สนิท ได้ผลชั่วคราว แต่ก้าวหน้านั้นแม้
แต่ผลชั่วคราวก็ไม่ได้ จึงอย่าอุตริใช้วิธีเท็จเลย

ช. โกหกตัดนิสัย แก้ยาก เหมือน
เสพย์ยาติด

ข. ปัญหาสำหรับพวกก้าวหน้าที่ว่าเราจะใช้วิธีต่อสู้สงครามจิตวิทยา
ของปฏิกิยาอย่างไร คือ จุดหมายนั้นเราต้องการ ความก้าวหน้า, ชิง....
ดึงปฏิกิริยาบางส่วนให้แยกจากพวก แต่วิธีนั้นจะใช้ศีลธรรมถือสัจจะ
หรือไม่สัจจะ คือถ้าปฏิกิริยาไม่ถือสัจจะ เราก็ไม่ถือสัจจะบ้าง เช่นนั้นหรือ ?

มีคนช่วยเช่น R.K. ....

ค. เห็นว่าไม่สัจจะอาจทำให้คนหลงเชื่อได้บางขณะแต่ไม่ยั่งยืน สัจจะ
อาจไม่ทำให้คนเชื่อในทันใด แต่เชื่อแล้วก็ยั่งยืนเพราะสัจจะเปนของแท้ ฉนั้น
ถือสัจจะเปนหลักดีกว่า แต่สำคัญคือวิธีทำให้สัจจะประจักษ์ ทั้งที่ต้องสำรวจ
ดูสภาพความรู้สึกของราษฎรว่าอยู่ระดับใด ควรใช้คำพูดและวิธีใด จึงจะทำให้
ราษฎรเข้าใจสัจจะ กรณีสวรรคตนั้นแม้ .ป. ถือสัจจะแต่ใช้วิธีการ
ไม่ถูก และใช้ในขณะมรสุมที่คนกำลังถูกปลุกปั่น

ง. วิธีลือ หรือทำข่าวลือ พูดกันต่อๆ ไปมีอยู่ในสังคมเป็นเรื่อง
ผี เรื่องลาง ซึ่งคนยังเชื่ออยู่นั้น เราอาจใช้ได้เพราะนั่นเปนรูปธรรม
แต่เราเอาแฝงไว้ เช่น กรณีสวรรคต เรารู้ว่าสัจจะคือ ร. ๙ ฆ่าพี่
เราอาจทำเรื่องมี... มีโยมพยาบาลมาบอกและว่าใคร...
... ร. ๘ จะตายจะตกนรก นี่เรียก “กุศโลบาย” ต่างกับ
“อกุศโลบาย”

จ. ยกเว้น
ไม่สัจจะใช้ได้สำหรับศัตรู คือศัต แต่ไม่ควรใช้กับ
เพื่อน และราษฎร

ขอ... “เราไม่ลวงเพื่อน เพราะเราไม่ต้องการ....
แต่เพื่อนอย่าลวงเรา”


๖. ๕ ศาลที่ว่ายุตติธรรมนั้นเปนระบบที่ไม่มีตัวตนแก่ผู้เห็นจริง เปนเครื่องมือของปฏิกิร วรรณะหรือฝ่าย

๗. น.ส.พ. เปนเครื่องมือของวรรณะ ไม่ใช่ ฐานันดร ๔
เหลวใหล ใครมีเงินเปนเจ้าของ