Punsak Srithep
7h ·
ถ้า
ประยุทธ์ไป ประวิตรมา
แมร่งได้เป็น 2 ไม่เอากันทั้งประเทศให้สมศักดิ์เจียมเจ็บช้ำใจแน่ ๆ
...
หรือลุงใกล้ต้องลาเรา กับคำถามถึงที่มานายกฯ คนใหม่ หาก พล.อ.ประยุทธ์ ต้องพ้นวาระ 8 ปี
5 พ.ค. 65
รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์
ไทยรัฐพลัส
ไทยรัฐพลัส
Summary
‘ความมั่นคง’ ครั้งนี้ไม่ได้อยู่ในนิยามความมั่นคงของชาติ แต่เป็นความมั่นคงในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
การพูดถึงนายกฯ คนใหม่ และการพ้นตำแหน่งของพลเอกประยุทธ์ ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก ทั้งแรงกดดันจากการชุมนุมขับไล่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทั้งครั้งที่ผ่านมาและกำลังจะมาถึงเมื่อสภาฯ เปิด ความไม่เชื่อถือในการแก้ปัญหาสารพัด มาจนถึงเรื่องทางกฎหมายอย่างวาระนายกฯ 8 ปี ทำให้คาดกันมานานว่า เอาเข้าจริง โอกาสที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องอำลาตำแหน่งผู้นำสูงสุด มีไม่น้อยเลยทีเดียว
- หากนับว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 วาระ 8 ปีคือวันที่ 24 สิงหาคม 2565 เท่ากับว่าพลเอกประยุทธ์จะเป็นนายกฯ ได้ถึงวันนั้น
- ในการสรรหานายกฯ สำรอง ต้องใช้บัญชีรายชื่อนายกฯ เดิมของพรรคการเมืองที่ยื่นกับ กกต. ในการเลือกตั้งปี 2562
- หากในรายชื่อนั้นไม่มีผู้ใดเหมาะสม รัฐธรรมนูญ 2560 เปิดช่องให้ที่ประชุมสภาสามารถโหวตให้มีนายกฯ คนนอกได้ และชื่อที่ปรากฏขึ้นคือ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
‘ความมั่นคง’ ครั้งนี้ไม่ได้อยู่ในนิยามความมั่นคงของชาติ แต่เป็นความมั่นคงในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
การพูดถึงนายกฯ คนใหม่ และการพ้นตำแหน่งของพลเอกประยุทธ์ ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก ทั้งแรงกดดันจากการชุมนุมขับไล่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทั้งครั้งที่ผ่านมาและกำลังจะมาถึงเมื่อสภาฯ เปิด ความไม่เชื่อถือในการแก้ปัญหาสารพัด มาจนถึงเรื่องทางกฎหมายอย่างวาระนายกฯ 8 ปี ทำให้คาดกันมานานว่า เอาเข้าจริง โอกาสที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องอำลาตำแหน่งผู้นำสูงสุด มีไม่น้อยเลยทีเดียว
ถ้าพลเอกประยุทธ์ประกาศลาออก นายกฯคนใหม่ หาจากไหนได้บ้าง
ปัญหาข้อกฎหมาย การห้ามเป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี ของรัฐธรรมนูญ 2560
วาระนายกฯ ของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดเมื่อไร กับการตีความกฎหมายกลับตาลปัตร
วาระ 8 ปี ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 158 ระบุว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้…”
แล้วพลเอกประยุทธ์เป็นนายกฯ มาตั้งแต่เมื่อไร
คำตอบเบื้องต้นคือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 หากนับจากวันนั้น วาระ 8 ปีคือวันที่ 24 สิงหาคม 2565 เท่ากับว่า ในปีนี้ ‘ลุง’ จะลาเรา ใช่หรือไม่
แต่คำตอบจากฝ่ายกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรออกมาเมื่อปลายปี 2564 ว่า - ไม่ใช่ๆ โดยระบุว่า ระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ห้ามมิให้นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปีนั้น ไม่ได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่พลเอกประยุทธ์เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากเริ่มนับตั้งแต่วันที่ พลเอกประยุทธ์ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคือวันที่ 9 มิถุนายน 2562
ดังนั้น ตามแนวทางนี้ พลเอกประยุทธ์ จึงเป็นนายกรัฐมนตรีได้จนถึงปี 2570
หรืออีกแนวทางหนึ่งคือ ในเมื่อเป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2560 ก็ต้องเริ่มนับเวลาดำรงตำแหน่งของ พลเอกประยุทธ์ ตั้งแต่ตอนที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้คือ วันที่ 6 เมษายน 2560 โดยก่อนหน้าประกาศใช้รัฐธรรมนูญต้องไม่นับรวมเข้ามาด้วย ถ้าเป็นตามนี้ พลเอกประยุทธ์ก็จะสามารถเป็นนายกฯ ได้ต่อเนื่องถึงปี 2568
อย่างไรก็ตาม บทสรุปของวาระนายกฯ 8 ปีจะตกไปอยู่ที่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องนี้น่าจะกลายเป็นประเด็นร้อนอีกครั้งเมื่อใกล้ถึงวันที่ 24 สิงหาคม ว่าหลังจากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจะตีความออกมาในรูปแบบไหน พลเอกประยุทธ์จะไป หรือได้อยู่ต่อ
นายกฯ คนใหม่มาจากไหน
เมื่อวาระ 8 ปี กลายเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่อาจจะน่ากลัวกว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งสุดท้ายที่ฝ่ายค้านน่าจะขอยื่นญัตติอภิปรายฯ ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ จึงทำให้เรื่องนี้กลายเป็นคำถามที่ต้องเอามาพูดกันจริงจังอีกครั้ง “นายกฯ คนใหม่หาจากไหนได้บ้าง”
หากพลเอกประยุทธ์ ต้องพ้นวาระ 8 ปี ในเดือนสิงหาคม ก็ต้องย้อนไปดูบัญชีรายชื่อนายกฯ สำรองจากแคนดิเดตตัวแทนพรรคต่างๆ ที่มีผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส. มากกว่า 25 คน และเคยยื่นไว้กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อปี 2562 ดังนี้
พรรคพลังประชารัฐ: พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
พรรคเพื่อไทย: สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, ชัยเกษม นิติสิริ
พรรคอนาคตใหม่: ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
พรรคภูมิใจไทย: อนุทิน ชาญวีรกูล
พรรคประชาธิปัตย์: อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จะเห็นได้ว่า ในรายชื่อแคนดิเดตของ กกต. มีหลายคนอยู่นอกสารบบ ถูกกาชื่อทิ้ง และตัดสิทธิทางการเมือง จนเหลือแค่ไม่กี่รายชื่อ ซึ่งก็ดูเหมือนจะไม่ใช่ตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับสถานการณ์ตอนนี้ ชัยเกษม นิติสิริ มาจากฝ่ายค้านเพื่อไทย คงไม่ได้มานำรัฐบาล หากเป็น อนุทิน ชาญวีรกูล คนไทยก็คงร้อนๆ หนาวๆ และก็คงหนาวๆ ร้อนๆ เช่นกันหากชื่อที่ถูกหยิบมาเป็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ…
เอาเป็นว่าถ้าบัญชีนายกฯ ไม่ถูกใจ ทำอย่างไรต่อ
วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามนี้กับผู้สื่อข่าว เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ว่า ชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ต้องเรียกประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ภายใน 3-7 วัน หลังการยุติการทำหน้าที่ของนายกฯ คนเก่า แต่ระหว่างนั้นก็ต้องมีนายกฯ รักษาการขึ้นมาทำหน้าที่แทน เพราะรัฐบาลไม่สามารถว่างเว้นผู้นำได้
“ประเทศจะว่างเว้นนายกฯ ไม่ได้ มันก็ต้องมีคนใดคนหนึ่งรักษาการ …สมมติว่ามีคำวินิจฉัยว่าครบ 8 ปี ผู้รักษาการก็เป็นไปตามลำดับที่มีการเรียงไว้ คนที่หนึ่งคือท่านพลเอกประวิตร คนที่สองผม”
และเมื่อถึงขั้นตอนต้องโหวตหานายกฯ คนใหม่ แต่ไม่เอาจากบัญชีรายชื่อแคนดิเดตเก่า ทำอย่างไรต่อ
รัฐธรรมนูญมาตรา 272 ที่ให้อำนาจ ส.ว. ในการโหวตนายกฯ ระบุไว้ว่า “หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88”
เท่ากับว่า นี่คือการเปิดช่องให้มี ‘นายกฯ คนนอก’ ได้ โดยขั้นตอนจะเป็นดังนี้
1. ส.ส. และ ส.ว. ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของรัฐสภา หรือ 376 คน เข้าชื่อเพื่อขอให้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีของแต่ละพรรคการเมืองได้
2. ส.ส. และ ส.ว. ประชุมร่วมกัน และลงมติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของรัฐสภา หรือ 500 คน เพื่ออนุมัติการเสนอชื่อนายกฯ นอกบัญชีของพรรคการเมือง
3. ส.ส. และ ส.ว. มากกว่าครึ่งหนึ่งของรัฐสภาลงมติเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งนายกฯ
และนายกฯ คนใหม่ที่มาจาก ‘คนนอก’ จะอยู่ในตำแหน่งได้ถึงเดือนมีนาคม 2566 หรือครบวาระ 4 ปี ของสภาฯ
ทำไมต้องเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
ไม่ว่าจะเพราะระเบิดเวลาวาระ 8 ปี หรือภัยทางตรงที่อาจนำอุบัติเหตุทางการเมืองมาสู่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่เชื่อกันว่าจะเป็นการระดมพลจัดหนักที่สุดของฝ่ายค้าน จนผลสุดท้ายพลเอกประยุทธ์ต้องลงจากเก้าอี้นายกฯ ชื่อหนึ่งที่ถูกพูดถึงทุกครั้งสำหรับการเป็นนายกฯ คนใหม่ ก็คือ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
พลเอกประวิตร ปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้อยู่ในบัญชีนายกฯ ของพรรค เนื่องจากปี 2562 พลังประชารัฐตัดสินใจชูเรื่อง ‘เลือกความสงบ จบที่ลุงตู่’ เพียงหนึ่งเดียว จึงไม่สามารถเป็นนายกฯ สำรองได้
อย่างไรก็ตาม ด้วยตำแหน่งรองนายกฯ พลเอกประวิตรสามารถเป็นนายกฯ รักษาการได้ แต่ก็เป็นเพียง ‘รักษาการ’ ในช่วงสรรหาและโหวตเลือกนายกฯ คนใหม่
กรณีที่คาดว่ามีความเป็นไปได้ หากไม่เจอรายชื่อที่เหมาะสมจากแคนดิเดตปี 2562 พลเอกประวิตรจะยืนหนึ่งเป็น ‘นายกฯ คนนอก’ ให้ที่ประชุมร่วมสองสภาโหวตว่าจะเอา …หรือไม่เอา
เป็นแกนนำพรรค เป็นนักประสานประโยชน์ เป็นพี่ใหญ่สายทหาร ที่มีอิทธิพลในสองสภา ทั้งกับ ส.ส. และ ส.ว. 250 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลผู้มียศนำหน้า และมีบทบาทในการเลือกนายกฯ ขาลงของพลเอกประยุทธ์อาจกลายเป็นขาขึ้นของพลเอกประวิตร ก็เป็นไปได้
จินตนาการแบบ worst case scenario หากเรื่องทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจริง มองไปที่การเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราจะไม่ได้เห็นชื่อของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะแคนดิเดตนายกฯ ของพลังประชารัฐ แต่เป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่นอกจากเป็นได้ทั้งนายกฯ รักษาการ นายกฯ คนนอก ยังจะสามารถเป็นแคนดิเดตนายกฯ ตัวจริงในอนาคต พร้อมให้ ส.ส. โหวต และให้ ส.ว. ได้ทำหน้าที่ในปีที่ 5 ซึ่งเป็นปีสุดท้าย กับการขานชื่อนายกฯ คนใหม่ “พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ”
ปัญหาข้อกฎหมาย การห้ามเป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี ของรัฐธรรมนูญ 2560
วาระนายกฯ ของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดเมื่อไร กับการตีความกฎหมายกลับตาลปัตร
วาระ 8 ปี ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 158 ระบุว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้…”
แล้วพลเอกประยุทธ์เป็นนายกฯ มาตั้งแต่เมื่อไร
คำตอบเบื้องต้นคือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 หากนับจากวันนั้น วาระ 8 ปีคือวันที่ 24 สิงหาคม 2565 เท่ากับว่า ในปีนี้ ‘ลุง’ จะลาเรา ใช่หรือไม่
แต่คำตอบจากฝ่ายกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรออกมาเมื่อปลายปี 2564 ว่า - ไม่ใช่ๆ โดยระบุว่า ระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ห้ามมิให้นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปีนั้น ไม่ได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่พลเอกประยุทธ์เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากเริ่มนับตั้งแต่วันที่ พลเอกประยุทธ์ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคือวันที่ 9 มิถุนายน 2562
ดังนั้น ตามแนวทางนี้ พลเอกประยุทธ์ จึงเป็นนายกรัฐมนตรีได้จนถึงปี 2570
หรืออีกแนวทางหนึ่งคือ ในเมื่อเป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2560 ก็ต้องเริ่มนับเวลาดำรงตำแหน่งของ พลเอกประยุทธ์ ตั้งแต่ตอนที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้คือ วันที่ 6 เมษายน 2560 โดยก่อนหน้าประกาศใช้รัฐธรรมนูญต้องไม่นับรวมเข้ามาด้วย ถ้าเป็นตามนี้ พลเอกประยุทธ์ก็จะสามารถเป็นนายกฯ ได้ต่อเนื่องถึงปี 2568
อย่างไรก็ตาม บทสรุปของวาระนายกฯ 8 ปีจะตกไปอยู่ที่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องนี้น่าจะกลายเป็นประเด็นร้อนอีกครั้งเมื่อใกล้ถึงวันที่ 24 สิงหาคม ว่าหลังจากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจะตีความออกมาในรูปแบบไหน พลเอกประยุทธ์จะไป หรือได้อยู่ต่อ
นายกฯ คนใหม่มาจากไหน
เมื่อวาระ 8 ปี กลายเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่อาจจะน่ากลัวกว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งสุดท้ายที่ฝ่ายค้านน่าจะขอยื่นญัตติอภิปรายฯ ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ จึงทำให้เรื่องนี้กลายเป็นคำถามที่ต้องเอามาพูดกันจริงจังอีกครั้ง “นายกฯ คนใหม่หาจากไหนได้บ้าง”
หากพลเอกประยุทธ์ ต้องพ้นวาระ 8 ปี ในเดือนสิงหาคม ก็ต้องย้อนไปดูบัญชีรายชื่อนายกฯ สำรองจากแคนดิเดตตัวแทนพรรคต่างๆ ที่มีผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส. มากกว่า 25 คน และเคยยื่นไว้กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อปี 2562 ดังนี้
พรรคพลังประชารัฐ: พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
พรรคเพื่อไทย: สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, ชัยเกษม นิติสิริ
พรรคอนาคตใหม่: ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
พรรคภูมิใจไทย: อนุทิน ชาญวีรกูล
พรรคประชาธิปัตย์: อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จะเห็นได้ว่า ในรายชื่อแคนดิเดตของ กกต. มีหลายคนอยู่นอกสารบบ ถูกกาชื่อทิ้ง และตัดสิทธิทางการเมือง จนเหลือแค่ไม่กี่รายชื่อ ซึ่งก็ดูเหมือนจะไม่ใช่ตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับสถานการณ์ตอนนี้ ชัยเกษม นิติสิริ มาจากฝ่ายค้านเพื่อไทย คงไม่ได้มานำรัฐบาล หากเป็น อนุทิน ชาญวีรกูล คนไทยก็คงร้อนๆ หนาวๆ และก็คงหนาวๆ ร้อนๆ เช่นกันหากชื่อที่ถูกหยิบมาเป็น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ…
เอาเป็นว่าถ้าบัญชีนายกฯ ไม่ถูกใจ ทำอย่างไรต่อ
วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามนี้กับผู้สื่อข่าว เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ว่า ชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ต้องเรียกประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ภายใน 3-7 วัน หลังการยุติการทำหน้าที่ของนายกฯ คนเก่า แต่ระหว่างนั้นก็ต้องมีนายกฯ รักษาการขึ้นมาทำหน้าที่แทน เพราะรัฐบาลไม่สามารถว่างเว้นผู้นำได้
“ประเทศจะว่างเว้นนายกฯ ไม่ได้ มันก็ต้องมีคนใดคนหนึ่งรักษาการ …สมมติว่ามีคำวินิจฉัยว่าครบ 8 ปี ผู้รักษาการก็เป็นไปตามลำดับที่มีการเรียงไว้ คนที่หนึ่งคือท่านพลเอกประวิตร คนที่สองผม”
และเมื่อถึงขั้นตอนต้องโหวตหานายกฯ คนใหม่ แต่ไม่เอาจากบัญชีรายชื่อแคนดิเดตเก่า ทำอย่างไรต่อ
รัฐธรรมนูญมาตรา 272 ที่ให้อำนาจ ส.ว. ในการโหวตนายกฯ ระบุไว้ว่า “หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88”
เท่ากับว่า นี่คือการเปิดช่องให้มี ‘นายกฯ คนนอก’ ได้ โดยขั้นตอนจะเป็นดังนี้
1. ส.ส. และ ส.ว. ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของรัฐสภา หรือ 376 คน เข้าชื่อเพื่อขอให้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีของแต่ละพรรคการเมืองได้
2. ส.ส. และ ส.ว. ประชุมร่วมกัน และลงมติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของรัฐสภา หรือ 500 คน เพื่ออนุมัติการเสนอชื่อนายกฯ นอกบัญชีของพรรคการเมือง
3. ส.ส. และ ส.ว. มากกว่าครึ่งหนึ่งของรัฐสภาลงมติเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งนายกฯ
และนายกฯ คนใหม่ที่มาจาก ‘คนนอก’ จะอยู่ในตำแหน่งได้ถึงเดือนมีนาคม 2566 หรือครบวาระ 4 ปี ของสภาฯ
ทำไมต้องเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
ไม่ว่าจะเพราะระเบิดเวลาวาระ 8 ปี หรือภัยทางตรงที่อาจนำอุบัติเหตุทางการเมืองมาสู่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่เชื่อกันว่าจะเป็นการระดมพลจัดหนักที่สุดของฝ่ายค้าน จนผลสุดท้ายพลเอกประยุทธ์ต้องลงจากเก้าอี้นายกฯ ชื่อหนึ่งที่ถูกพูดถึงทุกครั้งสำหรับการเป็นนายกฯ คนใหม่ ก็คือ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
พลเอกประวิตร ปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้อยู่ในบัญชีนายกฯ ของพรรค เนื่องจากปี 2562 พลังประชารัฐตัดสินใจชูเรื่อง ‘เลือกความสงบ จบที่ลุงตู่’ เพียงหนึ่งเดียว จึงไม่สามารถเป็นนายกฯ สำรองได้
อย่างไรก็ตาม ด้วยตำแหน่งรองนายกฯ พลเอกประวิตรสามารถเป็นนายกฯ รักษาการได้ แต่ก็เป็นเพียง ‘รักษาการ’ ในช่วงสรรหาและโหวตเลือกนายกฯ คนใหม่
กรณีที่คาดว่ามีความเป็นไปได้ หากไม่เจอรายชื่อที่เหมาะสมจากแคนดิเดตปี 2562 พลเอกประวิตรจะยืนหนึ่งเป็น ‘นายกฯ คนนอก’ ให้ที่ประชุมร่วมสองสภาโหวตว่าจะเอา …หรือไม่เอา
เป็นแกนนำพรรค เป็นนักประสานประโยชน์ เป็นพี่ใหญ่สายทหาร ที่มีอิทธิพลในสองสภา ทั้งกับ ส.ส. และ ส.ว. 250 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลผู้มียศนำหน้า และมีบทบาทในการเลือกนายกฯ ขาลงของพลเอกประยุทธ์อาจกลายเป็นขาขึ้นของพลเอกประวิตร ก็เป็นไปได้
จินตนาการแบบ worst case scenario หากเรื่องทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจริง มองไปที่การเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราจะไม่ได้เห็นชื่อของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะแคนดิเดตนายกฯ ของพลังประชารัฐ แต่เป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่นอกจากเป็นได้ทั้งนายกฯ รักษาการ นายกฯ คนนอก ยังจะสามารถเป็นแคนดิเดตนายกฯ ตัวจริงในอนาคต พร้อมให้ ส.ส. โหวต และให้ ส.ว. ได้ทำหน้าที่ในปีที่ 5 ซึ่งเป็นปีสุดท้าย กับการขานชื่อนายกฯ คนใหม่ “พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ”