Photo credit: https://bit.ly/36RtGM5
เยอรมนี มีเรื่องเล่า
21h ·
เล่าเรื่อง...ทำไมเยอรมนีจึงไม่ขายเครื่องยนต์เรือดำน้ำให้จีน (เพื่อขายให้กับไทย)
.
จากโพสต์ของคุณ Noppakow Kongsuwan ( https://www.facebook.com/Noppakow.kong/posts/1246875539054206 ) เกี่ยวกับเรื่องที่บริษัทเยอรมันไม่ขายเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับเรือดำน้ำให้กับจีนเพื่อใส่ในเรือดำน้ำที่ผลิตและขายให้กับกองทัพเรือไทย ขออนุญาตให้ข้อมูล เผื่อเป็นประโยชน์กับผู้สื่อข่าวและผู้อ่านที่สนใจนะคะ
.
ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเยอรมันมาตรา 26 (2) ว่าด้วยเรื่องการรักษาสันติภาพในระดับนานาชาติ ได้กำหนดไว้ว่าอาวุธสงครามสามารถผลิต เคลื่อนย้าย และจำหน่ายได้ภายใต้การอนุญาตของรัฐบาลเยอรมันเท่านั้น โดยให้มีการออกกฎหมายระดับประเทศเพื่อกำหนดรายละเอียด ซึ่งกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดนั้น ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาวุธสงคราม (Gesetz über die Kontrolle von Kriegswaffen) นั่นเองค่ะ
.
กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาวุธสงคราม (Gesetz über die Kontrolle von Kriegswaffen) มาตราที่ 4a กำหนดไว้ว่า (1) ผู้ใดก็ตามที่จะเป็นตัวแทนการซื้อหรือขาย(โบรกเกอร์) อาวุธสงครามนอกอาณาเขตเยอรมนีต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐบาลเยอรมัน (2) ผู้ที่จะทำการซื้อหรือขายอาวุธสงครามนอกอาณาเขตเยอรมนีต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐบาลเยอรมัน
แปลว่า การซื้อเครื่องยนต์ดีเซลเรือดำน้ำโดยจีน ถ้าบริษัทผู้ผลิตขายให้ จีนจะอยู่ในฐานะผู้ซื้อ แต่เมื่อซื้อไปแล้วจะนำไปใส่เรือดำน้ำของจีนแล้วขายต่อให้ไทย จีนจะกลายเป็นผู้ขายหรือกระทำตนเป็นตัวแทนการซื้อขาย ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลเยอรมันก่อนเท่านั้นค่ะ
.
ข้างต้นนั้นคือตัวกฎหมาย แต่ปัจจัยที่สำคัญมากที่น่าจะทำให้ไม่ได้รับอนุญาตให้มีการซื้อ-ขาย คือ นโยบายด้านการควบคุมการส่งออกอาวุธสงครามของประเทศเยอรมนีค่ะ
.
เยอรมนีมีนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการส่งออกอาวุธสงคราม และไม่มีนโยบายใช้อาวุธสงครามเป็นนโยบายต่างประเทศ ที่ผ่านมาเยอรมนีมีการส่งออกเครื่องยนต์เรือรบและเรือดำน้ำให้กับจีนจริง แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไข dual-use goods หรือเป็นสินค้าที่สามารถใช้ได้ทั้งวัตถุประสงค์ทางพลเรือนและทางการทหาร โดยปกติอาวุธที่ส่งออกในลักษณะ dual-use goods นั้นจะพิจารณาจากศักยภาพการนำไปใช้ สิ่งสำคัญที่เยอรมนียึดถือคืออาวุธที่ขายให้ประเทศปลายทางจะต้องไม่นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการก่อการร้าย รวมถึงจะพิจารณาท่าทีของประเทศปลายทางต่อการรักษาสันติภาพในระดับนานาชาติ โดยรัฐบาลจะพยายามรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการค้าระหว่างประเทศและการบังคับใช้ข้อบังคับต่างๆ
.
และที่สำคัญ คือ รัฐบาลเยอรมันมีนโยบายที่เข้มงวดในการจำกัดการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังประเทศที่ 3 ได้แก่ ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก EU หรือ NATO หรือเทียบเท่า NATO (ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น) ค่ะ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาวุธสงคราม การส่งออกอาวุธสงครามจะได้ต้องรับใบอนุญาต และจะไม่มีการให้ใบอนุญาตนั้นถ้ามีประเทศที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้อง ยกเว้นกรณีพิเศษที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ หรือนโยบายด้านความมั่นคงจึงอาจจะออกใบอนุญาตให้เป็นกรณีพิเศษ
ประเทศที่รับอาวุธสงครามไปจะต้องดูแลรักษาสินค้าให้อยู่ภายในประเทศนั้น (อ้างอิงเรื่องนโยบายด้านการควบคุมการส่งออก (National export controls) จากกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี https://bit.ly/3MbFLMi )
.
เช่นเดียวกับที่เล่าไปเมื่อวานในโพสต์เรื่องเยอรมนีตัดสินใจส่งมิสไซล์และขีปนาวุธให้ยูเครน กรณีที่เนเธอแลนด์ต้องการส่งอาวุธให้ยูเครน แต่เนื่องจากผลิตโดยเยอรมนี ทางเนเธอแลนด์จึงต้องขออนุญาตรัฐบาลเยอรมันก่อนจึงจะทำการส่งให้ยูเครนซึ่งเป็นประเทศที่ 3 ได้ค่ะ ในกรณีของจีนที่ขอซื้อเครื่องยนต์เรือดำน้ำ เมื่อซื้อแล้วจะนำไปใส่เรือดำน้ำแล้วขายให้กับไทย ไทยถือเป็นประเทศที่ 3 จึงต้องได้รับการยินยอมจากรัฐบาลเยอรมันก่อน จีนจึงจะขายให้กับไทยได้ค่ะ
.
ผู้เขียนพบบทความรายงานเกี่ยวกับกรณีเครื่องยนต์เรือดำน้ำนี้จากเว็บไซต์ militaryleak ( https://bit.ly/35fIqnd ) ที่ระบุว่า the German supplier of submarine engines refused to sell one to China after learning that it would use the engine for assembling a new submarine for sale to another country. คือทางบริษัทผู้ผลิตปฏิเสธที่จะขายเครื่องยนต์เรือดำน้ำให้กับจีนภายหลังจากที่ได้ทราบว่าอาจถูกนำไปใช้ประกอบในเรือดำน้ำใหม่เพื่อขายให้กับประเทศอื่น จึงอาจเป็นไปได้ว่าตอนที่จีนขอซื้อไม่ได้แจ้งว่าจะนำไปทำอะไรและขายต่อให้ใคร ต่อมาเมื่อทางบริษัทได้ทราบข้อมูลดังกล่าวจึงปฏิเสธการขาย เพราะด้วยนโยบายไม่ให้มีการส่งออกอาวุธไปยังประเทศที่ 3 เมื่อไม่มีการแจ้งขออนุญาต แต่มาทราบเอง รัฐบาลเยอรมันจึงไม่น่าอนุญาตให้มีการขายให้กับจีน(ผู้ขอซื้อ) แต่แม้จะขออนุญาต การขายต่อให้ประเทศที่ 3 ก็อาจจะไม่ได้รับการอนุญาตจากรัฐบาลเยอรมันอยู่ดี เพราะขัดกับนโยบายการควบคุมการส่งออกอาวุธสงครามนั่นเองค่ะ
โพสต์จากคุณนพเก้า คงสุวรรณ
https://www.facebook.com/Noppakow.kong/posts/1246875539054206
รัฐธรรมนูญเยอรมันมาตราที่ 26 ว่าด้วยเรื่องการรักษาสันติภาพในระดับนานาชาติ
กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาวุธสงคราม
นโยบายด้านการควบคุมการส่งออก (National export controls) จากกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี
https://bit.ly/33WFXgU
...
German Embassy Says About MTU Engines of S26T Submarines to Royal Thai Navy
Philipp Doert, German Federal Military Attaché to Thailand told the Bangkok Post newspaper regarding the country where Germany has not issued an export license or Export License of the MTU engine that will be set up with the Royal Thai Navy’s S26T submarine that is being built in China, Chinese authorities have not contacted Germany before offering the MTU engines as part of its submarines until a contract between Thailand and China has been signed. A source in the Royal Thai Navy told the Bangkok Post that the offer was made because China has encountered problems in attempting to purchase a submarine engine from MTU in Germany for the S26T Yuan-class submarine being assembled in Wuhan for the Royal Thai Navy.
Aside from the good relations between Thailand and China, the secondhand submarine offer was made partly because the German supplier of submarine engines refused to sell one to China after learning that it would use the engine for assembling a new submarine for sale to another country. As negotiations continue, the delivery, previously scheduled for September next year, may have to be postponed until April 2024. Deputy Prime Minister Gen Prawit Wongsuwan initiated the purchase when he was defense minister. The Bangkok Post reported that Royal Thai Navy chief Adm Somprasong Nilsamai confirmed that China made an informal offer to provide the Royal Thai Navy with two used submarines to train staff while waiting for the first of its order of Chinese-made submarines to be delivered.
People’s Liberation Army Navy Type 039 (NATO reporting name: Song-class) Submarines
On 2 July 2015, the Royal Thai Navy formally selected China’s Yuan-class (Type 041) platform to meet a requirement for three submarines. The Navy’s procurement committee voted unanimously in favor of purchasing the submarine, which has been designated S26T (Thailand), a modified export version of the Yuan class. On 1 July 2016, the Royal Thai Navy submitted a funding plan for its 36 billion baht submarine procurement project to the cabinet for consideration with the expenditure to be spread over 11 years. The steel cutting ceremony of the first S26T submarine was held on 4 September 2018 in Wuhan, China.
The Type 039A submarine (NATO reporting name: Yuan class) is a class of diesel-electric submarine in China’s People’s Liberation Army Navy. It is China’s first AIP-powered submarine and is presumed to be one of the quietest diesel-electric submarine classes in service. This class is the successor of the Type 039 submarine. The official Chinese designation is 039A as the ship is based on the 039 class, but as the 039A has very little resemblance to the 039 it is commonly referred to as Type 041. The engine is built by Shanghai Qiyao Propulsion Technology Ltd., a wholly-owned subsidiary of the 711th Institute. This 039A class is equipped with an air-independent propulsion system developed by the 711th Research Institute of the China Shipbuilding Heavy Industry Group Corp.
Source: Military Leak