Siripan Nogsuan Sawasdee
March 15 at 9:03 AM ·
ปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลต้องยุบสภาก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจคือ
1. ความแตกแยกระหว่าง 2 ป. ซึ่งทั้ง 3 ป. รู้ดีว่า ถ้าขัดแย้งกันเอง ต่างคนต่างจบไม่สวย
2. ผลประโยชน์ไม่ลงตัวในพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งขณะนี้ดูแล้วก็ไม่น่ามีอะไรที่ยอมกันไม่ได้
ส่วนกลุ่ม รอ.ธรรมนัส 16 เสียง มีไม่มากพอที่จะโค่นรัฐบาลในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากไม่ได้ 10 เสียง ของพรรคเล็ก มาร่วมวงศ์ไพบูลย์ด้วย
ตอนนี้พรรค 1 ที่นั่ง 8 พรรค และพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 ที่นั่ง เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มพรรคที่มี "blackmail potential" อยู่เต็มพิกัด กล่าวคือ ถ้าถอนการสนับสนุนจะทำให้รัฐบาลล้มได้
พรรคเหล่านี้ ต่างก็รู้ดีว่าเลือกตั้งครั้งหน้า โอกาสที่จะชนะเลือกตั้งในระบบบัตร 2 ใบ เป็นไปได้ยากยิ่ง นี่อาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้ "บริหารเสน่ห์" และเนื้อหอมขนาดนี้
พรรคเล็กย่อมไม่อยากยุบสภา ยิ่งกว่าพรรคใดทั้งหลายทั้งปวง
การอภิปรายไม่ไว้วางใจในเดือน พ.ค. - มิ.ย. นี้ จึงลุ้นไม่ได้มากนัก ว่า พลเอกประยุทธ์จะมีความเสี่ยงถึงกับต้องยุบสภาหนี
ส่วนจะยุบหนีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่องวาระในการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ก็ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะรัฐบาลคงมั่นใจว่า คำวินิจฉัยจะเป็นคุณต่อรัฐบาล
แต่จากนี้ ถึงเดือนสิงหาคม อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ หรือแม้แต่คำถามว่า
คำวินิจฉัยเองจะมีความชอบธรรมพอที่จะแบกรับรัฐบาลไว้ได้หรือไม่
หากรัฐบาลอยู่รอดไปจนเดือนพฤศจิกายนเพื่อจัดงาน APEC ก็คงยุบสภาหลังงานเสร็จ ตามที่ พลเอกประวิตร เปรยวันนี้ เพื่อเปิดช่องให้มีการย้ายพรรค เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคแค่ 30 วัน ไม่ใช่ 90 วันเหมือนรัฐบาลอยู่ครบวาระ
อดคิดไม่ได้ว่า เรื่องอำนาจต่อรองอันสูงลิ่วของพรรค 1 ที่นั่ง สะท้อน "ความวิปลาส" ของระบบการเมือง อันเป็นผลมาจากการออกแบบรัฐธรรมนูญ และระบบเลือกตั้ง ที่มุ่งลดอิทธิพลของพรรคใหญ่
พรรค พปชร. ที่ต้อง "ดูแล" พรรคเล็กมาตลอด รู้ซึ้งถึงปัญหานี้ดีกว่าใครและ นั่นคือ "เหตุผลหนึ่ง"ในการแก้ไขระบบเลือกตั้ง ก็เพื่อกำจัดพรรคเล็ก