เจ้าหน้าที่กู้ภัยยูเครนเดินผ่านรถถังรัสเซียที่ถูกโจมตีเสียหายในแคว้นซูมี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครน
นายดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซีย ระบุว่า ยังไม่มีความคืบหน้าสำคัญเกิดขึ้นในการเจรจาสันติภาพระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี นับเป็นการดับความหวังว่าการเจรจาจะนำไปสู่การสงบศึก
นายเปสคอฟ ระบุว่า รัสเซียใช้ความระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นต่อการเจรจาครั้งนี้ เพราะ "เราเชื่อว่าการเจรจาควรมีขึ้นในทางลับ" แต่ระบุว่าหัวหน้าคณะเจรจาของรัสเซียจะเป็นผู้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเจรจา พร้อมกันนี้ได้ย้ำว่า ไครเมีย ซึ่งรัสเซียผนวกเข้าเป็นของตนเมื่อปี 2014 คือ "ส่วนหนึ่งของรัสเซีย" และรัฐธรรมนูญของรัสเซียบัญญัติไว้ว่าไม่สามารถเจรจาต่อรองถึงอนาคตของดินแดนรัสเซียกับผู้ใดได้
ปูตินชี้จะหยุดโจมตีก็ต่อเมื่อมาริอูโปลยอมแพ้แล้วเท่านั้น
ทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซียแถลงว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ได้กล่าวต่อประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ว่า การโจมตีเมืองท่ามาริอูโปลทางภาคใต้ของยูเครนจะยุติลงก็ต่อเมื่อทหารยูเครนยอมจำนน
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสระบุว่า นายปูตินยอมพิจารณาแผนการอพยพพลเรือนออกจากเมือง เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม และการแพทย์ที่จำเป็น
รัสเซียยังไม่หยุดโจมตี แม้ประกาศถอนทหาร
นายเวียเชสสลาฟ ชาอุส ผู้ว่าการแคว้นแชร์นีฮิฟ เปิดเผยกับบีบีซีว่า รัสเซียยังคงระดมโจมตีเมืองเอกของแคว้นอย่างต่อเนื่องในวันนี้ (30 มี.ค.) รวมทั้งพื้นที่โดยรอบกรุงเคียฟ แม้รัสเซียจะประกาศในการเจรจาสันติภาพที่ประเทศตุรกี เมื่อ 29 มี.ค.ว่าจะ "ถอนปฏิบัติการรบครั้งใหญ่" ในพื้นที่รอบกรุงเคียฟ และเมืองแชร์นีฮิฟ
"ขณะที่เรากำลังคุยกันในตอนนี้ ผมยังได้ยินเสียงที่ผมเชื่อว่าเป็นเสียงยิงปืนครก" เขาระบุว่า แชร์นีฮิฟ และเมืองนิซฮิน ถูกโจมตีเมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้อาคารที่พักอาศัยของพลเรือนได้รับความเสียหาย
"เราไม่เชื่อ [พวกรัสเซีย] เพราะเราไม่เคยเห็นเลยว่ากองทัพของพวกเขาจะรักษาคำพูด" นายชาอุส กล่าว
บีบีซีไม่สามารถยืนยันข้อมูลดังกล่าวได้ แม้จะมีรายงานว่าชาวบ้านได้ยินเสียงการโจมตีตั้งแต่คืน 29 มี.ค.จนถึง 30 มี.ค. ก็ตาม
นายดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซีย ระบุว่า ยังไม่มีความคืบหน้าสำคัญเกิดขึ้นในการเจรจาสันติภาพระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี นับเป็นการดับความหวังว่าการเจรจาจะนำไปสู่การสงบศึก
นายเปสคอฟ ระบุว่า รัสเซียใช้ความระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นต่อการเจรจาครั้งนี้ เพราะ "เราเชื่อว่าการเจรจาควรมีขึ้นในทางลับ" แต่ระบุว่าหัวหน้าคณะเจรจาของรัสเซียจะเป็นผู้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเจรจา พร้อมกันนี้ได้ย้ำว่า ไครเมีย ซึ่งรัสเซียผนวกเข้าเป็นของตนเมื่อปี 2014 คือ "ส่วนหนึ่งของรัสเซีย" และรัฐธรรมนูญของรัสเซียบัญญัติไว้ว่าไม่สามารถเจรจาต่อรองถึงอนาคตของดินแดนรัสเซียกับผู้ใดได้
ปูตินชี้จะหยุดโจมตีก็ต่อเมื่อมาริอูโปลยอมแพ้แล้วเท่านั้น
ทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซียแถลงว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ได้กล่าวต่อประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ว่า การโจมตีเมืองท่ามาริอูโปลทางภาคใต้ของยูเครนจะยุติลงก็ต่อเมื่อทหารยูเครนยอมจำนน
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสระบุว่า นายปูตินยอมพิจารณาแผนการอพยพพลเรือนออกจากเมือง เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม และการแพทย์ที่จำเป็น
รัสเซียยังไม่หยุดโจมตี แม้ประกาศถอนทหาร
นายเวียเชสสลาฟ ชาอุส ผู้ว่าการแคว้นแชร์นีฮิฟ เปิดเผยกับบีบีซีว่า รัสเซียยังคงระดมโจมตีเมืองเอกของแคว้นอย่างต่อเนื่องในวันนี้ (30 มี.ค.) รวมทั้งพื้นที่โดยรอบกรุงเคียฟ แม้รัสเซียจะประกาศในการเจรจาสันติภาพที่ประเทศตุรกี เมื่อ 29 มี.ค.ว่าจะ "ถอนปฏิบัติการรบครั้งใหญ่" ในพื้นที่รอบกรุงเคียฟ และเมืองแชร์นีฮิฟ
"ขณะที่เรากำลังคุยกันในตอนนี้ ผมยังได้ยินเสียงที่ผมเชื่อว่าเป็นเสียงยิงปืนครก" เขาระบุว่า แชร์นีฮิฟ และเมืองนิซฮิน ถูกโจมตีเมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้อาคารที่พักอาศัยของพลเรือนได้รับความเสียหาย
"เราไม่เชื่อ [พวกรัสเซีย] เพราะเราไม่เคยเห็นเลยว่ากองทัพของพวกเขาจะรักษาคำพูด" นายชาอุส กล่าว
บีบีซีไม่สามารถยืนยันข้อมูลดังกล่าวได้ แม้จะมีรายงานว่าชาวบ้านได้ยินเสียงการโจมตีตั้งแต่คืน 29 มี.ค.จนถึง 30 มี.ค. ก็ตาม
ยูเครนไม่เชื่อรัสเซียจะถอนทหาร หวั่นเป็นกลลวงเพื่อสับเปลี่ยนกำลังพล
พลเรือนหลายร้อยคนถูกสังหารที่เมืองแชร์นีฮิฟขณะถูกกองกำลังรัสเซียปิดล้อม
ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กล่าวแสดงความไม่เชื่อถือในข้อเสนอของรัสเซีย ซึ่งให้คำมั่นระหว่างการเจรจาสันติภาพที่ประเทศตุรกีเมื่อวานนี้ว่า จะถอนกำลังทหารจำนวนมากออกจากพื้นที่โดยรอบกรุงเคียฟและเมืองแชร์นีฮิฟ รวมทั้งจะลดระดับปฏิบัติการทางทหารลง เพื่อแสดงความจริงใจในการเจรจาดังกล่าว
"ชาวยูเครนไม่ได้ไร้เดียงสา เราเคยได้รับบทเรียนมาแล้วจากการรุกรานของรัสเซียตลอด 34 วันนี้ และจากสงครามในภูมิภาคดอนบาสตลอดช่วง 8 ปีที่ผ่านมา สิ่งเดียวที่เราจะเชื่อถือได้ก็คือ ผลการเจรจาที่เป็นรูปธรรม"
ผู้นำยูเครนยังย้ำว่า ไม่มีเหตุผลอันใดที่เขาจะต้องเชื่อในคำพูดของผู้แทนเจรจาจากรัสเซียบางราย
"แม้เราอาจจะพูดได้ว่าการเจรจาส่งสัญญาณในทางบวก แต่สัญญาณที่ดีเหล่านี้ไม่ได้ดึงเอาระเบิดหรือกระสุนปืนใหญ่ของรัสเซียออกไปด้วย"
ด้านกองบัญชาการกองทัพยูเครนออกมาแถลงเช่นกันว่า คำมั่นสัญญาเรื่องการถอนกำลังทหารของรัสเซีย อาจเป็นกลลวงที่ตั้งใจสร้างความไขว้เขวให้กับฝ่ายยูเครน แม้ขณะนี้หลายหน่วยรบของรัสเซียจะกำลังถอยร่นออกห่างกรุงเคียฟและเมืองแชร์นีฮิฟจริงก็ตาม
"นี่อาจเป็นเพียงการหมุนเวียนสับเปลี่ยนกำลังพลของบางหน่วยรบเท่านั้น" กองบัญชาการกองทัพยูเครนกล่าว ทั้งยังชี้ว่านี่คือแผนการที่จะทำให้เหล่าผู้บัญชาการทหารของยูเครนสับสน เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับจุดประสงค์ของการวางกำลังทหารรูปแบบใหม่ของรัสเซีย ในขณะที่ยังคงมีการระดมโจมตีภูมิภาคโดเนตสก์ทางตะวันออก และเมืองไมโคลายิฟทางตอนใต้ของยูเครนอย่างไม่หยุดยั้ง
ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน
ถ้อยแถลงดังกล่าวของกองทัพยูเครน สอดคล้องกับที่นายจอห์น เคอร์บี โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่า กรุงเคียฟยังคงอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย และยังคงมีการโจมตีทางอากาศอย่างหนักที่บริเวณชานเมือง แม้กองกำลังรัสเซียส่วนใหญ่จะได้ถอยห่างออกไปแล้วก็ตาม
บรรดาผู้นำชาติตะวันตกต่างแสดงความเคลือบแคลงสงสัยต่อเจตนาของรัสเซีย โดยประธานาธิบดีโจ ไบเด็น ของสหรัฐฯ บอกว่า ยังคงต้องรอดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสมรภูมิกันต่อไป เพื่อพิสูจน์ว่าคำมั่นที่รัสเซียให้ไว้จะเป็นจริงหรือไม่ ส่วนนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของสหราชอาณาจักร กล่าวว่า "เราจะตัดสินปูตินและระบอบการปกครองของเขาด้วยการกระทำ ไม่ใช่คำพูด"
ด้านผู้นำชาติยุโรปซึ่งรวมถึงผู้นำของเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลีต่างเห็นพ้องกันว่า พันธมิตรชาติตะวันตกยังไม่ควรจะลดการระแวดระวังภัยจากรัสเซีย จนกว่าความโหดร้ายรุนแรงที่กระทำต่อชาวยูเครนจะยุติลง
ก่อนหน้านี้นายวลาดิเมียร์ เมดินสกี หัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาของรัสเซียระบุว่า จะนำข้อเสนอของยูเครนเรื่องการมีสถานะเป็นกลางในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ แจ้งต่อประธานาธิบดีปูตินเพื่อพิจารณาต่อไป แต่ก่อนที่ผู้นำทั้งสองประเทศจะสามารถพบปะเจรจากันตัวต่อตัวตามที่ผู้นำยูเครนร้องขอได้นั้น จะต้องมีการร่างสนธิสัญญาที่ทั้งสองประเทศเห็นชอบขึ้นเสียก่อน และต้องมีการลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายก่อนด้วย
กองกำลังยูเครนในทางตะวันออกของกรุงเคียฟ เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา
ในการเจรจาสันติภาพครั้งนี้ ฝ่ายรัสเซียไม่ได้หยิบยกข้อเรียกร้องเดิมเรื่องให้ยูเครนลดอาวุธ หรือเรื่อง "ปลดปล่อยยูเครนจากนาซี" ขึ้นมาพูดอีกแต่อย่างใด
ส่วนคณะผู้แทนเจรจาของฝ่ายยูเครนนั้น ได้ยื่นข้อเสนอสำคัญชุดใหม่ซึ่งจะทำให้ยูเครนสามารถเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ได้ แม้จะต้องงดเว้นการเข้าเป็นสมาชิกนาโตก็ตาม ทั้งยังเสนอทางออกเรื่องบูรณภาพทางดินแดน ซึ่งจะเปิดทางให้เกิดข้อตกลงหยุดยิงได้โดยยังไม่ต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญดังกล่าวในทันที โดยข้อเสนอของยูเครนมีดังต่อไปนี้
ในการเจรจาสันติภาพครั้งนี้ ฝ่ายรัสเซียไม่ได้หยิบยกข้อเรียกร้องเดิมเรื่องให้ยูเครนลดอาวุธ หรือเรื่อง "ปลดปล่อยยูเครนจากนาซี" ขึ้นมาพูดอีกแต่อย่างใด
ส่วนคณะผู้แทนเจรจาของฝ่ายยูเครนนั้น ได้ยื่นข้อเสนอสำคัญชุดใหม่ซึ่งจะทำให้ยูเครนสามารถเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ได้ แม้จะต้องงดเว้นการเข้าเป็นสมาชิกนาโตก็ตาม ทั้งยังเสนอทางออกเรื่องบูรณภาพทางดินแดน ซึ่งจะเปิดทางให้เกิดข้อตกลงหยุดยิงได้โดยยังไม่ต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญดังกล่าวในทันที โดยข้อเสนอของยูเครนมีดังต่อไปนี้
- ยูเครนจะมีสถานะเป็นรัฐปลอดนิวเคลียร์ ทั้งไม่เข้าเป็นสมาชิกของแนวร่วมทางการเมืองระหว่างประเทศใด ๆ และจะไม่มีการตั้งฐานทัพของต่างชาติในดินแดนยูเครน
- จะต้องมีการรับประกันความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ยูเครน ด้วยข้อตกลงที่เข้มงวดจริงจังและมีผลผูกพันทางกฎหมาย โดยประเทศที่สามอย่างเช่นสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร จีน ตุรกี ฝรั่งเศส แคนาดา หรืออิตาลี สามารถจะเป็นผู้ให้การรับประกันนี้ได้
- ยูเครนจะไม่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางทหารหรือการเมืองกับประเทศใด ๆ ส่วนการซ้อมรบร่วมระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับประกันความปลอดภัยแล้วเท่านั้น
- สถานะในอนาคตของดินแดนไครเมีย ซึ่งถูกรัสเซียผนวกเข้าเป็นเขตแดนของตนเมื่อปี 2014 จะได้รับการตัดสินแน่ชัดหลังจากนี้อีก 15 ปี โดยรัสเซียและยูเครนจะปรึกษาหารือกันตลอดระยะเวลาดังกล่าว
- สถานะในอนาคตของภูมิภาคดอนบาส ซึ่งกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนที่รัสเซียหนุนหลังยึดครองอยู่นั้น ประธานาธิบดีของรัสเซียและยูเครนจะเป็นผู้เจรจากันเองโดยตรง