วันอาทิตย์, มีนาคม 27, 2565

ทักษิณ วิพากษ์ตัวเองเรื่อง กรือเซะ-ตากใบ


Thanapol Eawsakul
18h ·

ทักษิณ วิพากษ์ตัวเองเรื่อง กรือเซะ-ตากใบ และความจำเป็นที่พรรคการเมือง “ฝ่ายประชาธิปไตย” ต้องยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
................
ในหนังสือ 50 Years: The Making of the Modern Thai Economy ที่จัดทำโดย กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร(KKP) ฉลองวาระครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้ง
โหลดได้ที่ https://media.kkpfg.com/.../KKP_THE_MAKING_OF_THE_MODERN...
ในตอนหนึ่งได้สัมภาษณ์ทักษิณ ชินวัตร THE GAME CHANGER ประชาธิปไตยกินได้
ในบทสัมภาษณ์มีอะไรน่าสนใจหลายอย่าง เช่น การเรียกนายธนาคารมาคุยหลังจากได้รับแต่งตั้งเป็นนายก ก่อนตั้ง ครม. เสียอีกเรื่องการแก้ปัญหาหนี้เสีย และการปล่อยกู้เอกชน การใช้บริการมีชัย ฤชุพันธ์ให้มาดูแลเรื่องกฎหมาย
“พอมีพระบรมราชโองการแต่งตั้้งให้ผมเป็นนายกฯ ยังไม่ตั้งครม. ผมก็เชิิญแบงเกอร์ทั้้งหมดไปหัวหิน ไปนั่่งคุุยกันถึงภาวะหนี้้เสีย เสร็จแล้วบอกว่าผมขอซื้้อหนี้้เสียทั้้งหมดของคุุณในราคา 50% ในขณะที่่แบงก์ฝรั่ง หรือคนอื่่นให้10% หรือ 20% ผมบอกคุุณกำไรแล้ว เพราะว่าทุุนสำรองไปหมดแล้ว บางแห่งทุุนเหลือ 0 แต่มีข้อแม้ว่าคุุณต้องเริ่มปล่อยกู้เลยเพื่่อให้เศรษฐกิจเดิน ไม่งั้นคุุณจะเจ๊ง รัฐบาลก็เจ๊ง เขาเห็นด้วย ผมเลยไปจ้างคุุณมีชัย ฤชุุพันธุ์ เขียนกฎหมาย [บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย] (บสท.) ขึ้้นมา แล้วก็ ออกบอนด์ซื้้อหนี้้เหล่านี้้มาบริหารจัดการเอง เราไม่ได้คิดว่า บสท.จะต้องสำเร็จ 100% เราแค่ต้องการให้ธนาคารปล่อยกู้และเศรษฐกิจเดินต่อได้ ซึ่่งเป็นประโยชน์กว่ามาก”
หรือการเปลี่ยนผู้ว่าแบงค์ชาติจาก หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล (ที่แต่งตั้งฅโดยรัฐบาลประชาธิปัตย์) เป็นหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ในเดือนพฤษภาคม 2544 ทักษิณก็พูดเองว่าไม่สนองนโยบายแก้หนี้ของรัฐบาล
แต่ที่ผมสนใจและคิดว่า “ใหม่” คือการที่ทักษิณ วิพากษ์ตัวเองเรื่อง กรือเซะ-ตากใบ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะพูดออกมาบ้าง เช่น จาก “กำปั้นเหล็ก” ถึง “ถุงมือกำมะหยี่” 8 ปีสู่คำขอโทษ “กรือเซะ-ตากใบ” ของทักษิณ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2592495
ในหนังสือเล่มนี้ทักษิณพูดว่า
“ส่วนเรื่องกรณีกรือเซะ-ตากใบ ยอมรับว่าบางอย่างเรารู้ไม่จริง เหตุุการณ์ กรือเซะเกิดการปล้นปืนจากค่ายทหาร [กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หรือค่ายปิเหล็ง ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส] ผมคิดว่าอันนี้ คือ Militants แล้ว ดัังนั้้นก็เลยตัดสินใจเอาทหารพรานเข้าไปในพื้นที่อันนี้้ผมยอมรับว่าผิด เพราะเรื่่องภาคใต้ควรใช้การเมืองนำการทหาร ความโลภโกรธหลงทำให้โง่ ผมโกรธที่่ทหารถููกปล้นปืน เลยเข้าข้างทหาร ความจริงแล้วทหารอ่อนแอเอง ส่วนกรณีตากใบ ช่วงนั้้นเป็นช่วงถือศีลอด แล้วก็มีการไปล้อมโรงพักเพื่อจะเอาตัวผู้ต้องหาออกมา ซึ่่งเป็นเรื่่องผิดกฎหมายทหารจึงไปจับคนเหล่่านี้้ แต่แทนที่่จับแล้วเอาไปไว้ใกล้ๆ ปรากฎว่าย้ายไปไกลมาก ห่างตั้้ง 30-40 กิโลเมตร [ทักษิณจำผิดความจริงคือ 150 กิโลเมตรใช้เวลา 5 ชั่วโมง] เอาคนซึ่่งอดอาหารไปซ้อนในรถจีเอ็มซี 7-8 ชั้้น กลายเป็นสิ่งที่เลวร้ายมาก เสียชีวิตถึง 80 คน เรื่่องนี้้ผมโกรธมาก แต่ทำอะไรก็ไม่ได้ ผมได้รับรายงานว่ามีการย้ายคนไปที่่ค่าย แต่ไม่ทราบว่าเขาย้ายกันด้วยวิธี แบบนี้้”
เอาเข้าจริง เรื่องตากใบไม่ใช่แค่การเคลื่อนย้ายอย่างป่าเถื่อนเท่านั้นแต่ยังมีการยิงผู้ชุมนุมเสียชีวิตที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ ทำให้มีผู้เสียชีวิตในพื้นที่ชุมนุม 6 คน จากนั้นจึงมีการจับกุมกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวน 1,370 คน มีผู้เสียชีวิตรวมอย่างน้อย 85 คน และหลายคนก็พิการทุพลภาพมาจนถึงปัจจุบัน
แน่นอนว่าเราสามารถชี้เป้าไปที่ทหารได้ว่าก่อเหตุการณ์อันป่าเถื่อนเช่นนั้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่หัวหน้ารัฐบาลคือทักษิณมีท่าทีแบบการทหารนำ ทำให้ทหารในพื้นที่ได้ใจ
ไม่เพียงแต่เท่านั้น เมื่อสถานการณ์รุนแรงขี้นทักษิณก็ได้ออก “พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ตราขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ภายหลังเหตุการณ์ระเบิดที่จังหวัดยะลา โดยมีคนที่ทำหน้าที่เสมือน “โฆษก” ปกป้องกฎหมายฉบับนี้และแก้ต่างให้รัฐบาลทักษิณ คือ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีในเวลานั้น และบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในเวลานั้น”
และได้กลายเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และประยุทธ์ จันทร์โอชาใช้มาจนถึงปัจจะบัน
ปิยบุตร แสงกนกกุล ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ย้อนความหลังว่า
“ในสมัยนั้น ผมและเพื่อนอาจารย์อีกหลายคนได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก. ฉบับนี้ ทั้งในประเด็นไม่มีความจำเป็นในการตรากฎหมายในรูปของพระราชกำหนด ทั้งในประเด็นเนื้อหาที่เปิดโอกาสให้รัฐบาลกลายเป็น “เผด็จการ” ได้ ปราศจากระบบการตรวจสอบและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ยังจำได้ว่า เนติบริกร “รัก-ยม” ยังออกมาตอบโต้พวกเราอย่างเต็มที่ สื่อมวลชนสมัยนั้นนำโดยไทยโพสต์เอาไปพาดหัวข่าวว่า “พ.ร.ก.ติดหนวด” เพื่อสื่อนัยไปถึงการใช้อำนาจเผด็จการแบบฮิตเลอร์ (ซึ่งไม่รู้ว่ากรณีประยุทธ์ ไทยโพสต์จะพาดหัวแบบนี้อีกหรือไม่)
ผมได้เขียนบทความหลายชิ้นและร่วมเวทีเสวนาในการวิจารณ์กฎหมายฉบับนี้อยู่เสมอ ล่าสุด ก็พึ่งเสวนาแบบ Webinar กับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในโอกาสเปิดรายงานการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.นี้ในช่วง Covid-19 เมื่อบรรยายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายปกครองเมื่อไร ผมต้องนำ พ.ร.ก.ฉบับนี้ ไปวิจารณ์ทุกครั้งในฐานะ “จุดด่างดำ” ในระบบกฎหมายไทย ที่ยอมให้มีการใช้อำนาจบางอย่างเหนือรัฐธรรมนูญ ไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ”
จากทักษิณถึงประยุทธ์ : กรณีการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548
https://progressivemovement.in.th/article/4979/...
ดังนั้น ผมคิดว่านอกจากการไล่ประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะรัฐประหาร 2557 ออกไปแล้ว ยังมีความจำเป็นที่พรรคการเมือง “ฝ่ายประชาธิปไตย” ต้องยกเลิก“พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548” ด้วยเช่นกัน
ไม่ใช่เพียงแค่ไม่ต่ออายุในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ปล.ทักษิณจำผิด
ทักษิณบอกว่า "ย้ายไปไกลมาก ห่างตั้้ง 30-40 กิโลเมตร" แต่ความจริงไม่ใช่ ระยะทางจาก สถานีตำรวจตากใบถึง ค่ายอิงคยุทธบริหาร 150 กิโลเมตร ใช้เวลา 5 ชั่วโมง
ตลอดระยะทาง 150 กิโลเมตร จาก สภ.อ.ตากใบ ไปค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ทุกคนถูก "กระบอกปืน" บังคับให้เงียบ นาน ๆ ครั้งถึงมีเสียงร้องขอความช่วยเหลือเล็ดลอดออกมา
สลายการชุมนุมตากใบ: ประสบการณ์ลืมไม่ลงของ “ไทยมุง”
https://www.bbc.com/thai/thailand-41713032