วันอังคาร, มีนาคม 29, 2565

ยาวแต่ต้องอ่านคำอภิปรายของ อ. Perry Anderson (น้องอ.เบน แอนเดอร์สัน) ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องโซเวียต อ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กรุณาถอดความให้ เพื่อทำความเข้าใจกรณีรัสเซีย-ยูเครน


Pipob Udomittipong
19h ·

อันนี้ยาว แต่ต้องอ่าน คำอภิปรายของอ. Perry Anderson (น้องอ.เบน แอนเดอร์สัน) ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องโซเวียต อ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กรุณาถอดความให้ เพื่อทำความเข้าใจกรณีรัสเซีย-ยูเครน ผมขออนุญาตสรุปแบบนี้
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายตะวันตกสถาปนาระบบประชาธิปไตยทุนนิยมอย่างเป็นระบบขึ้นมา แทนที่ระบบสังคมเดิมของในญี่ปุ่นและเยอรมัน(ตะวันตก ผ่านโครงการมาร์แชลของสหรัฐฯ ส่วนโซเวียตก็พัฒนาระบอบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ของตัวเอง “นาโต” เกิดขึ้นมาช่วงนั้น เพราะยุโรปเป็นรัฐเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับสหภาพโซเวียต จึงต้องหาสหภาพของพวกเดียวกันสำหรับช่วยป้องกันการรุกรานทางทหารจากโซเวียต
แต่หลัง “สงครามเย็น” เสรีนิยมประชาธิปไตย (liberal democracy) มีชัยชนะเหนือลัทธิคอมมิวนิสม์อย่างสิ้นเชิง บอริส เยลต์ซิน ขึ้นเป็นประธานาธิบดี และต้องการความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ เพื่อเอาชนะกอร์บาชอฟ ทีมเศรษฐกิจและต่างประเทศของเยลต์ซิน ล้วนเป็นพวกแนวคิดเสรีนิยมแบบตะวันตก รัสเซียปิดฐานทัพและการทหารในคิวบาถึงเวียดนาม ถอนกำลัง ลดงบประมาณทหาร ทั้งหมดทำให้ตะวันตกลดการ์ดลง รัสเซียเข้าร่วมกลุ่ม G8 และ WTO ผ่านไอเอ็มเอฟ ช่วยในการแปรรูปวิสาหกิจของรัฐให้เป็นเอกชน นโยบายต่างประเทศรัสเซียเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
แต่การปฏิรูปเสรีนิยมของตะวันตกในรัสเซียไม่สมบูรณ์ ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ มุ่งให้แก่เยลต์ซินชนะในการเลือกตั้ง มากกว่าการสถาปนาสถาบันเศรษฐกิจและการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยเสรีอย่างแท้จริงขึ้นมา ในเวลาเดียวกัน อดีตประเทศคอมมิวนิสต์ พากันเข้ารีดถือลัทธิเสรีนิยมและประชาธิปไตย เศรษฐกิจตลาดเสรีของระบบทุนนิยมกันหมด
จุดเปลี่ยนอยู่ที่ขึ้นสู่ตำแหน่งของปูติน ซึ่งได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจใหม่ ทำให้รวมอำนาจในมือได้เต็มที่ กำจัดพวกคณาธิปไตยแบบเก่าที่เป็นของรัฐออกไป และสร้างคณาธิปไตยใหม่ที่ภักดีต่อเขาขึ้นมา และมีการแทรกแซงทางทหารต่อรัฐข้างบ้าน ทั้งที่จอร์เจีย และยูเครนเมื่อปี 2014 และปีนี้ เป็นเพราะรัสเซียพยายามรักษาความเป็นใหญ่ของตัวเองเหนือรัฐข้างบ้านนี้เอาไว้ เพอร์รี่มองว่าการใช้กำลังทหารอย่างรุนแรงเด็ดขาดของรัสเซีย เป็นสิ่งรับไม่ได้ เพราะทำลายสิทธิในการกำหนดตนเองของคนในรัฐอธิปไตย และละเมิดความเป็นบูรณภาพของดินแดน
อีกปัจจัยหนึ่งที่นำมาสู่การทำสงครามมกับรัฐข้างบ้าน เป็นเพราะรัสเซียเป็นจักรวรรดิก่อน และไม่เคยเป็นรัฐชาติ ไม่เคยผ่านการเป็นรัฐประชาชาติที่รวมหลายชนชาติเข้ามาด้วยกัน เราจึงไม่เคยได้ยินได้เห็นสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิชาตินิยมรัสเซีย” (Russian Nationalism)

Kokoro Soseki
Yesterday at 4:32 AM ·

Russia/Ukraine: Geopolitical Conflict, Movements from Below, and the Putin Regime
Center for Social Theory and Comparative History (CSTCH), UCLA
Panelists: Volodymyr Ishcnenko, Sociologist, National University of Kyiv-Mohyla Academy; Daniel Treisman, Pol Sci UCLA, Tony Wood, History, New York University, Discussant: Perry Anderson, History, and CSTCH, UCLA.
เพอร์รี่ แอนเดอร์สัน ว่าด้วยปัญหารัสเซียและยูเครน
อันนี้เป็นการถอดคำอภิปรายของเพอร์รี่ แอนเดอร์สัน ในรายการว่าด้วยความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัสเซียกับยูเครน จัดที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลีส เพอร์รี่พูดหลังจากอาจารย์สองท่านได้เสนอข้อมูลจากการศึกษาเรื่องพลวัตภายในของรัสเซียและยูเครนแล้ว เขาต้องการให้ข้อสังเกตสั้นๆเพื่อเชื่อมประเด็นที่ได้อภิปรายแล้วเรื่องพลวัตภายในของรัสเซียและยูเครน โดยจะเชื่อมโยงเข้ากับปัจจัยภายนอก(เช่นระบบต่างประเทศ) โดยต่อยอดจากสิ่งที่เรียกว่า “ความต่อเนื่อง”ของระบบรัสเซีย และไปสู่ลักษณะภายนอกของรัสเซีย เพื่อจะเข้าใจปัญหาปัจจุบันดีขึ้น ถามว่าต่อปัญหายูเครนนี้ ใครจะคิดว่าถ้าเป็นเยลต์ซิน เขาจะทำเหมือนอย่างที่ปูตินตอนนี้ไหม แน่นอนคงไม่เหมือน ความแตกต่างไม่ใช่แค่ระหว่างเยลต์ซินกับปูติน แต่เป็นกับปูตินและระบอบของเขา ที่สำคัญคือระบบเศรษฐกิจที่เติบโตมา และเสื่อมคลายอย่างตอนนี้ มีผลต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของเขา
บริบทแรกที่ควรเข้าใจคือรัสเซียที่ผ่านสงคราม ๒ ครั้งๆแรกคือสงครามโลกครั้งที่ ๒ อีกครั้งคือสงครามเย็น ผลของแต่ละครั้งสร้างผลสะเทือนต่อรัสเซียต่างกัน ครั้งแรกในปี 1945 สงครามโลกยุติ มีการสร้างสังคมและประเทศแพ้สงครามใหม่ โดยฝ่ายชนะ(ซึ่งรวมสหภาพโซเวียตด้วย-ผู้ถอดความ) ด้วยการสถาปนาระบบประชาธิปไตยทุนนิยมอย่างเป็นระบบขึ้นมาแทนที่ระบบสังคมเดิมของในญี่ปุ่นและเยอรมัน(ตะวันตก) ผ่านโครงการมาร์แชลของสหรัฐฯ การพัฒนาประเทศหลังสงครามดำเนินไปภายใต้การครอบครองประเทศโดยฝ่ายชนะ ทั้งในเยอรมันและญี่ปุ่น มีผลในการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจและการเมืองจริงๆ จากรูปแบบเดิมไปเป็นระบบประชาธิปไตยเสรีแบบเศรษฐกิจทุนนิยม [ข้อสังเกตของผมคือในตอนนั้นสหภาพโซเวียตก็สร้างระบบรัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นด้วยเช่นกัน เป็นฝีมือของสตาลินและพรรคบอลเชวิค ซึ่งก็ได้ผลออกมาเป็นอาณาจักร “ม่านเหล็ก” ที่ขยายอานุภาพครอบครองไปทั่วยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกรวมบอลติค ที่ไม่ยอมให้รัฐในจักรวรรดิเป็นอิสรเสรีและมีอธิปไตยในรัฐตนได้-ผู้ถอดความ] จนในที่สุดยกระดับไปสู่การเป็น “สงครามเย็น”กับอเมริกากับยุโรป ตอนนี้จึงทำให้เกิด “นาโต” ขึ้นมา เพราะยุโรปเป็นรัฐเล็กๆเมื่อเทียบกับสหภาพโซเวียต จึงต้องหาสหภาพของพวกเดียวกันสำหรับช่วยป้องกันการรุกรานทางทหารจากโซเวียต ซึ่งก็ตั้งกลุ่มวอร์ซอของตนขึ้นมาเหมือนกัน
ในครั้งที่สองคือ “สงครามเย็น” ซึ่งมันเป็นสงครามจริงๆ และจบลงด้วยชัยชนะที่จริงๆ ฝ่ายหนึ่งชนะคือตะวันตก และฝ่ายพ่ายแพ้อย่างหมดจดของศัตรู คือลัทธิคอมมิวนิสต์ (แต่ไม่ได้แพ้ทางทหารเพราะไม่ได้รบกันเอง) กระทั่งสลายรัฐสหภาพโซเวียตที่เป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วยในปี 1991 อาจกล่าวได้อย่างที่หลายคนมักพูดถึง ว่าเป็นชัยชนะของเสรีนิยมประชาธิปไตย (liberal democracy) เหนือลัทธิคอมมิวนิสม์ เหตุการณ์ สองเหตุการณ์คู่ขนานคล้ายกันยิ่ง อันแรกตะวันตกชนะนาซีเยอรมันแล้วตามมาด้วยการรื้อสร้างประเทศใหม่ตามแบบเสรีนิยม แต่เหตุการณ์หลัง ชนะคอมมิวนิสต์ก็จริง แต่ไม่มีการสร้างระบบใหม่ที่เป็นเสรีนิยมทุนนิยมขึ้นในรัสเซียอย่างจริงจัง ไม่มีกองกำลังตะวันตกอยู่ในรัสเซียเหมือนสมัยทำกับญี่ปุ่นและเยอรมัน ในตอนแรกสมัยเยลต์ซินเป็นประธานาธิบดี เขาต้องการความช่วยเหลือจากสหรัฐฯเพื่อเอาชนะกอร์บาชอฟ ทีมเศรษฐกิจและต่างประเทศล้วนเป็นพวกแนวคิดเสรีนิยมแบบตะวันตก เรียกว่าเป็นระยะหวานชื่นจนทำให้วอชิงตันคิดว่ารัสเซียไม่มีทางเป็นปัญหาอีกต่อไปแล้ว รัสเซียปิดฐานทัพและการทหารในคิวบาถึงเวียดนาม ถอนกำลัง ลดงบประมาณทหาร ทั้งหมดทำให้ตะวันตกลดการ์ดลง นอกจากเจ้าหน้าที่ที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างหัวชนฝาที่ไม่ยอมเชื่อว่ามันจะเป็นจริงได้ รัสเซียเข้าร่วมกลุ่ม G8 และ องค์กร WTO ผ่านไอเอ็มเอฟ ช่วยในการแปรรูปวิสาหกิจของรัฐให้เป็นเอกชน นโยบายต่างประเทศรัสเซียเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ สรุปมีการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่รัสเซียสมัยเยลต์ซิน แต่จุดหมายเป็นการเมืองระยะสั้นเพื่อช่วยในการเลือกตั้งมากกว่า ปัญหาโครงสร้างภายในจึงไม่ได้แตะต้องจริงๆ (พลังการผลิตทุนนิยมจึงยังไม่ได้รับการปลดปล่อยออกมาสำแดงอำนาจอย่างเต็มที่ บรรดาผีเก่าๆเลยพากันกลับมาในเวลาต่อไป-ผู้ถอดความ)
บรรยากาศหลังการสลายสหภาพโซเวียต คือการที่ผู้นำรัสเซีย(กอร์บาชอฟ)และคนอื่นๆ กลายเป็นโปรตะวันตกไป ไม่ต้องถูกบังคับให้เป็น แต่ตอนนั้นผู้นำรัสเซียยอมรับอุดมการณ์เสรีนิยมหมดเลย ทำให้ทางตะวันตกไม่คิดว่า จำเป็นต้องไปดำเนินการสร้างอะไรใหม่ในรัสเซียเหมือนกับที่ทำกับเยอรมันและญี่ปุ่น สหรัฐฯทำตัวแค่เป็นพ่อใหญ่ดูแลลูกๆให้อยู่ในความเรียบร้อย ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมจึงไม่บรรลุเป้าหมายในการสร้างชีวิตที่ดีกว่าให้แก่คนทั่วไปมากนัก สภาพเศรษฐกิจไม่เสรีนี้ดำเนินมาจนถึงวาระที่ปูตินขึ้นมาเป็นผู้นำ ประเด็นที่เพอร์รี่เสนอคือ การปฏิรูปเสรีนิยมนั้นทำไม่สมบูรณ์ ยังไม่สำเร็จ ส่วนใหญ่ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ มุ่งให้แก่เยลต์ซินเพื่อช่วยให้เขาชนะในการเลือกตั้ง มากกว่าการสถาปนาสถาบันเศรษฐกิจและการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยเสรีอย่างแท้จริงขึ้นมา หมายความว่า โครงสร้างภายในรัสเซียนั้นยังคงเป็นแบบเดิมอยู่เป็นส่วนใหญ่ (เปรียบกับเยอรมันและญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ดู จะเห็นนัยของผลที่จะตามมา-ผู้ถอดความ)
คราวนี้มาดูปัจจัยภายนอกประเทศ คือความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับตะวันตกโดยเฉพาะกับนาโต
ทางด้านปัจจัยภายนอก สภาพของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ระยะนั้นแปลกประหลาดกว่าที่คิด ผู้นำระดับสูงของประเทศคอมฯพากันเข้ารีดถือลัทธิเสรีนิยมและประชาธิปไตย เศรษฐกิจตลาดเสรีของระบบทุนนิยมกันหมด ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ พวกนั้นต่อต้านและประณาม กระทั่งลงโทษสมาชิกพรรคและรัฐที่เอนเอียงไปทางเสรีนิยม สิทธิเสรีภาพ จับส่งไปลี้ภัยอยู่ในไซบีเรียเป็นพรวน ตามด้วยการส่งกำลังทหารเข้าไปปราบสยบอย่างราบคาบ ไม่ว่าในฮังการี โปแลนด์และอื่นๆ บัดนี้พวกเขากลับใจกันหมดสิ้น ไม่เหลือเยื่อใย ทำให้ฝ่ายนำของประเทศเสรีนิยมทุนนิยมก็มึนงง ไม่เข้าใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นในทางอุดมการณ์และความคิดของพวกอดีตคอมฯทั้งหลาย (ก็เลยคิดไม่ออกว่าจะทำอะไรกับสังคมรัสเซียได้)
ตอนนั้นกอร์บาชอฟเจรจากับผู้นำอเมริกัน ยอมรับชื่นชมระบบตะวันตก เล่าว่าอังเดร คอซิเรฟ รมต.ต่างประเทศรัสเซียสมัยเยลต์ซิน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มปฏิรูปหนุ่มที่มีเยกอร์ ไกด้ากับอนาโตลี ชูเบส (สองคนนี้นำการปฏิรูปเศรษฐกิจแบบทุนเสรีนิยมในรัสเซียอย่างเต็มที่) กล่าวกับนิกสันว่า “ผลประโยชน์ของตะวันตกก็เป็นผลประโยชน์ของเราเหมือนกัน” นิกสันไม่เชื่อหูว่าเขาพูดอย่างนั้นจริงๆ กอร์บาชอฟว่า คอซิเรฟ นั้นเป็นเหมือนเจ้าหน้าที่กงสุลอเมริกันในมอสโกมากกว่า
เรื่องที่เป็นปมเงื่อนและต่อมาก่อให้เกิดเป็นปัญหาที่ยกระดับใหญ่โตขึ้นจนกระทั่งกลายเป็นวิกฤตยูเครนขณะนี้ได้แก่กรณีการขยายนาโตเข้าไปในแดนอิทธิพลของรัสเซีย ตอนหลังมีการยกวาทะเด็ดของการตกลงกันครั้งแรกระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯนายเจมส์ เบเกอร์ กับประธานาธิบดีกอร์บาชอฟของรัสเซีย นั่นคือคำพูดที่เบเกอร์บอกว่า ถ้ารัสเซียยอมปล่อยให้เยอรมันส่วนที่เป็นของรัสเซีย(คือเยอรมนีตะวันออก)ออกไปเป็นอิสระ ฝ่ายเราตกลงว่านาโตก็จะไม่ “ขยับแม้นิ้วเดียวไปทางตะวันออกจากจุดที่มันอยู่ปัจจุบันนี้” (If you let part of Germany go, and we agree that Nato will “not shift one inch eastward from its present position”) การพูดกันทำในเดือนกุมภาพันธ์ 1990 หลังการพังทลายกำแพงเบอร์ลินในวันที่ 9 พฤศจิกายน 1989 ข้อเท็จจริงคือ ข้อความที่ว่านี้ไม่ได้มีการทำเป็นสัญญาอย่างเป็นทางการ แต่เป็นคำพูดที่หลุดออกไปสู่สาธารณชน และสร้างการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันตั้งแต่แรกระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ก็ยังไม่เป็นปัญหาอะไรใหญ่โต จนกระทั่งเมื่อปูตินก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในปี 2000
ระบอบปูติน สร้างขึ้นมาบนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เขาลงมือแก้ปัญหาความไร้ประสิทธิภาพ ด้วยการทำให้ ระบบคณาธิปไตยของรัฐ กลายมาเป็นระบบคณาธิปไตยของเขาเอง ปัจจัยภายนอกที่ช่วยการปฏิรูปเศรษฐกิจประสบความสำเร็จมาจากการพุ่งขึ้นของระบบโลกาภิวัตน์ การผลิตเพื่ออุตสาหกรรมขยายอย่างรวดเร็วทั่วโลก รัสเซียกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน ก๊าซและธัญพืช แร่ธาตุ ให้แก่โรงงานทั่วโลก โดยเฉพาะจีนที่ก้าวขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมโลก ดอลลาร์กลายเป็นหน่วยเงินที่ใช้ทั่วไปในรัสเซีย ประเทศมีเงินทุนสำรองมากมหาศาลทั้งในดอลล่าร์และทองคำในธนาคารกลางของหลายประเทศ การลงทุนทั่วโลกพากันแห่มายังตลาดทุนรัสเซีย ปูตินปฏิรูประบบเศรษฐกิจใหม่ ทำให้เขารวมอำนาจในมือได้เต็มที่ กำจัดพวกคณาธิปไตยออกไป สร้างคณาธิปไตยใหม่ที่ภักดีต่อเขาขึ้นมา ระบบประชาธิปไตยเสรีที่ทำท่าจะเริ่มต้น เริ่มถูกจำกัด และกำจัดออกไปในที่สุด เปิดทางให้แก่การขึ้นมาของระบบอำนาจนิยม(Authoritarianism)ที่จะเติบใหญ่ไปสู่การเป็นระบอบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism)
ระบบโลกาภิวัตน์จึงเป็นที่มาอันหนึ่งของการทำให้ปูตินเชื่อในอำนาจปกครองของเขา
การต่างประเทศของทั้งสองเริ่มเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์และความรู้สึกของสองผู้นำประเทศเริ่มเปลี่ยนไปจากก่อน ประธานาธิบดีโอบามามองปูตินว่า “เหมือนนักเรียนวัยรุ่นที่อารมณ์ร้อนที่อยู่หลังห้องเรียน” ในขณะที่ปูตินก็กัดโอบามาว่าเหมือนลูกเสี้ยว (mulatto)ที่คลุมด้วยวัฒนธรรมคนขาว ถึงตอนนี้ อะไรที่เคยต่อเนื่องมา ไม่ว่าปัจจัยภายใน หรือภายนอก เริ่มไม่ต่อเนื่องอีกต่อไปแล้ว เศรษฐกิจรัสเซียที่ลงไปถึงคนข้างล่างไปไม่ค่อยดีเท่าไร การเป็นระบบเอกชน เปิดตลาดเสรี การลงทุนภายนอก มีผลให้เกิดนายทุนและผู้ประกอบการใหม่ๆ แต่ที่เป็นปัญหาคือการเกิดกลุ่มคณาธิปไตย ที่เป็นพรรคพวกของปูตินไปผูกขาดการทำเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง
แต่ที่หนักหน่วงคือปัจจัยภายนอก บัดนี้ทศวรรษที่ผ่านมา นาโตด้วยการสนับสนุนของสหรัฐฯได้ขยายหรือส่งเสริมการรับสมาชิกใหม่ๆจากแถบยุโรปกลางและตะวันออกมากขึ้นจนถึงพรมแดนของรัสเซียกับโปแลนด์ นี่คือนโยบายนาโตที่ปูตินไม่เคยเห็นด้วยเลยนับแต่แรก เขามองว่าเป็นการทำลายรัสเซีย ไม่แต่สมัยสหภาพโซเวียต แต่กลับไปถึงสมัยจักรวรรดิเลย เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราช ประชาธิปไตยและเสรีภาพในบรรดารัฐยุโรปตะวันออกและกลางไปถึงบอลติคในการปฏิวัติสี ประเด็นสำคัญที่เพอร์รี่กล่าวเชิงวิเคราะห์ได้แก่ ประสบการณ์ของการที่นาโต ยุโรปและสหรัฐฯใช้กองกำลังในการแทรกแซงประเทศอื่นๆด้วยเหมือนกัน ในนามของการป้องกันและสร้างสันติภาพแก่พลเรือน เช่นการใช้นาโตบุกโคโซโวในยูโกสลาเวีย ถล่มลิเบียของกัดดาฟี โดยที่รัสเซียเข้าร่วมด้วย ปูตินตอนหลังบอกว่าถูกหลอกให้ร่วม มีการเปลี่ยนรัฐบาลด้วยกำลัง (regime change) ทั้งหมดนี้จะกลายมาเป็นแบบฉบับที่รัสเซียสมัยปูตินจะใช้ต่อไป
มาถึงสถานการณ์ปัจจุบัน คือปัญหารัฐจอร์เจียและยูเครนซึ่งอยู่ติดกับรัสเซีย เมื่อรัฐเหล่านี้เริ่มหาทางร่วมกันอียูและนาโต รัสเซียก็ปฏิบัติการทันที บุกจอร์เจีย ทำลายแผนการดังกล่าว เมื่อการปฏิวัติสีส้มในยูเครนล้มประธานาธิบดีที่เป็นสายรัสเซียลงไป มอสโกก็ใช้กำลังผนวกไครเมียและสนับสนุนกบฏแยกดินแดนในดอนบาส กระทั่งมาถึงวันที่ 24 กพ.ที่เป็นดีเดย์ของปูตินในการเผด็จศึกยูเครนให้ราบคาบเสียที ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าก่อนเกิดสงคราม มีความขัดแย้ง ไม่ลงรอยและต่อสู้ ปะทะกันมาก่อนแล้วระหว่างพลังการเมืองในรัฐกับอำนาจเหนือรัฐของรัสเซียที่พยายามรักษาความเป็นใหญ่ของตัวเองเหนือรัฐข้างบ้านนี้เอาไว้ เพอร์รี่มองว่าการใช้กำลังทหารอย่างรุนแรงเด็ดขาดของรัสเซีย เป็นสิ่งรับไม่ได้เพราะทำลายสิทธิในการกำหนดตนเองของคนในรัฐอธิปไตย และละเมิดความเป็นบูรณภาพของดินแดน
ประเด็นสุดท้ายที่น่าสนใจมากคือเขากล่าวว่า รัสเซียเป็นจักรวรรดิก่อนและไม่เคยเป็นรัฐชาติ ไม่เคยผ่านการเป็นรัฐประชาชาติที่รวมหลายชนชาติเข้ามาด้วยกัน รัสเซียแต่สมัยจักรวรรดิพระเจ้าซาร์หวาดกลัวความคิดลัทธิชาตินิยมมาก เพราะมันกระเทือนความขอบธรรมของอำนาจศูนย์กลาง ไม่สนับสนุนความคิดความเป็นชาติ แต่ยอมรับชาติพันธุ์ (ethnic) เราจึงไม่เคยได้ยินได้เห็นสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิชาตินิยมรัสเซีย” (Russian Nationalism) อัตลักษ์ความเป็นชาติก็ไม่มี สมัยสหภาพโซเวียตก็ไม่รับความเป็นรัฐอิสระของจอร์เจียและยูเครน แต่เลนินตอนแรกยอมให้เป็นรัฐเอกราช เพราะหวังจะใช้เป็นบันไดไปขยายการปฏิวัติสังคมนิยมเข้าไปในยุโรป สตาลินไม่เห็นด้วย ยูเครนจึงถูกเล่นงานจากมอสโกมาแต่นั้น รัสเซียแต่โบราณ เป็นอาณาจักรภาคพื้นดินที่มีเนื้อที่กว้างขวางใหญ่โตมาก แต่ก็ถูกมหาอำนาจจากภายนอกจากมงโกล(ตาต้าร์)และยุโรปบุกโจมตีได้ แต่ก็ยึดครองไม่ได้ (ยุคแรกตาตาร์ยึดตอนใต้ได้เป็นศตวรรษเลย) เพราะสภาพภูมิประเทศดังกล่าว พัฒนาการทางเศรษฐกิจในรัสเซียจึงไม่เท่ากัน มีเกษตรกรรมที่ล้าหลัง ทั้งหมดนี้ทำให้การใส่อาณาจักรรัสเซียเข้าไปในกรอบโมเดลของระบบโลกหรือระบบระหว่างประเทศใดๆล้วนประสบความยากลำบากและไม่ค่อยบรรลุ
(ปูตินจึงไม่มีมโนทัศน์เรื่อง ชาติที่เป็นชุมชนจินตกรรม(Imagined Communities) มีแต่ จักรวรรดิจินตกรรม (Imagined Imperial)—ผู้ถอดความ)
...
ลิงค์เสียงงานสัมมนา 
https://www.international.ucla.edu/euro/article/149661
Transcript * This might take a few seconds to load.

RUSSIA/UKRAINE: GEOPOLITICAL CONFLICT, MOVEMENTS FROM BELOW, AND THE PUTIN REGIME

Center for Social Theory and Comparative History (CSTCH) colloquium with panelists Volodymyr Ishchenko, Sociology, National University of Kyiv-Mohyla Academy; Daniel Treisman, Political Science, UCLA; Tony Wood, History, New York University. Discussant: Perry Anderson, History and CSTCH, UCLA. Cosponsored by the UCLA Center for European and Eurasian Studies.

Duration: 02:18:18

The crisis in Ukraine emerged in the wake of the occupation of the central urban square, the Maidan in Kiev. The popular resistance led to the toppling of the government, and, in turn, the declaration of independence of two key regions. Our speakers will lay bare the causal roots and the socio-political evolution of the complex conflict that has ensued. They will analyze the often clashing demands of the protestors, the political exigencies of an ascendant Putinism, the devastating impact of intensifying civil war within the country, and the revival of Cold-War-like conflict long after the Cold War’s demise.

Tony Wood is the author of Chechnya: The Case for Independence (2007), as well “Collapse as Crucible: The Reforging of Russian Society,” New Left Review (2012).

Daniel Treisman writes widely on Russia and Eastern Europe, his published works including The Return: Russia’s
Journey from Gorbachev to Medvedev (2011) and After the Deluge: Regional Crises and Political Consolidation in Russia (1999).

Volodymyr Ishchenko is Deputy Director of the Center for Social and Labor Research in the National University of Kyiv-Mohyla Academy. He will participate from Kiev by way of Skype.