จรัล ดิษฐาอภิชัย นักกิจกรรมทางการเมืองวัยเกษียณที่ลี้ภัยในฝรั่งเศส กล่าวถึงประสบการณ์เส้นทางการปฏิวัติที่มีร่วมกันกับ วัฒน์ วรรลยางกูร
วัฒน์ วรรลยางกูร : ส่ง "นักสู้ธุลีดิน" สู่ธรรมชาติที่บ้านเกิด วิกตอร์ อูโก
โดย ดร.เรเชล แฮร์ริสัน
ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาไทยศึกษา SOAS มหาวิทยาลัยลอนดอน
30 มีนาคม 2022
บีบีซีไทย
ตอนที่ดิฉันพบกับคุณวัฒน์ วรรลยางกูร ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือน ม.ค. 2019 ในกรุงปารีส ดิฉันไม่คาดคิดเลยว่าการเดินทางที่แสนไกลของเขา จากประเทศไทย ไปกัมพูชา ลาว แล้วมาถึงฝรั่งเศส จะต้องมาจบลงที่นี่ ในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่ในเมืองเบอซ็องซง ไม่ไกลจากพรมแดนของประเทศสวิตเซอร์แลนด์มากนัก
ทว่าหากมองอีกแง่ ก็ดูเป็นเรื่องเหมาะเจาะที่เขามาจากโลกนี้ไปในเมืองที่เป็นบ้านเกิดของวิกตอร์ อูโก นักเขียนและกวีชื่อดังของโลก
เช้าตรู่ของวันที่ 29 มี.ค. ท้องฟ้ามืดครึ้ม ปกคลุมไปด้วยหมอก ญาติมิตรกลุ่มเล็ก ๆ มารวมตัวกันที่โรงพยาบาลพร้อมด้วยพระสงฆ์ 2 รูป เพื่อประกอบพิธีอำลานักกิจกรรมและนักเขียนชื่อก้อง ผู้ประพันธ์เรื่องสั้น นวนิยาย บทกวี และเพลงมากมายที่เสียชีวิตในวัย 67 ปี
ก่อนเสียชีวิตไม่กี่เดือน คุณวัฒน์เพิ่งเขียนบันทึกชีวิต "7 ปีเนรเทศ" เสร็จสิ้น และตั้งใจจะจัดพิมพ์ในเดือน พ.ค. และดิฉันก็ประสงค์ที่จะแปลเป็นภาษาอังกฤษ
ฉากและชีวิต วัฒน์ วรรลยางกูร ที่ดิฉันรู้จัก
มิตรสหายร่วมไว้อาลัยการจากไปของวัฒน์ในฝรั่งเศส
วัฒน์ วรรลยางกูร กวีไกลบ้าน กับ 5 ปีที่พลัดถิ่น
ตอนที่ดิฉันพบกับคุณวัฒน์ วรรลยางกูร ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือน ม.ค. 2019 ในกรุงปารีส ดิฉันไม่คาดคิดเลยว่าการเดินทางที่แสนไกลของเขา จากประเทศไทย ไปกัมพูชา ลาว แล้วมาถึงฝรั่งเศส จะต้องมาจบลงที่นี่ ในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่ในเมืองเบอซ็องซง ไม่ไกลจากพรมแดนของประเทศสวิตเซอร์แลนด์มากนัก
ทว่าหากมองอีกแง่ ก็ดูเป็นเรื่องเหมาะเจาะที่เขามาจากโลกนี้ไปในเมืองที่เป็นบ้านเกิดของวิกตอร์ อูโก นักเขียนและกวีชื่อดังของโลก
เช้าตรู่ของวันที่ 29 มี.ค. ท้องฟ้ามืดครึ้ม ปกคลุมไปด้วยหมอก ญาติมิตรกลุ่มเล็ก ๆ มารวมตัวกันที่โรงพยาบาลพร้อมด้วยพระสงฆ์ 2 รูป เพื่อประกอบพิธีอำลานักกิจกรรมและนักเขียนชื่อก้อง ผู้ประพันธ์เรื่องสั้น นวนิยาย บทกวี และเพลงมากมายที่เสียชีวิตในวัย 67 ปี
ก่อนเสียชีวิตไม่กี่เดือน คุณวัฒน์เพิ่งเขียนบันทึกชีวิต "7 ปีเนรเทศ" เสร็จสิ้น และตั้งใจจะจัดพิมพ์ในเดือน พ.ค. และดิฉันก็ประสงค์ที่จะแปลเป็นภาษาอังกฤษ
ฉากและชีวิต วัฒน์ วรรลยางกูร ที่ดิฉันรู้จัก
มิตรสหายร่วมไว้อาลัยการจากไปของวัฒน์ในฝรั่งเศส
วัฒน์ วรรลยางกูร กวีไกลบ้าน กับ 5 ปีที่พลัดถิ่น
โรงพยาบาลในเมืองเบอซ็องซง ไม่ไกลจากพรมแดนของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่วัฒน์ วรรลยางกูร เสียชีวิต
หลายครั้งการมาร่วมพิธีศพคนที่เรารักนับถือ นับเป็นเรื่องยากที่ต้องจัดสมดุลระหว่างการปฏิบัติตามพิธีกรรมของศาสนากับการจัดการอารมณ์ความรู้สึกที่ต้องรู้ว่าเขาผู้นั้นได้จากผู้ที่เขารักไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นลูก ภรรยา เพื่อน ๆ นักเคลื่อนไหวร่วมอุดมการณ์ หรือแม้แต่บรรดาผู้อ่าน
ในห้องดับจิตที่เย็นยะเยือกของโรงพยาบาล เรากล่าวคำอำลาและแสดงความเคารพครั้งสุดท้าย ก่อนที่ร่างของเขาจะถูกนำไปไว้ในหีบศพที่ต้องถูกลำเลียงไปประกอบพิธีทางศาสนาและฌาปนกิจ
บรรยากาศที่ไร้อารมณ์ความรู้สึกของฌาปนสถานในเมืองเบอซ็องซงในฝรั่งเศสถูกกลบด้วยความอบอุ่นของญาติมิตร 18 คน ที่มารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองชีวิตและผลงานของชายผู้ทรงอิทธิพลและเป็นแรงบันดาลใจให้มวลชน โดยลูกทั้ง 3 คนของเขามาจากไทย นิก น็อตสติช ช่างภาพอิสระที่ถ่ายภาพเหตุการณ์ในไทยมานาน มาจากเยอรมนี และดิฉันมาจากอังกฤษ
วงไฟเย็น
ภาพถ่ายหลายอิริยาบถของเขาที่เคลื่อนไหวอยู่ในจอโทรทัศน์บนผนังด้านหลังของห้องประกอบพิธีแสดงให้ผู้มาร่วมงานได้เห็นถึงกิจกรรมของคุณวัฒน์ในแต่ละช่วงของชีวิต ตั้งแต่ช่วงหนุ่มฉกรรจ์ที่เข้าป่าไปร่วมการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหลังเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 ช่วงของความรักหวานชื่นกับภรรยาและแม่ของลูกทั้ง 3 คน ช่วงร่วมเคลื่อนไหวกับมวลชนคนเสื้อแดง บทบาทของเขาในฐานะนักร้องและนักแต่งเพลง ภาพของเขาบนปกของนิตยสาร "ถนนหนังสือ" และช่วงสุดท้ายของชีวิตเขาในฝรั่งเศส ทั้งภาพการมีความสุขกับการดื่มเบียร์ที่คาเฟ่ข้างถนน รอยยิ้มหน้าหอไอเฟล และเดินเล่นขณะดวงอาทิตย์กำลังตก
โลงศพที่ตั้งอยู่ด้านซ้ายของเวทีในห้องประกอบพิธีถูกรายล้อมด้วยช่อดอกไม้ที่ญาติมิตรนำมาแสดงความอาลัย ส่วนด้านขวาเป็นที่ว่างให้คนที่รักนับถือศิลปินผู้นี้มาร่วมกล่าวแสดงความรักและอาลัย เริ่มจาก วสุ วรรลยางกูร ลูกชายคนเล็กของของคุณวัฒน์ ที่มาอ่านประวัติของพ่อ ตามด้วย จรัล ดิษฐาอภิชัย นักกิจกรรมทางการเมืองวัยเกษียณที่ลี้ภัยในฝรั่งเศสกล่าวถึงประสบการณ์เส้นทางการปฏิวัติที่มีร่วมกัน
"ความตายของวัฒน์...มีต้นตอมาจากระบอบเผด็จการไทย" นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยวัย 74 ปี ประกาศด้วยเสียงสั่นเครือและน้ำตาคลอ
“สำหรับผม เป็นศิลปินต้องมีเสรีภาพในการแสดงออก”
"เพราะมีตัวร้ายที่พอวิจารณ์ได้" คนไทยจึงสนใจคดีแตงโม
100 ปี พรรคคอมมิวนิสต์จีนกับอิทธิพลต่อขบวนการคอมมิวนิสต์ไทย
ดิฉันกล่าวคำอาลัยเป็นคนต่อมาเป็นภาษาอังกฤษ ดิฉันรู้จักเขามา 32 ปีแล้วก่อนที่ วจนา ลูกสาวคนเล็กของเขาจะเกิดเสียอีก ในฐานะคนรักวรรณกรรมไทย ดิฉันได้รับแรงบันดาลใจและอิทธิพลอย่างมากจากงานของคุณวัฒน์
วนะ วรรลยางกูร ลูกชายคนโตของคุณวัฒน์ ขึ้นกล่าวคำอาลัยถึงพ่อเป็นคนสุดท้าย ด้วยถ้อยคำที่ทรงพลัง เขาแต่งบทกวีชื่อ "สู่การผจญครั้งใหม่" ให้แก่พ่อ
"เราไม่เสียใจต่อชะตากรรม เราไม่เสียใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เราไม่เสียใจกับสิ่งที่เราทำลงไป เพราะเราได้เลือกแล้ว เราได้เลือกที่จะต่อสู้กับความอยุติธรรม... ผมเชื่อว่าถ้าพ่อยังอยู่ พ่อจะต้องบอกกับทุกคนว่าอย่าเสียใจเลยกับสิ่งที่เกิดขึ้น"
วนะ วรรลยางกูร ลูกชายคนโตของวัฒน์ วรรลยางกูร
บรรยายกาศช่วงท้ายของพิธีศพของกวีเพื่อประชาชนไม่พ้นเสียงเพลงที่เขาแต่งขึ้น วงดนตรี "ไฟเย็น" ที่ลี้ภัยในฝรั่งเศสเช่นกัน เล่นเพลงที่คุณวัฒน์แต่งในต่างช่วงเวลา คือ จากลานโพธิ์ถึงภูพาน ในสายธาร และ นักสู้ธุลีดิน
แม้คุณวัฒน์ไม่ได้เห็น "วันกองทัพประชาชนประกาศชัย" แต่เขาก็ได้ "ปลิวไปเป็นฝุ่นตามทางเสรีของตัวเอง"
ขอบคุณคุณวัฒน์ที่เสียสละชีวิตเพื่อพวกเรา
...
...
วิกตอร์ อูโก คือใคร
เว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นระบุว่า วิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) เกิดเมื่อ 26 ก.พ. 1802 ที่เมืองเบอซ็องซง (Besançon) ประเทศฝรั่งเศส เสียชีวิตเมื่อ 22 พ.ค. 1885 ในกรุงปารีส เขาเป็นนักเขียนวรรณกรรมและกวีชาวฝรั่งเศส ได้ชื่อว่าเป็นกวีที่ยอดเยี่ยม แต่ขณะเดียวกัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือวรรณกรรมเรื่อง Notre-Dame de Paris (1831) และ Les Miserables (1862)
Notre-Dame de Paris มีชื่อภาคแปลภาษาอังกฤษคือ The Hunchback of Notre-Dame รู้จักในชื่อภาษาไทยว่า "คนค่อมแห่งนอเตรอะดาม" เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นยุคกลางของปารีส ช่วงรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 ซึ่งเป็นงานวรรณกรรมสร้างขึ้นเพื่อวิจารณ์สภาพสังคมในขณะนั้น
อูโกเป็นลูกชายคนที่สามของนายทหารยศพลตรี ต่อมาได้เป็นนายพลในกองทัพของนโปเลียน ในช่วงวัยเด็ก บิดามักพาเขาท่องเที่ยวไปกับกองทัพของจักรวรรดิ ทว่าต่อมาเกิดความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้บิดามารดาของเขาต้องแตกแยกกัน โดยมารดาเขานั้นภักดีต่อราชวงศ์ ขณะที่บิดาฝักฝ่ายต่อรัฐบาล ภาพการชุมนุม จักรวรรดิ การฟื้นฟู ความขัดแย้งเหล่านี้ฝังลึกอยู่ภายในของอูโก มันเป็นช่วงเวลาอันแสนสับสนของเขา ซึ่งต้องย้ายถิ่นฐานบ่อยครั้ง จากปารีสไปอิตาลี และสเปน และสุดท้ายก็มักจะกลับมาที่ปารีสพร้อมกับมารดาเสมอ หลังจักรวรรดิล่มสลายในช่วงปี 1815-1818 เขาได้ศึกษาที่ Pension Cordier และ Lycée Louis-le-Grand เขาจบการศึกษาจากคณะกฎหมายที่กรุงปารีส ซึ่งเป็นการเรียนที่สับสนและไร้จุดมุ่งหมาย ภาพความทรงจำขณะนั้นคือเขาเป็นเพียงนักศึกษาที่ยากจน ภายหลังได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างตัวละครชื่อ Marius ในวรรณกรรมเรื่อง Les Miserables
เว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นระบุว่า วิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) เกิดเมื่อ 26 ก.พ. 1802 ที่เมืองเบอซ็องซง (Besançon) ประเทศฝรั่งเศส เสียชีวิตเมื่อ 22 พ.ค. 1885 ในกรุงปารีส เขาเป็นนักเขียนวรรณกรรมและกวีชาวฝรั่งเศส ได้ชื่อว่าเป็นกวีที่ยอดเยี่ยม แต่ขณะเดียวกัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือวรรณกรรมเรื่อง Notre-Dame de Paris (1831) และ Les Miserables (1862)
Notre-Dame de Paris มีชื่อภาคแปลภาษาอังกฤษคือ The Hunchback of Notre-Dame รู้จักในชื่อภาษาไทยว่า "คนค่อมแห่งนอเตรอะดาม" เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นยุคกลางของปารีส ช่วงรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 ซึ่งเป็นงานวรรณกรรมสร้างขึ้นเพื่อวิจารณ์สภาพสังคมในขณะนั้น
อูโกเป็นลูกชายคนที่สามของนายทหารยศพลตรี ต่อมาได้เป็นนายพลในกองทัพของนโปเลียน ในช่วงวัยเด็ก บิดามักพาเขาท่องเที่ยวไปกับกองทัพของจักรวรรดิ ทว่าต่อมาเกิดความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้บิดามารดาของเขาต้องแตกแยกกัน โดยมารดาเขานั้นภักดีต่อราชวงศ์ ขณะที่บิดาฝักฝ่ายต่อรัฐบาล ภาพการชุมนุม จักรวรรดิ การฟื้นฟู ความขัดแย้งเหล่านี้ฝังลึกอยู่ภายในของอูโก มันเป็นช่วงเวลาอันแสนสับสนของเขา ซึ่งต้องย้ายถิ่นฐานบ่อยครั้ง จากปารีสไปอิตาลี และสเปน และสุดท้ายก็มักจะกลับมาที่ปารีสพร้อมกับมารดาเสมอ หลังจักรวรรดิล่มสลายในช่วงปี 1815-1818 เขาได้ศึกษาที่ Pension Cordier และ Lycée Louis-le-Grand เขาจบการศึกษาจากคณะกฎหมายที่กรุงปารีส ซึ่งเป็นการเรียนที่สับสนและไร้จุดมุ่งหมาย ภาพความทรงจำขณะนั้นคือเขาเป็นเพียงนักศึกษาที่ยากจน ภายหลังได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างตัวละครชื่อ Marius ในวรรณกรรมเรื่อง Les Miserables
อนุสาวรีย์ของวิกตอร์ อูโก ในเมืองเบอซ็องซง ประเทศฝรั่งเศส
เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม ที่เผยแพร่เมื่อ พ.ย. 2563 อธิบายว่า ในช่วงที่อูโกถือกำเนิด สังคมฝรั่งเศสเต็มไปด้วยความขัดแย้งทางความคิดและการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างแนวคิดนิยมระบอบสาธารณรัฐกับแนวคิดสถาบันกษัตริย์ในหมู่คนต่างชนชั้น เขาเป็นอีกคนที่ต่อสู้เพื่อการยกเลิกโทษประหาร
หัวข้อเรื่องการยกเลิกโทษประหารในยุโรป เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ผู้คนเริ่มตั้งคำถามกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ ควบคู่ไปกับตัวอย่างการพิจารณาคดีที่มีช่องโหว่ จนนำมาสู่ปรัชญาเรื่องการลงโทษ หรือ "ทัณฑวิทยา"
หนึ่งทศวรรษก่อนที่อูโกจะถือกำเนิด ฝรั่งเศสเกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ เกิดเหตุล้มระบอบกษัตริย์ราชวงศ์บูร์บง สถาปนาระบอบสาธารณรัฐที่หนึ่งขึ้นในปี 1789
นับแต่นั้นมา เกิดการปะทะทางความคิดทางการเมืองภายในสังคมฝรั่งเศส การต่อสู้แย่งชิงการปกครองของชนชั้นต่าง ๆ เพื่อสถาปนาระบอบการการปกครองที่กลุ่มตนต้องการ ทำให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลับมาอีกครั้งในรัชสมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 10 ซึ่งเป็นช่วงที่อูโกถือกำเนิด ต่อมาเดือน ก.ค. 1830 ฝ่ายนิยมระบอบสาธารณรัฐจึงจะได้เปรียบทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง
Les Miserables ของอูโก ได้รับการแปลหลายภาษาทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทยในชื่อ "เหยื่ออธรรม"
ในบริบทประวัติศาสตร์เช่นนี้ทำให้อูโก สัมผัสและซึมซับสงครามทางความคิดทั้งทางการเมือง สังคม รวมถึงทางศาสนา ช่วงวัยเด็กเขาถือเป็นบุคคลที่จงรักภักดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป แนวความคิดทางการเมืองของเขาเริ่มหันไปสนับสนุนฟากสาธารณรัฐ
ช่วงเวลาหนึ่งที่เขาโจมตีนโปเลียนที่ 3 หรือ ชาร์ลส์ หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต ซึ่งขึ้นสู่อำนาจแบบสมบูรณ์ด้วยการรัฐประหารตัวเองเมื่อปี 1851 ล้มล้างรัฐธรรมนูญเดิมในเดือน ธ.ค. 1851 ปูทางสู่การสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในราวหนึ่งปีต่อมา เขาต้องลี้ภัยไปอาศัยนอกประเทศ
แม้กระทั่งในปี 1859 ที่นโปเลียนที่ 3 นิรโทษกรรมทางการเมืองแก่ผู้ลี้ภัยทั้งหมด อูโกยังปฏิเสธ เพราะมองว่าการยอมรับจะจำกัดการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล กระทั่งนโปเลียนที่ 3 พ้นจากอำนาจ อูโกจึงเดินทางกลับมาในปี 1870