ย้อนเหตุการณ์สำคัญ มหากาพย์ข้อพิพาทเหมืองทองอัครา
ที่มา บีบีซีไทย
4 กรกฎาคม 2530
4 กรกฎาคม 2530
กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกำหนดพื้นที่เพื่อการพัฒนาเหมืองแร่ทองคำเป็นโครงการใหญ่เพื่อเชิญชวนให้ผู้ลงทุนยื่นขอสิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ แต่ไม่มีผู้สนใจลงทุนพัฒนาเหมืองทองคำ เพราะเห็นว่ารัฐจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ในอัตราสูงถึง 10% ของราคาประกาศ
การปรับลดค่าภาคหลวงแร่ จาก 10% เหลือ 2.5% ตรงกับรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน เพื่อดึงดูดการลงทุน
12 กันยายน 2535
การปรับลดค่าภาคหลวงแร่ จาก 10% เหลือ 2.5% ตรงกับรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน เพื่อดึงดูดการลงทุน
ครม. มีมติให้ลดค่าภาคหลวงแร่ทองคำลงจากอัตรา 10% ของราคาประกาศ เป็น 2.5% โดยใช้ราคาตลาดทองคำลอนดอนเป็นมาตรฐาน
การปรับลดค่าภาคหลวงแร่ จาก 10% เหลือ 2.5% ตรงกับรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน เพื่อดึงดูดการลงทุน
12 กันยายน 2535
การปรับลดค่าภาคหลวงแร่ จาก 10% เหลือ 2.5% ตรงกับรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน เพื่อดึงดูดการลงทุน
ครม. มีมติให้ลดค่าภาคหลวงแร่ทองคำลงจากอัตรา 10% ของราคาประกาศ เป็น 2.5% โดยใช้ราคาตลาดทองคำลอนดอนเป็นมาตรฐาน
2536
บ.คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จากออสเตรเลีย เริ่มลงทุนในไทยผ่าน บ. อัครา ไมนิ่ง เพื่อทำธุรกิจเหมืองแร่ทองคำ
2537
บ.อัครา ไมนิ่ง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ. อัครา รีซอร์สเซส) เริ่มสำรวจแหล่งแร่ทองคำในพื้นที่ จ.พิจิตร และ จ.เพชรบูรณ์
13 มิถุนายน 2543
ครม. เห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาการบุกรุกหาแร่ทองคำบริเวณเขาพนมพา ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร โดยผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายให้ อบจ. ดำเนินการขอประทานบัตรในพื้นที่ดังกล่าว
บ.อัคราฯ ได้รับประทานบัตรเหมืองแร่ 5 ฉบับ ครอบคลุมพื้นที่โครงการชาตรีใต้
มกราคม 2544
บ.อัคราฯ เริ่มดำเนินการผลิตทองคำเชิงพาณิชย์ และได้รับสิทธิส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เช่น ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี และได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% อีก 5 ปี
22 ตุลาคม 2550
กระทรวงอุตสาหกรรมปรับค่าภาคหลวงแร่จากอัตราคงที่ 2.5% ของราคาทองคำ เป็นอัตราก้าวหน้าตามราคาทองคำระหว่าง 0-20%
4 ธันวาคม 2550
ครม. มีมติมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปศึกษาและเสนอแนะนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ
มิถุนายน 2551
บ.อัคราฯ ได้ประทานบัตรสำหรับโครงการชาตรีเหนือจำนวน 9 แปลง ซึ่งมีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงสามเท่า โดยมีสัมปทานถึงปี 2571 แม้ว่าจะมีกลุ่มชาวบ้านออกมาคัดค้านการขยายเหมือง แต่ไม่เป็นผล
4 มีนาคม 2554
ครม. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาข้อร้องเรียนของกลุ่มผู้คัดค้านเหมืองแร่ในนาม “ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม” กรณีการทำเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก และ จ.เพชรบูรณ์ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชะลอการให้สัมปทานเหมืองรายใหม่ เร่งรัดการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่
2555
บ.อัคราฯ ได้รับอนุมัติให้ขยายโรงงานประกอบโลหกรรม และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี จากกำไรสุทธิที่ได้รับจากการประกอบโลหกรรมส่วนขยาย
สิงหาคม 2556
บ.อัคราฯ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยแปรสภาพมาเป็น บมจ. อัครา รีซอร์สเซส โดยมี บ. คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ยังถือหุ้นหลักในสัดส่วน 48.2% ส่วนอีก 51.8% เป็นของนางณุชรีย์ ไศละสูต ต่อมาบริษัทได้ถอนการเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไป แต่ยังคงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจนถึงปัจจุบัน
พฤษภาคม 2557
กลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยรังสิตลงพื้นที่ตรวจเก็บตัวอย่างปัสสาวะ เลือด น้ำและดิน เพื่อนำไปตรวจพิสูจน์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่า ประชาชนในพื้นที่รอบเหมืองทอง จำนวน 738 คน เด็ก 67 คน มีสารหนูในเลือดสูง และผู้ใหญ่จำนวน 664 คน มีสารหนู 104 คน ส่วนผลตรวจจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ระบุว่าประชาชน 200 ราย มี DNA ผิดปกติ
13 มกราคม 2558
นายสุรพงษ์ เทียนทอง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ลงนามในหนังสือด่วนที่สุดสั่งให้ บมจ. อัคราฯ หยุดประกอบกิจการโลหกรรมเป็นเวลา 30 วัน เพื่อหาสาเหตุผลกระทบต่อสุขภาพชาวบ้าน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2530
1 ตุลาคม 2558
ป.ป.ช. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีทุจริตในการทำเหมืองแร่ทองคำบริเวณพื้นที่จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ หลังจากมีตัวแทนของประชาชนผู้ร้องเรียนและผู้ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพในพื้นที่มาตั้งแต่ปี 2553 และมีข้อมูลว่า ก.ล.ต. พบบริษัทออสเตรเลีย ถือหุ้นใหญ่บริษัทไทย ถูกร้องสอบทำทุจริตการขุดเหมือง และให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
20 ก.ค. 2558 - กลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำใน จ.พิษณุโลก จ.เพชรบูรณ์ และจ.พิษณุโลก เข้าพบ พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.ศูนย์บริหารคดีพิเศษ และรองโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อยื่นหนังสือขอติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการจากที่เคยมายื่นหนังสือร้องเรียนลิขสิทธิ์ภาพเว็บไซต์กรมสอบสวนคดีพิเศษ
16 ตุลาคม 2558
กระทรวงอุตสาหกรรมตั้งคณะกรรมการกลางตรวจสอบข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านรอบเหมืองทองคำ จ.พิจิตร กับผู้ประกอบการ หวังยุติความขัดแย้ง
ชาวอ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก จัดกิจกรรมพร้อมเปิดเวทีแสดงจุดยืนคัดค้านสัมปทานเหมืองทองในวันที่ 10 ต.ค. 2558 เพื่อเรียกร้องให้ นางอรรชญกา ศรีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม ซึ่งขณะนั้นลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นประชาชน บริเวณเหมืองแร่ทองคำในเขต จ.พิจิตรลิขสิทธิ์ภาพณัฐวุฒิ อุปปะ กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปราง
22 สิงหาคม 2559
บมจ.อัคราฯ เผยแพร่ผลการตรวจสุขภาพของประชาชนจำนวน 226 คนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเหมืองแร่ทองคําชาตรีในรัศมี 500 เมตร และ 5 กิโลเมตร ตามเงื่อนไขการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อ้างไม่พบสารไซยาไนด์ในเลือดเกินเกณฑ์
10 ธันวาคม 2559
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 72/2559 สั่งห้ามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่ออายุประทานบัตรและใบอนุญาต และให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำระงับการประกอบกิจการตั้งแต่ 1 ม.ค.2560
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.
ท่ามกลางเสียงของฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการระงับกิจการส่วนใหญ่เป็นพนักงานเหมืองทองและครอบครัว
ภาพกลุ่มผู้คัดค้านการปิดเหมืองทองอัคราที่ปรากฏบนเว็บไซต์ของ บ.คิงส์เกตฯ
1 มกราคม 2560
เหมืองทองอัครายุติการดำเนินการลงตามคำสั่งของ คสช. ที่ 72/2559
3 เมษายน 2560
บ.คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด ในประเทศออสเตรเลียผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ. อัคราฯ ส่งหนังสือแจ้งรัฐบาลไทยว่าได้ละเมิดข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย จากคำสั่งปิดเหมืองทอง โดยขอเจรจากับรัฐบาลไทย หากไม่สามารถหาข้อยุติได้ในเวลา 3 เดือน บริษัทฯ จะขอเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเพื่อระงับข้อพิพาท
29 สิงหาคม 2560
พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2560 เป็นการนำหลักการของ พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 และ พ.ร.บ. พิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. 2509 มารวมไว้ในฉบับเดียวกัน และมีผลให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอาชญาบัตร ประทานบัตรหรือใบอนุญาตที่ออกตาม พ.ร.บ. แร่ ฉบับก่อนหน้ายังคงเป็นผู้ได้รับอาชญาบัตร ประทานบัตร หรือ ใบอนุญาตไปจนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน
29 สิงหาคม 2560
พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2560 เป็นการนำหลักการของ พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 และ พ.ร.บ. พิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. 2509 มารวมไว้ในฉบับเดียวกัน และมีผลให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอาชญาบัตร ประทานบัตรหรือใบอนุญาตที่ออกตาม พ.ร.บ. แร่ ฉบับก่อนหน้ายังคงเป็นผู้ได้รับอาชญาบัตร ประทานบัตร หรือ ใบอนุญาตไปจนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน
2 พฤศจิกายน 2560
บ.คิงส์เกตฯ ยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3 หมื่นล้านบาท) จากคำสั่งปิดเหมืองทอง
30 ธันวาคม 2560
รัฐบาลสั่งการให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งทีมทนายความและนักกฎหมายเพื่อต่อสู้ข้อพิพาทกรณีเหมืองแร่อัคราในคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่สิงคโปร์ โดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน
15 พฤศจิกายน 2562
บ.คิงส์เกตฯ แจ้ง ก.ล.ต. ออสเตรเลียว่า กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างรัฐบาลไทยและ บ.คิงส์เกตฯ นัดแรกที่ฮ่องกง จำต้องเลื่อนออกไปจากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 18-29 พ.ย. เนื่องจากเหตุความวุ่นวายทางการเมือง
ในช่วงเดือน พ.ย. 2562 ในฮ่องกง เกิดเหตุความรุนแรงเกิดขึ้นหลายครั้งจากการเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยและเจ้าหน้าที่ตำรวจลิขสิทธิ์ภาพ
20 พฤศจิกายน 2562
บ.คิงส์เกตฯ แจ้ง ก.ล.ต. ออสเตรเลียถึงความคืบหน้าการไต่สวนนัดแรกในกระบวนการอนุญาโตตุลาการว่าจะเริ่มขึ้นในวันที่ 3 ก.พ. 2563 แต่ยังเปิดการเจรจากับรัฐบาลไทย
13 กุมภาพันธ์ 2563
บ.คิงส์เกตฯ แจ้ง ก.ล.ต. ออสเตรเลียว่า กระบวนการไต่สวนในกระบวนอนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาทกับรัฐบาลไทย กรณีเหมืองทองคำชาตรีถูกสั่งปิดได้เสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2563 แต่ยังไม่ระบุวันอ่านคำพิพากษาชี้ขาด ส่วนการเจรจากับทางการไทยยังคงดำเนินต่อไป
27 สิงหาคม 2563
เหมืองทองอัครา ติดอันดับแฮชแท็กยอดนิยมในประเทศไทย หลังผู้ใช้งานทวิตเตอร์ร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับ เอกสารงบประมาณปี 2564 ซึ่งระบุถึง ค่าใช้จ่ายราว 111 ล้านบาท ที่ใช้ในการระงับข้อพิพาทกรณีปิดเหมืองทองอัครา
ขณะที่สำนักข่าวอิศรารายงานว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ระหว่างปี 2562-2564 จากสำนักงบประมาณ มีงบเกี่ยวพันในส่วนกรมอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ใช้ในวัตถุประสงค์เดียวกันรวม 388 ล้านบาทลิขสิทธิ์ภาพเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา
8 กันยายน 2563
บ.คิงส์เกตฯ ระบุในเอกสารชี้แจง ก.ล.ต. ออสเตรเลียส่วนหนึ่งระบุว่า บมจ.อัคราฯ ซึ่งเป็นบริษัทลูกกำลังเจรจากับรัฐบาลไทยเพื่อขออนุญาตให้สามารถจำหน่ายสินแร่ทองคำและสินแร่เงินที่ยังติดค้างในถังและโรงงานแปรรูปที่เหมืองทองคำชาตรีหลังจากถูกสั่งปิด
10 กันยายน 2563
บ. คิงส์เกตฯ ออกแถลงการณ์ว่า บมจ.อัคราฯ บรรลุข้อตกลงกับโรงถลุงแร่ของไทยที่จะดำเนินการถลุงสินแร่ตามกฎหมายใหม่ ที่กำหนดให้ทองคำที่ขุดในประเทศไทยต้องถลุงในประเทศไทย โดยได้เริ่มขนส่งสินแร่ไปยังโรงถลุงแล้ว
26 พฤศจิกายน 2563
กพร. อนุมัติออกอาชญาบัตรพิเศษให้แก่ บมจ.อัคราฯ จำนวน 44 แปลงในพื้นที่ อ.ชนแดน และ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ ครอบคลุมเนื้อหา 397,226 ไร่ เป็นระยะเวลา 5 ปี เริ่มต้น 26 ต.ค. 2563
23 กันยายน 2564
บ.คิงส์เกตฯ เปิดเผยว่า การเจรจากับรัฐบาลไทยเพื่อระงับข้อพิพาทเข้าสู่ระยะสุดท้าย ขณะที่คณะอนุญาโตตุลาการพร้อมที่จะมีคำพิพากษา แต่บริษัทฯ และรัฐบาลไทยได้ร่วมกันร้องขอให้คณะอนุญาโตตุลาการชะลอการอ่านคำพิพากษาออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 ต.ค. 2564 เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายหาข้อสรุปในการเจรจา
27 ตุลาคม 2564
บ.คิงส์เกตฯ ออกแถลงการณ์ว่า ภายในเดือน ธ.ค. 2564 บริษัทคาดว่าจะเริ่มปรับปรุงเหมืองทองคำชาตรีด้วยใบอนุญาตการแปรรูปโลหกรรม (Metallurgical Processing License) และต่ออายุสัญญาการเช่าการขุดสำหรับการดำเนินงาน เนื่องจากการเจรจากับรัฐบาลไทยยังไม่สิ้นสุด ทั้งสองฝ่ายจึงขอให้คณะอนุญาโตตุลาการเลื่อนคำตัดสินข้อพิพาทเหมืองทองอัคราไปเป็นวันที่ 31 ม.ค. 2565
31 มกราคม 2565
คาดว่าคณะอนุญาโตตุลาการจะอ่านคำตัดสินข้อพิพาทเหมืองทองอัครา ที่ประเทศสิงคโปร์