หลวงวิจิตรวาทการ ในวัยหนุ่ม (ราว พ.ศ. 2466), ฉากหลังเป็นภาพพระราม จากจิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์ห้องที่ 25 ระเบียงคด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง “พระเอก” ใน รามเกียรติ์ คือ พระราม ขณะปาฐกถาเรื่อง มนุสสปฏิวัติ เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2482 ความตอนหนึ่งมีว่า (จัดย่อหน้าใหม่ – กองบรรณาธิการ)
“…ตัวเอกของเรื่องรามเกียรติ์ คือพระราม เป็นคนที่อ่อนแอที่สุด ไม่เคยทำงานสมบุกสมบันกับใคร จะออกรบก็ต่อเมื่อพิเภกบอกว่าวันนี้ชาตาของแม่ทัพฝ่ายข้าศึกถึงฆาต เวลาลำบากก็ต้องส่งคนอื่นไป จนถึงเมื่อเวลาสบายไม่ต้องทำอะไร นอกจาก ‘ยกศรพรหมาสตร์ขึ้นพาดสาย’ เท่านั้นแหละ พระรามจึงจะออกแรง
ทั้งๆ ที่เป็นเช่นนี้ ผู้แต่งยังสามารถทำให้ผู้อ่านเห็นว่า พระรามนั้นเป็นคนชั้นสูง เป็นผู้มีบุญ เป็นผู้ประเสริฐ…พระเอกของเราแทบทุกเรื่องมักได้ดีโดยไม่ต้องทำอะไร
ข้อความในท้องเรื่องมักสรรเสริญผู้ที่นอนสบายว่าเป็นผู้มีบุญ และกล่าวถึงคนที่ต้องทำงานเหน็ดเหนื่อยว่าเป็นผู้มีกรรม กวีของเรามักปั้นรูปพระเอกให้เป็นคนอ้อนแอ้นอ่อนแอ พอต้องทำงานอะไรเข้าหน่อยก็พรรณนาให้น่าสงสาร
เช่นว่า ‘แสนวิตกอกเอ๋ยไม่เคยยาก’ รูปร่างพระเอกของเรามักจะอรชรอ้อนแอ้นแม้จะเดินก็ไม่ค่อยไหว ผิดกับกวีนิพนธ์ของฝรั่งและจีนซึ่งพระเอกของเขามักต้องเป็นผู้ลํ่าสันใหญ่โตแข็งแรง จนสามารถสู้สิงห์ฆ่ามังกรหรือแบกขอนซุงได้”
คลิกอ่านเพิ่มเติม : “รามเกียรติ์ ตอนพระรามเดินดง” พระราชนิพนธ์ในร.4 แฝงสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างไร
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อ 14 มกราคม พ.ศ.2562
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง “พระเอก” ใน รามเกียรติ์ คือ พระราม ขณะปาฐกถาเรื่อง มนุสสปฏิวัติ เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2482 ความตอนหนึ่งมีว่า (จัดย่อหน้าใหม่ – กองบรรณาธิการ)
“…ตัวเอกของเรื่องรามเกียรติ์ คือพระราม เป็นคนที่อ่อนแอที่สุด ไม่เคยทำงานสมบุกสมบันกับใคร จะออกรบก็ต่อเมื่อพิเภกบอกว่าวันนี้ชาตาของแม่ทัพฝ่ายข้าศึกถึงฆาต เวลาลำบากก็ต้องส่งคนอื่นไป จนถึงเมื่อเวลาสบายไม่ต้องทำอะไร นอกจาก ‘ยกศรพรหมาสตร์ขึ้นพาดสาย’ เท่านั้นแหละ พระรามจึงจะออกแรง
ทั้งๆ ที่เป็นเช่นนี้ ผู้แต่งยังสามารถทำให้ผู้อ่านเห็นว่า พระรามนั้นเป็นคนชั้นสูง เป็นผู้มีบุญ เป็นผู้ประเสริฐ…พระเอกของเราแทบทุกเรื่องมักได้ดีโดยไม่ต้องทำอะไร
ข้อความในท้องเรื่องมักสรรเสริญผู้ที่นอนสบายว่าเป็นผู้มีบุญ และกล่าวถึงคนที่ต้องทำงานเหน็ดเหนื่อยว่าเป็นผู้มีกรรม กวีของเรามักปั้นรูปพระเอกให้เป็นคนอ้อนแอ้นอ่อนแอ พอต้องทำงานอะไรเข้าหน่อยก็พรรณนาให้น่าสงสาร
เช่นว่า ‘แสนวิตกอกเอ๋ยไม่เคยยาก’ รูปร่างพระเอกของเรามักจะอรชรอ้อนแอ้นแม้จะเดินก็ไม่ค่อยไหว ผิดกับกวีนิพนธ์ของฝรั่งและจีนซึ่งพระเอกของเขามักต้องเป็นผู้ลํ่าสันใหญ่โตแข็งแรง จนสามารถสู้สิงห์ฆ่ามังกรหรือแบกขอนซุงได้”
คลิกอ่านเพิ่มเติม : “รามเกียรติ์ ตอนพระรามเดินดง” พระราชนิพนธ์ในร.4 แฝงสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างไร
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อ 14 มกราคม พ.ศ.2562