วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 22, 2565

เรื่องนี้น่าอับอาย ต้องทำความจริงให้ปรากฏ! กรณีข่าว ส.ส. เยอรมันถามเรื่องการจัดเก็บภาษีในหลวงรัชกาลที่ 10 - รัฐบาลหายไปไหน ?? สำนักพระราชวัง ว่าไง ?!?


Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
10h ·

[ รัฐบาลไทยต้อง "ทำความจริงให้ปรากฏ!” กรณีข่าว ส.ส. เยอรมันถามเรื่องการจัดเก็บภาษีในหลวงรัชกาลที่ 10 ]
.
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักข่าวดอยช์เวเล (Deutsche Welle หรือ DW) ซึ่งเป็นสื่อกระแสหลักของเยอรมนี รายงานว่าเซวีม ดาเดเลน (Sevim Dağdelen) ส.ส. จากพรรคฝ่ายซ้าย (DIE LINKE) เรียกร้องให้กรมสรรพากรของมลรัฐบาวาเรียตรวจสอบการชำระภาษีที่อยู่อาศัยรวมถึงภาษีมรดกของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ 10) โดยสาเหตุที่เซวีม ดาเดเลน เรียกร้องเรื่องนี้เนื่องจากสื่อเยอรมันเคยรายงานว่าพระองค์ทรงมีพระตำหนักส่วนพระองค์ในเมืองทุทซิง มูลค่าประมาณ 10 ล้านยูโร (364.44 ล้านบาท) และมีรายงานเพิ่มเติมจากสื่อเยอรมันว่าพระองค์มักเสด็จประทับที่โรงแรมแกรนด์ซอนเนินบิเคิล (Grand Hotel Sonnenbichl) ในเมืองการ์มิช-พาร์เทินเคียร์เชินซึ่งอยู่ห่างจากเมืองทุทซิงประมาณ 60 กิโลเมตร
.
มีการตั้งคำถามที่ยังค้างคาในรัฐสภาเยอรมนีว่าตกลงแล้ว ในหลวงรัชกาลที่ 10 ยังต้องมีการชำระภาษีมรดกหรือไม่ เนื่องจากกฎหมายของเยอรมนีกำหนดให้ผู้ที่ได้รับมรดกต้องเสียภาษีมรดกร้อยละ 30 ของมูลค่ามรดกทั้งหมดที่ได้รับ ซึ่ง ส.ส. พรรคกรีนและพรรคฝ่ายซ้ายที่ตั้งกระทู้ถามในสภาเมื่อ 2 ปีก่อนระบุว่า หากต้องเสียภาษีมรดก ในหลวงรัชกาลที่ 10 อาจต้องเสียภาษีมรดกมูลค่าสูงถึง 3,000 ล้านยูโร
.
เนื้อข่าวยังรายงานต่อไปด้วยว่ารัฐบาลเยอรมนีชุดก่อนตอบคำถามเพียงสั้นๆ ว่า “การจัดเก็บภาษีมรดกเป็นหน้าที่ของรัฐบาลมลรัฐ” สำนักข่าวดอยช์เวเลจึงได้สอบถามไปยังกรมสรรพากรแห่งมลรัฐบาวาเรียในประเด็นการจัดเก็บภาษีของในหลวงรัชกาลที่ 10 ในเยอรมนี แต่กรมสรรพากรแห่งมลรัฐบาวาเรียปฏิเสธที่จะตอบคำถามเรื่องการชำระภาษี ด้านเซวีม ดาเดเลนให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องไม่ดีเท่าไหร่นักที่มีข้อกังหาเรื่องนี้เกิดขึ้น จึงเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องปฏิบัติต่อทุกคนในเรื่องนี้อย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน
.
กรณีประเด็นปัญหาเรื่องการเก็บภาษีในหลวงรัชกาลที่ 10 นี้ ก่อนหน้านั้น เคยเป็นประเด็นทั้งในระดับสหพันธ์และระดับมลรัฐมาแล้ว
.
ในเดือนเมษายน 2563 สมาชิกสภามลรัฐบาวาเรียจากพรรคกรีน 2 คน ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีคลังของมลรัฐบาวาเรีย ว่ามลรัฐบาวาเรียต้องเก็บภาษีมรดกจากในหลวงรัชกาลที่ 10 หรือไม่ ซึ่งรัฐมนตรีก็ตอบอย่างไม่ชัดเจน (ในประเด็นนี้สามารถรับฟังได้เพิ่มเติมได้ในรายการสนามกฎหมาย ปัญหาเกี่ยวกับภาษีมรดกของพระมหากษัตริย์ไทยในบาวาเรีย https://www.youtube.com/watch?v=T0tJiPXzhLQ...)
.
ต่อมา วันที่ 10 ธันวาคม 2563 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคกรีนและพรรคฝ่ายซ้าย ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรต่างประเทศ รวม 44 ประเด็น เกี่ยวกับสถานการณ์การชุมนุมในประเทศไทย การใช้อำนาจของประมุขของรัฐไทยในดินแดนเยอรมนี การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการกักตัวในช่วงโควิด-19 ระบาด และการเก็บภาษี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของเยอรมนีก็ตอบชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง (ในประเด็นนี้สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ในรายการสนามกฎหมาย การลงพระปรมาภิไธยในดินแดนเยอรมนี https://www.youtube.com/watch?v=u_7NyuyUKbI...
.
และคืบหน้าล่าสุด! สภาเยอรมันออกรายงานศึกษากรณีกษัตริย์ไทยประทับเยอรมนี https://www.youtube.com/watch?v=8Ew8svF2Rb8...
.
เปิด 44 คำถามของพรรคฝ่ายค้านและคำชี้แจงของรัฐบาลเยอรมนี ปม ร.10 ประทับในบาวาเรีย https://prachatai.com/journal/2021/01/91192)
.
ผมได้ไปสืบค้นและสอบถามผู้รู้เรื่องระบบการจัดเก็บภาษีของประเทศเยอรมนี พบว่าในส่วนของภาษีที่อยู่อาศัยนั้น สหพันธรัฐออกกฎหมายมาให้เก็บแต่คนจัดเก็บเป็นระดับท้องถิ่น

ในกรณีของภาษีรายได้ทางสหพันธรัฐเป็นคนเก็บเอง แต่เอามาแบ่งกันส่วนหนึ่งเป็นของสหพันธรัฐอีกส่วนหนึ่งเป็นของมลรัฐ

กรณีของภาษีมรดกนั้น มลรัฐเป็นคนเก็บแล้วเงินก็เข้าสู่มลรัฐ
.
ในกรณีของภาษีมรดก บุคคลต้องจ่ายภาษีมรดกในเยอรมนี ได้แก่
.
1.คนสัญชาติเยอรมันที่ไม่ได้อยู่นอกประเทศนานเกินกว่า 5 ปี

2.ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ ข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนีที่ไปพำนักอาศัยอยู่ในประเทศอื่น

3.บุคคลที่มีที่อยู่ถาวร (Permanent Residence) ในประเทศเยอรมนี ซึ่งไม่จำเพาะเจาะจงเรื่องสัญชาติว่าต้องเป็นคนถือสัญชาติเยอรมนีเท่านั้น
.
หากมรดกที่ได้รับมาเกินกว่า 26 ล้านยูโร อัตราที่จะถูกจัดเก็บภาษีมรดกคือ ร้อยละ 30 และบุคคลที่เข้าข่ายว่าจะต้องจ่ายภาษีมรดกต้องแจ้งสรรพากรภายใน 3 เดือน
.
ประเด็นปัญหาคือ เราไม่ทราบว่ามลรัฐบาวาเรียจะตีความกฎหมายข้อนี้อย่างไร จะจัดเก็บภาษีมรดกและภาษีที่อยู่อาศัยหรือไม่อย่างไร จะตีความว่าในหลวงรัชกาลที่ 10 เป็นบุคคลที่มีที่อยู่ถาวร (Permanent Residence) ในประเทศเยอรมนีหรือไม่ในวันที่ได้รับมรดก แลtจะมีการจัดเก็บภาษีมรดกในหลวงรัชกาลที่ 10 หรือไม่อย่างไร
.
ตามการรายงานข่าวของสื่อต่างๆ ในเยอรมนี พบว่าประเด็นปัญหานี้ ถูกหยิบยกมาพูดคุยกันทั้งในระดับมลรัฐและสหพันธ์ อย่างน้อยๆ 3 ครั้ง ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เดือนธันวาคม 2563 และเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และข้อที่พึงพิจารณาประกอบก็คือ รัฐบาลปัจจุบัน มีรัฐมนตรีต่างประเทศที่มาจากพรรคกรีน ซึ่งเป็นพรรคที่มี ส.ส. ทั้งในระดับสหพันธ์และระดับมลรัฐตั้งกระทู้ถามเรื่องนี้ในปี 2563
.
กรณีการตั้งคำถามของ ส.ส. เยอรมันนั้น ก็ว่ากันไปตามกระบวนการของประเทศเยอรมนี แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากตั้งคำถามดังๆ กลับไป ก็คือ
.
รัฐบาลไทยทำอะไรอยู่?
.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยทำอะไรอยู่? กระทรวงการต่างประเทศทำอะไรอยู่?
.
สื่อสารมวลชนของประเทศไทยทำอะไรอยู่? ทำไมไม่เสนอข่าวนี้ เท่าที่ตรวจพบมีเพียงสำนักข่าวประชาไทที่แปลเรียบเรียงข่าวจากสำนักข่าวเยอรมันมา

ส.ส. ประเทศไทยทำอะไรอยู่?
.
ที่ตั้งคำถามเหล่านี้ ผมไม่ได้หมายความว่า ต้องการสนับสนุนให้เยอรมนีเก็บภาษีมรดกและภาษีที่อยู่อาศัยจากในหลวงรัชกาลที่ 10 ไม่ใช่ประเด็นนั้นเลย แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องขององค์พระประมุขของราชอาณาจักรไทย ต่างประเทศเขานำเสนอข่าวถึงขนาดนี้แล้ว จริงเท็จอย่างไรไม่ทราบ เราเห็นด้วยกับข่าวหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ก็แล้วแต่ แต่ทำไมรัฐบาลไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ไม่ชี้แจงเลย ไม่แถลงให้ประชาชนคนไทยได้รับรู้รับทราบเลยหรือ?
.
รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พูดแทบทุกวันเรื่องความจงรักภักดี แต่เรื่องราวแบบนี้ปรากฏออกมาเป็นข่าวถึง 3 ครั้งแล้ว จะไม่ชี้แจงให้พี่น้องประชาชนคนไทยทราบสักหน่อยหรือ?

ถ้าเกิดพี่น้องประชาชนเห็นข่าวเหล่านี้แล้วไม่สบายใจ ทำไมจึงมีเรื่องเช่นนี้มากระทบต่อพระมหากษัตริย์ของพวกเรา รัฐบาลไทยจะไม่ชี้แจงหรืออย่างไร?

ตกลงแล้วต้องจ่ายภาษีไหม?

รัฐบาลไทยได้ไปอธิบายกับรัฐบาลเยอรมนีอย่างไร?

รัฐบาลไทยได้ไปอธิบายกับรัฐบาลของมลรัฐบาวาเรียหรือไม่อย่างไร?

แล้วถ้าหากว่าวันหนึ่งเขาจะเรียกเก็บจริงๆ ได้คิดอ่านกันไว้แล้วหรือยังว่าจะทำอย่างไร?

แล้วหากรัฐบาลไม่ดำเนินการชี้แจง ส.ส. ไทยจะไม่ตั้งกระทู้ถามรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสักหน่อยหรือเพื่อทำความจริงให้ปรากฏ?

สื่อก็ต้องช่วยกันนำเสนอข่าว และยิ่งหากไม่เชื่อข่าวนี้ ก็ยิ่งต้องสืบเสาะตั้งคำถามทำความจริงให้ปรากฏ
.
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ผมจึงอยากเรียกร้องไปยังรัฐบาลในฐานะผู้รับผิดชอบโดยตรงให้ออกมาชี้แจง ทำความจริงให้ปรากฏ อย่าปล่อยให้คลุมเคลือ เพราะถ้าหากเรื่องราวเหล่านี้ไม่จริง หากในหลวงรัชกาลที่ 10 ไม่ทรงอยู่ในขอบเขตของบุคคลที่ต้องจ่ายภาษีที่อยู่อาศัยและภาษีมรดกให้เยอรมนีจริง รัฐบาลไทยจะได้ปฏิเสธและหาทางปกป้องพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ไทยต่อไป ประชาชนคนไทยจะได้สบายใจ
.
ข่าวจากสำนักข่าวดอยช์เวเล https://www.dw.com/en/thai-king-maha-vajiralongkorn-under-political-and-tax-scruti[…]d=IwAR3S-C_8MpmDG4yvsXGBLSg6wiU4xIQW5GyBYs8MxAhuFdsbC52MKf3-YhM
...
Thai king Maha Vajiralongkorn under political and tax scrutiny in Germany

Thai King Maha Vajiralongkorn is under fresh scrutiny for questions over whether he paid the correct property and inheritance taxes.

The Thai king spends most of his time in Germany

14.02.2022
DW.Com

Thai King Maha Vajiralongkorn is facing fresh controversy in Germany as local investigators are reportedly looking into whether he has paid the correct property and inheritance taxes in Bavaria, where the Southeast Asian monarch spends much of his time.

King Vajiralongkorn, a controversial figure at home in Thailand, came under attack from Berlin in October 2020 when Germany's then-Foreign Minister Heiko Maas publicly warned the king that "politics concerning Thailand is not to be done from German soil." He added that Germany "would always oppose having guests in our country who run their state affairs from here."

Afterwards, the German government said it was satisfied by assurances that King Vajiralongkorn was not conducting official Thai business in Germany, and tempers were somewhat calmed as the monarch stayed away from Germany throughout much of 2021. But attention to the king's activity has been back on the table ever since was spotted in Germany last November.
 
Interest renewed after return to Germany

"It is simply naive for the German government to assume that King Vajiralongkorn, who spends much of the year in Germany, is not conducting political affairs from here," said Sevim Dagdelen, member of the Left Party and part of the German parliament's Foreign Affairs Committee.

"Federal Foreign Minister Annalena Baerbock must declare the Thai king a persona non grata if she wants to prevent him from continuing to order massive human rights violations in Thailand while in Germany," she told DW.


Thai King Maha Vajiralongkorn has spent extensive time in the luxury Grand Hotel Sonnenbichl in the Bavarian Alps

The Thai king owns a purported €10 million ($11.3 million) home in the lakeside town of Tutzing, and spends much of his time at the glitzy Sonnenbichl Hotel in Garmisch-Partenkirchen. His extended absences have been a source of much controversy back home.

In early 2020, mass pro-democracy protests against the country's government, composed of the military generals who took power in a 2014 coup, erupted in the capital Bangkok. Even through criticising the monarchy is punishable by decades in jail, demonstrators began to also call for reforms to the monarchy, breaking a very-old taboo.

Hundreds of people were arrested and Thailand's constitutional court said the protestors were attempting to overthrow the monarchy, whereas most were simply demanding limits on it.

Unlike his father — the late King Bhumibol Adulyadej, who reigned from 1946 until his death in 2016 — Vajiralongkorn cuts a controversial figure. Since taking the throne, he has assumed greater powers for the monarchy, been far more engaged in politics, and has struggled to connect with ordinary Thais.

Photos of him scantily-clad have spread on social media, and some of the photos were taken of him while in Germany and elsewhere in Europe.

'Things are pretty much the same'

"Thais are frustrated but the king doesn't care. Things are pretty much the same now as before the protests," said Pavin Chachavalpongpun, associate professor at Kyoto University's Center for Southeast Asian Studies.

"He simply rather stays in Germany; that's his personal liking," Pavin explained. "He can still travel as much as he wishes, and he has been in and out of Germany. Sometimes, he has just done a one-day visit to Bangkok and then returned to Germany."

King Vajiralongkorn was spotted back in Germany last November after a 13-month stint away from the country following the warning by the German foreign ministry. And yet, there are fresh controversies around the Thai monarch. "The German media has continued to hunt him down, reporting regularly on his activities in Germany," said Pavin.

Just this week, German media outlets reported on King Vajiralongkorn purchasing a new luxury $375 million (€332 million) aircraft, and Germany will reportedly be the destination for the maiden flight. Late last year, German tabloid Bild speculated that the king has sent many of his most prized and valuable possessions to Germany for safekeeping.

German Foreign Minister Baerbock, who took office last December, has echoed her predecessor by stating that Berlin expected the monarch not to conduct affairs relating to Thailand while in Germany.

'No decisions will be made on German soil'

"We have clearly communicated our position to the government of Thailand," an official source in the German foreign ministry told DW. "We assume that no decisions will be made on German soil by their representatives that contradict the German legal system, international law, or internationally guaranteed human rights."

"The Thai government has assured us that it will accept this requirement and act accordingly," they added.

However, another source in the German foreign ministry, who requested anonymity, said they are continually assessing the situation and could alter their stance if any new information was to come to light. Pressure from politicians and civil-society actors in Germany for a change of government policy continues.

Junya Yimprasert, a European-based Thai activist who runs the organization Act4Dem, has been campaigning for years for the Berlin government to get tough on King Vajiralongkorn. During the protests in Bangkok in 2020, Junya and her organization projected slogans critical of him across buildings in Germany, including the country's parliament and the Sonnenbichl Hotel.

"We would be grateful if the German government removed the immunity of the Thai King and opened the pathway for criminal procedure under the German law to proceed," she said.

It is believed that local investigators are now looking into the monarch's tax affairs on his second-home in Tutzing, which he reportedly purchased for €10 million several years ago. There are also questions over whether he should have paid inheritance tax in Germany following the death of his father, the late King Bhumibol Adulyadej.

King Vajiralongkorn reportedly received an estimated $10.6 billion in inheritance from his father. Under German law, inheritance tax is 30%, meaning the king could owe the German state nearly $3 billion.

The Bavarian state tax office refused to comment due to tax privacy laws.

"It is a scandal that a multi-billionaire apparently does not pay inheritance tax in Bavaria, although immunity under international law does not provide for any exemption from this," Dagdelen said. "The king's privileged treatment must end."

Edited by: Leah Carter
...