ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
8h ·
21 ก.พ. 2565 ที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมีนัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน ในคดีมาตรา 112 ของ #ศิระพัทธ์ ดีสวัสดิ์ ชาวจังหวัดนนทบุรี อายุ 35 ปี กรณีถูกกล่าวหาว่าลักพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 พร้อมกรอบรูปไปจากหน้าหมู่บ้านประชาชื่น จากนั้นนำกรอบรูปไปทิ้งลงคลอง เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2564 และคดีรับของโจร ของ #กนกวรรณ ฉิมนอก ชาวจังหวัดนครราชสีมา อายุ 24 ปี กรณีถูกกล่าวหาว่า รับมอบและเก็บรักษาพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ที่ศิระพัทธ์ลักมาเอาไว้
.
ในวันนี้ โจทก์ จำเลย ทนายจำเลย และนายประกันมาศาล โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2564 อัยการโจทก์ได้ยื่นฟ้องศิระพัทธ์ต่อศาลจังหวัดนนทบุรีแล้ว โดยในคำฟ้องได้ระบุว่า #ขอให้ศาลพิจารณาคดีเป็นการลับ เพื่อประโยชน์แห่งความเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 เนื่องจากคดีนี้เป็นความผิดข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
.
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2564 อัยการโจทก์ยังได้ยื่นคำร้องขอให้ศาล #พิจารณาคดีของศิระพัทธ์เข้ากับคดีของกนกวรรณ โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากพยานหลักฐานเป็นชุดเดียวกัน ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการดำเนินกระบวนการพิจารณา
.
ต่อมาในวันนี้ ศาลได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อคู่ความทุกฝ่าย โดยให้คดีของศิระพัทธ์เป็นคดีหลัก ทั้งยังได้มีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาโดยลับตามคำร้องขอของอัยการ โดยอนุญาตให้เฉพาะคู่ความในคดีทั้งสองเข้าร่วม
.
จากนั้นศาลได้อ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองฟัง โดยจำเลยทั้งสองยืนยันให้การปฏิเสธตามคำให้การที่ได้ยื่นต่อศาล
.
จากนั้นโจทก์ได้ส่งพยานเอกสารจำนวน 17 ฉบับ และแถลงประสงค์สืบพยานบุคคลรวม 6 ปาก ด้านจำเลยส่งพยานเอกสาร รวม 4 ฉบับ และแถลงประสงค์สืบพยานจำเลย รวม 4 ปาก ศาลจึงนัดสืบพยานโจทก์ 1 นัดครึ่ง ในวันที่ 9-10 พ.ย. 2565 นัดสืบพยานจำเลย 1 นัด ในวันที่ 10-11 พ.ย. 2565
.
อ่านบนเว็บไซต์ https://tlhr2014.com/archives/40648
...
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
7h ·
21 ก.พ. 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ได้เข้าจับกุมนายสมพล (นามสมมติ) หนุ่มวัย 28 ปี ตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี หลังจากเขาเพิ่งได้รับการประกันตัวใน 3 คดีที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ เนื่องจากการถูกกล่าวาหาว่าเป็นผู้ปาสีใส่พระบรมฉายาลักษณ์ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี เขาถูกกล่าวหาข้อหามาตรา 112 เพิ่มอีก 2 คดีรวด เหตุถูกกล่าวหาปาสีบริเวณห้างโลตัสรังสิต และพ่นสีสเปรย์ในพื้นที่อำเภอคลองหลวง ทำให้สมพลถูกดำเนินคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์” รวมถึง 5 คดี
.
หลังจากเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายหน่วยงานเข้าจับกุมสมพลจากบ้านพักย่านดอนเมือง เหตุเกี่ยวกับปาสีน้ำสีแดงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 โดยเขาถูกออกหมายจับใน 2 คดี ของ สภ.ปากเกร็ด และ สภ.เมืองปทุมธานี ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, “ทำให้เสียทรัพย์” ตามมาตรา 358 และข้อหาตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 35 และต่อมาทราบว่าได้มีตำรวจจาก สภ.ปากคลองรังสิต เข้าไปแจ้งข้อกล่าวหาลักษณะเดียวกันเพิ่มเติมกับสมพลอีกคดีหนึ่ง โดยคดีหลังนี้ ตำรวจไม่ได้มีหมายจับแต่อย่างใด และไม่ได้มีทนายความอยู่ร่วมด้วยในการแจ้งข้อกล่าวหา
.
.
ในวันที่ 21 ก.พ. 2565 พนักงานสอบสวนได้ยื่นขอฝากขังสมพลต่อศาลจังหวัดนนทบุรีใน 1 คดี และศาลจังหวัดปทุมธานีใน 2 คดี ก่อนศาลจะอนุญาตให้ฝากขัง แต่ได้อนุญาตให้ประกันตัวสมพล โดยให้วางหลักทรัพย์คดีละ 200,000 บาท รวมหลักทรัพย์ 600,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์
.
แต่หลังจากเขาได้รับการปล่อยตัวราว 20.00 น. ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ เข้าอายัดตัวอีก โดยมีการแสดงหมายจับของศาลจังหวัดธัญบุรีในอีกคดีหนึ่ง ก่อนนำตัวไปที่ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ พร้อมแจ้งทนายความว่าจะแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำในช่วงบ่ายวันรุ่งขึ้น
.
แต่ในวันที่ 22 ก.พ. 2565 เวลาประมาณ 11.00 น. ญาติของสมพล ได้แจ้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า ได้มีพนักงานสอบสวนจาก สภ.คลองหลวง เดินทางเข้าแจ้งข้อกล่าวหาต่อสมพลในอีกคดีหนึ่ง มีการนำทนายความขอแรงที่ประจำที่สถานีตำรวจมาเข้าร่วมการสอบสวนด้วย โดยไม่รอทนายความของผู้ต้องหาเอง ที่จะเดินทางไปในช่วงบ่าย
.
ต่อมาหลังทนายความเครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนติดตามไปที่ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ พบว่าคดีของ สภ.คลองหลวง นั้น มี พ.ต.ท.พิศิษฐ บุญมีสุข สารวัตรสอบสวน เป็นผู้มาแจ้งข้อกล่าวหาต่อสมพล ในข้อกล่าวหาตามมาตรา 112, ทำให้ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์เสียหาย ตามมาตรา 360 และ พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 35 เช่นกัน
.
พฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาโดยสรุป เหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนของกองบังคับการตำรวจภูธรภาค 1 และ สภ.คลองหลวง ได้ตรวจสอบพบภาพในทวิตเตอร์เป็นภาพถ่ายและข้อความแสดงออกทางการเมือง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ สภ.คลองหลวง จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบการพ่นสีสเปรย์สีน้ำเงินที่มีข้อความเกี่ยวกับกษัตริย์ ทับป้ายบอกทางสองจุด ได้แก่ บริเวณหน้าสนามกอล์ฟเอไอที และหน้าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งเป็นทรัพย์สินใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เชื่อว่าผู้กระทำมีเจตนาการดูพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ และแสดงความอาฆาตมาดร้าย และเจตนาทำให้ทรัพย์สินทางราชการได้รับความเสียหาย เจ้าหน้าที่จึงได้ออกสืบสวนหาผู้กระทำผิด พร้อมกับร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี
.
ต่อมา หลังการจับกุมนายสมพลได้และควบคุมตัวไปที่ สภ.ปากเกร็ด ได้มีการตรวจสอบโทรศัพท์มือถือ และมีภาพถ่ายที่ปรากฏในไลน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับภาพป้ายบอกทางที่ถูกพ่นสีดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเชื่อว่าสมพลเป็นผู้กระทำในคดีนี้ จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อเขา
.
ขณะที่คดีของ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ พบว่าเป็นการจับกุมตามหมายจับของศาลจังหวัดธัญบุรี ลงวันที่ 21 ก.พ. 2565 กล่าวหาในพฤติการณ์ปาสีน้ำสีแดงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2565 ในลักษณะเดียวกับคดีของ สภ.ปากเกร็ด และ สภ.เมืองปทุมธานี แต่ระบุจุดที่พบการสาดสี คือบริเวณพระบรมฉายาลักษณ์หน้าห้างโลตัสรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยตำรวจได้แจ้ง 3 ข้อกล่าวหาต่อสมพลเช่นเดียวกัน
.
สมพลได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาในทั้งสองคดี โดยจะขอยื่นคำให้การเป็นหนังสือต่อไปภายใน 30 วัน
.
หลังการสอบปากคำ พนักงานสอบสวนทั้ง 2 สถานีตำรวจ ได้นำตัวผู้ต้องหาไปยื่นขอฝากขังต่อศาลจังหวัดธัญบุรี โดยในคดีของ สภ.คลองหลวง แม้ตำรวจจะไม่ได้มีหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนอ้างว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 จึงได้สั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังด้วย ทั้งยังคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา โดยอ้างว่าเกรงว่าผู้ต้องจะหลบหนี และไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
.
ต่อมา ศาลจังหวัดธัญบุรีได้อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา แต่อนุญาตให้ประกันตัวในทั้งสองคดี โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันตัวคดีละ 150,000 บาท รวมวางหลักประกัน 300,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์
.
ทั้งนี้ จากการถูกดำเนินคดีมาตรา 112 รวม 5 คดีของสมพล ทำให้ยอดจำนวนคดีข้อหามาตรานี้ตั้งแต่หลังการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 184 คดีแล้ว โดยมีผู้ถูกกล่าวหาจำนวนอย่างน้อย 173 คน
.
.
อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/40654
.
ดูตารางสถิติคดีมาตรา 112: https://tlhr2014.com/archives/23983
...ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
7h ·
21 ก.พ. 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ได้เข้าจับกุมนายสมพล (นามสมมติ) หนุ่มวัย 28 ปี ตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี หลังจากเขาเพิ่งได้รับการประกันตัวใน 3 คดีที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ เนื่องจากการถูกกล่าวาหาว่าเป็นผู้ปาสีใส่พระบรมฉายาลักษณ์ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี เขาถูกกล่าวหาข้อหามาตรา 112 เพิ่มอีก 2 คดีรวด เหตุถูกกล่าวหาปาสีบริเวณห้างโลตัสรังสิต และพ่นสีสเปรย์ในพื้นที่อำเภอคลองหลวง ทำให้สมพลถูกดำเนินคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์” รวมถึง 5 คดี
.
หลังจากเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายหน่วยงานเข้าจับกุมสมพลจากบ้านพักย่านดอนเมือง เหตุเกี่ยวกับปาสีน้ำสีแดงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 โดยเขาถูกออกหมายจับใน 2 คดี ของ สภ.ปากเกร็ด และ สภ.เมืองปทุมธานี ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, “ทำให้เสียทรัพย์” ตามมาตรา 358 และข้อหาตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 35 และต่อมาทราบว่าได้มีตำรวจจาก สภ.ปากคลองรังสิต เข้าไปแจ้งข้อกล่าวหาลักษณะเดียวกันเพิ่มเติมกับสมพลอีกคดีหนึ่ง โดยคดีหลังนี้ ตำรวจไม่ได้มีหมายจับแต่อย่างใด และไม่ได้มีทนายความอยู่ร่วมด้วยในการแจ้งข้อกล่าวหา
.
.
ในวันที่ 21 ก.พ. 2565 พนักงานสอบสวนได้ยื่นขอฝากขังสมพลต่อศาลจังหวัดนนทบุรีใน 1 คดี และศาลจังหวัดปทุมธานีใน 2 คดี ก่อนศาลจะอนุญาตให้ฝากขัง แต่ได้อนุญาตให้ประกันตัวสมพล โดยให้วางหลักทรัพย์คดีละ 200,000 บาท รวมหลักทรัพย์ 600,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์
.
แต่หลังจากเขาได้รับการปล่อยตัวราว 20.00 น. ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ เข้าอายัดตัวอีก โดยมีการแสดงหมายจับของศาลจังหวัดธัญบุรีในอีกคดีหนึ่ง ก่อนนำตัวไปที่ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ พร้อมแจ้งทนายความว่าจะแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำในช่วงบ่ายวันรุ่งขึ้น
.
แต่ในวันที่ 22 ก.พ. 2565 เวลาประมาณ 11.00 น. ญาติของสมพล ได้แจ้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า ได้มีพนักงานสอบสวนจาก สภ.คลองหลวง เดินทางเข้าแจ้งข้อกล่าวหาต่อสมพลในอีกคดีหนึ่ง มีการนำทนายความขอแรงที่ประจำที่สถานีตำรวจมาเข้าร่วมการสอบสวนด้วย โดยไม่รอทนายความของผู้ต้องหาเอง ที่จะเดินทางไปในช่วงบ่าย
.
ต่อมาหลังทนายความเครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนติดตามไปที่ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ พบว่าคดีของ สภ.คลองหลวง นั้น มี พ.ต.ท.พิศิษฐ บุญมีสุข สารวัตรสอบสวน เป็นผู้มาแจ้งข้อกล่าวหาต่อสมพล ในข้อกล่าวหาตามมาตรา 112, ทำให้ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์เสียหาย ตามมาตรา 360 และ พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 35 เช่นกัน
.
พฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาโดยสรุป เหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนของกองบังคับการตำรวจภูธรภาค 1 และ สภ.คลองหลวง ได้ตรวจสอบพบภาพในทวิตเตอร์เป็นภาพถ่ายและข้อความแสดงออกทางการเมือง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ สภ.คลองหลวง จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบการพ่นสีสเปรย์สีน้ำเงินที่มีข้อความเกี่ยวกับกษัตริย์ ทับป้ายบอกทางสองจุด ได้แก่ บริเวณหน้าสนามกอล์ฟเอไอที และหน้าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งเป็นทรัพย์สินใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เชื่อว่าผู้กระทำมีเจตนาการดูพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ และแสดงความอาฆาตมาดร้าย และเจตนาทำให้ทรัพย์สินทางราชการได้รับความเสียหาย เจ้าหน้าที่จึงได้ออกสืบสวนหาผู้กระทำผิด พร้อมกับร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี
.
ต่อมา หลังการจับกุมนายสมพลได้และควบคุมตัวไปที่ สภ.ปากเกร็ด ได้มีการตรวจสอบโทรศัพท์มือถือ และมีภาพถ่ายที่ปรากฏในไลน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับภาพป้ายบอกทางที่ถูกพ่นสีดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเชื่อว่าสมพลเป็นผู้กระทำในคดีนี้ จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อเขา
.
ขณะที่คดีของ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ พบว่าเป็นการจับกุมตามหมายจับของศาลจังหวัดธัญบุรี ลงวันที่ 21 ก.พ. 2565 กล่าวหาในพฤติการณ์ปาสีน้ำสีแดงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2565 ในลักษณะเดียวกับคดีของ สภ.ปากเกร็ด และ สภ.เมืองปทุมธานี แต่ระบุจุดที่พบการสาดสี คือบริเวณพระบรมฉายาลักษณ์หน้าห้างโลตัสรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยตำรวจได้แจ้ง 3 ข้อกล่าวหาต่อสมพลเช่นเดียวกัน
.
สมพลได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาในทั้งสองคดี โดยจะขอยื่นคำให้การเป็นหนังสือต่อไปภายใน 30 วัน
.
หลังการสอบปากคำ พนักงานสอบสวนทั้ง 2 สถานีตำรวจ ได้นำตัวผู้ต้องหาไปยื่นขอฝากขังต่อศาลจังหวัดธัญบุรี โดยในคดีของ สภ.คลองหลวง แม้ตำรวจจะไม่ได้มีหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนอ้างว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 จึงได้สั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังด้วย ทั้งยังคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา โดยอ้างว่าเกรงว่าผู้ต้องจะหลบหนี และไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
.
ต่อมา ศาลจังหวัดธัญบุรีได้อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา แต่อนุญาตให้ประกันตัวในทั้งสองคดี โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันตัวคดีละ 150,000 บาท รวมวางหลักประกัน 300,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์
.
ทั้งนี้ จากการถูกดำเนินคดีมาตรา 112 รวม 5 คดีของสมพล ทำให้ยอดจำนวนคดีข้อหามาตรานี้ตั้งแต่หลังการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 184 คดีแล้ว โดยมีผู้ถูกกล่าวหาจำนวนอย่างน้อย 173 คน
.
.
อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/40654
.
ดูตารางสถิติคดีมาตรา 112: https://tlhr2014.com/archives/23983
ป้ายที่เชียงใหม่ แสดงความรู้สึกที่ไม่ต้องมีคำอธิบาย