iLaw
8h ·

เวลา 19.49 น. มีการจุดพลุขึ้นบริเวณประตูท่าแพ ฝั่งสตาร์บัคส์ ผู้สังเกตการณ์เห็นว่า ตำรวจเข้ามาเตะกล่องพลุล้ม ต่อมามีพลุพุ่งใส่คนที่นั่งอยู่บริเวณดังกล่าวจนได้รับบาดเจ็บบริเวณต้นแขนข้างซ้ายและหน้าแข้ง จากนั้นตำรวจวิ่งเข้ามาบริเวณประตูท่าแพและพยายามจะคว้าตัวชายคนหนึ่งไว้แต่เนื่องจากผู้ชุมนุมกรูเข้ามาจึงปล่อยไป มีการโต้เถียงกันทำนองว่า ระหว่างการชุลมุน ตำรวจเตะขาผู้ชุมนุมคนหนึ่ง เป็นการคุกคามประชาชน ตำรวจปฎิเสธและบอกว่า พวกเขาเข้ามาระงับเหตุเท่านั้น ผู้ชุมนุมที่ตามมาระบุว่า ลอยกระทงยังจุดพลุได้เลย ครั้งนี้ก็ควรจะทำได้ ตำรวจบอกว่า ชาวบ้านจะตกใจได้ พร้อมทั้งก่อนหน้านี้มีการขออนุญาตจุดพลุแต่ตำรวจไม่อนุญาต
ตำรวจพยายามขอให้ผู้ชุมนุมนำตัวคนจุดพลุมา แต่การโต้เถียงยังดำเนินไป ท้ายสุดตำรวจระบุว่า จะพิสูจน์ตัวตนผู้กระทำเองและถอยกำลังกลับไป ระหว่างนี้มีการยึดป้ายผ้าของผู้ชุมนุมไปอีก นักกิจกรรมคนหนึ่งพยายามตามไป ตำรวจขอให้พอ นักกิจกรรมยินยอม
iLaw
8h ·

.
20 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ข่วงประตูท่าแพ ทะลุฟ้า พร้อมด้วยเครือข่าย เช่น ประชาคมมอชอ, พรรควิฬาร์และลำพูนปลดแอก จัดกิจกรรม #หมู่เฮาไม่เอา112 มีเป้าหมายเพื่อรณรงค์ #ยกเลิก112
.
เวลา 18.22 น. ตัวแทนจากกลุ่มทะลุฟ้าปราศรัย ใจความว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นกฎหมายที่นำมาใช้ปราบปรามเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน ที่หลายครั้งเพียงต้องการแสดงความคิดเห็นในฐานะผู้ที่เสียภาษีและส่วนหนึ่งนั้นถูกนำไปใช้หมุนเวียนในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ
.
เวลา 18.31 น. เริ่มวงเสวนา มีผู้ร่วมแลกเปลี่ยน ได้แก่ จอร์จ-พินิจ ทองคำ พิราบขาวเพื่อมวลชน, ฮ่องเต้-ธนาธร วิทยเบญจางค์ พรรควิฬาร์, มิตร ใจอินทร์ และเป๋า-ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ iLaw โดยมีประเด็นแลกเปลี่ยนดังนี้
.
จอร์จ-พินิจ ซึ่งเป็นหนึ่งในจำเลยคดีมาตรา 112 เล่าว่า กลุ่มของเขาทำกิจกรรม สาเหตุที่ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 สืบเนื่องมาจากการติดป้ายผ้า “งบประมาณสถาบันกษัตริย์ฯ > วัคซีนโควิด” ที่สะพานรัษฎาฯ ลำปาง ต่อมาช่วงต้นปี 2564 เขาได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวนให้ไปรายงานตัวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้อง และศาลจังหวัดลำปางมีนัดสืบพยานในปี 2565 นี้
.
เขายืนยันว่า ข้อความดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เขาได้ค้นหารายละเอียดจากสำนักงบประมาณ ทำให้เห็นว่า ตอนนั้นสถานการณ์โควิด-19 หนักหนา แต่เหตุใดงบประมาณจึงมีสัดส่วนเช่นนี้ เป็นเหตุให้เขาตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐถึงไม่ใช้งบประมาณในการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนเป็นหลักก่อน ทำไมไม่มองความสำคัญของชีวิตมนุษย์ในประเทศก่อน
.
อนาคตของเขา ฮ่องเต้และคนอื่นๆ กำลังแขวนอยู่บนเส้นด้าย ไม่รู้ว่าวันหนึ่งจะถูกถอนประกันตัวเมื่อไหร่ ตอนนี้อำนาจอยู่ในมือของทุกคนในการยกเลิกมาตรา 112 ไม่อยากให้ในอนาคตต้องมีคนถูกดำเนินคดีจากการวิจารณ์รัฐเช่นเขาอีก
.
ฮ่องเต้-ธนาธร จำเลยคดีมาตรา 112 อีกคนหนึ่งเล่าว่า เขาถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ผ่านมาเขาใช้เวลามากในการไปรายงานตัวตามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อได้รับการประกันตัวก็มีเงื่อนไขติดตามมาด้วย มาตรา 112 ตอกย้ำว่า ประชาชนเป็นเพียงผู้ใต้ปกครองเท่านั้น ตอนนี้เราควรทบทวนว่า มาตรา 112 มีไว้ทำไม เขามองว่า อาจจะต้องมีการแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 ซึ่งส่วนตัวเขานั้นเห็นว่า ควรจะต้องยกเลิกเสียมากกว่า
.
เป๋า-ยิ่งชีพ กล่าวว่า หนึ่งปีกว่าๆ มาแล้วเราพูดเรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมเสนอข้อเรียกร้องสิบข้อ แต่ที่ผ่านมาเราไม่ได้หยิบแต่ละข้อมาพูดคุยอย่างถึงพริกถึงขิง ไม่ว่าจะคิดเห็น,เห็นด้วย หรือเห็นต่างอย่างไร เหตุที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะบทสนทนาถูกกำกับด้วยมาตรา 112 ไม่มีใครตอบได้เลยว่า ข้อความที่เราจะใช้วิจารณ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องสิบประการแบบไหนจะไม่ถูกดำเนินคดี
.
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ คดีมาตรา 112 ของจอร์จที่ใช้ข้อเท็จจริงในการนำเสนอแต่กลับถูกดำเนินคดีมาตรา 112
.
วันนี้ทุกคนมีคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ทำไมเรามีรัฐประหารบ่อยครั้ง ทำไมเราไม่มีรัฐสวัสดิการ ค้นไปก็ไม่เจอ หรือเจอก็ไม่รู้จะพูดได้ไหม เราจะหยิบเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นมาพูดคุยอย่างเปิดเผยได้อย่างไรหากยังมีมาตรา 112 อยู่ นับตั้งแต่ปี 2563 มีผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 อย่างน้อย 171 คน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ปกติธรรมดา ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาจำนวนของคดีมาตรา 112 แต่ละยุคไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎหมาย แต่ขึ้นกับบรรยากาศทางการเมือง เช่น 2557 หลังรัฐประหารมีคดีมาตรา 112 มากขึ้นและลดลงในช่วงปี 2561
.
นาทีนี้มีเพื่อนเราสองคนถูกคุมขังระหว่างการพิจารณามาตรา 112 คือ อานนท์ นำภา และเพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ จำนวนมากที่เหลือกำลังดำเนินการพิจารณาคดีอยู่ ทุกคนมีกำหนดนัดหมายคดีแล้ว วันหนึ่งข้างหน้า ซึ่งไม่น่าจะเกินปีนี้จะมีคำพิพากษา ถ้าศาลตัดสินว่า ต้องจำคุก พวกเขาจะต้องเข้าเรือนจำ โอกาสเดียวที่จะทำให้เพื่อนเราไม่ต้องในเรือนจำและหลุดพ้นจากการจำคุก ทางเลือกทางเดียวคือ ต้องเอากฎหมายนี้ออกไปและจำเป็นต้องทำอย่างรวดเร็วด้วย
.
วันนี้เรารวบรวมได้ 240,000 รายชื่อแล้ว แต่เท่านี้ยังไม่พอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง เราต้องการมากกว่านี้ เราต้องการเสียงที่มากกว่านี้ เราต้องการขาที่ออกมาเดินร่วมกันบนเส้นทางนี้ หามือมาเพิ่ม หาขามาเพิ่ม หาใจมาเพิ่ม หาความฝันมาเพิ่ม ในระยะเวลาอันสั้นเราจำเป็นจริงๆ ที่ต้องยกเลิกมาตรา 112 ให้ได้
.
ในส่วนของมิตร ใจอินทร์ ผู้ทำงานด้านศิลปะ เล่าประสบการณ์ในช่วงปี 2553 คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หรือ ครก.112 ล่าชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ครั้งนั้นเพื่อนเขาได้รับผลกระทบหลังจากลงชื่อสนับสนุนให้แก้ไขมาตราดังกล่าวด้วย ที่ผ่านมาเขาติดตามการเคลื่อนไหวของราษฎร 63 ซึ่งถือว่า การแสดงออกต่างๆ เป็นศิลปะร่วมสมัยที่สำคัญ
.
เวลา 19.49 น. มีการจุดพลุขึ้นบริเวณประตูท่าแพ ฝั่งสตาร์บัคส์ ผู้สังเกตการณ์เห็นว่า ตำรวจเข้ามาเตะกล่องพลุล้ม ต่อมามีพลุพุ่งใส่คนที่นั่งอยู่บริเวณดังกล่าวจนได้รับบาดเจ็บบริเวณต้นแขนข้างซ้ายและหน้าแข้ง จากนั้นตำรวจวิ่งเข้ามาบริเวณประตูท่าแพและพยายามจะคว้าตัวชายคนหนึ่งไว้แต่เนื่องจากผู้ชุมนุมกรูเข้ามาจึงปล่อยไป มีการโต้เถียงกันทำนองว่า ระหว่างการชุลมุน ตำรวจเตะขาผู้ชุมนุมคนหนึ่ง เป็นการคุกคามประชาชน ตำรวจบอกว่า พวกเขาเข้ามาระงับเหตุเท่านั้น ไม่ได้มีการเตะขา ผู้ชุมนุมที่ตามมาคนหนึ่งระบุว่า ลอยกระทงยังจุดพลุได้เลย ครั้งนี้ก็ควรจะทำได้ ตำรวจบอกว่า ชาวบ้านจะตกใจได้ พร้อมทั้งก่อนหน้านี้มีการขออนุญาตจุดพลุแต่ตำรวจไม่อนุญาต
.
ตำรวจพยายามขอให้ผู้ชุมนุมนำตัวคนจุดพลุมา แต่การโต้เถียงยังดำเนินไป ท้ายสุดตำรวจระบุว่า จะพิสูจน์ตัวตนผู้กระทำเองและถอยกำลังกลับไป ระหว่างนี้มีการยึดป้ายผ้าของผู้ชุมนุมไปอีก นักกิจกรรมคนหนึ่งพยายามตามไป ตำรวจขอให้พอ นักกิจกรรมยินยอม
iLaw
13h ·
#ม็อบ20กุมภา65 #ยกเลิก112
20 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16.00 น. ที่ข่วงประตูท่าแพ ทะลุฟ้า พร้อมด้วยเครือข่ายเช่น ประชาคมมอชอ, พรรควิฬาร์และลำพูนปลดแอก จัดกิจกรรม #หมู่เฮาไม่เอา112 มีเป้าหมายเพื่อรณรงค์ #ยกเลิก112 และเปิดโต๊ะรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
เวลา 14.00 น. ทีมงานเริ่มเข้าพื้นที่เพื่อเตรียมกิจกรรม เช่น เวทีเสวนา, ป้ายรณรงค์, นิทรรศการศิลปะและโต๊ะล่ารายชื่อ ขณะเดียวกันเริ่มมีกลุ่มคนเสื้อแดงในพื้นที่เข้ามาสมทบ ผู้สังเกตการณ์พบกล้องวงจรปิดแบบเคลื่อนที่ 2 จุดคือ ฝั่งป้อมตำรวจท่องเที่ยวและฝั่งสตาร์บัคส์ โดยมุมกล้องหันมาทางกำแพง เมื่อถามคนที่คุ้นชินพื้นที่ระบุว่า กล้องดังกล่าวเป็นการติดตั้งแบบเคลื่อนที่และเมื่อมีการชุมนุมก็มักจะถูกนำมาวางบริเวณนี้
เวลา 15.32 ทางทีมงานเริ่มติดป้ายผ้าบริเวณลานประตูท่าแพ ข้อความเช่น #กษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ , ม.112ต้องไม่แก้ไขแต่ต้องยกเลิกและ 112≠ความยุติธรรม ต่อมาตำรวจขอให้ปลดป้ายข้อความว่า #กษัตริย์ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ออก อ้างว่า ข้อความมีลักษณะหมิ่นเหม่ ส่วนป้ายข้อความที่เกี่ยวกับ #ม112 อื่นๆสามารถติดได้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)
เวลา 16.00 น. ทางผู้จัดชุมนุมแจ้งว่า ตำรวจจราจรเชียงใหม่ได้ทำการตั้งด่านตรวจค้นรถ โดยมีการค้นรถอย่างน้อย 4 จุด รอบพื้นที่ประตูท่าแพ กิจกรรมเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในเวลา 16.11 น. พิธีกรเริ่มประกาศเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมทำกิจกรรม ผู้ชุมนุมเริ่มทยอยมาสมทบเรื่อยๆ
นอกจากการชุมนุมของทะลุฟ้าและเครือข่ายแล้ว บริเวณข่วงประตูท่าแพยังมีกิจกรรม #ยืนหยุดทรราช เพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้แก่จำเลยคดีทางการเมือง พวกเขาทำเช่นนี้ต่อเนื่องกันมา 185 แล้ว

๐ สืบสวนตามติดนักกิจกรรมลำปาง
เวลา 15.03 น. ตำรวจนอกเครื่องแบบสองนายติดตามพินิจ ทองคำ นักกิจกรรม #พิราบขาวเพื่อมวลชน จังหวัดลำปางมาที่ร้านสตาร์บักส์ พินิจบอกว่า ตำรวจที่มาติดตามเขาในวันนี้เป็นตำรวจฝ่ายสืบสวนและได้รับคำสั่งให้มาติดตามเขาและเพื่อน พินิจเป็นหนึ่งในผู้ร่วมเวทีเสวนาปัญหามาตรา 112 ในการชุมนุมวันนี้ด้วย
๐ ขอให้ปลดป้าย อ้างข้อความหมิ่นเหม่
เวลา 15.35 น. พ.ต.อ.ภูวนาถ ดวงดี ผู้กำกับการสภ.เมืองเชียงใหม่ ขอให้นักกิจกรรมทะลุฟ้าปลดป้ายข้อความว่า #กษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ลง นักกิจกรรมถามว่า ข้อความนี้ผิดอย่างไร พ.ต.อ.ภูวนาถตอบว่า ถ้าคิดว่า ไม่ผิดก็ไม่เป็นไร ถือว่าเราได้มาบอกแล้ว นักกิจกรรมอีกคนหนึ่งถามว่า ข้อความเรียกร้องดังกล่าวมันผิดกฎหมายยังไง ตำรวจอีกนายหนึ่งกล่าวว่า เอาเป็นว่า ส่วนนี้หากมีข้อความที่หมิ่นเหม่ข้อความร่วมมือให้นำลง ส่วนเรื่องการประชาสัมพันธ์มาตรา 112 สามารถทำได้
พ.ต.อ.ภูวนาถย้ำอีกครั้งว่า ขอความร่วมมือดีกว่า ส่วนการยกเลิกมาตรา 112 นั้นสามารถทำได้ “เราไม่ว่าเลย” “เราอยากให้น้องชุมนุมอย่างสงบ ชุมนุมเสร็จก็ไม่มีปัญหาในเรื่องข้อกฎหมายอะไร มาพูดคุยกันด้วยดี อันไหนที่มันมีความสุ่มเสี่ยง ผมไม่อยากให้น้องๆต้องถูกดำเนินคดี น้องบอกว่า ต้องยกเลิก 112 อันนี้ผมไม่ว่า แต่ที่มีกษัตริย์...สถาบัน เราก็อยากให้เข้าใจด้วยว่า เราทำหน้าที่ เราต้องมาดูความเรียบร้อยเราไม่อยากจะต้องดำเนินคดีกัน น้องอยากยกเลิก112 ก็ชุมนุมไป แต่ข้อความอะไรที่มันหมิ่นเหม่เราก็อยากจะขอความร่วมมือ”
“คือจุดประสงค์ของน้อง น้องก็รู้อยู่ว่า น้องเขียนคำว่า กษัตริย์เพราะอะไร คือน้องรู้อยู่แล้ว แต่ว่าน้องไม่ต้องมาถามว่าอะไรยังไง ไม่เป็นไร ผมเตือนน้องแล้ว หากน้องไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร” ท้ายสุดนักกิจกรรมไม่ได้ปลดป้ายดังกล่าวลง