||| Guillotine Activists for Democracy
@Guillotine2475
·Mar 1, 2020
สลิ่มคืออะไร? สลิ่มไม่ใช่ตัวบุคคล แต่เป็นวิธีคิดและทัศนะทางการเมือง คือถ้าคิดว่าทุกการกระทำที่ผ่านมาของ กกต. ปปช. และศาล รธน. เป็นอิสระ ถูกต้องแล้ว ดีงามแล้ว ชอบๆ นั่นแหละ สลิ่ม!
...
สลิ่ม ในบริบทการเมืองไทยร่วมสมัย เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนหรือพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกมองว่าคลางแคลงในระบอบประชาธิปไตยและสนับสนุนบทบาทของกองทัพในพื้นที่การเมือง[1][2] นักรัฐศาสตร์ สุรชาติ บำรุงสุข มองว่าสลิ่มคือตัวแทนชนชั้นกลางปีกขวา[3] คำนี้ในตอนแรกใช้เรียกเฉพาะ "กลุ่มเสื้อหลากสี" หรือ กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดยเรียกตามชื่อขนมซ่าหริ่มซึ่งมีหลายสี และอาจมีความหมายเชิงดูถูก[4] ต่อมาขอบเขตความหมายได้กินความรวมไปถึงคนกลุ่มอื่นที่อยู่นอกเหนือผู้ชุมนุมในกลุ่มคนเสื้อหลากสีด้วย[2][5] คำว่าสลิ่มเริ่มถูกใช้ในงานเขียนที่เผยแพร่ทางสื่อทั่วไปอย่างน้อยตั้งแต่ปี 2554[6] และกลับมาเป็นที่สนใจในบทสนทนาทางการเมืองอย่างมากอีกครั้งเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษายุบพรรคอนาคตใหม่ เมื่อนักเรียนนักศึกษาจากหลายสถานศึกษาได้อ้างอิงถึงคำนี้ในแฮชแท็กของการชุมนุมประท้วง[1] เช่น #BUกูไม่เอาสลิ่ม[5] #ราชภัฏอยากงัดกับสลิ่ม[7] #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ[8] รวมถึงมีเพลงล้อชื่อ "ดูสลิ่ม" ออกมาในช่วงเดียวกัน โดยท่อนแรกของเนื้อเพลงคือ "ชอบกฎหมายที่สั่งตัดมาพิเศษ"[9]
ที่มา
คำนี้ได้เริ่มเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 ซึ่งกลุ่มผู้สนับสนุนการเมืองกลุ่มต่าง ๆ ใช้สีเสื้อในการระบุอัตลักษณ์ของตัวเอง เช่น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ใส่เสื้อสีเหลือง และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่ใส่เสื้อสีแดง โดยกลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซึ่งรวมตัวครั้งแรกเมื่อ 13 เมษายน 2553 เพื่อคัดค้านการที่กลุ่มคนเสื้อแดงออกมาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา[10] จึงเรียกตัวเองอย่างลำลองว่า "กลุ่มเสื้อหลากสี" เพื่อแยกตัวเองออกมาจากกลุ่มการเมืองก่อนหน้า ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ หรือ "หมอตุลย์" แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี เคยให้สัมภาษณ์นิตยสาร Positioning ว่า “ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องเปลี่ยนจากพลังเงียบให้กลายมาเป็นพลังที่เคยเงียบเสียที” “ผมเลยชวนพวกเขามาอยู่เวทีเดียวกัน ทำให้เป็นกลุ่มเสื้อหลากสีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีพลังมากขึ้น”[11] ต่อมาผู้ติดตามการเมืองได้นำชื่อขนมไทยที่เรียกว่าซ่าหริ่มหรือสลิ่ม ที่มีเส้นหลากหลายสีมาเรียกกลุ่มดังกล่าว โดยเชื่อว่าเริ่มเรียกกันเป็นครั้งแรกในเว็บบอร์ดพันทิป.คอม[12] สมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมทางสังคมที่เคยเคลื่อนไหวกับกลุ่มคนเสื้อแดงเคยกล่าวบนสื่อสังคมทวิตเตอร์ว่า "มีคนใช้คำนี้เรียกกลุ่มคนเสื้อหลากสีใน Pantip แล้วผมเอามาใช้ต่อ และปัจจุบันผมเลิกเรียกคนว่าสลิ่ม ตามที่ วาด รวี เขารณรงค์"[13]
คำจำกัดความ
มีความพยายามในการให้คำจำกัดความและความหมายของคำว่า "สลิ่ม" มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่ในทางการเมืองเท่านั้นแต่ยังรวมถึงทางสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ ปรัชญา และเศรษฐศาสตร์[14]
กันยายน 2553 ทัศนะ ธีรวัฒน์ภิรมย์ ได้อธิบายลักษณะร่วมบางประการของสลิ่มในบทความของประชาไท โดยสรุปได้เป็นนัยว่า สลิ่มเป็นกลุ่มคนที่เป็นผู้เกินกว่าราชา (Ultra-Royalist), เป็นคนที่มีการศึกษาสูงแต่จะเลือกเชื่อแต่สิ่งที่ได้รับการศึกษาในระบบมาเท่านั้น, เป็นคนที่เชื่อคนยากแต่จะเลือกเชื่อคนที่ดูดีมีความรู้, เป็นคนที่มีศีลธรรมจรรยา, เป็นคนที่ติดตามข่าวสารเรื่องการเมืองและมองทักษิณ ชินวัตรเป็นปัญหาของการเมืองไทยมาโดยตลอด, เป็นผู้มีอันจะกินมีกำลังซื้อมากและชอบนำเทรนด์, และเป็นคนที่มีความย้อนแย้งในตัวเองสูง[14]
ตุลาคม 2554 พจนานุกรมศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย http://thaipolitionary.com Archived 2016-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ได้ให้ความหมายของคำนี้ว่าเป็น "บุคคลที่หลงคิดว่าตนมีสติปัญญา คุณสมบัติ ความเชื่อ ค่านิยม หรือจริยธรรมเหนือกว่าผู้อื่น ทว่าแท้จริงกลับไม่มีความคิดเป็นของตนเอง ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน ไม่สามารถใช้ตรรกะหรือแสดงเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ จึงมักอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือมีความเชื่อที่ผิดอยู่เสมอ ทั้งยังปากว่าตาขยิบ มีอคติและความดัดจริตสูง เกลียดนักการเมือง และไม่ชอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน"[15]
พฤศจิกายน 2554 Faris Yothasamuth ได้อธิบายลักษณะเฉพาะของสลิ่มในบทความของประชาไท โดยสรุปได้เป็นนัยว่า สลิ่มมีลักษณะที่เกลียดชังทักษิณ, ฝักใฝ่ลัทธิกษัตริย์นิยม, โหยหาทหาร, ไม่เชื่อมั่นประชาธิปไตยในระบบ, ขาดเหตุผลและความรู้, และมีความหลงผิดว่าตนเองดีเลิศและสูงส่งกว่าคนอื่น[2][16]
ในช่วงการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เริ่มมีการใช้คำว่าสลิ่มกันในวงกว้างขึ้นและทำให้สื่อทั้งในและต่างประเทศต่างให้ความหมายที่ร่วมกันว่า เป็นคำที่ถูกใช้ในทางเย้ยหยันหรือเหยียดหยาม (derogatory)[17][18] เรียกกลุ่มคนพวกอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง (ultraconservative), ผู้เกินกว่าราชา (ultra-royalist)[19], และผู้สนับสนุนรัฐบาลของประยุทธ์ จันทร์โอชา (pro-establishment)[20][21]
การใช้คำ
ในช่วงก่อนการประท้วง 2563 มีนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิจารณ์ทางการเมืองหลายคนใช้คำนี้เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์[22] คำ ผกา[23] แต่ในช่วงการประท้วง 2563 เริ่มปรากฏการใช้คำนี้ในสื่อกระแสหลักมากขึ้น
อ้างอิง
วิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า:
สลิ่ม
↑ กระโดดขึ้นไป:1.0 1.1 จุดติด-ไม่ติด : แฮชแท็กและการชุมนุมประท้วงของนิสิตนักศึกษาบอกอะไรเราบ้าง. เดอะโมเมนตัม. 26 ก.พ. 2563 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) [1]
↑ กระโดดขึ้นไป:2.0 2.1 2.2 Faris Yothasamuth. "อะไรคือสลิ่ม? ว่าด้วยที่มา บริบทความหมาย และคุณลักษณะเฉพาะ." 20 พ.ย. 2554 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) สำเนานอกเฟซบุ๊ก [2]
↑ จับพลังคนรุ่นใหม่ ‘สุรชาติ’ ชี้สูตรล้มอำนาจนิยม-ศึกชนชั้นกลาง 2 ขั้ว ‘ปีกก้าวหน้า-ปีกสลิ่ม’. วอยซ์ออนไลน์. 6 มี.ค. 2563 (เข้าถึง 8 มี.ค. 2563) [3]
↑ บก.ลายจุดเห็นด้วย เลิกใช้คำว่า”สลิ่ม”ชี้เป็นอุปสรรค ไม่นำไปสู่เรียนรู้-เปลี่ยนแปลงใดๆ. มติชนออนไลน์. 18 ก.พ. 2561 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) [4]
↑ กระโดดขึ้นไป:5.0 5.1 "แท้จริงแล้วความหมายของคำว่า “สลิ่ม” คืออะไร ถอดความหมายจากผู้ชุมนุม #BUกูไม่เอาสลิ่ม". Workpoint News. 28 ก.พ. 2563 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) [5]
↑ ใบตองแห้ง. "คำท้าทายถึงชนชั้นกลาง." 23 พ.ย. 2554 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) [6]
↑ มหา'ลัยทั่วประเทศ แห่ตั้งชื่อแฮชแท็กต้านรัฐบาล ปมยุบพรรคอนาคตใหม่. เมเนเจอร์ออนไลน์. 25 ก.พ. 2563 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) [7]
↑ #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ จากประท้วงที่ม.เกษตร สู่การประท้วงของนิสิตนักศึกษากว่า 10 สถาบัน. เดอะโมเมนตัม. 24 ก.พ. 2563 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) [8]
↑ แชร์สนั่น เพลงสุดฮา! ‘ดูสลิ่ม’ แปลงจากวงดนตรีดัง แนะวิธีพิจารณา ‘สลิ่ม’ ในความหมายทางการเมือง. มติชนออนไลน์. 29 ก.พ. 2563 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) [9] โดยเพลงดังกล่าวเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 29 ก.พ. 2563 ในช่อง SalimVEVO ที่ [10] มีผู้เข้าชม 119,605 ครั้งในเวลาประมาณ 2 วัน ก่อนวิดีโอจะดูไม่ได้เนื่องจากปัญหาลิขสิทธิ์ และได้เผยแพร่ซ้ำอีกครั้งเมื่อ 2 มี.ค. 2563 [11]
↑ มาลีรัตน์. "กลุ่มพิทักษ์สถาบัน ฯ ชุมนุมอยู่ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ." พลังหญิง. 13 เม.ย. 2553. (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) [12]
↑ Positioning. “เสื้อหลากสี” แทรกสงครามการเมือง." 13 พ.ค. 2553 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) [13]
↑ ใบตองแห้ง. "สลิ่ม" ไม่ใช่เป็นได้ง่ายๆ นะ." 22 ก.พ. 2561 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) [14]
↑ บก.ลายจุด @nuling "ผมไม่ใช่คนที่เริ่มใช้คำว่า "สลิ่ม" มีคนใช้คำนี้เรียกกลุ่มคนเสื้อหลากสีใน Pantip แล้วผมเอามาใช้ต่อ และปัจจุบันผมเลิกเรียกคนว่าสลิ่ม ตามที่ วาด รวี เขารณรงค์." 25 มิ.ย. 2562 (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) [15]
↑ กระโดดขึ้นไป:14.0 14.1 "ข้อสังเกตบางประการในการทำความเข้าใจ "สลิ่ม"". prachatai.com.
↑ "พจนานุกรมศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย". www.facebook.com.
↑ "อะไรคือสลิ่ม? ว่าด้วยที่มา บริบทความหมาย และคุณลักษณะเฉพาะ". prachatai.com.
↑ "Thailand's protesters take on 'salim' as Bangkok prepares for rally". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2020-09-18.
↑ "ที่มาและความหมายของคำว่า "สลิ่ม" ศัพท์การเมืองที่หลายคนรู้จัก". www.sanook.com/campus.
↑ "Uni defends heartthrob Mario Maurer's pro-govt thesis". nationthailand.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ Welle (www.dw.com), Deutsche. "Thailand protests reveal growing generational gap on political issues | DW | 27.10.2020". DW.COM (ภาษาอังกฤษ).
↑ "How Thailand's New Protest Movement Influences Dating". www.vice.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ เอียวศรีวงศ์, นิธิ (2017-02-23). "นิธิ เอียวศรีวงศ์ : หากทรัมป์ยังอยู่". มติชนสุดสัปดาห์.
↑ ผกา, คำ (2016-04-21). "คำ ผกา : วังเวงในเบื้องหน้า". มติชนสุดสัปดาห์.
บทความเกี่ยวกับการเมือง การปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล